‘ดีพเฟค’ เทคโนโลยีตัดต่อหน้า-เสียง โจทย์ใหญ่ศึกเลือกตั้งทั่วโลกปี 2024

Loading

พ่อค้าเร่ปั่นจักรยานผ่านป้ายแสดงภาพและรายชื่อผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ในกรุงจาการ์ตา เมื่อ 22 มกราคม 2024 (ที่มา:AP)   ภาพและเสียงสังเคราะห์จากเทคโนโลยีดีพเฟคกำลังสร้างความสับสนให้กับฐานเสียงในประเทศที่กำลังจะมีการเลือกตั้ง จนนักวิเคราะห์จับตามองว่าปี 2024 ที่ประชาชนในกว่า 60 ประเทศจะต้องเข้าคูหา จะมีการใช้ AI สร้างข่าวลือข่าวลวงเพื่อหวังผลทางการเมืองอย่างแพร่หลาย   ในช่วงหลายสัปดาห์ก่อนการเลือกตั้งในอินโดนีเซียที่จะมีขึ้นในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ประชาชนผู้ลงคะแนนเสียงต่างต้องเจอกับวิดีโอและเสียงของนักการเมืองหลายคน ซึ่งแท้ที่จริงถูกสังเคราะห์ขึ้นมาโดยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่เรียกกันว่า ดีพเฟค (Deepfakes) ยกตัวอย่างเช่นวิดีโอของอดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โตที่เผยแพร่ในแอปพลิเคชันติ๊กตอก (TikTok)   ซานตี อินดรา อัสตูตี จาก Mafindo ซึ่งเป็นเครือข่ายตรวจสอบข้อเท็จจริงในอินโดนีเซีย ระบุว่า การใช้ AI สังเคราะห์เนื้อหาขึ้นมา เป็นสิ่งที่สร้างความแตกต่างให้กับการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งในปี 2024 เทียบกับครั้งก่อน ๆ   อัสตูตีกล่าวว่า “ในการเลือกตั้งปี 2024 การโจมตีคู่แข่งในปีนั้นมักใช้ข่าวลวงกันเป็นส่วนใหญ่ ในปี 2019 ข่าวลวงถูกใช้โจมตีผู้จัดการเลือกตั้ง ในขณะที่ปี 2024 เราเห็นการยกระดับที่พิลึกพิลั่นขึ้นไปอีกเพื่อโจมตีกระบวนการทางประชาธิปไตยทั้งองคาพยพ”…

นักวิเคราะห์ห่วง ‘ดีพเฟค’ สื่อลวงลึก อาวุธร้ายทำลายงานข่าวสาร

Loading

แฟ้มภาพ – ผู้สื่อข่าวเอเอฟพีดูวิดีโอปลอมที่สร้างจากปัญญาประดิษฐ์ หรือ ดีพเฟค (Deepfake) ที๋โต๊ะทำงานในกรุงวอชิงตัน 25 ม.ค. 2019 (Alexandra ROBINSON/AFP)   การคืบคลานเข้ามาของเทคโนโลยีดีพเฟค (Deepfake) หรือวิดีโอปลอมที่สร้างขึ้นโดยปัญญาประดิษฐ์ ได้กลายเป็นอาวุธใหม่ในการเผยแพร่ข่าวปลอมและข้อมูลบิดเบือน ในยุคแห่งข้อมูลข่าวสารที่แพร่หลายในทุกรูปแบบบนโลกออนไลน์   การเผยแพร่คลิปวิดีโอที่มีภาพของผู้ดำเนินรายการข่าวสหรัฐฯ ที่นำเสนอข่าว แสดงความเห็น หรือสนับสนุนสกุลเงินคริปโต รวมทั้งสินค้าอื่น ๆ อย่างผิด ๆ ได้สร้างความกังวลให้กับเหล่านักวิเคราะห์ในเรื่องนี้   การใช้ ดีพเฟค (deepfake) หรือสื่อลวงลึก เป็นวิดีโอที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการปลอมแปลงตัวตนซึ่งรวมถึงบรรดานักข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวต่าง ๆ ขึ้นมาได้เหมือนจริง ได้กลายเป็นสิ่งที่สร้างปัญหาใหญ่ ในปี 2024 ที่ประชาชนมากกว่า 40 ประเทศทั่วโลกจะออกไปใช้สิทธิ์ใช้เสียงเลือกตั้งครั้งสำคัญของพวกเขา   ในช่วงเวลาที่ข้อมูลบิดเบือนมีอย่างแพร่หลายและความเชื่อมั่นในข่าวสารบ้านเมืองปัจจุบันตกต่ำอย่างหนัก ประกอบกับการที่ธุรกิจสื่อรับเอาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในงานข่าวจริง วิดีโอเหล่านี้เป็นสิ่งที่ยากสำหรับผู้รับชมในการแยกแยะว่าสิ่งที่เห็นและได้ยินเป็นจริงหรือไม่แค่ไหน   พอล แบร์เร็ตต์ รองผู้อำนวยการ Stern Center for Business and…

