ผู้เชี่ยวชาญพบปฏิบัติการไซเบอร์ที่ใช้แอป Android ปลอมส่งมัลแวร์ดูดข้อมูลเหยื่อ

Loading

  Zimperium บริษัทด้านไซเบอร์พบปฏิบัติการโจมตีทางไซเบอร์ที่ใช้แอปอ่านหนังสือและแอปการศึกษาบน Android ปล่อยมัลแวร์ประเภท Trojan เพื่อขโมยข้อมูลของเหยื่อ ที่เริ่มเคลื่อนไหวมาตั้งแต่ปี 2018   ปฏิบัติการนี้มุ่งเป้าโจมตีเหยื่อชาวเวียดนาม โดย Trojan ตัวนี้มีชื่อว่า Schoolyard Bully ซึ่งแฝงอยู่ในแอปหลายตัวที่เปิดให้ดาวน์โหลดบน Google Play Store และแอปภายนอก   แอปเหล่านี้แอบอ้างเป็นแอปด้านการศึกษาที่อ้างว่ามีหนังสือและหัวข้อด้านวิชาการให้ผู้ใช้อ่าน แต่จริง ๆ แล้วแอปเหล่านี้มีกลไกในการขโมยข้อมูลโซเชียลมีเดีย และข้อมูลอุปกรณ์ของผู้ใช้   Schoolyard Bully ขโมยข้อมูลของผู้ใช้โดยการเปิดหน้าล็อกอินของ Facebook ภายในแอปและใส่โค้ด JavaScript ที่ดูดข้อมูลที่ผู้ใช้กรอก มัลแวร์ตัวนี้สามารถหลบหลีกโปรแกรมต้านไวรัสและเครื่องมือตรวจหาไวรัสแบบ Machine Learning ได้ด้วย   Zimperium ชี้ว่าปฏิบัติการมัลแวร์นี้มีเหยื่อไปแล้วมากกว่า 300,000 คนใน 71 ประเทศ แต่อาจจะน้อยกว่าความเป็นจริงเนื่องจากแอปเหล่านี้ยังเปิดให้ดาวน์โหลดอยู่     ที่มา Neowin       ————————————————————————————————————————-…

LastPass เผยโดนแฮ็กข้อมูลผู้ใช้ แต่รหัสที่ฝากไว้ยังอยู่ดี

Loading

  ย้อนกลับไปในเดือนสิงหาคม มีรายงานว่า LastPass ถูกมือดีแฮ็กระบบ โดยความเสียหายคือ ถูกขโมยซอร์สโค้ด (Source Code) และข้อมูลทางเทคนิคของบริษัทไปได้ ล่าสุดทางผู้ให้บริการจัดเก็บรหัสผ่านที่มีผู้ใช้ถึง 33 ล้านรายนี้ ออกมาแถลงความคืบหน้าแล้ว   LastPass เผยความคืบหน้าล่าสุด หลังถูกมือดีแฮ็กระบบ จนเข้าถึงข้อมูลทางเทคนิคของบริษัทได้ และยอมรับว่ามีข้อมูลผู้ใช้หรือลูกค้า ก็ถูกเข้าถึงได้เช่นกัน ทว่าข้อมูลลูกค้าที่เข้าถึงได้นั้น ก็เป็นเพียง [องค์ประกอบบางส่วน] เท่านั้น ส่วนข้อมูลรหัสผ่านต่าง ๆ ที่ลูกค้าฝากไว้ ยังไม่ถูกล่วงรู้   สืบเนื่องจาก Zero-Knowledge หรือการรับประกันข้อมูลส่วนตัวที่ปลอดภัยที่สุด ซึ่งทางบริษัทนำมาใช้นี้เอง ทำให้มีเฉพาะผู้ใช้เท่านั้น ที่รู้ว่าฝากรหัสอะไรไว้ และใช้ [รหัสผ่านหลัก] อะไรในการเข้าถึง ซึ่งทั้งหมดนี้ ทางบริษัทก็ยังไม่สามารถเข้าถึงได้   Karim Toubba ซีอีโอของ LastPass เผยทางบริษัทตรวจพบความผิดปกติภายในบริการจริง แต่ก็พิจารณาแล้วว่าข้อมูลที่หลุดออกไปนั้น ยังไม่ถึงขั้นทำให้ลูกค้าหมดความมั่นใจ   แต่ตั้งทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ยังต้องมีการตรวจสอบต่อไป ว่ามีข้อมูลอะไรอีกบ้างที่ถูกขโมยได้ และยังได้มีการจ้าง Mandiant…

