วิจัยเผยข้อมูลผู้ใช้ Facebook 1 คนอาจอยู่ในมือของเกือบ 50,000 บริษัท

Loading

ผลการศึกษาจาก Consumer Reports เผยว่า Facebook ได้ข้อมูลของผู้ใช้งาน 1 คนจากบริษัทมากกว่า 2,000 บริษัท นักวิจัยของ Consumer Reports ชี้ว่า Facebook ได้รับข้อมูลผู้ใช้งาน 1 คน โดยเฉลี่ยคนละ 2,230 บริษัท โดยศึกษาจากอาสาสมัคร 709 คน

รู้จักกับช่องโหว่ใน MOVEit Transfer ที่สร้างความเสียหายให้ผู้คนกว่า 60 ล้าน

Loading

ช่องโหว่ใน MOVEit Transfer ซอฟต์แวร์ส่งไฟล์ตัวเดียวจะทำให้มีผู้เสียหายมากถึง 60 ล้านคนทั่วโลก ในระดับการแฮ็กที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปี เขย่าองค์กรในหลายภาคส่วนทั่วโลก ตั้งแต่หน่วยงานของรัฐ โรงพยาบาล โรงเรียน ไปจนถึงบริษัทการเงิน ต้องหันมาทบทวนมาตรการรักษาความปลอดภัยกันยกใหญ่

Google ยอมความจ่ายค่าเสียหายอีก 93 ล้านดอลลาร์ ให้รัฐแคลิฟอร์เนีย คดีเก็บข้อมูลพิกัดผู้ใช้งาน

Loading

กูเกิลตกลงจ่ายเงิน 93 ล้านดอลลาร์ ให้กับรัฐแคลิฟอร์เนีย เพื่อยอมความในคดีที่ถูกฟ้องว่ามีการเก็บข้อมูลพิกัดผู้ใช้งาน แม้ผู้ใช้งานเลือกให้ปิดการเก็บข้อมูลแล้ว ซึ่งรัฐแคลิฟอร์เนียบอกว่ากูเกิลได้ประโยชน์จากการทำโฆษณาแบบเจาะกลุ่ม

“เอ็กซ์” จ่อเก็บข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล, ประวัติการทำงาน และการศึกษาของผู้ใช้งาน

Loading

  สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า “เอ็กซ์” (X) หรือชื่อเดิมทวิตเตอร์ ได้ปรับปรุงนโยบายความเป็นส่วนตัวเพื่อเก็บข้อมูลผู้ใช้งานประเภทใหม่ ได้แก่ ข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลที่ใช้พิสูจน์ตัวตนบุคคล   เอ็กซ์ระบุในนโยบายที่ปรับปรุงใหม่ว่า “เมื่อได้รับความยินยอมจากผู้ใช้งาน เราอาจเก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลของคุณเพื่อวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัย ความมั่นคง และการระบุตัวตน” แม้เอ็กซ์ไม่ได้ให้คำจำกัดความที่ชัดเจนเกี่ยวกับข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล แต่บริษัทอื่นมักใช้คำดังนี้เพื่ออธิบายถึงข้อมูลที่ดึงมาจากลักษณะใบหน้า ดวงตา และลายนิ้วมือของแต่ละบุคคล   นอกจากนี้ เอ็กซ์กล่าวเสริมว่า บริษัทยังมีความตั้งใจที่จะรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพและประวัติการศึกษาของผู้ใช้งานด้วยเช่นกัน   นโยบายความเป็นส่วนตัวที่ปรับปรุงใหม่ระบุว่า “เราอาจเก็บและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ เช่น ประวัติการทำงาน ประวัติการศึกษา งานที่ชอบ ทักษะและความสามารถ กิจกรรมการค้นหางานและการมีส่วนร่วม และอื่น ๆ เพื่อแนะนำงานที่เหมาะสำหรับคุณ ตลอดจนแบ่งปันข้อมูลกับผู้ที่อาจมาเป็นนายจ้างของคุณ เพื่อที่นายจ้างจะสามารถค้นหาผู้สมัครงานที่มีศักยภาพ และเพื่อแสดงโฆษณาที่เกี่ยวข้องแก่คุณมากขึ้น”   ทั้งนี้ บรรดาบริษัทโซเชียลมีเดียต่างถูกวิพากษ์วิจารณ์จากผู้ใช้งานและหน่วยงานกำกับดูแลกฎระเบียบทั่วโลกเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลและวิธีการที่นำข้อมูลไปใช้ รวมถึงการขายโฆษณาที่มีการปรับให้เหมาะกับความสนใจของบุคคลและประวัติการค้นหา       ——————————————————————————————————————————————————– ที่มา :                 …

