แอลเบเนียตัดสัมพันธ์อิหร่าน อ้างเพราะอยู่เบื้องหลังการโจมตีทางไซเบอร์ต่อแอลเบเนีย

Loading

  แอลเบเนียประกาศตัดสัมพันธ์อิหร่านและสั่งให้เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตเดินทางออกนอกประเทศภายใน 24 ชั่วโมง โดยให้เหตุผลว่าเป็นเพราะอิหร่านสั่งให้มีการโจมตีทางไซเบอร์ครั้งใหญ่ต่อแอลเบเนีย   เอดิ รามา (Edi Rama) ประธานาธิบดีของแอลเบเนียระบุว่าทางรัฐบาลได้ตรวจพบว่าอิหร่านจ้างวานให้แฮกเกอร์ 4 กลุ่มโจมตีทางไซเบอร์ต่อแอลเบเนียเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคมที่ผ่านมา เขายอมรับว่าการตัดสัมพันธ์ทางการทูตเป็นมาตรการที่รุนแรง แต่ก็ถือว่าสมกับการกระทำของอิหร่านแล้ว   รามาเผยด้วยว่าการโจมตีดังกล่าวมุ่งทำให้ระบบการให้บริการสาธารณะเป็นอมพาต พร้อมทั้งพยายามขโมยและลบข้อมูลในโครงข่ายของรัฐบาล และยุยงให้เกิดความโกลาหลด้วย อย่างไรก็ดี เขาระบุว่าการโจมตีไม่ประสบความสำเร็จ ระบบทั้งหมดสามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติ   สำหรับรายละเอียดของการโจมตีนั้น Mandiant บริษัทด้านไซเบอร์ของสหรัฐอเมริกาเคยออกมาเปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า การโจมตีทางไซเบอร์ต่อแอลเบเนียเป็นการโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่เกิดในช่วงก่อนเริ่มการประชุมที่มีความเกี่ยวข้องกับ Mujahideen-e-Khalq (MEK) กลุ่มต่อต้านรัฐบาลอิหร่านที่ลี้ภัยทางการเมืองในแอลเบเนีย ณ เมืองมาเนซ ทำให้การประชุมดังกล่าวต้องเลื่อนออกไป   โดยเมื่อครั้งนั้นผู้ที่ทำการโจมตีสวมรอยเป็นชาวแอลเบเนียที่ไม่พอใจรัฐบาลที่ยอมให้ MEK มาจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวในประเทศ   ทางด้านรัฐบาลสหรัฐฯ ก็ได้ออกมาประณามการโจมตีต่อแอลเบเนียด้วยเช่นกัน ในฐานะที่เป็นพันธมิตร NATO และให้คำมั่นว่าจะให้อิหร่านรับผิดชอบต่อการกระทำที่เกิดขึ้นให้ได้   เอเดรียนน์ วัตสัน (Adrienne Watson) โฆษกสภาความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ ระบุว่าผู้เชี่ยวชาญชาวอเมริกันได้ข้อสรุปว่าอิหร่านเป็นผู้อยู่เบื่องหลังการโจมตีทางไซเบอร์ต่อแอลเบเนียจริง   ทั้งนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างแอลเบเนียและอิหร่านอยู่ในระดับตึงเครียดมาตั้งแต่ก่อนหน้านี้แล้ว…

