ระวังแอปปลอม แอบอ้างเป็นแอปแจ้งความตำรวจ ปลอมทั้งแอปและเว็บ Play Store พร้อมวิธีสังเกต

Loading

ระวังแอปปลอม แอบอ้างเป็นแอปแจ้งความตำรวจ หลังพบมีมิจฉาชีพสร้างแอปปลอมเพื่อหลอกขโมยเงิน ขโมยข้อมูลส่วนตัว โดยแอบอ้างเป็นแอปเจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.ปอท. ใช้ชื่อแอปว่า “TCSD Protect”

3 เหตุผลทำไม? ต้องปกป้อง “มือถือ” ให้ใช้งานได้ปลอดภัย!

Loading

  ปัจจุบันในสมาร์ตโฟนของเรา จะมีข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ มากมาย ทั้งรูปภาพ บทสนทนา รวมถึงการใช้างนแอปต่าง ๆ   ปัจจุบันในสมาร์ตโฟนของเรา จะมีข้อมูลส่วนบุคคลต่างๆ มากมาย ทั้งรูปภาพ  บทสนทนา รวมถึงการใช้างนแอปต่างๆ  โดยเฉพาะ แอปการเงิน   ทำให้การป้องกันความปลอดภันของสมาร์ตโฟน ถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง แต่คนส่วนใหญ่เมื่อโทรศัพท์ใหม่ จะรีบหาซื้อเคสป้องกันทันที เพื่อป้องกันไม่ให้โทรศัพท์มีรอยหรือแตกหักแม้จะตกหล่น แต่ละเลยเรื่องความปลอดภัยในการใช้งาน แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) แนะเหตุผลสำคัญ 3 ประการว่าทำไมจึงจำเป็นต้องปกป้องโมบายดีไวซ์ด้วยซอฟต์แวร์   1. เพราะมีเงินอยู่ในสมาร์ตโฟนของคุณ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับการขนานนามว่าเป็นตลาดโมบายวอลเล็ต หรือกระเป๋าเงินออนไลน์ ที่เติบโตเร็วที่สุดหลังจากเหตุโรคระบาดที่ทำให้เกิดการยอมรับธนาคารออนไลน์และการใช้กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ในภูมิภาคอย่างเฟื่องฟู   ในปีที่แล้ว การชำระเงินผ่านโมบายดีไวซ์ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องด้วยบริการเงินออนไลน์ทั้ง 86 บริการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และคาดการณ์ว่าจะมีสตาร์ทอัพกลุ่มยูนิคอร์นเพิ่มมากขึ้น และกระแสกระปุกออมสินดิจิทัลมากขึ้นเช่นกัน และการวิจัยของแคสเปอร์สกี้เรื่องการจ่ายเงินดิจิทัล หรือ Digital Payments ระบุว่าสมาร์ตโฟนแอนดรอยด์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์มากที่สุดในภูมิภาคนี้     ผู้บริโภคส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้ใช้โทรศัพท์แอนดรอยด์ ผู้ใช้บริการการชำระเงินดิจิทัลในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์จำนวนมากกว่าสี่ในห้า (82%) ระบุว่าใช้อุปกรณ์แอนดรอยด์ในการทำธุรกรรม ขณะที่มาเลเซียมี…

ฝ่ายต้านรัฐบาลไอร์แลนด์เหนืออ้างว่าได้ข้อมูลเจ้าหน้าที่ตำรวจ หลังข้อมูลรั่ว

Loading

  ฝ่ายสาธารณรัฐต้านรัฐบาลไอร์แลนด์เหนืออ้างว่าได้ข้อมูลจำนวนหนึ่งของสำนักงานตำรวจมาครอบครอง   ไซมอน เบิร์น (Simon Byrne) ผู้บัญชาการตำรวจไอร์แลนด์เหนือ (PSNI) เผยว่ารู้สึกเสียใจเป็นอย่างยิ่งเกี่ยวกับการที่ข้อมูลส่วนตัวของเจ้าหน้าที่หลุดรั่ว แต่ได้มีการแจ้งเตือนไปยังเจ้าของข้อมูลแล้ว   ความล้มเหลวของระบบข้อมูล PSNI ที่เกิดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (8 กรกฎาคม) ทำให้ข้อมูลบุคลากรกว่า 10,000 รายหลุดออกมา ซึ่งเป็นข้อมูลของเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุน แถมยังมีไฟล์เอกสารหลุดออกมาด้วย   ข้อมูลนี้มีทั้งนามสกุล อักษรตัวแรกของชื่อ ยศและสังกัด และข้อมูลข่าวกรอง   ก่อนหน้านี้ ในเดือนกรกฎาคม ก็มีเหตุข้อมูลคอมพิวเตอร์แล็ปท็อป วิทยุ และเอกสารยืนยันตัวของเจ้าหน้าที่กว่า 200 รายถูกขโมยจากรถยนต์ส่วนบุคคล   เบิร์นชี้ว่าเจ้าหน้าที่หลายร้อยนายแสดงความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัย บางรายถึงขั้นรู้สึกโกรธเคืองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น   ด้านฝ่ายสาธารณัฐต้านรัฐบาลชี้ว่าได้ข้อมูลบางส่วนที่แพร่กระจายอยู่ใน WhatsApp แต่เบิร์นชี้ว่าคำกล่าวอ้างดังกล่าวยังไม่ได้รับการยืนยัน   กลุ่มดังกล่าวใช้วิธีการต่าง ๆ ลอบโจมตีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาโดยตลอด ทั้งการใช้อาวุธปืนและวัตถุระเบิด รวมถึงกลยุทธ์ซุ่มโจมตีจนเจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บสาหัส ทำให้รัฐบาลยกระดับความเสี่ยงการก่อการร้ายในประเทศ     ที่มา   The Guardian  …

