ฟิลิปปินส์และเวียดนามตกลงกระชับความร่วมมือด้านการป้องกัน
ฟิลิปปินส์และเวียดนามจะกระชับความร่วมมือด้านการทหารด้วยข้อตกลงที่จะลงนามในปีนี้ โดยทั้งสองประเทศพยายามตอบโต้ความก้าวร้าวของรัฐบาลปักกิ่งในทะเลจีนใต้
ฟิลิปปินส์และเวียดนามจะกระชับความร่วมมือด้านการทหารด้วยข้อตกลงที่จะลงนามในปีนี้ โดยทั้งสองประเทศพยายามตอบโต้ความก้าวร้าวของรัฐบาลปักกิ่งในทะเลจีนใต้
หนึ่งในไฮไลต์จากเวทีประชุมความมั่นคง Shangri-La Dialogue ที่สิงคโปร์ในปีนี้คือ บรรยากาศความตึงเครียดจากปมพิพาทระหว่าง จีน-ฟิลิปปินส์ ในทะเลจีนใต้ที่ยังคุกรุ่นอย่างต่อเนื่อง ทำให้หลายฝ่ายตั้งคำถามถึงความเป็นไปได้ที่ปมขัดแย้งนี้ อาจลุกลามบานปลายกลายเป็นสงครามใหญ่ครั้งใหม่ในเอเชีย
สหรัฐอวดเครื่องบินรบและเฮลิคอปเตอร์ทะยานขึ้นลงจากเรือบรรทุกเครื่องบินนิมิตซ์ หวังแสดงแสนยานุภาพในทะเลจีนใต้ น่านน้ำที่มีการอ้างกรรมสิทธิ์ทับซ้อนกันดุเดือดที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ทั้งยังเปรียบเสมือนหลังบ้านพญามังกรจีน สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า เรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐ นิมิตซ์ นำ กองเรือจู่โจม เข้าสู่ ทะเลจีนใต้ เมื่อสองสัปดาห์ก่อน ฝูงเฮลิคอปเตอร์ MH-60 Seahawk และเครื่องบินรบF/A-18 Hornet ขึ้นลงกันให้ว่อน พลเรือตรีคริสโตเฟอร์ สวีนีย์ ผู้บัญชาการกองเรือสหรัฐ กล่าวเมื่อวันศุกร์ (27 ม.ค.) ว่า การเดินทางท่องทะเลจีนใต้เป็นความรับผิดชอบหนึ่งของสหรัฐต่อเสรีภาพการเดินทางในน่านน้ำและน่านฟ้าภูมิภาคที่สำคัญต่อการค้าโลก “เราจะแล่นเรือ เหินฟ้า และปฏิบัติการในทุกที่ที่กฎหมายและปทัสถานระหว่างประเทศอนุญาต เราจะทำอย่างปลอดภัยและมุ่งมั่นในเรื่องนี้ มันก็แค่การเดินเรือและปฏิบัติการกับพันธมิตรและหุ้นส่วนของเราในพื้นที่ เพื่อสร้างหลักประกันให้พวกเขาถึงการค้าพาณิชย์ที่เปิดกว้างและเสรีในอินโดแปซิฟิก” สวีนีย์กล่าว กองเรือบรรทุกเครื่องบินจู่โจมนิมิตซ์ 11 ประกอบด้วย – ขีปนาวุธร่อนนำวิถี Bunker Hill – ขีปนาวุธทำลายล้างนำวิถี Decatur – เรือ Wayne E. Meyer…
เรียบเรียงปัญหา “ข้อพิพาททะเลจีนใต้” ที่ดำเนินมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสถานการณ์กำลังคุกรุ่น “ทะเลจีนใต้” เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญมากต่อเศรษฐกิจโลกและสิ่งแวดล้อม และมีผลประโยชน์มหาศาลที่หลายประเทศจับจ้อง จนเกิดเป็นข้อพิพาทที่ดำเนินมายาวนานหลายสิบปี และย้อนไปได้นานนับร้อยนับพันปี ข้อพิพาททะเลจีนใต้ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า จะเกิดผลกระทบอะไรกับประเทศไทยและอาเซียนบ้าง นำมาสู่การชำแหละสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับทะเลจีนใต้ในงานสัมมนาออนไลน์ “ไขปัญหาทะเลจีนใต้ ความหวัง ความจริง และท่าทีของสหรัฐอเมริกา” โดยงานสัมมนาดังกล่าวเป็นความร่วมมือของ สมาคมอเมริกาศึกษาในประเทศไทย สถานทูตอเมริกา และศูนย์เอเชียแปซิฟิกศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ข้อพิพาททะเลจีนใต้คืออะไร รศ.ดร.ภูมิ มูลศิลป์ คณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เท้าความให้ฟังว่า ปัญหาความขัดแย้งในทะเลจีนใต้เป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการอ้างกรรมสิทธิ์บางส่วน และทั้งหมด บริเวณเหนือดินแดน และอธิปไตยในน่านน้ำทะเลจีนใต้ หมู่เกาะพาราเซล (Paracel Islands) และหมู่เกาะสแปรตลีย์ (Spratly Islands) “พื้นที่ส่วนใหญ่ในทะเลจีนใต้เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ และยังเป็นเส้นทางการขนส่งสินค้าทางทะเลที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาค ดังนั้น ทะเลจีนใต้จึงมีความสำคัญในมิติเชิงยุทธศาสตร์เชิงเศรษฐกิจ ทำให้หลายประเทศอ้างกรรมสิทธิ์ และส่งผลไปสู่ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่อดีต” คณบดีกล่าว ข้อมูลจาก ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) พบว่า…
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว