นาโตสอบสวนเหตุแฮ็กเกอร์ขายข้อมูลลับบริษัทผลิตขีปนาวุธ

Loading

MBDA MISSILE SYSTEMS   องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือ นาโต เปิดการสืบสวนสอบสวนเพื่อประเมินผลกระทบจากการละเมิดข้อมูลในเอกสารลับด้านการทหารที่แฮ็กเกอร์กลุ่มหนึ่งขโมยไปขายทางออนไลน์   แฮ็กเกอร์กลุ่มดังกล่าวได้ขโมยข้อมูลที่เชื่อมโยงกับบริษัทผู้ผลิตอาวุธรายใหญ่ในยุโรป โดยแฟ้มข้อมูลที่อาชญากรกลุ่มนี้นำออกขาย รวมถึงพิมพ์เขียวอาวุธของชาติพันธมิตรนาโตที่ใช้ในสงครามยูเครน   MBDA Missile Systems บริษัทผลิตอาวุธร่วมทุนของหลายชาติในยุโรปยอมรับว่าข้อมูลของบริษัทอยู่ในแฟ้มที่ถูกขโมยไปขาย แต่ระบุว่าสิ่งที่คนร้ายได้ไปไม่ใช่ข้อมูลลับของบริษัท   MBDA ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในฝรั่งเศสระบุว่า แฮ็กเกอร์ได้ล้วงข้อมูลดังกล่าวไปจากฮาร์ดไดรฟ์แบบพกพา และขณะนี้ได้ประสานงานกับทางการอิตาลี ซึ่งเป็นประเทศที่เกิดเหตุแล้ว   เชื่อกันว่า การสอบสวนมุ่งเป้าไปยังบริษัทซัพพลายเออร์ ที่ผลิตสินค้าให้ MBDA   โฆษกนาโตระบุในแถลงการณ์ว่า “เรากำลังตรวจสอบการแจ้งเหตุเรื่องข้อมูลที่ถูกขโมยไปจาก MBDA แต่เรายังไม่พบข้อบ่งชี้ใด ๆ ว่าเครือข่ายของนาโตได้รับความเสียหาย”   แฮ็กเกอร์กลุ่มนี้ซึ่งเคลื่อนไหวอยู่ในช่องทางบนโลกออนไลน์ทั้งภาษารัสเซียและภาษาอังกฤษได้ประกาศขายแฟ้มข้อมูลดังกล่าวซึ่งมีขนาด 80 กิกะไบต์ ในราคา 15 เหรียญบิทคอยน์ (ราว 756,000 บาท) และอ้างว่าขณะนี้ได้ขายข้อมูลให้ผู้ซื้อนิรนามไปแล้วอย่างน้อย 1 ราย   MBDA MISSILE SYSTEMS ข้อมูลที่ถูกขโมยไปเป็นพิมพ์เขียวอุปกรณ์ของ MBDA…

O.MG Cable สาย USB แฮ็กได้ที่ทำให้ทุกคนต้องระวังการเสียบมั่วซั่ว

Loading

      MG, creator of the O.MG Cable, at Def Con. Photo by Corin Faife / The Verge   เครื่องไม้เครื่องมือสำหรับแฮกเกอร์ในปัจจุบันนี้มีความก้าวหน้าไปมากจนถึงขนาดที่หลายอย่างดูเผิน ๆ ก็เหมือนเป็นข้าวของเครื่องใช้ธรรมดาที่ไม่น่าจะมีฟังก์ชันอันตรายแอบแฝง แต่สาย USB ที่ชื่อ O.MG Cable นี้อาจต้องทำให้เปลี่ยนความคิดใหม่และระวังมากขึ้นก่อนจะคว้าสาย USB ของใครมาเสียบคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ   O.MG Cable คือสาย USB ที่ผลิตด้วยมือซึ่งดูหน้าตาธรรมดาแทบไม่ต่างจากสายชาร์จหรือสายถ่ายโอนข้อมูลทั่วไป แต่ความไม่ธรรมดาของมันคือสิ่งที่แฝงอยู่ภายในซึ่งมีทั้งเว็บเซิร์ฟเวอร์, การเชื่อมต่อ USB และการเชื่อมต่อ Wi-Fi ที่ทำได้ทั้งรับส่งข้อมูลที่มันแฮ็กได้ไปยังเซิร์ฟเวอร์และรับคำสั่งโจมตีจากเซิร์ฟเวอร์มาก็ได้   หน้าตาสาย O.MG Cable กับเว็บที่ใช้งานคู่กับมัน   สิ่งที่มันทำได้ไม่เพียงแต่การดักจับอ่านข้อมูลการใช้แป้นพิมพ์ แต่ที่น่ากลัวยิ่งกว่าคือมันทำการโจมตีแบบ keystroke injection ได้ด้วย  …

แอคหลุมมีร้อง! Twitter ออกแถลงการณ์ถึงช่องโหว่ที่ทำให้ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้หลุดออกมา!

