ตำรวจจีนจับกุมชายคนหนึ่งหลังใช้ ChatGPT ปล่อยเฟกนิวส์ว่อนสังคมออนไลน์

Loading

    เจ้าหน้าที่ตำรวจของจีนควบคุมตัวชายคนหนึ่งจากข้อกล่าวหาที่ว่า เขาใช้ ChatGPT สร้างข่าวปลอมขึ้นมาเผยแพร่ในโลกออนไลน์ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่จีนดำเนินคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับแชตบอต AI อัจฉริยะตัวนี้   แถลงการณ์จากตำรวจในมณฑลกานซู่ระบุว่า ผู้ต้องสงสัยถูกกล่าวหาว่าใช้ ChatGPT เพื่อสร้างข่าวปลอมเกี่ยวกับเหตุรถไฟชนกัน จากนั้นเขาก็โพสต์ลงสื่อสังคมออนไลน์เพื่อหากำไรจากข่าวนี้ โดยบทความดังกล่าวมีคนคลิกเข้าไปดูถึง 15,000 ครั้ง โดยถึงแม้จีนจะแบน ChatGPT แต่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตหลายคนในจีนก็ยังแอบใช้ VPN เพื่อเข้าไปเล่นแชตบอตตัวนี้   สำนักข่าว CNN รายงานว่า เหตุรถไฟชนกันถือเป็นประเด็นที่มีความอ่อนไหวสูงในจีน หลังเมื่อปี 2011 จีนเคยประสบกับอุบัติเหตุรถไฟความเร็วสูงชนกันในเมืองเวินโจว มณฑลเจ้อเจียง จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 40 คน และบาดเจ็บอีกหลายร้อยคน ซึ่งในเวลาดังกล่าวได้เกิดกระแสความโกรธแค้นในหมู่ประชาชนที่ต้องการคำตอบว่า เหตุใดสื่อของรัฐบาลจีนถึงไม่รายงานข่าวอัปเดตให้สังคมได้รับทราบอย่างรวดเร็ว   เจ้าหน้าที่ตำรวจมณฑลกานซู่เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ชายนามสกุลฮง (Hong) ถูกสอบสวนในเมืองตงก่วน ทางตอนใต้ของมณฑลกวางตุ้ง เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยระบุว่า “ฮงใช้เทคโนโลยีดังกล่าวปลอมแปลงข้อมูลเท็จและเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต ซึ่งข่าวดังกล่าวได้แพร่กระจายไปอย่างกว้างขวาง พฤติกรรมของเขาถือว่ามีความผิดฐานยุยงปลุกปั่นและก่อให้เกิดความวุ่นวายในสังคม”   รายงานระบุว่า การจับกุมครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกในมณฑลกานซู่ หลังจากที่เมื่อเดือนมกราคม…

ดีอีเอส เปิดข่าวปลอม ปรับเบี้ยผู้สูงอายุ 3,000 บาท ขึ้นอันดับ 1

Loading

    ดีอีเอส พบข่าวปลอม 1 ใน 3 ได้แก่ 10 พ.ค. 66 ปรับเบี้ยผู้สูงอายุเพิ่ม 3,000 บาท สูงสุด 3 เดือน รองลงมาเป็นข่าวลวง เครื่องดื่มผักเชียงดา ตรามณีชา ตัวช่วยลดน้ำตาล ปรับสมดุลความดันให้เป็นปกติได้ และลดไขมันสะสมได้ และผลิตภัณฑ์ Rich Skin กำจัด ริ้วรอย อ่อนกว่าวัย ไม่ต้องทำศัลยกรรม   นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) และโฆษกกระทรวงฯ ฝ่ายข้าราชการประจำ กล่าวถึง ผลการมอร์นิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ระหว่างวันที่ 28 เมษายน – 4 พฤษภาคม 2566 พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 3,207,970 ข้อความ โดยมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 164 ข้อความ  …

เตือนภัย ปชช.อย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพหลอกขายแผงโซลาร์เซลล์

