“ดีอีเอส” จ่อ ออกร่างประกาศกระทรวงฯ แก้ปัญหาข้อมูลเท็จท่วมโซเชียล

Loading

  “ชัยวุฒิ” รมว.ดีอีเอส เรียกประชุม คกก.ป้องกันฯ การเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางโซเชียลฯ นัดแรก ไฟเขียว เตรียมออกร่างประกาศกระทรวงฯ หลักเกณฑ์เก็บ Log files หนุน พ.ร.บ.คอมพ์ฯ ตามทันยุคโซเชียล วันที่ 20 พ.ค. นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า วันนี้ (20 พ.ค.64) ได้เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์ ครั้งที่ 1/2564 โดยที่ประชุมได้รับทราบผลการดำเนินงานด้านการปรับปรุงกฎหมายลำดับรองตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อปรับปรุงประกาศกระทรวงฯ ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ที่ใช้บังคับมานานเพื่อให้ทันสมัย สอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่เป็นสากล และสามารถพิสูจน์และยืนยันตัวตนของผู้ใช้งานทั้งในโซเชียลมีเดีย และดิจิทัลแพลตฟอร์มต่างๆ โดยคณะทำงานอยู่ระหว่างการพิจารณา (ร่าง) ประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่องหลักเกณฑ์การจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ. …. และแนวทางการกำกับดูแลและการลงทะเบียนผู้ใช้งาน Social Media โดยดูจากแนวทางของต่างประเทศเป็นต้นแบบ คาดว่า จะแล้วเสร็จในเดือนมิถุนายนนี้ และจะรับฟังความคิดเห็น จากผู้เกี่ยวข้องต่อไป สำหรับสรุปผลการดำเนินงานด้านการป้องกันปราบปรามของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม…

“บิ๊กตู่” สั่งเข้มหน่วยงานรัฐ ตรวจสอบข่าวปลอม ถ้าเจอต้องโต้ทันที

Loading

  “บิ๊กตู่” สั่งเข้มหน่วยงานรัฐ ตรวจสอบข่าวปลอม ถ้าเจอต้องโต้ทันที โดยเฉพาะการรณรงค์ให้ประชาชนได้รับการฉีดวัคซีน ลั่นหากพบเผยแพร่ข้อมูลเท็จ สั่งเอาผิด วันที่ 18 พ.ค.64 ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์​ จันทร์​โอชา​ นายก​รัฐมนตรี​ และ ​รมว.กลาโหม​ กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ว่า วันนี้ตนได้เน้นย้ำให้ที่ประชุมครม. ในการชี้แจงข้อเท็จจริงให้กับประชาชนรับทราบเกี่ยวกับมาตรการต่างๆ ของรัฐบาลและศบค. ซึ่งบ่อยครั้งก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคม โดยเฉพาะการรณรงค์ให้ประชาชนได้รับการฉีดวัคซีน เพื่อให้ประเทศไทยสามารถเดินไปต่อได้ โดยใครมีเจตนาเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จจะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย นายกฯ กล่าวอีกว่า ขอความร่วมมือจากทุกหน่วยงานของรัฐให้มีความเข้มงวดในการตรวจสอบดูแลข่าวปลอมจากหน่วยงานของตนตลอดเวลา ชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนในทันทีและหากเป็นการกระทำผิดกฎหมายขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต่อไปเพื่อดำเนินการ รวมทั้งขอความร่วมมือสื่อมวลชนและผู้ใช้สื่อทุกคน ให้ใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษมากยิ่งขึ้นและขอบคุณประชาชนทุกคนที่ให้เป็นหูเป็นตาแจ้งไปยังหน่วยงานต่าง ๆ   ——————————————————————————————————————————————— ที่มา : ข่าวสดออนไลน์        / วันที่เผยแพร่  18 พ.ค.2564 Link : https://www.khaosod.co.th/politics/news_6405141