Loading

  ในวันที่ 5 สิงหาคม 2022 Twitter ได้ออกมาแถลงการณ์ถึงเหตุการณ์ที่อาจกระทบถึงข้อมูลส่วนตัวของบัญชีผู้ใช้ Twitter บางราย โดยมีการอธิบายถึงสาเหตุที่ข้อมูลของผู้ใช้หลุดออกไป แนวทางแก้ปัญหา และการป้องกันที่ผู้ใช้สามารถทำได้   เกิดอะไรขึ้น? ทำไมข้อมูลส่วนตัวถึงหลุดออกไปได้?   Twitter เผยว่า ในเดือนมกราคม 2022 บริษัทได้รับรายงานจากช่องทางแจ้งช่องโหว่ด้านความปลอดภัย (security vulnerabilities) ระบุว่า มีการค้นพบช่องโหว่ที่หากใครก็ตามส่งอีเมลหรือเบอร์โทรศัพท์เข้าไปที่ระบบของ Twitter ระบบจะบอกชื่อบัญชี Twitter ของอีเมลหรือเบอร์โทรนั้น ๆ กลับไปที่ผู้ส่ง   ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากการอัปเดตโค้ดในเดือนมิถุนายน 2021 ซึ่งหลังจาก Twitter พบช่องโหว่ก็ได้สืบหาข้อเท็จจริงและทำการแก้ไขทันที ซึ่ง ณ ตอนนั้นบริษัทยังไม่พบว่า มีผู้ค้นพบช่องโหว่นี้และแอบใช้ประโยชน์จากมัน จนกระทั่งในเดือนมิถุนายน 2022 บริษัทถึงทราบว่า มีผู้ที่ใช้ช่องโหว่ดังกล่าวในการขโมยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ และได้พยายามประกาศขายข้อมูลที่ถูกค้นพบ     Twitter มีแนวทางการแก้ปัญหาอย่างไร? นอกจากการแก้ไขโค้ดที่ทำให้เกิดช่องโหว่ในระบบแล้ว ในเบื้องต้น Twitter จะแจ้งเตือนเจ้าของบัญชีที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว และได้โพสต์แถลงการณ์เพื่อยืนยันกับเจ้าของบัญชีทุกรายที่อาจได้รับผลกระทบ…

wifi สาธารณะ wifi ฟรี ในโรงแรม เสี่ยงล้วงข้อมูล วิธีดู Wifi ไหนเชื่อมต่อเน็ตอย่างปลอดภัย

Loading

Image : OSXdaily   wifi สาธารณะ wifi ฟรี ในโรงแรม เสี่ยงล้วงข้อมูล   โดยทั่วไป เครือข่ายที่ไม่ปลอดภัยจะใช้พอร์ทัลแบบ Captive เพื่อเข้าถึงเครือข่าย Wi-Fi โดยที่หน้าจอเริ่มต้นปรากฏขึ้นในหน้าต่างเว็บเบราว์เซอร์ก่อนที่คุณจะได้เข้าใช้งานอินเทอร์เน็ต มักจะมีข้อกำหนดในการเข้าสู่ระบบเเช่น การป้อนหมายเลขห้องหรือที่อยู่อีเมล แตกต่างจากการป้อนรหัสผ่าน Wi-Fi เพื่อเข้าร่วมเครือข่ายไร้สาย คุณจะทราบได้อย่างไรว่าการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของคุณปลอดภัยหรือไม่ ตรวจสอบได้ดังนี้   wifi สาธารณะ wifi ฟรี วิธีดู Wifi ไหนเชื่อมต่อเน็ตอย่างปลอดภัย?   สำหรับผู้ใช้ MAC   Image : OSXdaily   1. หากคุณใช้ macOS ให้กดปุ่ม OPTION ค้างไว้   2. คลิกรายการแถบเมนู Wi-Fi ในขณะที่กดปุ่ม OPTION ค้างไว้อยู่   3.…