Loading

  กรุงเทพฯ 25 เม.ย. – ตำรวจไซเบอร์เตือนภัยประชาชนอย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพหลอกขายแผงโซลาร์เซลล์ ฉวยโอกาสช่วงค่าไฟฟ้าแพง   พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. กล่าวเตือนภัยประชาชน กรณีมิจฉาชีพเข้ามาแฝงตัวในสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อหลอกลวงขายแผงโซลาร์เซลล์ (Solar Cell) ดังนี้   ได้รับรายงานจากกองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ตอท.) พบว่าเริ่มมีผู้เสียหายหลายรายทยอยแจ้งความผ่านระบบรับแจ้งความออนไลน์ หลังจากถูกมิจฉาชีพหลอกลวงขายแผงโซลาร์เซลล์ หรืออุปกรณ์สำหรับการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ให้กับเหยื่อผู้ที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายการอุปโภคและบริโภคจากการใช้ไฟฟ้าในรูปแบบของที่พักอาศัย โดยมิจฉาชีพฉวยโอกาสในช่วงโซลาร์เซลล์กำลังเป็นที่นิยมและได้รับความสนใจในสถานการณ์ปัจจุบัน ใช้บัญชีเฟซบุ๊กปลอมแฝงตัวเข้ามาในกลุ่มต่าง ๆ ที่มีการซื้อขายโซลาร์เซลล์ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง โพสต์ประกาศขายสินค้าดังกล่าวในราคาถูกกว่าราคาท้องตลาด ใช้รูปภาพที่คัดลอกมาจากช่องทางที่มีการซื้อจริง โฆษณาอวดอ้างสรรพคุณต่าง ๆ และมีการเร่งรัดให้รีบตัดสินใจว่าสินค้าใกล้จะหมด นอกจากนี้แล้วมิจฉาชีพยังใช้วิธีการสร้างเพจเฟซบุ๊กปลอมขึ้นมาทั้งหมด เพื่อหลอกลวงขายสินค้าประเภทดังกล่าวอีกด้วย   ที่ผ่านมานับตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.65 – 16 เม.ย.66 พบว่าการหลอกลวงซื้อสินค้าหรือบริการ ยังคงมีประชาชนตกเป็นเหยื่อ โดยได้แจ้งความร้องทุกข์ผ่านระบบการรับแจ้งความออนไลน์สูงที่สุดเป็นลำดับที่ 1 จำนวนกว่า 85,395 เรื่อง หรือคิดเป็น 35.61% ของเรื่องที่มีการรับแจ้งความออนไลน์ทั้งหมด…

‘ข่าวปลอม’ Fake news พุ่งไม่หยุด!! ประเด็น ‘สุขภาพ-โควิด’ บิดเบือนสูงสุด

Loading

    “ดีอีเอส”จับตา“ข่าวปลอม”สุขภาพพุ่งไม่หยุด ทั้งเส้นเลือดสมองแตก-โควิด ทำคนตื่นตระหนก เปิดผลมอนิเตอร์ข่าวปลอมรอบสัปดาห์ พบข่าวปลอมเกือบ 100% เกิดจากโลกออนไลน์ โดยมีข่าวต้องคัดกรอง 3,243,222 ข้อความ พบประชาชนให้ความสนใจข่าวปลอมกลุ่มสุขภาพมากที่สุด   เปิดผลมอนิเตอร์ข่าวปลอมรอบสัปดาห์นี้ พบ ข่าวปลอมเกือบ 100% เกิดจากโลกออนไลน์ โดยมีข่าวต้องคัดกรอง 3,243,222 ข้อความ พบประชาชนให้ความสนใจข่าวปลอมกลุ่มสุขภาพมากที่สุด โดยเฉพาะข่าวปลอม ไม่ควรสระผมก่อนอาบน้ำ เพราะทำให้เส้นเลือดสมองแตก รองลงมาข่าว โควิดสายพันธุ์ XBB และ XBB.1.16 ตรวจพบยาก เป็นพิษมากกว่าเดลต้า 5 เท่า มีอัตราการตายที่สูงกว่า และดื้อต่อภูมิคุ้มกัน ข้อมูลเท็จ ไม่เป็นความจริง อย่าแชร์!   ดร.เวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ระหว่างวันที่ 14- 20 เมษายน 2566 พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 3,243,222 ข้อความ…

