ฮาวทูรู้ทัน “ข่าวปลอม” นักจิตวิทยาแนะชาวเน็ต Pause ก่อน Post

Loading

  ในยุคที่ “ข่าวปลอม” หรือ “เฟกนิวส์” ยังคงถูกปล่อยออกสู่โลกโซเชียลอย่างไม่หยุดหย่อน ชวนรู้วิธีรับมือข่าวปลอมจากคำแนะนำของ “พณิดา โยมะบุตร” นักจิตวิทยาคลินิก ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล   ใครเคยตกเป็นเป็นเหยื่อของ “ข่าวปลอม” หรือ “FakeNews” บ้าง? โดยเฉพาะผู้ที่เสพสื่อออนไลน์อยู่ตลอดเวลา ที่มีการเสพสื่อที่รวดเร็ว บางครั้งอาจจะไม่ทันคัดกรองให้ดี รู้ตัวอีกทีก็เผลอเชื่อข้อมูลนั้นๆ ไปแล้ว และที่แย่ไปกว่านั้นคือ เผลอแชร์ต่อข้อมูลผิดนั้นออกไปอีก แล้วแบบนี้ จะมีวิธีป้องกันและคัดกรอง “ข่าวปลอม” ที่เข้ามาวนเวียนอยู่ในการใช้ชีวิตชีวิตประจำวันได้อย่างไร จึงจะไม่เผลอตกเป็นเหยื่อการแชร์ข่าวปลอมออกไปในโลกโซเชียลให้เพิ่มเติมเข้าไปอีก   เรื่องนี้มีคำแนะนำจาก “พณิดา โยมะบุตร” นักจิตวิทยาคลินิก ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ที่อธิบายไว้เป็น How To ให้ประชาชนสามารถนำไปปฏิบัติได้ง่ายๆ ดังนี้   1. ลด ละ เลี่ยง การเสพข่าวออนไลน์ ข้อแรกที่ควรปฏิบัติคือ การพยายามลด ละ เลี่ยง การเสพข่าวออนไลน์ แม้อาจฟังดูย้อนแย้ง เพราะคนสมัยนี้เสพข่าวสารผ่านโซเชียลเป็นหลัก…

ดีอีเอสเปิดรายชื่อ 7 หน่วยงานทำเวลาสกัดข่าวปลอมได้ภายใน 1 ชั่วโมง

Loading

  “ภุชพงค์” รองปลัดดีอีเอส อัปเดตความร่วมมือหน่วยงานรัฐในการเดินหน้าแก้ไขปัญหาเฟกนิวส์ เปิด 7 รายชื่อผลงานเด่น ใช้เวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมง ยืนยันข้อเท็จจริงตอบกลับศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม นายภุชพงค์ โนดไธสง รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวระหว่างเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การใช้งานระบบสำหรับผู้ประสานงานการตรวจสอบข่าวปลอมเพื่อสร้างเครือข่ายผู้ปฏิบัติงาน และวิธีการแก้ไขปัญหาข่าวปลอม” วันนี้ (29 ก.ย.) ว่า กิจกรรมครั้งนี้ได้รับความสนใจอย่างมาก โดยมีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมอบรมกว่า 600 คน จากหน่วยงานจำนวนมากกว่า 300 แห่ง ครอบคลุมหน่วยงานราชการ องค์การมหาชน และบริษัทมหาชน โดยกระทรวงฯ และศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ประสานงานเครือข่าย กลุ่มนิติกร ตลอดจนเครือข่ายผู้ที่เกี่ยวข้องได้เข้าใจในกระบวนการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาข่าวปลอม บทบาท ขั้นตอนของผู้ประสานศูนย์ฯ ให้สามารถตรวจสอบและการแจ้งกลับมาผ่านศูนย์ฯ ตลอดจนการเผยแพร่ข่าวที่ถูกต้องตรวจสอบแล้วได้ ขณะที่จากการจัดอันดับ 10 หน่วยงานที่ให้ความร่วมมือมากสุดกับศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมในการตรวจสอบยืนยันข้อเท็จจริง ล่าสุด พบว่า ในจำนวนนี้มีอยู่ 7 หน่วยงาน ที่มีระยะเวลาในการตอบกลับโดยเฉลี่ยไม่ถึง 1 ชั่วโมง โดยหนึ่งในนี้คือ กรมประชาสัมพันธ์…

ข่าวบิดเบือน! ประเด็นข้อมูลนักท่องเที่ยว เคยมาไทยรั่วไหล จำนวน 106 ล้านราย ชี้ เป็นการรายงานซ้ำ

