สหรัฐพบ “Emotet” มัลแวร์ขโมยข้อมูลระบาดทั่วโลกผ่านทางอีเมล

Loading

  พรูฟพอยต์ อิงค์ (Proofpoint Inc.) ซึ่งเป็นบริษัทรักษาความปลอดภัยข้อมูลของสหรัฐฯ เปิดเผยว่า พบผู้เสียหายจากมัลแวร์ Emotet (อีโมเท็ต) มากกว่า 2.7 ล้านรายทั่วโลกตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว แม้ว่าเซิร์ฟเวอร์ของ Emotet ได้ถูกกำจัดไปแล้วก่อนหน้านี้ สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า Emotet ซึ่งถือว่าเป็นมัลแวร์อันตรายที่สุดในโลกนั้น ปรากฏขึ้นครั้งแรกในปี 2557 โดยมัลแวร์ดังกล่าวสามารถขโมยข้อมูลที่ละเอียดอ่อน เช่น รหัสผ่าน และติดตั้งโปรแกรมควบคุมระยะไกลโดยส่งมัลแวร์ผ่านทางอีเมลปลอมที่ส่งเป็นข้อความตอบกลับจากลูกค้าและเพื่อน พรูฟพอยต์รายงานว่า Emotet มีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วสู่คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ผ่านไฟล์แนบในอีเมลในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา โดยมีผู้เสียหายที่ได้รับการยืนยัน 90,000 รายในเดือน พ.ย. 2564 และมากกว่า 1.07 ล้านรายในเดือน ม.ค. 2565 จากนั้นในช่วงต้นเดือน ก.พ.ปีนี้ ก็ตรวจพบอีกมากกว่า 1.25 ล้านราย ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ตั้งข้อสงสัยว่า กลุ่มแฮกเกอร์ที่รอดจากการปราบปรามทั่วโลกเมื่อเดือน ม.ค. 2564 นั้น ได้เริ่มแพร่กระจาย Emotet เมื่อปลายปีที่แล้ว ก่อนหน้านี้ หน่วยงานใน…

เทคนิคเดารหัสผ่านยอดแย่ เบื้องหลังแฮ็กเกอร์ จ้องขโมยข้อมูล

Loading

  ในยุคที่หลายบริษัทยังต้องทำงานที่บ้าน การตั้งรหัสผ่านสำหรับเข้าใช้งานระบบกลางถือเป็นสิ่งสำคัญ มีการศึกษาพบว่า ผู้คนมักตั้งรหัสที่เกี่ยวข้องตัวเองเพื่อให้สามารถจำได้ง่าย แต่นั่นอาจเป็นจุดอ่อนที่ทำให้แฮกเกอร์เดาทางได้ถูก . บริษัทที่รับชำระเงินด้วยบัตร Dojo ได้วิเคราะห์ข้อมูลจาก National Cyber ​​Security Center (NCSC) ของสหราชอาณาจักรเกี่ยวกับรหัสผ่านที่ถูกใช้งานกว่า 1 แสนรายการ เพื่อสร้างหมวดหมูที่คนมักเลือกใช้งานบ่อยที่สุด ซึ่งผู้คนที่ตกเป็นเหยื่อมักจะมีการใช้รหัสผ่านที่เกี่ยวกับตัวเองหรือรหัสผ่านยอดฮิตอย่าง 123456 ซึ่งหากข้อมูลส่วนตัวหลุดออกไป เป็นไปได้ว่าแฮกเกอร์จะเอาข้อมูลนั้นมาคาดการณ์รหัสผ่านได้นั่นเอง . หมวดหมู่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ terms of endearment หรือเงื่อนไขการแสดงความรัก ซึ่งพบได้ในรหัสผ่านที่ถูกแฮกบ่อยที่สุดมากว่า 4,032 รายการ ไม่ว่าจะเป็น Love…(ใครซักคน) Love Baby (ชื่อลูก) หรือ Love pet (ชื่อสัตว์เลี้ยง) . และนี่คือหมวดหมู่รหัสผ่านที่คนส่วนใหญ่เลือกใช้งานบ่อยที่สุด ซึ่งมีส่วนทำให้เดาทางรหัสผ่านได้ง่าย 1. ชื่อสัตว์เลี้ยง / เงื่อนไขการแสดงความรัก 2. ชื่อตัวเอง 3. ชื่อสัตว์ 4. อารมณ์ 5.…