เฉลยแล้ว ! โพสต์สุ่มแทงญี่ปุ่นเป็นเฟกนิวส์ ความจริงแค่ทุบตี

Loading

    ชาวเน็ตหัวไว จับโป๊ะ สาวโพสต์เตือนภัย ‘สุ่มแทงญี่ปุ่น’ สรุปไม่ใช่ความจริง เป็นเพียงคนสติไม่ดีไล่ทุบนักท่องเที่ยว ทัวร์ลงจนต้องปิดเฟซบุ๊ก   กลายเป็นเรื่องราวชวนตื่นตระหนกเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา หลังมีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อว่า ที่นี่ เที่ยวญี่ปุ่น ได้โพสต์เตือนภัย หลังเจอเหตุการณ์ ‘สุ่มแทง’ ที่ประเทศญี่ปุ่น   ทำให้กลายเป็นข่าวใหญ่โตและถูกกระจายต่อในโลกออนไลน์ไปอย่างกว้างขวาง ก่อนจะมีคนแย้งว่าเหตุการณ์มันดูแปลก ๆ เพราะมีคนไทยหลายคนที่อาศัยอยู่ที่นั่น และไม่ได้ทราบข่าวที่เกิดขึ้นเลย จึงมีการสืบประเด็นนี้กันเกิดขึ้น   ก่อนพบว่าสิ่งที่หญิงสาวเจ้าของเฟซบุ๊กโพสต์คือเรื่องโกหก เพราะภาพเหตุการณ์ที่เธอนำมาลงเป็นเพียงการสุ่มทำร้ายร่างกายโดยการทุบตี ไม่ใช่การใช้อาวุธแทงกัน   ทั้งนี้ยังแย้งประเด็นที่บอกว่าตำรวจญี่ปุ่นมาช้า เพราะจากภาพกล้องวงจรปิดตำรวจใช้เวลาเพียง 5 นาที วิ่งจากป้อมมายังที่เกิดเหตุ ก่อนพุ่งไปจับคนร้ายทันที ซึ่งคนร้ายเป็นคนเร่ร่อนสติไม่ดี   ก่อนทัวร์จะลงเจ้าของเฟซบุ๊กจนต้องปิดเฟซหนี ชาวเน็ตหลายคนเข้าใจว่าอาจเห็นเหตุการณ์จริง และตกใจอยากบอกให้คนอื่นระวัง แต่ถ้าไม่แน่ใจก็ไม่ควรใช้คำว่าสุ่มแทง เพราะมันร้ายแรงและส่งผลเสียกับภาพลักษณ์ของประเทศเขา           —————————————————————————————————————————————— ที่มา :         …

“ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม?” แนะ 10 จุดสังเกต ไม่ตกเป็นเหยื่อ “ข่าวปลอม”

Loading

    ในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา “เฟคนิวส์” หรือ “ข่าวปลอม” ได้โผล่ว่อนโซเซียล โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 ระบาด ข่าวปลอมเกี่ยวกับสุขภาพ และเรื่องโควิด   ทำให้ภาครัฐต้องถึงกับมีนโยบายให้แต่ละหน่วยงานภาครัฐตั้งทีมขึ้นมารับผิดชอบเพื่อตรวจสอบข่าวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ กรม หรือกระทรวง และให้รีบแจ้งประชาสัมพันธ์ถึงข้อเท็จจริงต่อสังคม เพื่อไม่ให้เกิดความตื่นตระหนกและเข้าใจผิด!?!   อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารัฐบาล จะมีการประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนอยู่ตลอดเวลา แต่มิจฉาชีพได้ปรับเปลี่ยน รูปแบบกลโกง ให้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ทำให้ยังมีประชาชนตกเป็นเหยื่อสูญเสียเงินให้กับมิจฉาชีพ ซึ่งจากรายงานของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) พบว่า 70% ของข่าวสารที่แพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย คือ ข่าวปลอม!!   ทั้งนี้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ให้ตนเองได้รู้ทันข่าวปลอมผ่านสื่อออนไลน์ โดยเฉพาะบนเฟซบุ๊ก ทางกระทรวงดีอีเอส จึงแนะนำให้สังเกตจุดสำคัญ 10 ข้อ ที่มีลักษณะเป็น “ข่าวปลอม”  ดังนี้   1. สงสัยข้อความพาดหัว : ข่าวปลอมมักมีข้อความพาดหัวที่ดึงดูดความสนใจโดยใช้ตัวหนังสือเด่น ๆ และเครื่องหมายอัศเจรีย์…