อึ้ง! พี่สาวเสียชีวิต น้องสาวสวมรอยเนียนไปทำงานแทนจนเกษียณ รับเงินบำนานจุกๆ เกือบ 2 ล้านบาท

Loading

คดีแปลกๆ เกิดขึ้นในเมืองอูไห่ เขตปกครองตนเองมองโกเลียในทางตอนเหนือของจีน เมื่อหญิงแซ่อัน ปกปิดการเสียชีวิตของพี่สาวสวมรอยเข้าไปทำงานแทนกว่า 14 ปี จนเกษียณและได้รับเงินบำนาญ

ทนายสหรัฐที่ใช้ตัวอย่างคดีปลอมในชั้นศาล ถูกศาลตัดสินสั่งปรับ 5,000 ดอลลาร์

Loading

  หลังจากการพิจารณาคดี ที่ทนายความ Steven Schwartz ใช้หลักฐานและตัวอย่างคดีปลอมจาก ChatGPT ในคดีฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกับสายการบิน Avianca ของโคลอมเบีย   ล่าสุด ศาลแขวงแมนแฮตตัน สหรัฐอเมริกา มีคำสั่งให้ Steven Schwartz, Peter LoDuca (ผู้รับช่วงต่อคดีจาก Steven) และ สำนักงานกฎหมายต้นสังกัด Levidow, Levidow & Oberman ถูกปรับ 5,000 ดอลลาร์   ผู้พิพากษาให้เหตุผลว่า Steven จงใจให้ข้อมูลเท็จกับศาลโดยการใช้หลักฐานและคดีปลอมจาก AI ขณะที่สำนักงานกฎหมายของฝั่ง Steven โต้แย้งว่าเป็นความผิดโดยบริสุทธิ์ใจ   ในคดีระหว่าง Steven และสายการบิน Avianca ซึ่งเป็นที่มาของเหตุการณ์ครั้งนี้ สายการบินขอให้ศาลยกฟ้อง ขณะที่ Steven รวบรวมหลักฐานคดีต่าง ๆ จาก ChatGPT ซึ่งเป็นข้อมูลปลอมมาใช้สู้คดี แต่กลับไม่สามารถหาที่มาของทั้ง 6 คดีที่นำมาอ้างได้เมื่อถูกทีมกฎหมายของสายการบินทวงถาม…

Google Maps ใช้โมเดล AI ตรวจจับข้อมูลปลอม, บล็อกรีวิวปลอมได้ 115 ล้านรีวิว

Loading

  กูเกิลเผยสถิติการต่อสู้กับ “ข้อมูลปลอม” ใน Google Maps ที่เปิดให้ผู้ใช้คนไหนก็ได้สามารถอัปเดตข้อมูลสถานที่และแผนที่ได้   เทคนิคของกูเกิลต่างจาก OpenStreetMap ที่ใช้แรงคนคอยตรวจสอบ โดยใช้โมเดล machine learning เข้ามาช่วยตรวจจับด้วย ล่าสุดกูเกิลยังอัปเดตโมเดล AI ตัวใหม่ให้ตรวจจับข้อมูลปลอมเหล่านี้ได้เร็วและมีประสิทธิภาพกว่าเดิม   แพทเทิร์นใหม่ที่กูเกิลพบคือการสร้างโปรไฟล์ธุรกิจปลอมโดยใช้โดเมน .design หรือ .top และการอัปโหลดรูปที่มีเบอร์โทรปลอม ๆ ลงในรูป เพื่อล่อให้คนที่ค้นหาธุรกิจโทรไปยังเบอร์ปลอมเหล่านี้แทนเบอร์จริง ซึ่งโมเดลตัวใหม่ของกูเกิลตรวจจับได้   สถิติการตรวจจับของปี 2022 มีดังนี้ •  บล็อกรีวิวที่ผิดเงื่อนไขการใช้งานได้ 115 ล้านรีวิว รีวิวจำนวนมากถูกดักจับได้ก่อนโผล่เข้าในระบบ และโมเดล AI ใหม่สามารถตรวจจับรีวิวปลอมได้เพิ่มขึ้น 20% เทียบกับปี 2021 •  บล็อกหรือลบรูปภาพที่คุณภาพต่ำ เบลอ หรือผิดเงื่อนไขการใช้งาน จำนวน 200 ล้านรูป และวิดีโอ 7 ล้านคลิป •  บล็อกการสร้างโปรไฟล์ธุรกิจปลอม…

อินเดียพิจารณาแบนเนื้อหาออนไลน์ ที่รัฐบาลถือเป็น “ข่าวปลอม”

