โตโยต้า พบฐานข้อมูลสำคัญของลูกค้ารั่วไหล อาจถูกบุคคลภายนอกเข้าถึง

Loading

  บริษัทกำลังตรวจสอบปัญหานี้ตามกฎหมายและข้อบังคับของแต่ละประเทศโดยไม่ได้ระบุว่ามีลูกค้ากี่รายที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้และอยู่ในประเทศใด   วันที่ 31 พฤษภาคม 2566 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประกาศว่า ข้อมูลของลูกค้าในของลูกค้าในบางประเทศในเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) อาจถูกเปิดเผยต่อสาธารณชน ตั้งแต่ เดือนตุลาคม 2559 – เดือนพฤษภาคม 2566 ซึ่งข้อมูลของลูกค้าที่อาจเข้าถึงได้จากภายนอก ได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล และหมายเลขประจำรถและหมายเลขทะเบียน     โดยปัญหาล่าสุดถูกพบหลังการตรวจสอบระบบคลาวด์ที่จัดการโดย Toyota Connected Corp หลังจากเหตุการณ์ก่อนหน้านี้ที่ข้อมูลรถยนต์ของผู้ใช้ 2.15 ล้านรายในญี่ปุ่นหรือฐานลูกค้าเกือบทั้งหมดที่ลงทะเบียนใช้งานแพลตฟอร์มบริการคลาวด์หลักตั้งแต่ปี 2555 ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะจากความผิดพลาดของมนุษย์   ในขณะที่เราเชื่อว่าเหตุการณ์นี้เกิดจากการเผยแพร่และการบังคับใช้กฎการจัดการข้อมูลไม่เพียงพอ … เราได้ติดตั้งระบบเพื่อตรวจสอบการกำหนดค่าคลาวด์   โฆษกของโตโยต้า กล่าวว่า บริษัทกำลังตรวจสอบปัญหานี้ตามกฎหมายและข้อบังคับของแต่ละประเทศโดยไม่ได้ระบุว่ามีลูกค้ากี่รายที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้และอยู่ในประเทศใด และลูกค้า Lexus ได้รับผลกระทบด้วยหรือไม่   นอกจากนี้ โตโยต้า ยังได้ตรวจสอบด้วยว่ามีการคัดลอกของบุคคลที่สามหรือใช้ข้อมูลลูกค้าหรือไม่…

ข้อมูลลูกค้า-พนักงาน-พันธมิตรของ “เทสลา” รั่วไหลกว่า 100 กิกะไบต์

Loading

  สื่อต่างประเทศรายงาน ข้อมูลลับขนาด 100 กิกะไบต์ของบริษัทผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้า “เทสลา” ได้รั่วไหลออกมา   Handelsblatt สื่อเยอรมนีรายงานว่า มีผู้แจ้งเบาะแสว่า ข้อมูลลับขนาด 100 กิกะไบต์ของบริษัทผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้า “เทสลา” (Tesla) ได้รั่วไหลออกมา โดยประกอบด้วยข้อมูลลูกค้า พนักงาน และพันธมิตรทางธุรกิจ และรวมถึงข้อร้องเรียนจากลูกค้าหลายพันรายเกี่ยวกับระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่   รายงานของ Handelsblatt ระบุว่า ในชุดข้อมูลที่มีป้ายกำกับว่า “Tesla Files” มีข้อมูลลูกค้าจำนวนมาก รวมถึงตารางรายชื่อพนักงานทั้งเก่าและปัจจุบันมากกว่า 100,000 ชื่อ   นอกจากนี้ ในชุดข้อมูลยังมีหมายเลขประกันสังคมของ อีลอน มัสก์ ซีอีโอของเทสลา พร้อมด้วยที่อยู่อีเมลส่วนตัว หมายเลขโทรศัพท์ เงินเดือนพนักงาน รายละเอียดธนาคารของลูกค้า และรายละเอียดลับเกี่ยวกับการผลิต   หากพบว่าการรั่วไหวนี้เป็นความจริง จะถือว่าเทสลาละเมิดระเบียบการคุ้มครองข้อมูลทั่วไป (GDPR) และอาจถูกปรับสูงถึง 4% ของยอดขายต่อปี หรือก็คือจะอยู่ที่ราว 3.26 พันล้านยูโร (1.2 แสนล้านบาท)…

