รัฐสภายุโรปผ่านกฎหมายบริการดิจิทัล มีหน้าที่ต้องลบเนื้อหาผิดกฎหมาย-ข่าวปลอม

Loading

  สัปดาห์ที่แล้ว รัฐสภายุโรปผ่านกฎหมายดิจิทัลสำคัญฉบับหนึ่งคือ Digital Services Act (ต่อไปจะย่อ DSA) ด้วยคะแนน 530 ต่อ 78 เสียง (งดออกเสียง 80) กฎหมายฉบับนี้มีเป้าหมายเพื่อกำกับดูแลแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยเฉพาะโซเชียลมีเดียและอีคอมเมิร์ซ ที่มีภาระความรับผิดชอบอย่างชัดเจน ในการนำเนื้อหาหรือสินค้าผิดกฎหมายออกจากแพลตฟอร์มภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องเนื้อหาผิดกฎหมาย ข่าวปลอม สินค้าผิดกฎหมาย ในกรณีที่เป็นแพลตฟอร์มขนาดใหญ่ (very large online platforms หรือ VLOP) ยังมีหน้าที่ต้องนำเนื้อหาที่อันตราย (harmful ซึ่งอาจไม่ผิดกฎหมาย) และข่าวปลอมออกจากแพลตฟอร์ม รวมถึงต้องผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานอิสระ และเปิดเผยอัลกอริทึมที่ใช้คัดเลือกเนื้อหามาแสดงด้วย กฎหมาย DSA ยังมีประเด็นเรื่องการโฆษณาแบบเจาะจงบุคคล (targeted advertising) ที่ต้องโปร่งใสและเปิดให้ผู้ใช้เลือกได้โดยง่าย , การชดเชยความเสียหายเป็นตัวเงินหากแพลตฟอร์มไม่ยอมปฏิบัติตาม เป็นต้น รัฐสภายุโรปยังมีกฎหมายคู่กันอีกฉบับคือ Digital Markets Act (DMA) ที่ควบคุมพฤติกรรมของแพลตฟอร์มดิจิทัล ไม่ให้ผูกขาดหรือใช้อิทธิพลไปกลั่นแกล้งคู่แข่ง ตอนนี้ยังอยู่ในชั้นพิจารณาของสภา ที่มา – European…

คิด วิเคราะห์ แยกแยะ ทักษะที่จำเป็น บนโลกออนไลน์

Loading

  การรับมือข้อมูลหลอกลวงและข่าวปลอม ที่แชร์อยู่ในโลกออนไลน์นั้น เราต้องวิเคราะห์และตรวจสอบอย่างรอบคอบก่อนทุกครั้งที่จะแชร์ข่าวเท็จ หรือนำเสนอต่อบุคคลอื่น ในปัจจุบัน ในแต่ละนาทีมีข่าวสารที่เกิดขึ้นจำนวนมาก ซึ่งต่างกับอดีตเมื่อหลายสิบปีก่อนอย่างสิ้นเชิง เราได้รับข้อมูลข่าวสารจากหลากหลายช่องทางและรวดเร็วมากกว่าในอดีต เช่น จากสื่อสังคมออนไลน์ เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น ฯลฯ ข้อมูลข่าวสารที่ได้รับนั้นมาจากหลายแหล่งที่มา ทั้งจากแหล่งที่เชื่อถือได้และไม่น่าเชื่อถือ ผู้รับข่าวสารจำนวนมากอาจไม่สามารถวิเคราะห์และการกลั่นกรองข่าวสารที่ได้รับว่าจริงหรือปลอม จึงหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ รวมทั้งอาจมีส่วนร่วมในการสร้างความเสียหายให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยแชร์ข่าวเท็จหรือแบ่งปันข้อมูลเท็จที่ได้รับ การแชร์ข้อมูลเท็จที่ได้รับมานั้น สร้างความเสียหายและผลกระทบทางตรงหรือทางอ้อมเกิดขึ้นต่อตัวบุคคลผู้แชร์ข้อมูล หรือผู้ที่ถูกกล่าวถึง ทำให้ความน่าเชื่อถือของตนเองลดลง รวมทั้งเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมาย ส่งผลให้ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีและเสียค่าปรับต่างๆ หรือกระจายข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ ส่งผลให้ผู้อื่นหลงกรอกข้อมูลหรือเป็นเหยื่อจากลิงก์หรือข่าวที่เราแชร์   ดังนั้น เราต้องมีทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลว่า ข่าวปลอมนั้นมีลักษณะและมีช่องทางที่มาอย่างไร โดยทั่วไป ลักษณะและการหลอกลวงที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ มีดังนี้ 1.ข่าวปลอมที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเพิ่มองค์ประกอบเพื่อสร้างความน่าเชื่อ ประเด็นความน่าสนใจโดยส่วนใหญ่จะเป็นข่าวเชิงลบ เพื่อสร้างกระแสและเป็นประเด็นในวงกว้าง และสร้างความอยากรู้อยากเห็นของคนทั่วไป เช่น “คิดอย่างไรกับสถานการณ์นี้” หรือ “พบสมุนไพรไทยช่วยต้านโควิด-19” 2.ข่าวปลอมที่เกิดขึ้นจะชักนำไปในเรื่องของความเชื่อเพื่อเล่นกับความรู้สึกของบุคคล เพราะโดยทั่วไปพฤติกรรมของคนมักแบ่งการรับรู้ออกเป็นสองด้าน เช่น ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร มีทั้งเชิงบวกและเชิงลบ 3.เป็นข่าวที่มีผลกระทบกับความเชื่อมั่น แบ่งแยกมุมมองและสื่อสารไปกับเฉพาะกลุ่ม โดยเป็นข่าวสารหรือข้อมูลตามสถานการณ์ในปัจจุบันที่เกิดขึ้น ซึ่งในบางครั้งอาจจะเป็นข่าวสารหรือข้อมูลเก่าที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วนำมาสร้างกระแสใหม่ เพื่อสร้างผลกระทบต่อคนที่อยู่ในเหตุการณ์นั้นๆ อีกครั้ง…

