นาโตสอบสวนเหตุแฮ็กเกอร์ขายข้อมูลลับบริษัทผลิตขีปนาวุธ

Loading

MBDA MISSILE SYSTEMS   องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือ นาโต เปิดการสืบสวนสอบสวนเพื่อประเมินผลกระทบจากการละเมิดข้อมูลในเอกสารลับด้านการทหารที่แฮ็กเกอร์กลุ่มหนึ่งขโมยไปขายทางออนไลน์   แฮ็กเกอร์กลุ่มดังกล่าวได้ขโมยข้อมูลที่เชื่อมโยงกับบริษัทผู้ผลิตอาวุธรายใหญ่ในยุโรป โดยแฟ้มข้อมูลที่อาชญากรกลุ่มนี้นำออกขาย รวมถึงพิมพ์เขียวอาวุธของชาติพันธมิตรนาโตที่ใช้ในสงครามยูเครน   MBDA Missile Systems บริษัทผลิตอาวุธร่วมทุนของหลายชาติในยุโรปยอมรับว่าข้อมูลของบริษัทอยู่ในแฟ้มที่ถูกขโมยไปขาย แต่ระบุว่าสิ่งที่คนร้ายได้ไปไม่ใช่ข้อมูลลับของบริษัท   MBDA ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในฝรั่งเศสระบุว่า แฮ็กเกอร์ได้ล้วงข้อมูลดังกล่าวไปจากฮาร์ดไดรฟ์แบบพกพา และขณะนี้ได้ประสานงานกับทางการอิตาลี ซึ่งเป็นประเทศที่เกิดเหตุแล้ว   เชื่อกันว่า การสอบสวนมุ่งเป้าไปยังบริษัทซัพพลายเออร์ ที่ผลิตสินค้าให้ MBDA   โฆษกนาโตระบุในแถลงการณ์ว่า “เรากำลังตรวจสอบการแจ้งเหตุเรื่องข้อมูลที่ถูกขโมยไปจาก MBDA แต่เรายังไม่พบข้อบ่งชี้ใด ๆ ว่าเครือข่ายของนาโตได้รับความเสียหาย”   แฮ็กเกอร์กลุ่มนี้ซึ่งเคลื่อนไหวอยู่ในช่องทางบนโลกออนไลน์ทั้งภาษารัสเซียและภาษาอังกฤษได้ประกาศขายแฟ้มข้อมูลดังกล่าวซึ่งมีขนาด 80 กิกะไบต์ ในราคา 15 เหรียญบิทคอยน์ (ราว 756,000 บาท) และอ้างว่าขณะนี้ได้ขายข้อมูลให้ผู้ซื้อนิรนามไปแล้วอย่างน้อย 1 ราย   MBDA MISSILE SYSTEMS ข้อมูลที่ถูกขโมยไปเป็นพิมพ์เขียวอุปกรณ์ของ MBDA…

อังกฤษไฟเขียวส่งผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์รับโทษในสหรัฐฯ

Loading

  อังกฤษไฟเขียวส่งตัวผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์ไปดำเนินคดีตามคำขอสหรัฐฯ ฐานจารกรรมข้อมูลลับรัฐบาลไปเปิดโปงต่อสาธารณชน โดยมีเวลา 14 วันให้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว   วันนี้ (18 มิ.ย.2565) สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยของอังกฤษอนุมัติการส่งตัวจูเลียน อัสซานจ์ ผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์ที่เปิดโปงเอกสารลับของรัฐบาลสหรัฐฯ ให้ไปเข้ารับการไต่สวนคดีความในสหรัฐฯ ตามคำขอของฝั่งสหรัฐฯ หลังจากอัสซานจ์ถูกควบคุมตัวอยู่ที่เรือนจำในกรุงลอนดอน และพยายามหลีกเลี่ยงการถูกส่งตัวไปสหรัฐฯ มานานหลายปี   กระทรวงมหาดไทยอังกฤษ ระบุว่า ศาลพิจารณาแล้วว่าการส่งตัวอัสซานจ์ไปดำเนินคดีในสหรัฐฯ ไม่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน และเขาจะได้รับการปฏิบัติอย่างเหมาะสมเมื่ออยู่ในสหรัฐฯ หลังจากก่อนหน้านี้ศาลอังกฤษเคยพิจารณาคัดค้านการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนเนื่องจากสภาพจิตใจของอัสซานจ์ย่ำแย่จนเกรงว่าอาจฆ่าตัวตายในเรือนจำที่สหรัฐฯ ซึ่งนำไปสู่การขออุทธรณ์ของรัฐบาลสหรัฐฯ ในเวลาต่อมา   ทางเว็บไซต์วิกิลีกส์รวมถึงภรรยาของเขายืนยันว่าจะยื่นอุทธรณ์ และหากยื่นเรื่องต่อศาลลอนดอนไม่สำเร็จ ครอบครัวของอัสซานจ์อาจยื่นเรื่องต่อศาลสิทธิมนุษยชนของยุโรปต่อไป   สำหรับ อัสซานจ์ซึ่งเป็นชาวออสเตรเลียถูกทางการสหรัฐฯ ออกหมายจับหลังจากเปิดเผยเอกสารลับเกี่ยวกับสงครามในอิรักและอัฟกานิสถาน เมื่อปี 2553-2554 ซึ่งรวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับการสังหารพลเรือนจำนวนมากโดยทหารอเมริกันและทหารอิรัก   ทั้งนี้ ทางการสหรัฐฯ ระบุว่า การเผยแพร่ของข้อมูลดังกล่าวบนวิกิลีกส์ถือเป็นการกระทำอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นอันตรายต่อบุคคลต่าง ๆ     ที่มา : BBC, Reuters, AP    …

