T-Mobile ถูกแฮ็กผ่าน API ข้อมูลผู้ใช้งานรั่วไหลกว่า 37 ล้านรายการ

Loading

    T-Mobile ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์รายใหญ่ในสหรัฐอเมริกาถูกแฮกผ่าน API ข้อมูลผู้ใช้งานรั่วไหลกว่า 37 ล้านรายการ   T-Mobile ออกรายงานการรั่วไหลของข้อมูลผู้ใช้งานครั้งล่าสุด พบว่ามีข้อมูลถูกขโมยออกไปกว่า 37 ล้านราย ประกอบด้วยข้อมูลบัญชีผู้ใช้งานทั้งแบบ Postpaid และ Prepaid โดยแฮกเกอร์เริ่มทำการลงมือขโมยข้อมูลผ่านทาง API ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายนปีที่แล้ว จนถึงวันที่ 5 มกราคมที่ผ่านมา   ทาง T-Mobile ได้ตรวจพบ และจำกัดการเข้าถึง API โดยข้อมูลที่หลุดออกไปประกอบไปด้วย ชื่อ, ที่อยู่, อีเมล, เบอร์โทรศัพท์, วันเกิด, T-Mobile Account Number และข้อมูลเกี่ยวกับ Plan ที่ใช้งาน ล่าสุด T-Mobile ได้รายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและแจ้งเตือนผู้ใช้งานที่ได้รับผลกระทบแล้ว พร้อมทั้งจะดำเนินการสืบสวนสอบสวนหาตัวผู้กระทำผิดต่อไป   ที่ผ่านมา T-Mobile ได้เผชิญเหตุการณ์ลักษณะนี้มาแล้วกว่า 8 ครั้ง เช่น…

บ.ความปลอดภัยไซเบอร์เผย ทวิตเตอร์ถูกแฮ็ก อีเมลผู้ใช้กว่า 200 ล้านคนรั่วไหล

Loading

Twitter Political Ads   บริษัทความปลอดภัยออนไลน์เปิดเผยในวันพุธว่า แฮกเกอร์ขโมยอีเมลของผู้ใช้ทวิตเตอร์ (Twitter) กว่า 200 ล้านคน และนำที่อยู่อีเมลเหล่านั้นไปโพสต์ในเว็บไซต์เกี่ยวกับการแฮก ตามการรายงานของรอยเตอร์   เอลอน กัล (Alon Gal) ผู้ร่วมก่อตั้ง ฮัดสัน ร็อค (Hudson Rock) บริษัทที่ตรวจสอบความปลอดภัยด้านไซเบอร์ของอิสราเอล เขียนข้อความบนเว็บไซต์ ลิงค์อิน (LinkedIn) ว่า การแฮกทวิตเตอร์ครั้งนี้ “เป็นที่น่าเสียใจว่าจะทำให้เกิดการแฮก การหลอกลวงโดยใช้เทคนิคฟิชชิ่ง (Phishing) และ การคุกคามทางออนไลน์โดยการนำเอาข้อมูลส่วนตัวผู้อื่นมาเปิดเผย หรือ doxxing อีกมากมายหลังจากนี้”   นายกัล โพสต์ข้อมูลเกี่ยวกับการแฮกทวิตเตอร์ดังกล่าวทางโซเชียลมีเดียตั้งแต่วันที่ 24 ธ.ค. ปีที่ผ่านมา แต่ทวิตเตอร์ไม่ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับรายงานดังกล่าว และไม่ได้ตอบคำถามจากผู้สื่อข่าวตั้งแต่เกิดเหตุ จึงทำให้ไม่มีความชัดเจนว่าทวิตเตอร์ได้ลงมือตรวจสอบหรือแก้ไขใด ๆ หรือไม่   สำนักข่าวรอยเตอร์ไม่สามารถตรวจสอบได้เองว่า ข้อมูลผู้ใช้ทวิตเตอร์ที่ถูกนำไปโพสต์ในเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการแฮกนั้น เป็นข้อมูลของผู้ใช้ที่แท้จริง และได้มาจากทวิตเตอร์หรือไม่ ในขณะที่ภาพถ่ายจากหน้าเว็บดังกล่าวที่มีข้อมูลอีเมลของผู้ใช้ทวิตเตอร์ปรากฎอยู่ ได้รับการเผยแพร่ทางออนไลน์  …

‘Twitter’ เผยระบบเจอมือดี ‘แฮ็ก’ ข้อมูลบัญชีสมาชิกรั่วครั้งใหญ่ พบบัญชีคนดังเป็นเหยื่อเพียบ