แฮ็กเกอร์นำข้อมูลพนักงานร้าน IKEA ในตะวันออกกลางไปเผยแพร่บนโลกออนไลน์

Loading

  แก๊งมัลแวร์เรียกค่าไถ่ Vice Society เผยแพร่ข้อมูลทางธุรกิจที่ขโมยมาจาก IKEA สาขาในโมร็อกโก คูเวต และจอร์แดน ไว้บนเว็บไซต์ของแก๊ง ขณะที่ทาง IKEA ออกมายืนยันแล้วว่าถูกขโมยไปจริง   ชื่อไฟล์และโฟลเดอร์สะท้อนให้เห็นว่า ข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน รวมอยู่ในข้อมูลที่หลุดออกมาด้วย   IKEA ระบุว่ากำลังร่วมมือกับหน่วยงานและหุ้นส่วนด้านไซเบอร์ที่เกี่ยวข้องในการสืบสวนกรณีการโจมตีทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้น แต่ให้ข้อมูลด้วยว่าร้าน IKEA สาขาในโมร็อกโกและคูเวตดำเนินการโดยบริษัทแฟรนไชส์ในคูเวตเป็นอิสระจากร้าน IKEA อื่น ๆ   Vice Society เริ่มออกอาละวาดมาตั้งแต่ปลายปี 2020 เป็นต้นมา ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับแก๊งมัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่ชื่อว่า HelloKitty เนื่องจากมีการตั้งชื่อไฟล์และกลยุทธ์การโจมตีที่คล้ายคลึงกัน   ที่ผ่านมา Vice Society เน้นโจมตีองค์กรในวงการการศึกษา โดยเคยปล่อยข้อมูลที่ขโมยมาจากเขตการศึกษาลอสแอนเจลิส (LAUSD) เมื่อเดือนกันยายน 2021 ในขณะที่องค์กรค้าปลีกคิดเป็นเพียงร้อยละ 7 ของผู้เสียหายของ Vice Society เท่านั้น   Darkfeed เครื่องมือเฝ้าระวังดีปเว็บเผยว่าบนเว็บไซต์ของ Vice Society…

Meta ลงโทษพนักงานและไล่ออกกว่า 20 ราย พบขายบัญชีผู้ใช้ให้แฮ็กเกอร์

Loading

  เอกสารภายในบริษัทและแหล่งข่าวของ Wall Street Journal ระบุว่า Meta ได้จัดการกับพนักงานกว่า 20 รายด้วยการไล่ออกหรือลงโทษทางวินัยเมื่อปีที่แล้ว หลังพบว่าพนักงานควบคุมบัญชีผู้ใช้งาน Facebook และ Instagram ขายบัญชีผู้ใช้ให้กับแฮ็กเกอร์   พนักงานที่ถูกลงโทษบางส่วนทำงานเป็นผู้ดูแลศูนย์บริการของ Meta และได้นำข้อมูลบัญชีผู้ใช้ออกไปให้บุคคลที่สามผ่านทางระบบที่เรียกเป็นการภายในบริษัทว่า Oops ย่อมาจาก Online Operations ที่ Meta อนุญาตให้พนักงานสามารถเข้าสู่ระบบเพื่อจัดการกับข้อมูลผู้ใช้ได้ในกรณีที่ผู้ใช้ต้องการความช่วยเหลือ เช่น ต้องการรีเซ็ตรหัสผ่าน หรือเมื่อบัญชีถูกแฮก   การขโมยข้อมูลผู้ใช้มีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการติดสินบนและขายบัญชีให้แฮกเกอร์นำไปขายต่อซึ่งมีมูลค่าเป็นหมื่นเหรียญสหรัฐ หรือในรูปแบบบริษัทกลางหรือคนกลางรับจ้างรีเซ็ตบัญชีที่ไปจ้างพนักงานภายใน Meta อีกทอดหนึ่ง บางกรณีเป็นคนใกล้ตัวที่พนักงานไว้ใจที่มาจ้างให้รีเซ็ตบัญชีของบุคคลที่สามให้ นอกจากนี้ ยังมีการปรับเปลี่ยนวิธีการขโมยข้อมูลเพื่อหลบหลีกการตรวจสอบจาก Meta ด้วย   สาเหตุสำคัญเกิดจากที่ Meta มีข้อมูลผู้ใช้กว่า 3 พันล้านคนแต่กลับไม่มีฝ่ายบริการลูกค้าทางออนไลน์ เมื่อผู้ใช้พบปัญหาก็ต้องติดต่อผ่านพนักงานทางโทรศัพท์หรืออีเมลและให้พนักงานเป็นผู้จัดการบัญชีให้ ซึ่งเป็นช่องโหว่ให้มีการขายบัญชีผู้ใช้     ที่มา: Wall Street Journal  …