ดีอีเอส เปิดสถิติข่าวปลอม 3 เดือนแรกปีนี้ ทะลุ 50 ล้านข้อความ

Loading

    ดีอีเอส เผยสถิติข่าวปลอมแค่ 3 เดือนแรกปีนี้ทะลุ 50 ล้านข้อความ ขณะที่ผลการตรวจสอบข่าวปลอมรอบ 1 ปีกว่า พบ หมวดสุขภาพ -นโยบายรัฐ ทะลักกว่า 9,000 ข้อความ ผนึกกำลัง ศปอส.ตร. เอาผิดมือโพสต์ที่เข้าข่ายทำผิดกฎหมายกว่า 2,000 คน นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม กล่าวว่า จากการรับแจ้งเบาะแส และติดตามการสนทนาบนโลกออนไลน์เกี่ยวกับข่าวปลอม ช่วงระยะเวลา 3 เดือนแรกปีนี้ (1ม.ค-31มี.ค64)พบว่า มีข้อความข่าวที่ต้องคัดกรองจำนวนกว่า 50 ล้านข้อความ โดยข้อความข่าวที่เข้าเกณฑ์ดำเนินการตรวจสอบ 4,649 ข้อความ ซึ่งหลังจากคัดกรองพบข้อความข่าวที่ต้องดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 2,194 เรื่อง     สำหรับภาพรวมการดำเนินงานของศูนย์ฯ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 62 – 31 มี.ค. 64…

ปอท.เตือน! April Fool’s Day โพสต์ข่าวปลอม แชร์ข่าวปลอม มีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมฯ

Loading

  30 มีนาคม 2564 เพจเฟชบุ๊ก กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี-บก.ปอท.ได้โพสต์เตือนว่า ในวันที่ 1 เมษายน ของทุกปี ในหลายประเทศทั่วโลก ถือเป็นวันโกหก (April Fool’s Day) โดยผู้คนจะเล่นมุกตลกและเรื่องหลอกลวงต่อกัน แต่สำหรับในประเทศไทยนั้น การโพสต์ข้อความหลอกลวงหรือแชร์ข่าวปลอม ที่อาจทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจผิดได้ มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ปอท. จึงฝากเตือนประชาชน ให้ระมัดระวังในการโพสต์หรือแชร์ข่าวต่างๆในโซเชียลมีเดีย ว่ามีโทษจำคุกและเสียค่าปรับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 มาตรา 14 (1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย แก่ประชาชน มาตรา 14 (2) ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน มาตรา 14(5) ผู้ใดเผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวข้างต้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ   —————————————————————————————————————————— ที่มา…

