Telstra บริษัทโทรคมนาคมออสเตรเลียอ้างความผิดพลาดในระบบทำให้ข้อมูลลูกค้านับแสนรายหลุด

Loading

  Telstra บริษัทโทรคมนาคมจากออสเตรเลียอ้างว่าความบกพร่องของการจัดการฐานข้อมูลทำให้ข้อมูลลูกค้า 130,000 คน รั่วไหลออกสู่สาธารณะ   ข้อมูลเหล่านี้มีทั้ง ชื่อ เบอร์โทรศัพท์ และที่อยู่ของลูกค้าที่เคยข้อให้นำข้อมูลเหล่านี้ออกจากโลกออนไลน์   ไมเคิล แอ็กแลนด์ (Michael Ackland) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินยืนยันว่าข้อมูลที่หลุดออกมาเกิดจากความบกพร่องในการจัดเรียงข้อมูลภายในฐานข้อมูลที่ใช้ในการให้บริการ ไม่ได้เกิดจากการโจมตีทางไซเบอร์แต่อย่างใด   นอกจากนี้ แอ็กแลนด์ยังได้กล่าวคำขอโทษและชี้ว่าบริษัทอยู่ระหว่างการนำข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าออกจากระบบอยู่ โดยจะติดต่อลูกค้าที่ข้อมูลที่รั่วไหลทุกคน รวมถึงจะมีการตรวจสอบภายในด้วย   “พวกเราเสียใจที่เรื่องนี้เกิดขึ้น และเรารู้ว่าเราทำให้ทุกท่านผิดหวัง” แอ็กแลนด์กล่าว   ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา คู่แข่งรายใหญ่ของ Telstra อย่าง Optus ก็เพิ่งจะถูกโจมตีทางไซเบอร์จนข้อมูลลูกค้าเกือบ 10 ล้านรายหลุดออกไป     ที่มา Bloomberg         ——————————————————————————————————————————————————————— ที่มา :                 …

ออสเตรเลียผ่านกฎหมายลงโทษคนทำข้อมูลส่วนบุคคลหลุดสุดโหด ค่าปรับคิดตามความเสียหาย

Loading

  ออสเตรเลียผ่านกฎหมายขึ้นค่าปรับการทำข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล จากเดิมที่ค่าปรับสูงสุดอยู่ที่ 2.2 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย กลายเป็นค่าปรับไม่มีเพดานแต่จะคิดจากความเสียหายหรือขนาดองค์กรที่ทำข้อมูลหลุดแทน โดยค่าปรับในกรณีที่เกิดความเสียร้ายแรงหรือทำผิดซ้ำ   โดยเพดานค่าปรับจะดูจากสามเงื่อนไขและคิดเงื่อนไขที่เพดานค่าปรับสูงสุด เงื่อนไขได้แก่ – 50 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย – สามเท่ามูลค่าผลประโยชน์ที่คนร้ายได้ไปจากการใช้ข้อมูล – 30% ของเงินหมุนเวียนของบริษัท (adjusted turnover)   ออสเตรเลียพบปัญหาข้อมูลหลุดครั้งใหญ่ ๆ หลายครั้งในปีนี้ เช่น เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ Optus ทำข้อมูลลูกค้าหลุด 9.8 ล้านคน หรือบริการประกันสุขภาพ Medibank ที่ทำข้อมูลหลุดถึง 9.7 ล้านคน   นอกจากการเพิ่มบทลงโทษแล้ว กฎหมายนี้ยังให้อำนาจกรรมการข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการช่วยสอบสวนเหตุการณ์ข้อมูลหลุดและการเปิดเผยข้อมูลเพื่อปกป้องลูกค้าขององค์กรที่ข้อมูลหลุด   กฎหมายนี้นับเป็นวาระเร่งด่วนของรัฐบาล Albanese ที่เพิ่งรับตำแหน่งในปีนี้ ทางรัฐบาลประกาศว่าจะแก้ไขกฎหมายข้อมูลส่วนตัวเพิ่มเติมต่อไป     ที่มา – Australia Attorney General ภาพ – vjohns1580    …

ข้อมูลผู้โดยสารและพนักงานของแอร์เอเชียโดนขโมย

Loading

    กลุ่มแฮ็กเกอร์ Daixin Team ปล่อยตัวอย่างข้อมูลที่ขโมยจากสายการบิน AirAsia   ข้อมูลจาก DataBreaches.net คาดว่า AirAsia ถูกโจมตีด้วย Ransomware ในช่วงวันที่ 11-12 พฤศจิกายน 2022   แฮ็กเกอร์บอกว่าพวกเขาได้ข้อมูลลูกค้าและพนักงานใน AirAsia สาขามาเลเซีย อินเดีย และไทย กว่า 5 ล้านราย ข้อมูลที่กลุ่มแฮ็กเกอร์ DAIXIN เปิดเผยออกมาได้แก่ ข้อมูลผู้โดยสาร หมายเลขการจอง และข้อมูลส่วนตัวของพนักงาน     ตัวแทนของกลุ่มแฮ็กเกอร์ยังบอกกับทาง DataBreaches.net ไว้ว่าไม่จำเป็นต้องโจมตี AirAsia อีกต่อไปแล้วเพราะมาตรการความปลอดภัยต่ำและการวางเครือข่ายที่วุ่นวาย   ก่อนหน้านี้กลุ่มแฮ็กเกอร์ Daixin Team ถูกหมายหัวจากหน่วยข่าวกรองและความปลอดภัยไซเบอร์ของสหรัฐฯ เพราะโจมตีสถาบันทางการแพทย์     Source: https://thehackernews.com/2022/11/daixin-ransomware-gang-steals-5-million.html Translated by: Worapon H.  …