ฮาวทูรู้ทัน “ข่าวปลอม” นักจิตวิทยาแนะชาวเน็ต Pause ก่อน Post

Loading

  ในยุคที่ “ข่าวปลอม” หรือ “เฟกนิวส์” ยังคงถูกปล่อยออกสู่โลกโซเชียลอย่างไม่หยุดหย่อน ชวนรู้วิธีรับมือข่าวปลอมจากคำแนะนำของ “พณิดา โยมะบุตร” นักจิตวิทยาคลินิก ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล   ใครเคยตกเป็นเป็นเหยื่อของ “ข่าวปลอม” หรือ “FakeNews” บ้าง? โดยเฉพาะผู้ที่เสพสื่อออนไลน์อยู่ตลอดเวลา ที่มีการเสพสื่อที่รวดเร็ว บางครั้งอาจจะไม่ทันคัดกรองให้ดี รู้ตัวอีกทีก็เผลอเชื่อข้อมูลนั้นๆ ไปแล้ว และที่แย่ไปกว่านั้นคือ เผลอแชร์ต่อข้อมูลผิดนั้นออกไปอีก แล้วแบบนี้ จะมีวิธีป้องกันและคัดกรอง “ข่าวปลอม” ที่เข้ามาวนเวียนอยู่ในการใช้ชีวิตชีวิตประจำวันได้อย่างไร จึงจะไม่เผลอตกเป็นเหยื่อการแชร์ข่าวปลอมออกไปในโลกโซเชียลให้เพิ่มเติมเข้าไปอีก   เรื่องนี้มีคำแนะนำจาก “พณิดา โยมะบุตร” นักจิตวิทยาคลินิก ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ที่อธิบายไว้เป็น How To ให้ประชาชนสามารถนำไปปฏิบัติได้ง่ายๆ ดังนี้   1. ลด ละ เลี่ยง การเสพข่าวออนไลน์ ข้อแรกที่ควรปฏิบัติคือ การพยายามลด ละ เลี่ยง การเสพข่าวออนไลน์ แม้อาจฟังดูย้อนแย้ง เพราะคนสมัยนี้เสพข่าวสารผ่านโซเชียลเป็นหลัก…