ออสเตรเลียจ่อฟ้อง PwC หลังทำข้อมูลแผนภาษีของรัฐบาลรั่วไหล

Loading

    สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า รัฐบาลออสเตรเลียเตรียมดำเนินการตอบโต้ ไพรซ์วอเตอร์เฮาส์ คูเปอร์ส (PricewaterhouseCoopers หรือ PwC) บริษัทตรวจสอบบัญชีชื่อดังระดับโลก ภายหลังการตรวจสอบพบว่า PwC ทำแผนภาษีของรัฐบาลรั่วไหล   รัฐบาลออสเตรเลีย ซึ่งเป็นลูกค้าของ PwC ประเทศออสเตรเลีย (PwC Australia) กล่าวหาว่า PwC ได้แบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการต่อต้านการหลีกเลี่ยงภาษีฉบับใหม่ให้กับลูกค้าของ PwC ซึ่งการกระทำดังกล่าว ถือเป็นการละเมิดความไว้วางใจครั้งใหญ่ และรัฐบาลเตรียมจะส่งเรื่องนี้ให้กับสำนักงานตำรวจสหพันธ์ออสเตรเลีย (AFP) เพื่อดำเนินการในขั้นตอนต่อไป   นายสตีเฟน โจนส์ (Stephen Jones) ผู้ช่วยรัฐมนตรีคลังและรัฐมนตรีฝ่ายบริการด้านการเงินของออสเตรเลีย เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังกำลังสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และกำลังพิจารณาว่าควรส่งข้อกล่าวหาทางอาญานี้ไปให้กับสำนักงานตำรวจสหพันธ์ออสเตรเลียหรือไม่   ในขณะที่ฝ่ายนิติบัญญัติบางคน เรียกร้องไม่ให้รัฐบาลออสเตรเลียทำสัญญาใด ๆ เพิ่มเติมอีกกับบริษัทตรวจสอบบัญชีรายนี้ รวมถึงนายจิม ชาลเมอร์ส (Jim Chalmers) รัฐมนตรีว่าการกระทวงการคลังออสเตรเลียที่ระบุว่า “นี่เป็นเรื่องที่ไม่สามารถให้อภัยได้”   แม้ว่า นายทอม ซีมอร์ (Tom Seymour)…

‘แฮ็กเกอร์’ระบาด ข้อมูลรั่ว..ใครรับผิดชอบ

Loading

  องค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ รวมไปถึงองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ที่กุม “ความลับ” ของคน ลูกค้า ผู้ใช้บริการเอาไว้ ต้องไม่นิ่งนอนใจ หาทางรับมือป้องกันการรั่วไหล หรือการถูกโจมตีจากบรรดาแฮกเกอร์ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ จะต้องทุ่มงบประมาณมากสักเท่าไหร่ในการรับมือ “ก็ต้องทำ   ประเทศไทยมีแนวโน้มการโจมตีทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งเชิงปริมาณและความรุนแรง   เหตุการณ์ภัยคุกคามด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ทวีความรุนแรงมากขึ้น รูปแบบการโจมตีมีแนวโน้มพัฒนาตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป   ภัยคุกคามเหล่านี้ ส่งผลต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยของสังคมเศรษฐกิจของประเทศ   ยิ่งเราต้องพึ่งพาเครื่องมือดิจิทัลในชีวิตประจำวันมากขึ้นเท่าไหร่ ยิ่งมีความเสี่ยงจากการถูกโจมตีทางไซเบอร์เพิ่มมากขึ้นไปด้วย ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ สูญเสียข้อมูลที่มีความสำคัญ สูญเสียทรัพย์สินเงินทอง สูญเสียชื่อเสียง   ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ประเด็นหนึ่งที่ยังวนเวียนอยู่ในสังคมไทย และเป็นประเด็นที่ทุกคนต้องตระหนักให้มาก คือ การรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล จะทั้งข้อมูลอ่อนไหว หรือ ไม่อ่อนไหว ก็ไม่ควรหลุดออกมา สร้างความเสียหาย หวาดกลัวให้กับเจ้าของข้อมูล   องค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ รวมไปถึงองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ที่กุม “ความลับ” ของคน ลูกค้า ผู้ใช้บริการเอาไว้ ต้องไม่นิ่งนอนใจ หาทางรับมือป้องกันการรั่วไหล หรือการถูกโจมตีจากบรรดาแฮกเกอร์ทั้งในประเทศ…