กลโกงใหม่ แฮ็กเกอร์ขโมยคุกกี้ ใช้เพื่อข้ามตรวจสอบสิทธิ์ ขโมยข้อมูล

Loading

  การขโมยคุกกี้ เป็นหนึ่งในแนวโน้มล่าสุดในอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต ที่แฮ็กเกอร์มักใช้เพื่อเลี่ยงผ่านการตรวจสอบข้อมูลประจำตัวและเข้าถึงฐานข้อมูลส่วนตัวของเป้าหมายได้ง่ายขึ้น โดยล่าสุด บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ Sophos เปิดเผยข้อมูลว่า แฮ็กเกอร์มีธีใหม่ที่สามารถเลี่ยงการตรวจสอบตัวตนแบบ 2FA หรือการยืนยันตัวตนสองปัจจัยเพื่อทำการขโมยข้อมูลส่วนบุคคลของเหยื่อ และนำไปโจมตีเครือข่ายได้ วิธีนั้นคือ วิธีการขโมยคุกกี้บนเว็บบราวเซอร์นั่นเอง . โดยปกติแล้ว บนเบราว์เซอร์เราจะมีการเก็บคุกกี้ของเว็บที่เราเข้าไว้ และยิ่งเป็นเว็บที่ต้องมีการล็อกอินเข้าสู่ระบบ ยิ่งต้องมีการเก็บคุกกี้ เพื่อความสะดวกแต่ผู้ใช้เอง ซึ่งจะทำให้เว็บที่เข้าเป็นประจำได้ไวขึ้น รวมถึงจำข้อมูลการล็อกอินเพื่อให้เราไม่ต้องให้ ID และ Password ใหม่ทุกครั้ง (สังเกตไหมว่า หากเราเข้าเว็บใหม่ที่ไม่เคยเข้าเลย มันจะอืดกว่าเข้าเก่าที่เคยเข้า) แฮ็กเกอร์เหล่านี้สามารถใช้ประโยชน์จากเครื่องมือและบริการออนไลน์ต่าง ๆ ได้ รวมถึงเบราว์เซอร์ แอปพลิเคชันบนเว็บ บริการเว็บ อีเมลที่ติดมัลแวร์ และไฟล์ ZIP ที่ส่งมาให้ทางอีเมล Sophos ตั้งข้อสังเกตว่า Emotet botnet เป็นหนึ่งในมัลแวร์ที่มีเป้าหมายเพื่อขโมยคุกกี้ ถูกสร้างมาเพื่อขโมบข้อมูลในเบราว์เซอร์ Google Chrome เช่น การเข้าสู่ระบบที่จัดเก็บข้อมูลบัตรชำระเงินไว้ แม้ว่าเบราว์เซอร์จะมีความเกี่ยวข้องในการเข้ารหัสและการตรวจสอบสิทธิ์แบบหลายปัจจัย แต่แฮกเกอร์ก็ยังหาวิธีขโมยข้อมูลไปได้ เรื่องนี้ เคยเป็นเรี่องใหญ่ที่เกิดขึ้นมาแล้ว หากใครจำเคสของ EA…

Hacker อ้างว่า ได้ขโมยข้อมูลพลเรือนจีนกว่า 1,000 ล้านรายการ

Loading

  คำอ้างจาก Hacker ถึงจำนวนข้อมูลกว่า 1,000 ล้านรายการ ถ้าเป็นความจริงจะเป็นการละเมิดข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก ประเทศจีนมีประชากรมากที่สุดในโลกกว่า 1,400 ล้านคน ถ้าเทียบกับจำนวนข้อมูลที่ถูกขโมยไปตามคำอ้างของ Hacker นั่นหมายถึง 3 ใน 4 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ Hacker ได้โพสว่า ในปี 2022 ฐานข้อมูลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเซี่ยงไฮ้ (SHGA) รั่วไหล ฐานข้อมูลนี้มีข้อมูลจำนวน TB และข้อมูลเกี่ยวกับพลเมืองจีนหลายพันล้านคน ประกอบไปด้วยฐานข้อมูลประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับพลเมืองชาวจีน 1,000 ล้านคนและบันทึกคดีหลาย 1,000 ล้านเรื่อง ซึ่งรวมถึง ชื่อ ที่อยู่ บ้านเกิด หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน หมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ รายละเอียดอาชญากรรม/คดีทั้งหมด โดยผู้ใช้อินเทอร์เน็ตนิรนาม ซึ่งระบุว่าเป็น “ChinaDan” ยังได้โพสเสนอขายข้อมูลเหล่านี้บน Breach Forums ซึ่งมีขนาดข้อมูลมากกว่า 23 Terabytes ด้วยราคา 10 bitcoin หรือ 287,431 ดอลลาร์ออสเตรเลีย ความคิดเห็นเกี่ยวกับคำอ้างนี้…

แฮ็กเกอร์อ้างลอบขโมยข้อมูลจาก AMD ออกมาได้ถึง 450 GB

Loading

Credit: ShutterStock.com   มีเหตุการณ์กลุ่มแฮ็กเกอร์นามว่า RansomHouse ได้ออกประกาศว่าตนมีข้อมูลจาก AMD ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ในมือกว่า 450 GB พร้อมประกาศขายต่อ   เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมากลุ่มคนร้าย RansomHouse ได้ประกาศขายข้อมูลบริษัทที่มีอักษรย่อ 3 ตัวขึ้นด้วยตัว ‘A’ ผ่านเทเลแกรม วานนี้กลุ่มดังกล่าวได้เผยชื่อเต็มๆว่าเป็น AMD โดยอ้างว่ามีข้อมูลขนาด 450 GB ซึ่งคนร้ายชี้ว่าพาร์ทเนอร์ของตนได้เข้าถึงระบบเครือข่ายของ AMD ได้เมื่อปีก่อนและข้อมูลถูกขโมยมาได้วันที่ 5 มกราคม 2022 และเป็นวันสุดท้ายที่เข้าถึง AMD ได้   RansomHouse ยังปฏิเสธว่าไม่ได้มีการใช้แรนซัมแวร์กับ AMD และไม่ประสงค์ที่จะติดต่อเรียกค่าไถ่ AMD เพราะคงช้าเอาไปขายต่อดีกว่า โดยคนร้ายอ้างว่าข้อมูลครอบคลุมถึงงานวิจัยและการเงิน แต่ก็ไม่ยอมแชร์หลักฐานใดๆเพิ่ม นอกจากไฟล์บางส่วนที่พิสูจน์ว่าเข้าถึง Windows Domain อย่างไฟล์ .CSV ที่รวบรวมอุปกรณ์กว่า 70,000 ตัวในเครือข่ายของ AMD ที่มีรายการ Credential ของ User…