Loading

  ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ชี้แจ้งประเด็น ข้อมูลส่วนตัวของนักท่องเที่ยวที่เคยเดินทางมาไทยรั่วไหล จำนวน 106 ล้านราย นั้นเป็นข่าวข่าวบิดเบือน ชี้ เป็นการรายงานซำ้ว่าเกิดขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่เป็นประเด็นถกเถียงในโลกออนไลน์ กับกรณี บริษัทด้านความปลอดภัยไซเบอร์ เผย ข้อมูลนักท่องเที่ยวต่างชาติ เคยมาไทยรั่วไหลกว่า 106 ล้านราย ย้อนหลัง 10 ปี ยังไม่ทราบที่มาของข้อมูล เผยว่าข้อมูลเหล่านี้ประกอบไปด้วยชื่อ-สกุล, วันที่ที่เดินทางมายังไทย, เพศ, เลขที่พาสปอร์ต, สถานะการเข้าพักในไทย และประเภทของวีซ่า ซึ่งแม้แต่ตัวของ Diachenko ผู้รายงานเอง ก็มีชื่ออยู่ในข้อมูลชุดนี้เช่นกัน โดยล่าสุด เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2564 ทางเว็บไซต์ Anti-Fake News Center Thailand ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ชี้แจ้งประเด็นดังกล่าวว่า ตามที่มีการนำเสนอข่าวเรื่อง ข้อมูลส่วนตัวของนักท่องเที่ยวที่เคยเดินทางมาไทยรั่วไหล จำนวน 106 ล้านราย ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน…

ระวัง!! หมอพร้อม ไม่มีเวอร์ชั่นเว็บไซต์ มีแต่แอปบนมือถือเท่านั้น หากกรอกข้อมูลบนเว็บคือเว็บปลอม!!

Loading

  ระวัง!! หมอพร้อม ไม่มีเวอร์ชั่นเว็บไซต์ สาธารณสุข เตือนประชาชน เว็บไซต์หมอพร้อม (หรือที่ขึ้นต้นด้วย w.w.w.หมอพร้อม) ไม่ใช่ของรัฐ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสาธารณสุข ใดๆทั้งสิ้น.. หมอพร้อมของแท้ จากทางกระทรวงสาธารณสุข จะใช้แอพ หมอพร้อม และทางไลน์ เท่านั้น ดังนั้น อย่าไปหลงเชื่อ,ไปให้ข้อมูลส่วนตัว หรือกดเข้าไปดูเด็ดขาด เพราะอาจจะสูญเสียข้อมูลสำคัญและทำให้มิจฉาชีพนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิดได้   ระวัง!! หมอพร้อม ไม่มีเวอร์ชั่นเว็บไซต์ มีแต่แอปหรือบน LINE ผ่านมือถือเท่านั้น     จากกรณีการเผยแพร่ลิงก์เว็บไซต์ หมอพร้อม.com ทางกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบเว็บไซต์ดังกล่าวและชี้แจงว่า เว็บไซต์ชื่อ หมอพร้อม.com เป็นเว็บปลอม ไม่ใช่เว็บไซต์ที่กระทรวงสาธารณสุขพัฒนาขึ้นแต่อย่างใด และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเว็บดังกล่าว โดยสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้พัฒนาระบบการให้บริการข้อมูลการได้รับวัคซีนของประชาชน ภายใต้ชื่อ หมอพร้อม ซึ่งรองรับการใช้งานผ่าน Application หมอพร้อม และ Line หมอพร้อม เท่านั้น LINE OA…