“สกมช.- หัวเว่ย” ลงนาม MOU หวังแก้ปมข้อมูลรั่วไหลและการโจมตีทางไซเบอร์

Loading

  รมว.ดีอีเอส ร่วมเป็นสักขีพยาน “สกมช.- หัวเว่ย” ลงนาม MOU ความปลอดภัยด้านไซเบอร์ของประเทศ หวังผลักดันไทยเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างปลอดภัย ลดเรื่องข้อมูลรั่วไหล   วันที่ 2 ส.ค. 65 ที่โรงแรมสยามเคมปินสกี้ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) ความร่วมมือด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์กับ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด โดยมีนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) ร่วมเป็นสักขีพยาน   นายชัยวุฒิ กล่าวว่า ประเด็นเรื่องข้อมูลรั่วไหลและการโจมตีทางไซเบอร์มีจำนวนครั้งที่เกิดถี่ขึ้นเรื่อยๆ และมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ทำให้ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำด้านองค์ความรู้และทักษะทางดิจิทัลเริ่มส่งผลกระทบกับองค์กรต่างๆ อย่างรุนแรงยิ่งกว่าเดิม นั่นเป็นสาเหตุที่กระทรวงดิจิทัลฯ ได้ร่วมจับมือกับผู้นำด้านนวัตกรรมด้านดิจิทัลอย่างหัวเว่ยในการรับมือกับปัญหานี้ เพื่อช่วยผลักดันประเทศไทยให้เข้าสู่ยุคดิจิทัลแห่งอนาคตที่มีความปลอดภัย   ด้านพล.อ.ปรัชญา เฉลิมวัฒน์ เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (ลธ.กมช.) ได้กล่าวถึงการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ว่า ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนถือเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความร่วมมือในหมู่องค์กรเอกชน องค์กรสาธารณะ และหน่วยงานรัฐต่างๆ เพื่อให้สามารถสร้างไซเบอร์สเปซที่มีความน่าเชื่อถือในระดับโลกให้เกิดขึ้นในประเทศไทย ทั้งนี้ ทาง สกมช. เชื่อว่าการลงนามในครั้งนี้…

ติดกระบองให้ยักษ์

Loading

  ในขณะที่สังคมไทยตื่นตัวกับกฎหมาย PDPA ที่มุ่งเน้นคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะมีการกำหนดโทษทั้งทางแพ่งและอาญา ตามความผิด พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล   ประเด็นที่ต้องตระหนักไปพร้อมกัน ก็คือ การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลภายในองค์กร และการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ทั้งจากภายในและภายนอก ที่อาจส่งผลกระทบต่อข้อมูลส่วนบุคคล ได้เช่นการจารกรรมข้อมูลส่วนบุคคลของธนาคาร โรงพยาบาล รวมทั้งความมั่นคงในภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม ไปจนถึงความมั่นคงของประเทศ ที่นับวันปัญหาดังกล่าวจะยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น   ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่เป็นภัยความมั่นคงระดับประเทศ หรือความเสียหายทางธุรกิจ เช่น กรณี Apple ได้ตรวจสอบความปลอดภัยและได้พบมัลแวร์ Pegasus ในไอโฟนของนักเคลื่อนไหวการเมืองไทยกว่า 30 คน หรือกรณี ที่ T-Mobileต้องจ่ายเงิน350 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 12,800ล้านบาท เพื่อชดเชนให้ยุตืคดีที่ลูกค้าฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากบริษัท ฐานปล่อยให้ถูกแฮกข้อมูลรั่วไหล 76.6ล้านคน   โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติโควิดที่ผ่านมา ที่มีการทำงานที่บ้านหรือเวิร์กฟรอมโฮม เพราะคนอยู่หน้าจอออนไลน์กันมากขึ้น แต่ส่วนใหญ่ยังขาดความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ทำให้ตกเป็นเหยื่อ และเมื่อเกิดปัญหาขึ้นคนส่วนใหญ่ก็มักจะคิดถึงการติดตามไล่ล่าตัวผู้กระทำผิด และมักคิดถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือตำรวจไซเบอร์เพียงเท่านั้น   อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหานอกจากจะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีของแต่ละองค์กรแล้ว ปัจจุบันไทยเรามีกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการโจตีทางไซเบอร์ โดยมีพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ พ.ศ.2562  …