ศาลสูงสุดบราซิลลงมติ “แบนข่าวปลอม” ก่อนเลือกตั้งประธานาธิบดี

Loading

  สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ศาลสูงสุดของรัฐบาลกลางบราซิลได้ลงมติสนับสนุนคำตัดสินของศาลสูงสุดแผนกคดีเลือกตั้ง (TSE) ในการเร่งติดตามการลบข่าวปลอมออกจากสื่อสังคมออนไลน์ในช่วงก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดี   ศาลสูงสุดของรัฐบาลกลางบราซิล ประกาศยกคำร้องที่ยื่นโดยสำนักงานอัยการระหว่างการพิจารณาคดีเมื่อวันอาทิตย์ (23 ต.ค.) เพื่อระงับมติของศาลสูงสุดแผนกคดีเลือกตั้งบางส่วน โดยอ้างว่ามีความเสี่ยงต่อการถูกเซ็นเซอร์   คณะผู้พิพากษา 6 คนลงมติเห็นชอบคำตัดสินดังกล่าว ซึ่งเป็นเสียงส่วนมากอันเพียงพอที่จะสนับสนุนมาตรการนี้ ขณะที่สมาชิกศาลสูงสุดคนอื่น ๆ ยังคงมีเวลาในการลงคะแนนจนถึงเที่ยงคืน   มติของศาลสูงสุดแผนกคดีเลือกตั้งมอบอำนาจสั่งการให้เว็บไซต์ต่าง ๆ ลบเนื้อหาที่ถูกจัดเป็นข่าวปลอมภายในเวลา 2 ชั่วโมง โดยข่าวปลอมต่าง ๆ จะต้องถูกลบออกภายในเวลา 1 ชั่วโมงเริ่มตั้งแต่วันเสาร์ (29 ต.ค.) ก่อนวันเลือกตั้งประธานาธิบดี (30 ต.ค.)   นอกจากนี้ ศาลสูงสุดแผนกคดีเลือกตั้งยังสามารถระงับช่องทางที่เผยแพร่ข่าวปลอมซ้ำ ๆ ได้     ———————————————————————————————————————————————— ที่มา :                   สำนักข่าวอินโฟเควสท์ …

เว็บสื่อก็ไม่รอด แฮ็กเกอร์เล็งเป้าโจมตี ปล่อยข่าวปลอม มากับภาพโป๊

Loading

  หากใครชอบอ่านข่าวต่างประเทศ น่าจะเคยผ่านตากับเว็บที่ชื่อว่า Fast Company มาบ้างนะ โดยตอนนี้ เว็บดังกล่าวได้ถูกแฮกเกอร์โจมตี และปล่อยข่าวปลอม ข้อความเหยีดผิว และรูปภาพโป๊อนาจารไปยังผู้อ่านผ่านแพลทฟอร์ม Apple News   ในการตอบสนองต่อเรื่องดังกล่าว Apple ได้ให้ข้อมูลว่า เว็บไซต์ FastCompany ถูกแฮก ทำให้ Apple ได้ทำการปิดการใช้งาน FastCompany บน Apple News ทันทีครับ   ทั้งนี้ Fast Company ได้แพร่แถลงการณ์ที่ยืนยันการโจมตีจริง ๆ เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา จนตอนนี้ ต้องปิดการใช้งานหน้าเว็บ และรอการแก้ไขครับ   เห็นแบบนี้แล้ว เป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่ากลัว เพราะการเผยแพร่ข่าวที่สร้างความเกลียดชังหรือสร้างกระแสลบใด ๆ ออก การจะแก้ข่าวก็อาจเป็นเรื่องที่ยากกว่า เห็นได้ชัดกับกรณี Fake News ในบ้านเรา ซึ่งถ้าหากว่าวันหนึ่ง เว็บไซต์สื่อดัง ๆ โดนแฮกแล้วเผยแพร่ข่าวปลอม มันอาจจะสร้างความเสียหายมาก ๆ…