FBI บุกจับวิศวกรทัพเรือสหรัฐฯ นำข้อมูลเรือดำน้ำนิวเคลียร์ไปขาย รับเป็นเงินคริปโตฯ 1 แสนดอลลาร์

Loading

  สองสามีภรรยาชาวสหรัฐฯ ถูกจับกุม ข้อหาขายความลับเกี่ยวกับเรือดำน้ำนิวเคลียร์ให้ต่างชาติ ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นเจ้าหน้าที่ FBI ปลอมตัวมา วันที่ 10 ต.ค. 2564 สำนักข่าวเอเอฟพี (AFP) รายงานว่า สำนักงานสอบสวนกลาง (Federal Bureau of Investigation หรือ FBI) ได้ทำการจับกุมคู่สามีภรรยาชาวสหรัฐฯ ที่ถูกกล่าวหาว่านำข้อมูลลับเกี่ยวกับเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ไปขาย ให้กับกลุ่มที่ทั้งคู่เชื่อว่าเป็นหน่วยงานต่างชาติ โจนาธาน โทเอบี วิศวกรนิวเคลียร์ประจำกองทัพเรือสหรัฐ ถูกจับกุมพร้อมกับภรรยาของเขา แอนนา โทเอบี เมื่อวันเสาร์ (9 ต.ค.) จากการร่วมกันกระทำความผิดตาม Atomic Energy Act ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับพลังงานปรมาณู โดยนำข้อมูลที่เป็นความลับไปจำหน่ายให้กับเจ้าหน้าที่ FBI ที่ปลอมตัวเป็นชาวต่างชาติไปล่อซื้อ ด้วยหน้าที่การงานของนายโทเอบี ทำให้เขามีสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ และได้นำข้อมูลเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ไปขายต่อเพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินสกุลดิจิทัลมูลค่า 1 แสนดอลลาร์สหรัฐ (3.3 ล้านบาท) เนื้อหาในแถลงการณ์ระบุว่า นายโทเอบีเริ่มส่งจดหมายไปยังรัฐบาลต่างชาติ ระบุข้อความว่า “กรุณาส่งต่อจดหมายฉบับนี้ไปยังหน่วยข่าวกรองของกองทัพ ผมเชื่อว่าข้อมูลนี้มีคุณค่าอย่างยิ่งต่อประเทศของคุณ นี่ไม่ใช่การหลอกลวง” นายโทเอบีแนบตัวอย่างข้อมูลลับและรายละเอียดต่างๆ…

มีอึ้ง! CIA ส่ง “เคเบิลลับ” เตือนที่ตั้งกองบัญชาการทุกแห่งทั่วโลก หลังสายข่าวต่างชาติของตัวเองนับสิบโดนฆ่า-บีบให้คายความลับ