ข่าวปลอม! ถ่ายภาพในสถานีรถไฟหัวลำโพง ต้องมีใบอนุญาตเท่านั้น

Loading

  จากกรณีที่มีการให้ข้อมูลว่า สถานีรถไฟหัวลำโพงได้ประกาศห้ามถ่ายภาพในสถานี ซึ่งหากจะถ่ายต้องมีใบอนุญาตเท่านั้น ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า การรถไฟแห่งประเทศไทยไม่ได้ทำการห้ามถ่ายรูป ในบริเวณสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) แต่อย่างใด ยืนยันไม่มีการปิดประกาศห้าม ผู้ที่โดยสารรถไฟหรือบุคคลทั่วไปสามารถถ่ายได้ตามปกติ วันนี้ (13 ก.ย.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่าตามที่มีข่าวปรากฏในสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง ถ่ายภาพในสถานีรถไฟหัวลำโพง ต้องมีใบอนุญาตเท่านั้น ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ การรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีที่มีการให้ข้อมูลว่า สถานีรถไฟหัวลำโพงได้ประกาศห้ามถ่ายภาพในสถานี ซึ่งหากจะถ่ายต้องมีใบอนุญาตเท่านั้น ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคมได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า การรถไฟแห่งประเทศไทยไม่ได้ทำการห้ามถ่ายรูป ในบริเวณสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) แต่อย่างใด ยืนยันไม่มีการปิดประกาศห้าม ผู้ที่โดยสารรถไฟหรือบุคคลทั่วไปสามารถถ่ายได้ตามปกติ แต่ทั้งนี้ขอความร่วมมือประชาชนให้อยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสมและปลอดภัย เนื่องจากที่ผ่านมามีหลายกรณีที่ถ่ายรูปไม่เหมาะสม อนาจาร และหลายกรณีถ่ายในบริเวณพื้นที่อันตราย ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรืออันตรายได้ เช่น บริเวณรางรถไฟ หรือขบวนรถไฟเปล่า ที่อาจมีการพลาดพลั้ง หรือเกิดอุบัติเหตุได้ อีกกรณีที่พบมากคือการถ่ายแบบแฟชั่นของร้านเสื้อผ้าที่ยกอุปกรณ์การถ่ายทำเข้ามาใช้ถ่ายทำโดยไม่ได้ขออนุญาต ซึ่งพบว่าบางกรณีสร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้ที่มาใช้บริการของสถานีรถไฟหัวลำโพง และในบางกรณีทำการถ่ายทำกันในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตราย จึงอยากขอความร่วมมือหากจะเข้ามาถ่ายทำการถ่ายแฟชั่นในรูปแบบดังกล่าวกรุณาทำหนังสือเพื่อขออนุญาต และเพื่อความปลอดภัยของทีมงานรวมถึงความปลอดภัยของพนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยเองด้วย ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง…

สังคมโลก : ยุคเฟคนิวส์

Loading

  พรรคประชาธิปไตยเกาหลีหรือ ดีพีเค (DemocraticParty of Korea : DPK) พรรครัฐบาลเกาหลีใต้ ใกล้บรรลุเป้าหมายผลักดันกฎหมายสื่อสารมวลชนฉบับแก้ไขใหม่ ซึ่งมีเป้าหมายต่อสู้กับข่าวปลอมหรือข่าวบิดเบือน ที่กำลังสร้างความปั่นป่วน ในทุกภาคส่วนสังคมของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ร่างกฎหมาย Acton Press Arbitration and Remedies ผ่านการอนุมัติจากที่ประชุมคณะอนุกรรมาธิการวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว ของรัฐสภาเกาหลีใต้ เมื่อปลายเดือนก.ค. และผ่านขั้นกรรมาธิการ เมื่อวันที่ 25ส.ค. ที่ผ่านมา และคาดว่าจะผ่านการอนุมัติจากที่ประชุมรัฐสภา ออกเป็นกฎหมายบังคับใช้โดยสมบูรณ์ในอีกไม่นาน กฎหมายสื่อฉบับใหม่กำหนดบทลงโทษปรับหนักขึ้น 5 เท่า สำหรับความผิดฐานตีพิมพ์เผยแพร่รายงาน ที่เป็นเท็จหรือบิดเบือน ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิของผู้เสียหาย หรือทำให้เกิดภาวะบีบคั้นทางจิตใจ ไม่ว่าการเผยแพร่จะเกิดจากความตั้งใจหรือไม่ก็ตาม กฎหมายฉบับนี้ยังกำหนดให้สำนักข่าวหรือองค์กรสื่อ รวมถึงเว็บไซต์ข่าวออนไลน์ต้องแก้ไขความผิดพลาด หรือชี้แจงข้อเท็จจริงโดยระบุว่า เป็นการเผยแพร่โดยตั้งใจหรือ ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง อย่างไรก็ตาม กฎหมายไม่ระบุชัดคำนิยามของ “ข้อมูลเท็จหรือบิดเบือน” นอกจากนั้น การกำหนดค่าเสียหายกฎหมายกำหนดให้ศาลพิจารณาจาก “อิทธิพลทางสังคม และยอดจำหน่าย” ขององค์กรสื่อ ซึ่งหมายความว่าหากเป็นหนังสือพิมพ์ สำนักข่าว สถานีโทรทัศน์…