เมื่อ TikTok ถูกใช้หาข้อมูลแทน Google! มีรายงานชี้ว่า 1 ใน 5 ของวิดีโอนำเสนอข้อมูลที่ผิด

Loading

  TikTok สำหรับหลายคนเป็นแหล่งรวมวิดีโอสนุก ๆ ไว้ดูคั่นเวลาว่าง เป็นเหมือนพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจเอาไว้สำหรับความบันเทิง ซึ่งตัวแพลตฟอร์มมีอัลกอริทึมที่เรียนรู้ความชอบของผู้ใช้งานแต่ละคนและนำเอาวิดีโอที่คิดว่าเราน่าจะสนใจมาป้อนให้ดูอย่างไม่มีวันหมด (ซึ่งบางทีก็ติดพันดูไปเป็นชั่วโมงได้เหมือนกัน)   แต่อย่างที่เราทราบกันดีครับว่า TikTok ไม่ใช่แหล่งรวมวิดีโอเพื่อความบันเทิงเพียงเท่านั้น มันยังเป็นพื้นที่ของการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากที่ต่าง ๆ ทั้งเชื่อถือได้และเชื่อถือไม่ได้รวมกันไว้ในนี้ด้วย รายงานล่าสุดของนักวิจัยจาก NewsGuard (เครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของแหล่งข่าว) บอกว่า 1 ใน 5 (หรือ 20%) ของวิดีโอบน TikTok นั้นแสดงข้อมูลที่เป็นข่าวปลอมหรือมีข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง   ยกตัวอย่างถ้าค้นหาเรื่อง ‘mRNA Vaccine’ จะมีวิดีโอที่มีข้อมูลผิด ๆ ขึ้นมาถึง 5 คลิปใน 10 คลิปแรก อย่างเช่นวิดีโอหนึ่งบอกว่าวัคซีน Covid-19 นั้นจะก่อให้เกิดความเสียหายกับอวัยวะสำคัญของเด็กแบบที่รักษาไม่หาย ซึ่งเป็นการกล่าวอ้างโดยไม่มีข้อพิสูจน์หรือหลักฐานใด ๆ มาอ้างอิงเลย   แถม TikTok ยังแสดงคำค้นหาที่ส่อถึงอคติอันเอนเอียงด้วยอย่างเช่น ถ้าเราคนหา “Covid Vaccine” อัลกอริทึมของ TikTok ก็จะแนะนำขึ้นมาเพิ่มว่า “Covid…

เตือน! อย่าหลงเชื่อข่าวปลอมทำแบบสอบถามแลกเงินหมื่น

Loading

  กระทรวงดีอีเอส วอนประชาชนหยุดหลงเชื่อเฟคนิวส์ตอบแบบสอบถามแลกเงินหมื่น ส่องสถานการณ์ข่าวปลอมรอบสัปดาห์ล่าสุด พบติด 2 อันดับในท็อป 10 ข่าวปลอมที่คนสนใจมากสุด   น.ส.นพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า ดีอีเอสได้ สรุปผลการมอนิเตอร์ และรับแจ้งข่าวปลอมประจำสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 12-18 ส.ค. 65 จากการประสานงานของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีข่าวที่ได้รับผลการตรวจสอบกลับมาแล้ว 67 เรื่อง ในจำนวนนี้พบว่าข่าวปลอมที่ติดกระแสความสนใจของคนส่วนใหญ่ เกาะกลุ่มอยู่ที่เรื่องการเงินถึง 9 เรื่อง จากการจัดอันดับข่าวคนสนใจมากสุด   สำหรับข่าวปลอมที่มีคนสนใจสูงสุด 10 อันดับ ในรอบสัปดาห์ล่าสุดนี้ ได้แก่   อันดับ 1 เรื่อง PTT Company Limited เชิญชวนให้ตอบแบบสอบถามเพื่อได้รับเงินจำนวน 10,000 บาท อันดับ 2 เพจปล่อยเงินกู้ธนาคารกรุงไทย อันดับ 3 ธ.กรุงไทย ธ.ออมสิน…