รัฐบาลสกัดข่าวเท็จ ปตท.ปลอมแปลงผลิตภัณฑ์น้ำมันเครื่อง

Loading

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ออกมาย้ำเตือน ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลที่ผิดพลาด ประเด็นเรื่อง “ปตท. ปลอมแปลงผลิตภัณฑ์น้ำมันเครื่อง” โดยการตรวจสอบข้อเท็จจริงจาก บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) กระทรวงพลังงาน พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น “เป็นข้อมูลเท็จ”

Nightshade อุปกรณ์ใหม่ของศิลปินป้องกัน AI นำภาพไปใช้งาน

Loading

  ความก้าวหน้าของ AI นำไปสู่การเกิดข้อถกเถียงโต้แย้งในหลายด้าน โดยเฉพาะในกลุ่มศิลปินที่รู้สึกว่าพวกเขาถูกละเมิดลิขสิทธิ์ จากการที่ภาพของตนถูกนำไปใช้เป็นฐานข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต นำไปสู่การคิดค้น Nightshade ระบบป้องกันไม่ให้เอไอนำภาพไปใช้งาน   ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ สร้างแนวโน้มความเป็นไปได้ในการพัฒนาอันไร้ขีดจำกัด ความสะดวกสบายในการใช้งานไปจนขีดความสามารถเป็นสิ่งที่ผู้คนต่างยอมรับ แต่ขณะเดียวกันนี่ก็เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดข้อถกเถียงในหลายด้าน   หนึ่งในกลุ่มที่เกิดข้อถกเถียงมากที่สุดคือ กลุ่มศิลปิน โดยเฉพาะเอไอที่สามารถสร้างภาพขึ้นมาได้โดยอาศัยเพียงการป้อนคำสั่งตัวอักษร เสียง หรือแม้แต่เสียงดนตรี แต่ด้วยความคลุมเครือในด้านข้อมูลที่นำไปใช้งานตลอดจนลิขสิทธิ์ ทำให้เกิดกระแสความไม่พอใจจนมีการฟ้องร้องตามกฎหมาย   นำไปสู่การคิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการรับมือกับการสร้างภาพด้วยปัญญาประดิษฐ์โดยเฉพาะ     Nightshade และ Glaze ระบบป้องกันเอไอนำภาพไปใช้งาน   ผลงานนี้เป็นของทีมวิจัยจาก Massachusetts Institute of Technology(MIT) กับการคิดค้นระบบป้องกันชนิดใหม่ขึ้นมาเพื่อรับมือเอไอ โดยจะทำการเติมส่วนประกอบขนาดเล็กเพื่อทำให้ภาพเกิดการบิดเบือน ป้องกันไม่ให้เอไอนำภาพดังกล่าวไปใช้เทรนหรือเป็นต้นแบบในการผลิตภาพใหม่ต่อไป   เอไอกับศิลปะยังคงเป็นประเด็นร้อนแรงด้วยความคลุมเครือและช่องโหว่ของกฎหมาย ศิลปินจำนวนมากต่างรู้สึกว่าตัวเองถูกเอาเปรียบ เมื่อผลงานพวกเขาถูกใช้เป็นฐานข้อมูลสร้างภาพขึ้นมาใหม่ นำไปสู่การฟ้องร้องในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ต่อเอไอเชิงศิลปะอย่าง DALL-E, Midjourney และ Stable Diffusion   ปัจจุบันการฟ้องร้องยังคงไม่ยุติแม้มีการประกาศว่าภาพจากเอไอไม่มีลิขสิทธิ์เพื่อป้องกันปัญหา แต่ข้อถกเถียงนี้เองนำไปสู่แนวคิดในการพัฒนาแนวทางป้องกัน…