Loading

  Hudson Rock ซึ่งเป็นบริษัทข่าวกรองไซเบอร์ของอิสราเอล รายงานว่า Twitter สื่อสังคมออนไลน์ยอดนิยมอาจโดนมือดีลักลอบเจาะเข้าระบบทำให้บัญชีข้อมูลสมาชิกเกิดการรั่วครั้งใหญ่ โดยแฮ็กเกอร์รายหนึ่งอ้างว่าได้ขโมยข้อมูลของผู้ใช้ Twitter กว่า 40 ล้านคน และนำไปขายบนเว็บมืด แถมยังโพสต์ระบุว่าบัญชีที่นำไปขายดังกล่าวยังไม่ใช่บัญชีทั้งหมดที่แฮกมาได้   สำหรับบัญชี Twitter ที่ถูกขโมยข้อมูลไปครั้งนี้ มีคนดังอย่าง ซันดาร์ พิชัย ซีอีโอของ Google กระทรวงข้อมูลและการแพร่ภาพกระจายเสียงแห่งอินเดีย และนักแสดงบอลลีวูดอย่าง ซัลมาน ข่าน รวมอยู่ด้วย   นอกจากนั้น ยังมี SpaceX ของ อีลอน มัสก์ ฝ่ายสื่อสารสังคมออนไลน์ของ World Health Organisation (WHO), ศิลปินอย่าง Charlie Puth, Shawn Mendes, Alexandria Ocasio-Cortez สื่ออย่าง CBS Media หรือกระทั่งคนดังอย่าง อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ Donald Trump Jr.…

‘แคสเปอร์สกี้’ เปิดบทสรุป อุบัติภัยไซเบอร์ปี 2565

Loading

  แคสเปอร์สกี้ เปิดรายงานเชิงวิเคราะห์กิจกรรมบนไซเบอร์สเปซ การเปลี่ยนแปลงสำคัญที่น่าจับตามองในโลกความปลอดภัยทางไซเบอร์ ประจำปี 2565   ผู้เชี่ยวชาญของ “แคสเปอร์สกี้” รายงานว่า ปีนี้เป็นปีที่มีความขัดแย้งทางทหารแบบศตวรรษที่ 20 นำมาซึ่งความไม่แน่นอนและความเสี่ยงร้ายแรงที่กระจายไปทั่วทวีป   จากการวิเคราะห์ทางภูมิรัฐศาสตร์ของความขัดแย้งในยูเครนในวงกว้างพบว่า เหตุการณ์ทางไซเบอร์จำนวนหนึ่งได้เกิดขึ้นท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ซึ่งกลายเป็นเรื่องที่สำคัญมาก   ผู้เชี่ยวชาญพบสัญญาณสำคัญและการเพิ่มขึ้นของสงครามไซเบอร์อย่างรวดเร็วในช่วงก่อนการปะทะกันทางทหารในวันที่ 24 ก.พ.ที่ผ่านมา รวมถึงแรนซัมแวร์ปลอมและการโจมตีไวเปอร์คลื่นลูกใหญ่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อหน่วยงานของยูเครนอย่างไม่เจาะจง   ทั้งนี้ บางส่วนมีความซับซ้อนสูง แต่ปริมาณของการโจมตีไวเปอร์และแรนซัมแวร์ลดลงอย่างรวดเร็วหลังจากระลอกแรก โดยมีรายงานเหตุการณ์ที่น่าสังเกตในจำนวนจำกัด กลุ่มที่มีแรงจูงใจในอุดมการณ์ซึ่งนำเสนอตัวเองในการโจมตีระลอกแรกดูเหมือนจะไม่เคลื่อนไหวในขณะนี้     สงครามไซเบอร์รูปแบบใหม่   สำหรับเหตุการณ์ที่เป็นไฮไลต์ ซึ่งมีลักษณะสำคัญบางประการที่กำหนดถึงการเผชิญหน้าทางไซเบอร์ในปี 2565 มีดังนี้   นักเจาะระบบและการโจมตี DDoS : ความขัดแย้งในยูเครนได้สร้างแหล่งเพาะกิจกรรมสงครามไซเบอร์ใหม่ ๆ จากกลุ่มต่าง ๆ รวมถึงอาชญากรไซเบอร์และนักแฮกข้อมูล ที่ต่างเร่งรีบที่จะสนับสนุนฝ่ายที่ตนชื่นชอบ   บางกลุ่มเช่นกองทัพไอทีของยูเครนหรือ Killnet ได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นทางการจากรัฐบาล และช่องโทรเลขมีสมาชิกหลายแสนคน   ขณะที่การโจมตีโดยนักเจาะระบบมีความซับซ้อนค่อนข้างต่ำ ผู้เชี่ยวชาญพบว่ากิจกรรม…