การต่อต้านข้อมูลบิดเบือน (disinformation): ทางเลือกนโยบายที่เหลืออยู่

Loading

ที่มาภาพ: GLOBSEC Strategic Communication Programme https://counterdisinfo.org/ Written by Kim การรณรงค์ (หาเสียง) ด้วยข้อมูลบิดเบือน (disinformation) สร้างผลกระทบอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่การเปลี่ยนผลการเลือกตั้งไปจนถึงกระตุ้นการก่อความรุนแรง ภาครัฐและเอกชนรวมทั้งรัฐบาลสหรัฐฯและบริษัทสื่อสังคม (social media) เพิ่งเริ่มต้นใช้กลยุทธ์ต่อสู้กับข้อมูลบิดเบือน ซึ่งนำไปสู่การตอบสนองทีละน้อย ทั้งนี้ การตอบสนองการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่มาพร้อมกับ “infodemic”[1] จะต้องพิจารณาอย่างครอบคลุมรวมถึงการใช้กฎหมายใหม่และการคว่ำบาตรตลอดจนขยายทรัพยากรขององค์กร เพื่อจัดการความท้าทายของข้อมูลบิดเบือน อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาของรัฐบาลไม่ใช่ยาครอบจักรวาล จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ประชาชนจะต้องเสริมสร้างทักษะความรู้ของตัวเองเกี่ยวกับดิจิตอลและสื่อด้วย[2]           การเผยแพร่ข้อมูลบิดเบือนถือเป็นภัยคุกคามเสถียรภาพและสันติภาพระหว่างประเทศ การรณรงค์อย่างซับซ้อนเพื่อสร้างอิทธิพลต่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯในปี 2016 ของรัสเซีย บ่งชี้ถึงการเป็นภัยคุกคามอย่างมีนัยสำคัญ ตัวอย่างจำนวนมากแสดงให้เห็นว่าทฤษฎีสมคบคิดที่ถูกผลักดันทางออนไลน์ (โลกเสมือนจริง) สามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ในโลกกายภาพ ล่าสุดที่ลอสแอนแจลิส วิศวกรรถไฟชื่อ Eduardo Moreno เจตนาทำให้รถไฟตกรางเพื่อขัดขวางความพยายามของรัฐบาลในการต่อสู้กับ COVID-19 โดย Moreno เชื่อว่า เรือโรงพยาบาล (the Mercy) ของกองทัพเรือเป็นส่วนหนึ่งของแผนการยึดครองประเทศของรัฐบาล นอกเหนือจากการปรับใช้ทฤษฎีสมคบคิดและ deepfakes (วิดิโอดัดแปลงด้วยปัญญาประดิษฐ์) เพื่อจัดการความเชื่อของปัจเจกบุคคล บริษัทสื่อสังคมซึ่งเป็นสมรภูมิสำคัญของสงครามข้อมูลบิดเบือนได้ใช้วิธีไม่คงเส้นคงวาในการต่อสู้กับข้อมูลบิดเบือนและ deepfakes โดย Twitter ดำเนินการเชิงรุกด้วยการห้ามโฆษณาทางการเมือง แต่ตัดสินใจติดธง (ไม่ลบ) deepfakes ทางการเมือง ในทางกลับกัน Facebook ประกาศว่าจะไม่ลบโฆษณาทางการเมืองที่ทราบว่าเป็นข้อมูลผิด ปัญหาเหล่านี้ทวีความรุนแรงเมื่อเกิดการระบาดของ COVID-19 ซึ่งองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) เรียกว่า infodemic           รัฐบาลประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะสหรัฐฯมีนโยบายตอบโต้ข้อมูลบิดเบือนค่อนข้างช้า…

สงสัยจะข่าวปลอม ศูนย์ข้อมูล COVID-19 ของรัฐบาลเตือนเว็บรับเงินช่วยเหลือปลอม แต่ THNIC ระบุ .th ยังจดชื่อไทยไม่ได้

Loading

หลังการเปิดเว็บ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ทางศูนย์ข้อมูล COVID-19 ของรัฐบาลก็ออกมาเตือนถึงโดเมนปลอมเพื่อหลอกเอาข้อมูลประชาชน รวม 44 โดเมน อย่างไรก็ดีวันนี้ทาง THNIC ก็ออกมาปฎิเสธว่าโดเมนเกือบครึ่งที่อยู่ภายใต้ .th นั้นไม่มีการจดจริง เพราะ .th ยังไม่รองรับการจดโดเมนเป็นภาษาไทย เกณฑ์การตั้งชื่อโดเมนนั้นต่างออกไปในแต่ละ TLD (top level domain อันดับสูงสุด เช่น .com, .org, .net, หรือ .th ในกรณีของไทย) โดยเกณฑ์การตั้งชื่อของ .th ที่ปรับปรุงเมื่อปีที่แล้ว จะอนุญาตเฉพาะตัวอักษรภาษาอังกฤษและขีดกลางเท่านั้น ผมทดสอบ resolve DNS โดเมนในกลุ่ม .th หลายอันก็พบว่าไม่สามารถ resolve ได้ ตามประกาศของ THNIC อย่างไรก็ดี เว็บเราไม่ทิ้งกันมีการขอข้อมูลส่วนตัวเป็นจำนวนมาก (ซึ่งก็จำเป็นตามการใช้งาน) ก็เป็นความเสี่ยงที่จะถูกล่อลวงเอาข้อมูล ผู้ใช้ทุกคนควรดูโดเมนให้ตรงกับประกาศก่อนจะกรอกข้อมูล ที่มา – @THNICF ————————————————– ที่มา : Blognone / 29 มีนาคม 2563 Link…