โพลล์ชี้ 50% ของชาวอเมริกัน เชื่อสื่อจงใจนำเสนอข้อมูลบิดเบือน

Loading

    ชาวอเมริกันครึ่งหนึ่งในการสำรวจล่าสุด เชื่อว่าองค์กรสื่อระดับประเทศ ตั้งใจนำเสนอข่าวที่สร้างความเข้าใจผิด หรือโน้มน้าวให้สาธารณชนยอมรับในมุมมองบางอย่างจำเพาะเจาะจงผ่านการรายงานข่าว และไม่ถึง 1 ใน 4 ที่มองว่าสื่อมวลชนทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ของประชาชน ตามรายงานของเอพี   การสำรวจโดย Gallup และ Knight Foundation ที่เผยแพร่เมื่อวันพุธ สอบถามชาวอเมริกัน 5,593 คน ช่วงอายุ 18 ปีขึ้นไป ในช่วงวันที่ 31 พฤษภาคม – 21 กรกฎาคมปีที่แล้ว ลงลึกกว่าการสอบถามทั่วไปเรื่องความเชื่อมั่นในสื่อในประเทศที่ตกต่ำลง ด้วยการถามถึงสาเหตุที่ชาวอเมริกันจำนวนมากมีความเชื่อว่าสื่อมีจุดมุ่งหมายในการนำเสนอข่าวที่สร้างความเข้าใจผิด   ในการสำรวจถามว่าชาวอเมริกันเห็นด้วยหรือไม่กับคำกล่าวที่ว่าองค์กรสื่อระดับประเทศไม่ได้มีเจตนาที่จะนำเสนอข่าวที่สร้างความเข้าใจผิด ปรากฏว่า 50% ไม่เห็นด้วย และมีเพียง 25% ที่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ และเมื่อถามว่าเห็นด้วยหรือไม่กับคำกล่าวที่ว่า สื่อในประเทศ “ห่วงใยผลประโยชน์ของผู้อ่าน ผู้ชม และผู้ฟัง” ในการศึกษาพบว่า 52% ไม่เห็นด้วย   นอกจากนี้ มีเพียง 23% ของชาวอเมริกันในการสำรวจ เชื่อว่า…

สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ จัดเสวนา “เราจะ Stop Fake, Spread Facts เพื่อเราและสังคม?”

Loading

  สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ จัดการเสวนา “เราจะ Stop Fake, และ Spread Facts เพื่อเราและสังคม?” เพื่อสร้างพลังแห่งการตื่นรู้ด้านดิจิทัล เอาชนะข้อมูลบิดเบือน ระบุเนื้อหาประเภทสุขภาพและการเมือง ถูกบิดเบือนมากที่สุด   เมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2566 ที่โรงแรมแกรนด์ ฟอร์จูน กรุงเทพฯ สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ร่วมกับ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และ กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ได้จัดโครงการ หยุดข้อมูลลวง…Stop Fake, Spread Facts “ร่วมปลุกสังคม รู้เท่าทันข้อมูลลวง” โดยภายในงานได้จัดเสวนาหัวข้อ “เราจะ Stop Fake, และ Spread Facts เพื่อเราและสังคม?”   โดยมี พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.),คุณมงคล…