บริษัทแม่ TikTok เผย มีพนักงานแอบเข้าไปดูข้อมูลส่วนตัวของนักข่าวอเมริกัน

Loading

FILE PHOTO: Illustration shows TikTok app logo   บริษัทจีน “ไบต์เเดนซ์” (ByteDance) ซึ่งเป็นบริษัทเเม่ของแอป TikTok กล่าววันพฤหัสบดีว่าพนักงานจำนวน 4 คนของบริษัท เข้าไปดูข้อมูลส่วนตัวของนักข่าวสหรัฐฯ 2 ราย และเจ้าหน้าที่เหล่านั้นถูกไล่ออกในเวลาต่อมา ตามรายงานของรอยเตอร์   การกระทำอันไม่เหมาะสมนี้เกิดขึ้นเมื่อช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา และเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามสืบข้อมูลที่รั่วไหลของบริษัท โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อระบุความเชื่อมโยงของนักข่าว 2 รายกับพนักงานของบริษัท   อย่างไรก็ตาม การสืบสวนดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จ ตามข้อมูลของผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายของ “ไบต์เเดนซ์” อิริช แอนเดอร์เซน   นิวยอร์กไทมส์คือสื่อฉบับเเรก ๆ ที่รายงานการเปิดเผยครั้งนี้ โดยเหตุการณ์นี้อาจสร้างแรงกดดันต่อเนื่องสำหรับ TikTok ซึ่งกำลังโดนรัฐบาลอเมริกันและนักการเมืองในสภาสหรัฐฯ เพ่งเล็งเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลผู้ใช้ TikTok ในอเมริกา ที่มีอยู่กว่า 100 ล้านคน   รอยเตอร์อ้างเเหล่งข่าวที่ได้รับรายงานเรื่องนี้ ที่กล่าวว่าพนักงานไบต์แดนซ์ 4 คน ถูกไล่ออกเนื่องจากเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าว โดยอยู่ในอเมริกา 2…

LastPass ทำข้อมูลรั่วคนร้ายได้ฐานข้อมูลไปทั้งหมด เหลือ Master Password ป้องกันรหัสผ่านของลูกค้าเท่านั้น

Loading

  LastPass รายงานถึงเหตุข้อมูลรั่วจากระบบคลาวด์สตอเรจ ทำให้คนร้ายเข้าถึงข้อมูลสำรองทั้งระบบ โดยเหตุการณ์นี้เกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เพราะคนร้ายใช้ข้อมูลที่ได้ไปครั้งนั้นเอาไปเข้าระบบสตอเรจอีกที   ข้อมูลสำรองที่ได้ไป ทำให้คนร้ายข้อมูลไปจำนวนมาก โดยเฉพาะข้อมูลลูกค้า เช่น ชื่อบริษัท, ชื่อผู้ใช้, ที่อยู่เรียกเก็บเงิน, อีเมล, หมายเลขโทรศัพท์, และหมายเลขไอพีที่เข้าใช้งาน รวมถึงตัวฐานข้อมูลรหัสผ่านของลูกค้าเอง ยกเว้นข้อมูลหมายเลขบัตรเครดิตที่ไม่ได้สำรองไว้ในระบบนี้   ตัวฐานข้อมูลรหัสผ่านที่เก็บไว้กับ LastPass นั้นเข้ารหัสด้วย master password ที่ถูกแปลงเป็นกุญแจ AES-256 อีกชั้น ดังนั้นตอนนี้จึงต้องถือว่าคนร้ายได้ไฟล์ฐานข้อมูลไปแล้ว และถ้าตั้ง master password เอาไว้ไม่ดีก็อาจจะถูกคนร้ายไล่เดารหัสผ่านจนหลุดได้ หรือคนร้ายอาจจะพยายามหลอกล่อเหยื่อด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้เหยื่อยอมบอกรหัสผ่านนี้   ทาง LastPass ระบุว่าผู้ใช้ตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นมาถูกบังคับให้ตั้งรหัสผ่านยาวถึง 12 ตัวอักษร และกุญแจยังสร้างจากฟังก์ชั่น PBKDF2 รันแฮช 100,100 รอบ ทำให้การยิงรหัสผ่านทำได้ยากมาก แต่หากผู้ใช้เป็นบัญชีเดิมที่ตั้งรหัสไว้สั้น หรือใช้ master password ซ้ำกับบริการอื่น ๆ…