‘ชัยวุฒิ’ ยอมรับหน่วยงานรัฐทำข้อมูลรั่ว อ้างแฮ็กเกอร์ ‘9near’ ซื้อข้อมูลจาก Dark Web ไร้ใบสั่งการเมือง

Loading

    ชัยวุฒิ ธนาขมานุสรณ์ ยอมรับมีหน่วยงานรัฐบกพร่อง ทำข้อมูลรั่วไหล อ้างแฮ็กเกอร์ ‘9near’ ซื้อข้อมูลจาก Dark Web ยันไร้ใบสั่งการเมือง ด้านผู้ต้องหานำตัวฝากขังศาลทหาร   12 เม.ย. ชัยวุฒิ ธนาขมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พร้อมด้วย พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒนครบัญชา ผู้บัญชาการตำรวจไซเบอร์ แถลงต่อสื่อมวลชนภายหลังสอบปากคำ จ.ส.ท.เขมรัตน์ บุญช่วย สังกัดกรมการขนส่งทหารบก ผู้ต้องหาคดีแฮ็กข้อมูลคนไทย 55 ล้านรายชื่อ   โดย ชัยวุฒิ กล่าวว่า ผู้ต้องหาให้การว่า ซื้อข้อมูลมาจากดาร์กเว็บ (Dark Web) ซึ่งเป็นเว็บไซต์แหล่งรวบรวมของบรรดาแฮ็กเกอร์สายดำ จำนวน 8 ล้านเรคคอร์ด ในราคา 8,000 บาท ไม่ใช่การแฮ็กข้อมูล และไม่ได้มีข้อมูลหลุดถึง 55 ล้านรายชื่ออย่างที่เป็นข่าวปรากฏก่อนหน้านี้ ซึ่งข้อมูลที่ได้มามีการลบทิ้งไปหมดแล้ว และยังไม่ได้นำไปเผยแพร่หรือหาประโยชน์แต่อย่างใด พร้อมยอมรับว่าทำเพียงคนเดียว ภรรยาไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเนื่องจากภรรยาที่มีอาชีพเป็นพยาบาล ไม่ได้มีหน้าที่ดูแลระบบฐานข้อมูลแอปฯ หมอพร้อม…

โดนเหมือนกันมาเลเซีย! เบอร์มือถือมาเลเซีย 21 ล้านหมายเลขรั่วไหล ถูกขายให้สแกมเมอร์ปี 2022 คิดเป็น 73% ของประเทศ

Loading

    โดนเหมือนกันมาเลเซีย! เบอร์มือถือมาเลเซีย 21 ล้านหมายเลขรั่วไหล ถูกขายให้สแกมเมอร์ปี 2022 คิดเป็น 73 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่อาศัยอยู่ในมาเลเซีย ทำให้มาเลเซียกลายเป็นอันดับหนึ่งในด้านหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่ถูกละเมิด ตามรายงานการฉ้อโกงประจำปี 2022 ของ Gogolook บริษัทที่พัฒนาแอป WhosCall นั่นเอง   iT24Hrs   Gogolook บริษัทเทคโนโลยีต่อต้านการโกงและ ผู้ให้บริการด้านการจัดการความเสี่ยง ได้ร่วมมือกับ Constella Intelligence ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านการป้องกันความเสี่ยงทางดิจิทัลระหว่างประเทศ เพื่อทำความเข้าใจการแฮ็กข้อมูลจาก 5 ประเทศ ได้แก่ ไต้หวัน ญี่ปุ่น ไทย เกาหลี และมาเลเซีย   Image : Gogolook   พบว่าข้อมูลส่วนตัวที่รั่วไหลมากที่สุดในมาเลเซีย ไต้หวัน และไทย ได้แก่ รหัสผ่านและชื่อสำหรับเข้าสู่ระบบ ตามด้วยที่อยู่ ประเทศ วันเกิด และอีเมล   ภาพ :…