นิวส์คอร์ปเผยถูกแฮ็กเกอร์ขโมยข้อมูลพนักงาน เชื่อจีนอยู่เบื้องหลัง

Loading

  นิวส์คอร์ปซึ่งเป็นบริษัทแม่ของวอลล์สตรีท เจอร์นัล เปิดเผยในวันศุกร์ (4 ก.พ.) ว่า แฮ็กเกอร์ได้ทำการขโมยข้อมูลจากนักข่าวและพนักงานของบริษัท ขณะที่บริษัทด้านความมั่นคงทางไซเบอร์แห่งหนึ่งที่ตรวจสอบการโจมตีดังกล่าวเชื่อว่า จีนอาจอยู่เบื้องหลังการแฮ็กดังกล่าวเพื่อรวบรวมข้อมูลข่าวกรอง   วอลล์สตรีท เจอร์นัลรายงานว่า การแฮกข้อมูลดังกล่าวนั้นย้อนหลังไปจนถึงเดือน ก.พ.2563 และมีพนักงานจำนวนมากได้รับผลกระทบ โดยกลุ่มแฮ็กเกอร์สามารถเข้าถึงอีเมลและกูเกิล ด็อกส์ (Google Docs) ของบรรดานักข่าว   นิวส์คอร์ปเปิดเผยว่า บริษัทได้ตรวจพบการแฮ็กข้อมูลเมื่อวันที่ 20 ม.ค. ขณะที่ระบุว่า ข้อมูลของลูกค้าและข้อมูลการเงินยังไม่ได้รับผลกระทบ และการปฏิบัติงานของบริษัทก็ยังไม่ได้รับผลกระทบเช่นกัน   แต่บริษัทมีความวิตกอย่างมากเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับการรายงานข่าวและแหล่งข่าว   ทั้งนี้ องค์กรข่าวต่าง ๆ ได้ตกเป็นเป้าหมายหลักของหน่วยข่าวกรองทั่วโลก เนื่องจากนักข่าวมีการติดต่อกับแหล่งข้อมูลที่มีความอ่อนไหวอยู่เสมอ โดยนักข่าวและห้องข่าวต่าง ๆ ในเม็กซิโก , เอลซัลวาดอร์และกาตาร์นั้น ได้ถูกแฮ็กด้วยสปายแวร์ที่ทรงพลัง         ที่มา :           สำนักข่าวอินโฟเควสท์   …

FBI อ้างจีนอยู่เบื้องหลังการโจมตีทางไซเบอร์ในอเมริกามากกว่าประเทศอื่นทั่วโลกรวมกัน!

Loading

FBI Director Christopher Wray (Photo courtesy of Reagan Library)   FBI กล่าวโทษประเทศจีนว่า เป็นต้นเหตุการโจมตีทางไซเบอร์ในสหรัฐอเมริกามากกว่าประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกรวมกัน   คริสโตเฟอร์ เรย์ (Chrostopher Wray) ผู้อำนวยการสำนักงานสืบสวนกลางแห่งสหรัฐ (FBI) กล่าวในการปราศรัยต่อต้านภัยคุกคามจากรัฐบาลจีนภายในสหรัฐว่า FBI ได้ดำเนินการสอบสวนการโจมตีทางไซเบอร์มากกว่า 2,000 เคสที่รัฐบาลจีนพยายามขโมยข้อมูลและเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกา   “รัฐบาลจีนขโมยข้อมูลปริมาณมหาศาล ส่งผลกระทบอย่างลึกซึ่งถึงขั้นทำลายอาชีพในหลากหลายอุตสาหกรรม ทำให้เราจึงต้องรับมือการดำเนินการด้านข่าวกรองของพวกเขาประมาณทุก 12 ชั่วโมง” เรย์ กล่าว   เรย์อ้างอิงการขโมยข้อมูลครั้งใหญ่บนเซิฟเวอร์ Microsoft Exchange ว่าส่งผลกระทบต่อบริษัทอเมริกันกว่า 10,000 แห่ง ทั้งยังพูดถึงการโจมตีอีกครั้งจากบริษัทที่มีรัฐบาลจีนเป็นเจ้าของว่า เป็นผู้ขโมยข้อมูลโค้ดของบริษัทกังหันลมในรัฐแมสซาชูเซต ทำให้มีพนักงานตกงานกว่า 600 คน   ย้อนกลับไปในปี 2015 ประธานาธิบดีบารัก โอบามา (Barack Obama) และประธานาบดีสี…

ลบด่วน! บริษัทความปลอดภัยตรวจพบมัลแวร์ที่มาพร้อมแอปชื่อ ‘2FA Authenticator’ บน Google Play Store!