Zoom ยอมถอย ระบุไม่นำข้อมูลผู้ใช้งานมาเทรน AI ทุกกรณี จากเดิมบอกเทรนได้ถ้า consent

Loading

  Zoom ประกาศแก้ไขรายละเอียดของเงื่อนไขการให้บริการ (term of service) อีกครั้ง หลังจากเนื้อหาที่ปรับปรุงก่อนหน้านี้ ระบุว่า Zoom มีสิทธินำข้อมูลผู้ใช้งานไปเทรน AI ได้ โดยข้อมูลสำคัญคือ เสียง วิดีโอ และแชท ต้องได้รับการยินยอมก่อน (consent)   ถึงแม้ประกาศนี้จะระบุชัดเจนว่าผู้ใช้งานต้องเป็นฝ่ายอนุญาตให้นำข้อมูลไปใช้งานก่อน แต่ข้อมูลส่วนอื่นนั้น Zoom บอกว่าสามารถนำไปเทรนได้เลย ก็ทำให้กระแสตอบกลับมาไม่ดีนัก   Zoom บอกว่าหลังได้รับความเห็นเพิ่มเติม Zoom จึงแก้ไขข้อความเงื่อนไขการให้บริการใหม่ โดยระบุว่าจะไม่นำข้อมูลเสียง วิดีโอ แชท การแชร์หน้าจอ ไฟล์แนบ หรือข้อมูลอื่นที่เป็นของผู้ใช้งานระหว่างการสนทนา เช่น โพลล์ ไวท์บอร์ด รีแอคชัน มาเทรน AI ของ Zoom หรือนำไปเทรนผ่านเครื่องมือของผู้ให้บริการอื่น ในทุกกรณี   อย่างไรก็ตามข้อมูลส่วนอื่นซึ่งสร้างขึ้นมาเพื่อวิเคราะห์ระบบของ Zoom เองเช่น Telemetry, Product-Usage หรือ Diagnostic Data…

โตโยต้า พบฐานข้อมูลสำคัญของลูกค้ารั่วไหล อาจถูกบุคคลภายนอกเข้าถึง

Loading

  บริษัทกำลังตรวจสอบปัญหานี้ตามกฎหมายและข้อบังคับของแต่ละประเทศโดยไม่ได้ระบุว่ามีลูกค้ากี่รายที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้และอยู่ในประเทศใด   วันที่ 31 พฤษภาคม 2566 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประกาศว่า ข้อมูลของลูกค้าในของลูกค้าในบางประเทศในเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) อาจถูกเปิดเผยต่อสาธารณชน ตั้งแต่ เดือนตุลาคม 2559 – เดือนพฤษภาคม 2566 ซึ่งข้อมูลของลูกค้าที่อาจเข้าถึงได้จากภายนอก ได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล และหมายเลขประจำรถและหมายเลขทะเบียน     โดยปัญหาล่าสุดถูกพบหลังการตรวจสอบระบบคลาวด์ที่จัดการโดย Toyota Connected Corp หลังจากเหตุการณ์ก่อนหน้านี้ที่ข้อมูลรถยนต์ของผู้ใช้ 2.15 ล้านรายในญี่ปุ่นหรือฐานลูกค้าเกือบทั้งหมดที่ลงทะเบียนใช้งานแพลตฟอร์มบริการคลาวด์หลักตั้งแต่ปี 2555 ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะจากความผิดพลาดของมนุษย์   ในขณะที่เราเชื่อว่าเหตุการณ์นี้เกิดจากการเผยแพร่และการบังคับใช้กฎการจัดการข้อมูลไม่เพียงพอ … เราได้ติดตั้งระบบเพื่อตรวจสอบการกำหนดค่าคลาวด์   โฆษกของโตโยต้า กล่าวว่า บริษัทกำลังตรวจสอบปัญหานี้ตามกฎหมายและข้อบังคับของแต่ละประเทศโดยไม่ได้ระบุว่ามีลูกค้ากี่รายที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้และอยู่ในประเทศใด และลูกค้า Lexus ได้รับผลกระทบด้วยหรือไม่   นอกจากนี้ โตโยต้า ยังได้ตรวจสอบด้วยว่ามีการคัดลอกของบุคคลที่สามหรือใช้ข้อมูลลูกค้าหรือไม่…