ดีอีเอสเปิดรายชื่อ 7 หน่วยงานทำเวลาสกัดข่าวปลอมได้ภายใน 1 ชั่วโมง

Loading

  “ภุชพงค์” รองปลัดดีอีเอส อัปเดตความร่วมมือหน่วยงานรัฐในการเดินหน้าแก้ไขปัญหาเฟกนิวส์ เปิด 7 รายชื่อผลงานเด่น ใช้เวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมง ยืนยันข้อเท็จจริงตอบกลับศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม นายภุชพงค์ โนดไธสง รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวระหว่างเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การใช้งานระบบสำหรับผู้ประสานงานการตรวจสอบข่าวปลอมเพื่อสร้างเครือข่ายผู้ปฏิบัติงาน และวิธีการแก้ไขปัญหาข่าวปลอม” วันนี้ (29 ก.ย.) ว่า กิจกรรมครั้งนี้ได้รับความสนใจอย่างมาก โดยมีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมอบรมกว่า 600 คน จากหน่วยงานจำนวนมากกว่า 300 แห่ง ครอบคลุมหน่วยงานราชการ องค์การมหาชน และบริษัทมหาชน โดยกระทรวงฯ และศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ประสานงานเครือข่าย กลุ่มนิติกร ตลอดจนเครือข่ายผู้ที่เกี่ยวข้องได้เข้าใจในกระบวนการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาข่าวปลอม บทบาท ขั้นตอนของผู้ประสานศูนย์ฯ ให้สามารถตรวจสอบและการแจ้งกลับมาผ่านศูนย์ฯ ตลอดจนการเผยแพร่ข่าวที่ถูกต้องตรวจสอบแล้วได้ ขณะที่จากการจัดอันดับ 10 หน่วยงานที่ให้ความร่วมมือมากสุดกับศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมในการตรวจสอบยืนยันข้อเท็จจริง ล่าสุด พบว่า ในจำนวนนี้มีอยู่ 7 หน่วยงาน ที่มีระยะเวลาในการตอบกลับโดยเฉลี่ยไม่ถึง 1 ชั่วโมง โดยหนึ่งในนี้คือ กรมประชาสัมพันธ์…

ข่าวบิดเบือน! ประเด็นข้อมูลนักท่องเที่ยว เคยมาไทยรั่วไหล จำนวน 106 ล้านราย ชี้ เป็นการรายงานซ้ำ

Loading

  ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ชี้แจ้งประเด็น ข้อมูลส่วนตัวของนักท่องเที่ยวที่เคยเดินทางมาไทยรั่วไหล จำนวน 106 ล้านราย นั้นเป็นข่าวข่าวบิดเบือน ชี้ เป็นการรายงานซำ้ว่าเกิดขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่เป็นประเด็นถกเถียงในโลกออนไลน์ กับกรณี บริษัทด้านความปลอดภัยไซเบอร์ เผย ข้อมูลนักท่องเที่ยวต่างชาติ เคยมาไทยรั่วไหลกว่า 106 ล้านราย ย้อนหลัง 10 ปี ยังไม่ทราบที่มาของข้อมูล เผยว่าข้อมูลเหล่านี้ประกอบไปด้วยชื่อ-สกุล, วันที่ที่เดินทางมายังไทย, เพศ, เลขที่พาสปอร์ต, สถานะการเข้าพักในไทย และประเภทของวีซ่า ซึ่งแม้แต่ตัวของ Diachenko ผู้รายงานเอง ก็มีชื่ออยู่ในข้อมูลชุดนี้เช่นกัน โดยล่าสุด เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2564 ทางเว็บไซต์ Anti-Fake News Center Thailand ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ชี้แจ้งประเด็นดังกล่าวว่า ตามที่มีการนำเสนอข่าวเรื่อง ข้อมูลส่วนตัวของนักท่องเที่ยวที่เคยเดินทางมาไทยรั่วไหล จำนวน 106 ล้านราย ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน…

ระวัง!! หมอพร้อม ไม่มีเวอร์ชั่นเว็บไซต์ มีแต่แอปบนมือถือเท่านั้น หากกรอกข้อมูลบนเว็บคือเว็บปลอม!!

Loading

  ระวัง!! หมอพร้อม ไม่มีเวอร์ชั่นเว็บไซต์ สาธารณสุข เตือนประชาชน เว็บไซต์หมอพร้อม (หรือที่ขึ้นต้นด้วย w.w.w.หมอพร้อม) ไม่ใช่ของรัฐ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสาธารณสุข ใดๆทั้งสิ้น.. หมอพร้อมของแท้ จากทางกระทรวงสาธารณสุข จะใช้แอพ หมอพร้อม และทางไลน์ เท่านั้น ดังนั้น อย่าไปหลงเชื่อ,ไปให้ข้อมูลส่วนตัว หรือกดเข้าไปดูเด็ดขาด เพราะอาจจะสูญเสียข้อมูลสำคัญและทำให้มิจฉาชีพนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิดได้   ระวัง!! หมอพร้อม ไม่มีเวอร์ชั่นเว็บไซต์ มีแต่แอปหรือบน LINE ผ่านมือถือเท่านั้น     จากกรณีการเผยแพร่ลิงก์เว็บไซต์ หมอพร้อม.com ทางกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบเว็บไซต์ดังกล่าวและชี้แจงว่า เว็บไซต์ชื่อ หมอพร้อม.com เป็นเว็บปลอม ไม่ใช่เว็บไซต์ที่กระทรวงสาธารณสุขพัฒนาขึ้นแต่อย่างใด และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเว็บดังกล่าว โดยสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้พัฒนาระบบการให้บริการข้อมูลการได้รับวัคซีนของประชาชน ภายใต้ชื่อ หมอพร้อม ซึ่งรองรับการใช้งานผ่าน Application หมอพร้อม และ Line หมอพร้อม เท่านั้น LINE OA…