ศาลสหรัฐฯ ตัดสินจำคุกสายลับจีน โทษ 20 ปี ฐานขโมยข้อมูลความลับการค้า

Loading

  ศาลระดับรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ตัดสินโทษจำคุก 20 ปี ต่อเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองของจีนในเรือนจำ หลังจากชายรายดังกล่าวถูกพบเมื่อปีก่อนว่า มีส่วนในการขโมยข้อมูลความลับทางการค้า จากบริษัทด้านการบินและอวกาศของสหรัฐฯ และฝรั่งเศส   ซูหยานจุน ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้นำในโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีนเป็นเวลา 5 ปี เพื่อขโมยความลับทางการค้าจากบริษัท GE Aviation ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตเครื่องยนต์อากาศยานชั้นนำของโลก และกลุ่มบริษัท Safran ของฝรั่งเศส ซึ่งทำงานร่วมกับ GE ในการพัฒนาเครื่องยนต์   ซูเป็นหนึ่งในชาวจีน 11 คน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ข่าวกรอง 2 คน ซึ่งถูกยื่นชื่อในคำฟ้องเมื่อเดือน ต.ค. 2561 จ่อศาลระดับรัฐบาลกลางในเมืองซินซินนาติ มลรัฐโอไฮโอ ซึ่งเป็นฐานที่ตั้งของบริษัท GE Aviation ทั้งนี้ ซูซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ข่าวกรองความมั่นคงแห่งรัฐของจีน ถูกจับกุมตัวในเดือน เม.ย. 2561 ที่เบลเยียม ซึ่งมีหลักฐานชี้ชัดว่าเขาถูกหลอกให้เข้าไปปฏิบัติการต่อต้านข่าวกรอง ทั้งนี้ ซูวางแผนที่จะแอบพบกับพนักงานของ GE ในการเดินทางครั้งนั้น   ซูถูกส่งตัวข้ามแดนไปยังสหรัฐฯ ก่อนที่เขาจะถูกพิจารณาคดีและถูกตัดสินโทษในการพิจารณาคดีโดยคณะลูกขุน เมื่อวันที่…

ข้อมูลผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งชาวมาเลย์ 800,000 คนถูกนำไปขายบนโลกออนไลน์ในราคาเพียง 70,000 บาท

Loading

  ข้อมูลของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 800,000 บนฐานข้อมูลของคณะกรรมการการเลือกตั้งมาเลเซียถูกขโมยและนำไปขายบน lowyat.net ซึ่งเป็นตลาดออนไลน์ในราคาราว 73,090 บาท   ในบรรดาข้อมูลที่นำมาขายมีทั้งข้อมูลชื่อ เลขประจำตัวประชาชน อีเมล วันเกิด และที่อยู่ นอกจากนี้ ยังปรากฎรูปภาพของเหยื่อด้วย ผู้สนใจสามารถจ่ายเป็นคริปโทเคอเรนซีในสกุล Bitcoin หรือ Monero   CyberSecurity Malaysia หน่วยงานกลางด้านไซเบอร์ของมาเลเซียรับทราบเรื่องนี้แล้วและกำลังอยู่ระหว่างการสืบสวนกรณีที่เกิดขึ้น   เจ้าหน้าที่เชื่อว่าแฮกเกอร์ขโมยข้อมูลเหล่านี้มาจากเว็บไซต์ MySPR ของคณะกรรมการการเลือกตั้งมาเลเซีย ซี่งเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมากกว่า 22 ล้านคน   อย่างไรก็ดี นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ เมื่อเดือนเมษายน ข้อมูลพลเมืองกว่า 22.5 ล้านคนของมาเลเซียที่อยู่บนฐานข้อมูลของกรมทะเบียนมาเลเซีย ก็ถูกนำไปขายบนดาร์กเว็บในราคาราว 360,000 บาท     ที่มา New Straits Times       ——————————————————————————————————————————————————————– ที่มา :     …