Loading

  Pradeo บริษัทด้านความปลอดภัยมือถือสำรวจพบแอปพลิเคชันใน Google Play Store ที่ตามชื่อเหมือนจะช่วยให้ผู้ใช้ปลอดภัยมากขึ้น แต่จริง ๆ แล้วตัวแอปกลับแอบปล่อยมัลแวร์ที่แฮกเกอร์ใช้ โดยแอปดังกล่าวมีชื่อว่า ‘2FA Authenticator’   2FA หรือที่รู้จักในชื่อ two-factor authentication (การยืนยันตัวตน 2 ขั้นตอน) ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อยืนยันตัวตนของผู้ใช้เพื่อความปลอดภัยที่มากขึ้น แต่แอปพลิเคชัน 2FA Authenticator กลับมีจุดประสงค์ที่แท้จริงคือการติดตั้งมัลแวร์อันตรายที่ชื่อ ‘Vultur’ ลงบนอุปกรณ์ของผู้ใช้       Vultur จะมุ่งเป้าไปที่แอปบริการทางการเงินเพื่อที่มันจะสามารถขโมยข้อมูลธนาคารรวมถึงเงินของผู้ใช้ ซึ่ง Pradeo แนะนำว่า หากใครเผลอติดตั้งแอปพลิเคชันดังกล่าวลงบนสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ตของตนเองควรรีบลบแอปนี้ทิ้งทันที   Pradeo ค้นพบว่า 2FA Authenticator จะมีการขออนุญาตผู้ใช้เพื่อเข้าถึงความสามารถบางอย่าง และสามารถเพิ่มสิทธิ์การเข้าถึงต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง เช่น การถ่ายรูปและวิดีโอผ่านกล้องของอุปกรณ์ผู้ใช้, ยกเลิกการล็อกหน้าจอ, สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้, ทำงานเมื่อเปิดเครื่องแบบอัตโนมัติ หรือการเข้าถึงและใช้งานไบโอเมตริก หรือลายนิ้วมือของผู้ใช้ เป็นต้น  …

โดนแล้ว 2,000 แห่ง! แคสเปอร์สกี้ชี้โจรไซเบอร์หมายหัวอุตสาหกรรม ใช้วิธีใหม่ล่าข้อมูลองค์กร

Loading

  เปิดรายงาน Kaspersky ICS CERT Report ฉบับล่าสุดของแคสเปอร์สกี้ พบแคมเปญสปายแวร์ชุดใหม่ที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยโจมตีองค์กรอุตสาหกรรมมากกว่า 2,000 แห่งทั่วโลก การโจมตีนี้มีลักษณะโดดเด่นต่างจากแคมเปญสปายแวร์ทั่วไป เนื่องจากจำกัดจำนวนเป้าหมายในการโจมตีแต่ละครั้ง และตัวอย่างมัลแวร์อันตรายมีอายุการใช้งานสั้นมาก รายงานระบุว่า มีการขายข้อมูลที่ถูกขโมยในตลาดมากกว่า 25 แห่ง   นายคิริล ครูกลอฟ ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย Kaspersky ICS CERT ของแคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า ตลอดปี 2564 อาชญากรไซเบอร์ใช้สปายแวร์เพื่อโจมตีคอมพิวเตอร์อุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง วันนี้บริษัทได้เห็นแนวโน้มใหม่ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในแนวทางภัยคุกคามต่อภาคอุตสาหกรรม อาชญากรจะย่อขนาดของการโจมตีแต่ละครั้ง และจำกัดการใช้ตัวอย่างมัลแวร์แต่ละรายการเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจจับ โดยบังคับให้แทนที่ด้วยมัลแวร์ที่สร้างขึ้นใหม่อย่างรวดเร็ว   “กลวิธีอื่นๆ ได้แก่ การใช้โครงสร้างพื้นฐานอีเมลของบริษัทในทางที่ผิดเพื่อแพร่กระจายมัลแวร์ ซึ่งแตกต่างจากสปายแวร์ที่เราเคยพบเห็นมา และเราคาดว่าการโจมตีดังกล่าวจะรุนแรงในปีหน้า”   ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ผู้เชี่ยวชาญ ICS CERT ของแคสเปอร์สกี้สังเกตเห็นความผิดปกติที่น่าสงสัยในสถิติเกี่ยวกับภัยคุกคามสปายแวร์ที่ถูกบล็อกบนคอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม หรือ ICS แม้ว่ามัลแวร์ที่ใช้ในการโจมตีจะอยู่ในตระกูลสปายแวร์ที่รู้จักกันดีอย่าง Agent Tesla/Origin Logger, HawkEye และอื่นๆ…