“ดีอีเอส” ปั้นเครือข่ายช่วยงานศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม

Loading

  ดีอีเอสเปิดเวทีกิจกรรมสร้างการรับรู้ รับมือกับข่าวปลอม ภาคตะวันออก โฟกัสการทำงานร่วมกับภาคประชาสังคม สร้างเครือข่ายคนทำงานช่วยขับเคลื่อนภารกิจศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม   นายทศพล เพ็งส้ม ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า ดีอีเอส ได้จัดกิจกรรมสร้างการรับรู้ เพื่อรู้เท่าทันและรับมือกับข่าวปลอม ภาคตะวันออก ซึ่งกิจกรรมนี้ ได้มีการจัดต่อเนื่องทุกปี ครอบคลุม 4 ภูมิภาคในประเทศไทย เพื่อสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายทั้งภาคประชาสังคม และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการทำงานขับเคลื่อนการตรวจสอบเฝ้าระวังการเผยแพร่ข้อมูลเนื้อหา และข่าวสารบิดเบือนที่เผยแพร่อยู่บนอินเทอร์เน็ต   “จากบริบทในปัจจุบัน ที่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและโซเชียลอย่างกว้างขวาง ทำให้บางกลุ่มนำไปเป็นช่องทางบิดเบือนและเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นข่าวปลอม หรือทำกิจกรรมที่ส่งผลกระทบสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน การทำงานร่วมกับเครือข่ายจึงมีความสำคัญ เพราะจะช่วยเป็นหูเป็นตา และหากหากพบว่ามีเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย เช่น พนันออนไลน์ ลามกอนาจาร หมิ่นสถาบัน ละเมิดลิขสิทธิ์ และเข้าข่ายผิดกฎหมายอาหารและยา กระทรวงดีอีเอสจะดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมายเป็นผู้ยื่นเรื่องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ปิดกั้นหรือลบข้อมูล”   สำหรับประชาชน หากพบเบาะแสหรือปัญหาเกี่ยวกับการหลอกลวงออนไลน์ และภัยจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ สามารถแจ้งมาที่ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนปัญหาออนไลน์ 1212 หรือสายด่วน 1441 ของตำรวจไซเบอร์ และสามารถแจ้งความออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ศูนย์รับแจ้งความออนไลน์ในคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี www.thaipoliceonline.com   สำหรับกิจกรรมสร้างการรับรู้ฯ ในปีนี้…

หลอกกู้เงิน-ปล่อยสินเชื่อ ยังเป็นข่าวปลอมอันดับหนึ่ง

Loading

  สรุปผลการมอนิเตอร์ และรับแจ้งข่าวปลอมประจำสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 13–19 พ.ค. 65 โดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม พบจำนวนข้อความที่เข้ามา 11,681,642 ข้อความ และอันดับต้นๆ ของข่าวกรองจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการหลอกปล่อยสินเชื่อ กู้เงินออนไลน์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) เปิดจำนวนข้อความที่เข้ามา 11,681,642 ข้อความ หลังการคัดกรองแล้วมีข้อความที่ต้องดำเนินการ Verify จำนวน 221 ข้อความ รวมจำนวนเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 122 เรื่อง     โดยนางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า ข่าวปลอมที่คนสนใจสูงสุด 10 อันดับ คือ อันดับ 1 กรุงไทยเปิดสินเชื่อส่วนบุคคลแบบหมุนเวียน ยืมได้ 100,000 บาท ผ่อนเดือนละ 300 บาท กู้ได้ทุกอาชีพ อันดับ 2 แอปเป๋าตัง ให้กู้เงิน 1 หมื่นบาท ลงทะเบียนได้ทุกอาชีพ…