รัฐบาลดิจิทัล (9) “เก็บ” ครั้งเดียวก็เกินพอ

Loading

  ทำไมต้องเอาสำเนาเอกสารราชการ ไปให้หน่วยงานรัฐที่เราไปติดต่อด้วย ทั้งๆ ที่เป็นเอกสารของราชการเอง แถมยังต้อง “ทำและรับรอง” สำเนาเท่ากับจำนวน “คำขอ” ที่เราจะยื่นอีก   หน่วยงานแห่งนั้นน่าจะยังไม่ได้ใช้ระบบไอที ทำให้แต่ละ “คำขอ” ต้องแนบเอกสารให้ครบจบในชุดเดียว จึงจะพิจารณาได้โดยไม่ต้องไปเปิดค้นเอกสารที่อื่นอีก ประชาชน“คนเดียว”มาติดต่อหลายเรื่องก็ต้องทำเป็น “หลายคำขอ”และสำเนาเอกสารแยกกัน   นี่เป็นการมองราชการเป็นศูนย์กลาง ถ้าหากมอง ประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen Centric) แล้ว ประชาชนหนึ่งคน จะยื่นกี่คำขอก็ต้องถือเป็นเรื่องเดียวกันถ้ายื่นพร้อมกัน   ส่วนการรับรองสำเนา น่าจะเกิดจากการที่หน่วยงานรัฐไม่สามารถตรวจสอบ “ความจริงแท้” ของเอกสารสำเนาได้ จึงต้องให้นำทั้งเอกสาร “ตัวจริง”มาแสดง พร้อมกับ “ลงนาม” รับรองสำเนาถูกต้อง ถือว่า ประชาชนเป็นผู้รับผิดชอบในเอกสารต่างๆ ที่ยื่นเข้ามา หากปลอมแปลงหรือเป็นเท็จ ก็มีฐานทางกฎหมายที่จะปฏิเสธการอนุญาตหรืออาจดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไปได้   อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารนั้น ที่จริงแล้ว เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐผู้รับเรื่อง พ.ร.บ. วิ อิเล็กทรอนิกส์ จึงให้เจ้าหน้าที่ต้องเป็นคนทำสำเนาและลงนามรับรองเอกสารเอง ไม่ใช่ประชาชนผู้ยื่นเรื่องอีกต่อไป   หลักการ “การจัดเก็บข้อมูลเพียงครั้งเดียว”…

“ประเสริฐ”เผยยังพบซื้อขายข้อมูลประชาชน สั่งเร่งปิดกั้นจับกุมเด็ดขาด

Loading

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยว่า ตามที่นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้ ดีอี แก้ปัญหาการหลุดรั่วของข้อมูลประชาชน ตลอดจนการซื้อขายข้อมูลประชาชนตามที่เป็นข่าว จึงได้เร่งดำเนินการ 6 มาตรการ ทั้งระยะเร่งด่วน ระยะ 6 เดือน และระยะ 12 เดือน และได้เสนอคณะรัฐมนตรีไปแล้วนั้น

โพลล์: อเมริกันชนเกือบครึ่งต้าน “การสอดเเนม” ประชาชนด้วยเหตุผลความมั่นคง

Loading

  เหลืออีกเพียงสี่วันก็จะครบรอบ 20 ปีเหตุการณ์ ก่อการร้าย 11 กันยายน ปี ค.ศ. 2001 ในสหรัฐฯ ซึ่งโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นทำให้เจ้าหน้าที่เพิ่มมาตรการด้านความมั่นคงขึ้นมาเพื่อปกป้องความปลอดภัยของประชาชน เมื่อเวลาผ่านไปมาตรการเก็บข้อมูลประชาชนทั้งในและนอกประเทศที่เคยได้รับการสนับสนุนจากคนอเมริกัน กลับได้รับเเรงต่อต้านมากขึ้น ณ ขณะนี้ สำนักข่าวเอพี (Associated Press) รายงานโดยอ้างโพลล์ที่ทำร่วมกับองค์กร NORC Center for Public Affairs Research ว่า คนอเมริกันร้อยละ 46 ไม่เห็นด้วยกับการที่เจ้าหน้าที่สามารถเข้าไปอ่านอีเมลของบุคคลที่ไม่ได้อยู่ในสหรัฐฯ โดยไม่มีหมายค้น แม้ว่าจะทำไปเพื่อตอบโต้ภัยคุกคามต่อสหรัฐฯก็ตาม และมีเพียงร้อยละ 27 ของผู้ตอบเเบบสอบถามที่เห็นด้วย ตามข้อมูลในโพลล์ของ AP-NORC ที่สำรวจความคิดเห็นของคนช่วงวันที่ 12-16 สิงหาคม อันที่จริงมาตรการดังกล่าวสามารถทำได้ตามกฎหมายว่าด้วยการเก็บข้อมูลข่าวกรองต่างประเทศ เมื่อมองย้อนกลับไป 10 ปีที่เเล้วผู้ที่สนับสนุนการสอดเเนมลักษณะดังกล่าวมีมากกว่าผู้ที่ไม่เห็นด้วยคือ ร้อยละ 47 ต่อ 30     ตัวเลขที่เห็นถือว่าเป็นไปในทางตรงข้ามกับปัจจุบัน แม้ว่าในตอนนี้ผู้เชี่ยวชาญเริ่มเตือนถึงความเป็นไปได้ที่กลุ่มติดอาวุธในต่างแดนจะกลับมาสั่งสมกำลังอีกครั้งหลังจากที่สหรัฐฯ เพิ่งถอนทหารออกจากอัฟกานิสถาน ผลโพลล์ครั้งนี้เเสดงให้เห็นถึงความคิดที่เปลี่ยนไป ที่คนอเมริกัน…