‘สิงคโปร์แอร์ไลน์’ เตือนเพจปลอมแอบอ้างขโมยข้อมูล หลังสิงคโปร์ประกาศรับนักเดินทาง

Loading

  เพจปลอมแอบอ้างเป็น ‘สิงคโปร์แอร์ไลน์’ โผล่ ขโมยข้อมูลนักเดินทาง สายการบินเตือนใช้ดุลยพินิจเมื่อต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว เมื่อวันที่ 30 มี.ค. 65 สำนักข่าวแชนแนลนิวส์เอเชีย รายงานว่า สิงคโปร์แอร์ไลน์ ประกาศเตือนให้นักเดินทางระวังบัญชีเฟซบุ๊กปลอมแอบอ้างชื่อสายการบินเพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัว โดยทางสายการบินแถลงว่า พบผู้ใช้งานเฟซบุ๊กแอบอ้างว่าเป็นเพจทางการของสายการบิน และติดต่อไปยังลูกค้าเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการจองตั๋วเครื่องบิน เพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัว     ทางสายการบินได้แจ้งเรื่องดังกล่าวต่อเฟซบุ๊กเพื่อให้ดำเนินการปิดเพจปลอมแล้ว พร้อมทั้งเตือนให้ประชาชนใช้ดุลยพินิจเมื่อต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว และทำธุรกรรมผ่านเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน และร้านค้าทางการของสายการบินเท่านั้น ส่วนผู้ที่รู้ตัวว่าได้ทำธุรกรรมการเงินกับเพจปลอมต้องเข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในทันที การประกาศดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่ประเทศสิงคโปร์เปิดประเทศต้อนรับนักเดินทางที่ฉีดวัคซีนครบโดส ให้เดินทางเข้าประเทศสิงคโปร์ได้โดยไม่ต้องกักตัว ทำให้มีนักเดินทางจองตั๋วเดินทางไปยังสิงคโปร์จำนวนมาก ที่มา: CNA     ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์    /   วันที่เผยแพร่ 30 มี.ค.65 Link : https://www.thairath.co.th/news/foreign/2355275

การใช้ ‘Wi-Fi ฟรี’ มีความเสี่ยงถูกขโมยข้อมูลได้อย่างไร !?

Loading

เวลาที่เราไปไหนต่อไหน มักจะได้พบเจอกับบริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย หรือ Wi-Fi จากสถานที่ต่าง ๆ ที่เป็นสาธารณะให้เราได้ใช้งานกันฟรี ๆ เสมอ แต่ด้วย W-Fi ที่ฟรี นั่นหมายถึงการเปิดโอกาสให้แฮกเกอร์ที่ไหนก็ไม่รู้ เข้าถึง Wi-Fi ฟรีนั้นด้วย แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า Wi-Fi ฟรีเหล่านั้นจะปลอดภัย เรามาดูกันว่าแฮกเกอร์เหล่านี้สามารถขโมยข้อมูลเราผ่าน Wi-Fi ฟรีได้อย่างไรบ้าง ! ต่อไปนี้จะเป็น 5 วิธีที่แฮกเกอร์ใช้ในการขโมยข้อมูลส่วนตัว หรือแม้กระทั่งตัวตนบนโลกออนไลน์ของเราไปได้อย่างง่ายดายผ่าน Wi-Fi ฟรีที่เราใช้งาน และวิธีที่เราจะสามารถป้องกันตัวจากการถูกแฮกข้อมูลที่สำคัญเหล่านี้ไป 1. การโจมตีแบบ Man-In-The-Middle (MitM) การโจมตีแบบ Man-In-The-Middle (MitM) คือการโจมตีทางไซเบอร์ โดยที่บุคคลภายนอกเข้ามาแทรกกลางการสื่อสารระหว่างผู้เข้าร่วมสองคน แทนที่จะแชร์ข้อมูลโดยตรงระหว่างเซิร์ฟเวอร์ (Server) และไคลเอนต์ (Client) การเชื่อมต่อนั้นจะถูกเข้ามาแทรกด้วยคนกลางแทน แฮกเกอร์ที่เข้าถึงเครือข่ายแบบสาธารณะ ก็จะสามารถดักจับการรับส่งข้อมูลต่าง ๆ ได้ รวมถึงดักฟัง หรือแม้แต่ขัดขวางการสื่อสารระหว่างสองเครื่อง และขโมยข้อมูลส่วนตัวไปได้ การโจมตีแบบ MitM เป็นปัญหาด้านความปลอดภัยที่ร้ายแรงอย่างมากเลย  …