Loading

    รัฐบาลอินเดียจะไม่อนุญาตให้แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์แสดงข้อมูลใด ๆ ที่ถูกระบุว่าเป็น “ข้อมูลเท็จ” ตามข้อเสนอร่างกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) ของประเทศ ที่เผยแพร่ในสัปดาห์นี้   สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานจากกรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 19 ม.ค. ว่า ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นมาตรการล่าสุดของรัฐบาลนิวเดลี ของนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ผู้นำอินเดีย ซึ่งถูกมองว่าเป็นความพยายามที่จะควบคุมบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยี   ข้อมูลใด ๆ ที่ถูกระบุ “ปลอมหรือเท็จ” โดยสำนักประชาสัมพันธ์ (พีไอบี) หรือหน่วยงานอื่นใดที่ได้รับอนุญาตในการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากรัฐบาล หรือจาก “หน่วยงานที่มีการทำธุรกรรมดังกล่าว” จะถูกห้ามเผยแพร่ภายใต้ร่างกฎหมายใหม่นี้   เมื่อข้อมูลถูกระบุว่าปลอมหรือเท็จ แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ หรือ “ตัวกลางทางออนไลน์อื่น ๆ” จะต้อง “ใช้ความพยายามตามสมควร” เพื่อทำให้มั่นใจว่า ผู้ใช้งานจะไม่จัด, แสดง, อัปโหลด, ดัดแปลง, เผยแพร่, ส่งต่อ, จัดเก็บ, อัปเดต หรือแชร์ข้อมูลนั้น ๆ   India…

จีนออกมาตรการคุมเทคโนโลยี “ดีพเฟค” เริ่มบังคับใช้ ม.ค. นี้

Loading

  สำนักงานบริหารไซเบอร์สเปซของจีน (ซีเอซี) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลความมั่นคงทางไซเบอร์ของจีน ระบุว่า กฎใหม่ของจีน สำหรับผู้ให้บริการเนื้อหาที่มีการแก้ไขข้อมูลใบหน้าและเสียง จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 ม.ค. 2566 โดยหน่วยงานมุ่งหวังที่จะตรวจสอบเทคโนโลยีและบริการที่เรียกว่า “ดีพเฟค” อย่างเข้มงวดมากขึ้น   สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานจากนครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน เมื่อวันที่ 12 ธ.ค. ว่า กฎระเบียบใหม่จากซีเอซี ซึ่งออกเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา กำหนดให้บุคคลได้รับการคุ้มครองจากการถูกแอบอ้างโดยไม่ได้รับความยินยอม อันมาจากเทคโนโลยี “ดีพเฟค” ภาพเสมือนที่มีความคล้ายคลึงกับภาพต้นฉบับจนแยกไม่ออก และถูกนำไปใช้เพื่อการบิดเบือน หรือการให้ข้อมูลเท็จได้โดยง่าย   China's rules for "deepfakes" to take effect from Jan. 10 https://t.co/faLf9KG1gj pic.twitter.com/52XnzO89iw — Reuters (@Reuters) December 12, 2022   ซีเอซี กล่าวว่า ความเคลื่อนไหวข้างต้นมีเป้าหมายเพื่อควบคุมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ให้บริการโดยแพลตฟอร์มดังกล่าว…

ว่าด้วย Fake News

Loading

  Fake News เป็นศัพท์นิยมขณะนี้เกี่ยวกับพฤติกรรมใส่ร้ายหรือหลอกลวงด้วยข่าวสาร การรายงานหรือนำเสนอด้วยข้อมูลเท็จ หรือการบิดเบือนข้อมูลข่าวสารสำหรับใช้โจมตีหรือทำลายฝ่ายตรงข้าม ไม่ว่าจะกระทำเป็นการเฉพาะเจาะจงที่ตัวบุคคล กลุ่มบุคคล หรือมุ่งให้เกิดความล่มสลายต่อเนื่องแบบโดมิโนในระบบการเมือง เศรษฐกิจ สังคม หรือการทหารก็ได้ ในอดีตการสร้างเรื่องราวใส่ร้ายหรือการหลอกลวงด้วยข้อมูลข่าวสารเสมือนจริงเช่นเดียวกับ Fake News คือ การบ่อนทำลาย ซึ่งนับเป็นวิธีที่ยากลำบากต่อการกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยหรือคุ้มครองป้องกัน แต่มีจุดอ่อนที่ต้องดำเนินการด้วยระยะเวลายาวนาน ที่อาจเป็นเหตุให้บรรดาเป้าหมายตรวจสอบพบก่อนที่การบ่อนทำลายจะบรรลุผล     ปัจจุบันการคุ้มครอง ป้องกัน และเผชิญกับ Fake News นับเป็นความยากลำบากที่ยิ่งทวีมากขึ้น เนื่องมาจากการแพร่กระจายข้อมูลข่าวสารผ่านระบบเทคโนโลยีการสื่อสารในขณะนี้เป็นไปอย่างไร้ขอบเขตและรวดเร็ว ถึงแม้นานาประเทศพยายามที่จะให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน เพื่อให้แยกแยะและต่อต้าน Fake News ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเท็จ ข่าวสารลวง และข้อมูลข่าวสารที่ถูกบิดเบือนเหล่านั้น อย่างเช่น องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) จัดทำ “Journalism, ‘Fake News’ and Disinformation” และเผยแพร่รายละเอียดผ่านทาง https://en.unesco.org คู่มือของ UNESCO ดังกล่าวนำเสนอข้อมูลและแนวการอบรมสำหรับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชน ไม่ว่าจะเข้ามาศึกษา ฝึกอบรม ประกอบการเรียนการสอน…