สี จิ้นผิง ตำหนิ ทรูโด เผยแพร่เนื้อหาการประชุม

Loading

  สื่อแคนนาดา ได้เผยแพร่คลิปวิดีโอ ขณะที่ ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีน กล่าวแสดงความไม่พอใจนายกรัฐมนตรี จัสติน ทรู โด ประเทศแคนาดา ที่มีการเปิดเผยเนื้อหาการประชุมต่อสื่อ ในการประชุม G20 ที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย   โดยในคลิป ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ได้พูดผ่านล่ามว่า “สิ่งที่เราพูดคุยกันรั่วไหลไปยังหนังสือพิมพ์ ซึ่งเป็นเรื่องไม่เหมาะสม และไม่ใช้วิธีสนทนา ซึ่งหากคุณมีความจริงใจ”   ซึ่งระหว่างที่ล่ามกำลังแปลถ้อยคำดังกล่าวยังไม่ทันจบ นายกรัฐมนตรีทรูโด ก็ถูกขึ้นมาว่า   “ในแคนาดา เราเชื่อในการเจรจาที่เสรี เปิดเผยตรงไปตรงมา จะทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ต่อไป แต่มีบางสิ่งที่แคนาดาไม่เห็นด้วย”   แต่ สี จิ้นผิง ยืนยันว่าการเจรจาของทั้งคู่ควรอยู่ภายใต้เงื่อนไขบางอย่างที่ยอมรับได้   อย่างไรก็ตาม การแลกเปลี่ยนในช่วงเวลาสั้นๆนี้แสดงถึงความตึงเครียดระหว่างจีนและพันธมิตรของสหรัฐฯ อย่างเห็นได้ชัดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากข้อพิพาทด้านการค้าและข้อพิพาทเรื่องต้นตอการระบาดของโควิด-19 ในขณะที่จีนได้หันไปสร้างความร่วมมือกับรัสเซีย สำหรับความตึงเครียดระหว่างจีนและแคนนาดาเกิดขึ้นหลังจากกรณีทางการแคนนาได้จับกุมนายเมิ่ง หว่านโจว ผู้ก่อตั้งบริษัทหัวเว่ย เทคโนโลยี ในปี 2561…

ภัยจากการถูกเก็บดีเอ็นเอ (1)

Loading

  ปัจจุบัน ภัยจากการรั่วไหลของข้อมูลมาเป็นอันดับต้น ที่เป็นปัญหาในเมืองไทยตอนนี้ก็คือภัยจากคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นที่ทราบกันแล้วว่ามาจากเจ้าหน้าที่รัฐแอบนำข้อมูลไปขาย ใหญ่กว่านั้นก็เป็นระดับภูมิภาคและประเทศ วันนี้มีการเก็บสะสมข้อมูลดีเอ็นเอและลักษณะทางชีวภาพของเผ่าพันธุ์ทั่วโลก บ้านเมืองใดไม่ระวังก็อาจจะเผชิญภัยด้านความมั่นคงได้ในอนาคต   เดือนตุลาคม 2018 พลตรีอีกอร์ คิริลอฟ ผู้บัญชาการของกองบัญชาการพิทักษ์ป้องกันด้านรังสี เคมี และชีวภาพของรัสเซีย เปิดโปงเครือข่ายห้องแล็บของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯที่มาตั้งอยู่ในพื้นที่หลายแห่งใกล้ชายแดนรัสเซียและจีน เพื่อเก็บข้อมูลสารพันธุกรรม (Deoxyribonucleic acid หรือ DNA) ของผู้คนเผ่าพันธุ์ต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ ไม่ว่ารัสเซีย จีน คาซัค คีร์กีซ มองโกล ตาตาร์ ทาจิก อุซเบก ฯลฯ รัสเซียตั้งข้อสังเกตว่า การเข้ามาสะสมข้อมูลดีเอ็นเอของผู้คนจำนวนมาก สหรัฐฯ อาจจะเข้ามาสร้างอาวุธชีวภาพทำลายผู้คนทางแถบนี้ได้   หลังจากโซเวียตแตกเมื่อ ค.ศ.1991 สหรัฐฯ ก็พัฒนาความเป็นหุ้นส่วนด้านการวิจัยทางชีวภาพกับอดีตสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียตหลายแห่ง หนึ่งในหลายโครงการของสหรัฐฯก็คือ โครงการลดภัยคุกคามทางชีวภาพ นันน์-ลูการ์ สหรัฐฯ อ้างว่า โครงการนี้ป้องกันไม่ให้การพัฒนาอาวุธชีวภาพรั่วไหล แต่รัสเซียส่งคำเตือนไปยังสาธารณรัฐทั้งหลายมาโดยตลอด ว่าความร่วมมืออย่างนี้เป็นภัยคุกคามต่อรัสเซียและเผ่าพันธุ์ในยุโรปตะวันออกและเอเชียกลาง   สำนักงานการลดภัยคุกคามด้านกลาโหมของสหรัฐฯ ใช้เงินอีก 102…