Loading

  เอเจนซีส์ – เจ้าหน้าที่ระดับสูงข่าวกรองสหรัฐฯ ส่งสารลับทางเคเบิลเตือนที่ตั้งกองบัญชาการของสำนักงาน CIA ทุกแห่งทั่วโลกเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเพื่อแจ้งเตือนว่า มีปัญหาสายข่าวต่างชาติทำงานให้ CIA จำนวนหลายสิบรายถูกสังหาร จับกุม หรือทำให้ต้องคายความลับในช่วงไม่กี่ปีล่าสุด   หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์สรายงานวันนี้ (6 ต.ค.) ว่า สารลับสุดยอดทางเคเบิลที่ไม่ปกติถูกส่งแพร่กระจายออกไปยังที่ตั้งจุดต่างๆ ทั่วโลกของสำนักงานข่าวกรองกลางสหรัฐฯ CIA ระบุว่า ในเวลานี้หน่วยต่อต้านการจารกรรมลับของ CIA กำลังสอบสวนเคสที่เกิดขึ้นจำนวนหลายสิบในช่วงไม่กี่ปีล่าสุดเกี่ยวข้องกับสายข่าวต่างชาติที่ทำงานจารกรรมให้สหรัฐฯ นั้นหากไม่ถูกสังหารก็ถูกจับกุม หรือถูกบีบบังคับให้ต้องคายความลับออกไป แหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องให้ข้อมูล   เป็นที่น่าสังเกตว่า ในเคเบิลลับมีการระบุถึง “จำนวนตัวเลข” ที่แน่นอนของสายข่าวต่างชาติที่ถูกสังหารโดยหน่วยข่าวกรองฝ่ายตรงข้าม ซึ่งถือเป็นเรื่องผิดปกติที่มีการเปิดเผยขัดจากวัฒนธรรมของชุมชนข่าวกรองสหรัฐฯ ที่เคยกระทำมา หนังสือพิมพ์สหรัฐฯ ชี้ และในการเปิดเผยยังได้เปิดเผยถึงตัวเลขของสายข่าวที่ถูกจับกุมเช่นกัน แต่ทว่าไม่ได้เปิดเผยไปถึงตัวเลขของสายข่าว CIA ที่เข้ากับฝ่ายศัตรูสหรัฐฯ โดยชี้ว่า ยังไม่มีข้อมูลที่สมบูรณ์ ซึ่งในบางครั้งที่สายข่าวหากถูกหน่วยงานข่าวกรองคู่อริเกิดจับตัวได้แต่ไม่มีการจับกุมแต่จะทำให้สายข่าวคนนั้นทำงานเป็นสายลับ 2 หน้าป้อนข้อมูลเท็จให้ CIA แทน โดยอดีตเจ้าหน้าที่ชี้ว่า “ปากีสถาน” มีความเชี่ยวชาญในสิ่งนี้เป็นอย่างมาก   เคเบิลลับชี้ให้เห็นว่า หน่วยงาน CIA ของสหรัฐฯ…

จีนตั้งข้อหานักข่าวออสเตรเลีย “จัดหาข้อมูลลับ”

Loading

  รัฐบาลปักกิ่งตั้งข้อหา “จัดหาข้อมูลลับทางราชการ” กับผู้สื่อข่าวหญิงชาวออสเตรเลียเชื้อสายจีน หลังมีการยืนยันว่าควบคุมตัวเธอ “ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง” เมื่อ 6 เดือนที่แล้ว สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 8 ก.พ. ว่านางมาริส เพย์น รมว.การต่างประเทศออสเตรเลีย กล่าวเมื่อวันจันทร์ ว่าเธอได้รับแจ้งจากรัฐบาลปักกิ่ง เกี่ยวกับการที่พนักงานสอบสวนในจีนตั้งข้อหา “จัดหาข้อมูลลับทางราชการ” ต่อ น.ส.เฉิง เล่ย ผู้สื่อข่าวชาวออสเตรเลียเชื้อสายจีน ซึ่งเป็นผู้ประกาศข่าวเศรษฐกิจของสถานีวิทยุโทรทัศน์กลางภาคภาษาอังกฤษ ( ซีจีทีเอ็น ) ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นประมาณ 6 เดือน หลังรัฐบาลปักกิ่งยืนยันการควบคุมตัว น.ส.เฉิง โดยตอนนั้นยังไม่มีการดำเนินคดี เพียงแต่เปิดเผยว่าต้องการสอบสวน กรณีที่เธอ “ต้องสงสัยกระทำการซึ่งส่งผลต่อความมั่นคง” โดยรัฐบาลกลางในกรุงแคนเบอร์รา และสถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลียในกรุงปักกิ่ง ได้ประสานงานอย่างใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่อาวุโสของจีน เพื่อให้มั่นใจว่า พลเมืองของออสเตรเลียรายนี้จะได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม ตามหลักกฎหมายและสิทธิมนุษยชน     อนึ่ง ย้อนกลับไปเมื่อเดือนก.ย. ปีที่แล้ว ออสเตรเลียอพยพผู้สื่อข่าวชาวออสเตรเลียประจำจีน “2 คนสุดท้าย” คือนายบิล เบอร์เทิลส์ สังกัดเอบีซีนิวส์…