อ่วม! อดีตโปรแกรมเมอร์ซีไอเอ เจอคุก 40 ปี ฐานปล่อยข้อมูลลับใน WikiLeaks

Loading

FILE PHOTO REUTERS   สำนักข่าวรอยเตอร์และบีบีซีรายงานว่า นายโจชัว ชูลท์ อดีตเจ้าหน้าที่โปรแกรมเมอร์ของสำนักข่าวกรองกลางสหรัฐ (ซีไอเอ) วัย 35 ปี ถูกตัดสินจำคุก 40 ปี เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ จากการจารกรรมข้อมูลลับครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของซีไอเอและมีภาพอนาจารเด็กไว้ในครอบครอง   เจสซี เฟอร์แมน ผู้พิพากษาศาลแขวงสหรัฐได้ตัดสินให้ นายชูลท์จำคุก 40 ปีในข้อหาจารกรรม เจาะข้อมูลคอมพิวเตอร์ ดูหมิ่นศาล ให้การเท็จต่อสำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐ (เอฟบีไอ) และมีภาพอนาจารเด็กไว้ในครอบครอง ถึงแม้ว่าชูลท์จะให้การปฏิเสธ แต่เขาถูกตัดสินว่ามีความผิดในหลายข้อหาในการไต่สวนคดีของศาลรัฐบาลกลาง 3 ครั้งในปี 2020, 2022 และ 2023   ชูลท์ทำงานเป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์ให้กับศูนย์ข่าวกรองทางไซเบอร์ ซึ่งทำหน้าที่จารกรรมข้อมูลทางไซเบอร์ต่อองค์กรก่อการร้ายและรัฐบาลต่างชาติ เขาได้เผยแพร่ข้อมูลลับให้แก่เว็บไซต์ WikiLeaks ที่มีชื่อเรียกการรั่วไหลของข้อมูลดังกล่าวว่า Vault 7 และ WikiLeaks ได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีที่ซีไอเอทำการสอดแนมรัฐบาลต่างชาติ และองค์กรผู้ก่อการร้ายโดยการเจาะระบบโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนเพื่อใช้เป็นเครื่องดักฟัง ลงบนเว็บไซต์ในเดือนมีนาคม 2017   อัยการระบุว่า…

สหรัฐยังหวั่น อีวีจีนเป็นภัยความมั่นคงแห่งชาติ!

Loading

เว็บไซต์บลูมเบิร์กรายงาน นางจีนา ไรมอนโด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์สหรัฐ กล่าวในเวทีสนทนาไม่เป็นทางการของแอตแลนติกเคาน์ซิล เมื่อวันอังคาร (30 ม.ค.) ตามเวลาสหรัฐ ว่ารถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์อัตโนมัติกำลังเก็บข้อมูลมหาศาลเกี่ยวกับคนขับ ที่ตั้งของรถ บรรยากาศรอบรถ

‘ดีอี’เข้มแก้กม.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ลุยเปิดศูนย์ฯรับเรื่องร้องเรียน

Loading

ดีอีดันสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) เปิดทำการศูนย์บริการ รับเรื่องร้องเรียนและให้คำปรึกษาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA Center) อย่างเป็นทางการ ระบุมีแนวคิดแก้กฎหมาย หลังใข้เวลาดำเนินการนาน 90 วัน แต่ความเสียหายเกิดไปแล้ว

ข้อมูลอีเมลรั่วไหลมีความเสี่ยงถึงชีวิตได้หรือไม่

Loading

  เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566 หน่วยงานกำกับดูแลด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศอังกฤษ (UK Information Commissioners’ Office: ICO) ได้เผยแพร่คำสั่งปรับทางปกครองกระทรวงกลาโหมของประเทศอังกฤษเป็นเงินจำนวน 350,000 ปอนด์ (ประมาณ 15.6 ล้านบาท)   อันเนื่องมากจากการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของพลเมืองอัฟกานิสถาน ที่จะทำการอพยพย้ายถิ่นฐานจากประเทศอัฟกานิสถานไปยังประเทศอังกฤษในช่วงปี 2564 โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย UK GDPR (UK General Data Protection Regulation)   เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่กลุ่มตาลิบาน (Taliban) ได้เข้าควบคุมประเทศอัฟกานิสถานในปี 2564 กระทรวงกลาโหมในขณะนั้นได้ดำเนินนโยบาย UK’s Afghan Relocations and Assistance Policy (ARAP) เพื่อช่วยเหลือในการจัดหาที่อยู่ให้กับชาวอัฟกานิสถานที่ร่วมปฏิบัติการกับรัฐบาลอังกฤษที่ต้องการลี้ภัย โดยให้ยื่นคำร้องขอและส่งข้อมูลต่าง ๆ ผ่านช่องทางอีเมล   จากการดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว ก่อให้เกิดการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2564 เมื่อกระทรวงกลาโหมได้ส่งอีเมลไปยังผู้รับจำนวน 245 คนซึ่งเป็นพลเมืองอัฟกานิสถานผู้มีสิทธิลี้ภัยไปยังประเทศอังกฤษ…

’สกมช.‘ ชี้ปี 67 แรนซัมแวร์ยังป่วน ล็อคเป้าโจมตีหนีไม่พ้นรัฐ-เอกชน

Loading

ในปีที่ผ่านมา มีเหตุการณ์ที่ถูกกลุ่มแฮ็กเกอร์ดัง ที่ชื่อ ล็อคบิท และกลุ่มอื่น ๆ ทำการแฮ็กระบบของหน่วยงานรัฐ และเอกชน ในประเทศไทยประมาณ 30 ครั้ง โดยทาง สกมช. ได้เฝ้าติดตามในดาร์กเว็บ โดย กลุ่ม ล็อคบิท นี้ ได้มีการเรียกค่าไถ่หน่วยงานในไทยมีมูลค่าประมาณ 1,000 ล้านบาท

ศาลเยอรมนีสั่งปรับผู้แจ้งว่าบริษัทซอฟต์แวร์ว่าฝังรหัสผ่านฐานข้อมูลไว้ในโปรแกรมที่ส่งให้ลูกค้า

Loading

Hendrik H. นักวิจัยได้รับว่าจ้างจากบริษัทแห่งหนึ่งให้เข้าไปแก้ปัญหาซอฟต์แวร์เมื่อปี 2021 และพบโปรแกรม MSConnect.exe ของบริษัท Modern Solution นั้นมีรหัสผ่านฐานข้อมูล MariaDB ฝังอยู่ภายใน และเมื่อล็อกอินเข้าไปก็เห็นข้อมูลของลูกค้าทั้งหมดของ Modern Solution