วิธีป้องกันเงินในบัญชีหายโดยไม่รู้ตัว จากการใช้ e-payment

Loading

iT24Hrs-S   วิธีป้องกันเงินในบัญชีหายโดยไม่รู้ตัว จากการใช้ e-payment แม้การจ่ายเงินแบบไร้เงินสดสะดวกรวดเร็วไม่ต้องออกจากบ้าน ไม่ต้องเสียเวลานับแค่กดจำนวนเลขแล้วโอนก็เป็นการจ่ายเงินเรียบร้อย และเดี๋ยวนี้ช่องทางชำระบิลสามารถจ่ายผ่านมือถือ โดยไม่ต้องออกเดินทางไปจ่ายแล้ว แต่ก็มีปัญหาที่เจอบ่อยโดยเฉพาะผู้ใช้บัตรเครดิต และบัตรเดบิต โดนหักเงินหรือชำระเงินโดยที่ไม่ได้สั่งให้จ่ายเงิน หรือถูกหักเงินจากบัญชีธนาคารโดยไม่ทราบสาเหตุ   บางรายเจอถูกหักเงินออกจากบัญชีในจำนวนไม่มาก แต่โดนไปหลายร้อยครั้งในคนเดียววันเดียว เมื่ออายัดบัตรและเช็กข้อมูลพบว่าเป็นการซื้อของในเกมออนไลน์ และอีกกลุ่มคือมีผู้เสียหายหลายรายถูกมิจฉาชีพเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวบัญชีธนาคาร/บัตรเดบิต โดยทำการหักเงินออกจากบัตรเดบิตผ่านเครื่อง EDC หรือเครื่องรูดบัตร แต่ไม่มี SMS แจ้งเตือนไปยังเจ้าของบัตร   วิธีแก้และป้องกันเงินในบัญชีหายโดยไม่รู้ตัว จากการใช้ e-payment   1. หากพบรายการผิดปกติ แจ้งอายัดบัตรเดบิต/บัตรเครดิตทันที เพื่อป้องกันมิจฉาชีพนำเลขหน้าบัตร รวมถึงรหัส CVV ไปใช้   2. ติดต่อ Call Center ของธนาคารต้นเรื่อง และดำเนินการตามขั้นตอนธนาคารเพื่อปฏิเสธการจ่ายรายการหรือธุรกรรมต่าง ๆ ที่ผิดปกติ   3. เก็บหลักฐานทั้งหมดที่ได้รับ เช่น SMS หน้าจอ วงเงิน Statement ไปลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจ  …

Google Search เพิ่มฟีเจอร์ แจ้งเตือนหากมีข้อมูลส่วนตัวโผล่ในผลการค้นหา ขอลบออกได้

Loading

  กูเกิลประกาศเพิ่มฟีเจอร์ชื่อ Results about you ให้เราตรวจสอบได้ง่ายขึ้นว่ามีข้อมูลส่วนตัว เช่น เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ อีเมล ปรากฏอยู่ในผลการค้นหาของ Google Search หรือไม่   ฟีเจอร์นี้เปิดตัวมาได้สักระยะแล้ว แต่ยังจำกัดเฉพาะผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ล่าสุดกูเกิลเพิ่มระบบ alert แจ้งเตือนให้เราทราบหากมีข้อมูลใหม่ติดเข้ามาในผลการค้นหา และเราสามารถยื่นขอลบข้อมูลเหล่านี้ออกได้   ฟีเจอร์อีกตัวที่ประกาศพร้อมกันคือ Google SafeSearch ตัวกรองผลการค้นหาที่ปลอดภัย เพิ่มการเบลอภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น เนื้อหารุนแรง มีเลือดหรืออาการบาดเจ็บ เนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่ เพื่อให้การค้นหาใน Google Image Search ดูไม่น่ากลัวจนเกินไป (หรือการใช้งานในโรงเรียนที่มีเด็ก) ฟีเจอร์นี้จะเปิดใช้งานทั่วโลกในเดือนนี้       ที่มา – Google         ————————————————————————————————————————————————— ที่มา :         …

ดิจิทัลและความเป็นส่วนตัว

Loading

  วิถีชีวิตของคนยุคปัจจุบันล้วนพึ่งพาอาศัยระบบดิจิทัลมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหรือใช้ชีวิตส่วนตัวเราล้วนอาศัยบริการดิจิทัลช่วยให้ชีวิตเราสะดวกสบายมากขึ้น แต่ในอีกมุมหนึ่งก็ต้องยอมรับความเสี่ยงที่ข้อมูลส่วนบุคคลรวมถึงข้อมูลองค์กรอาจหลุดรั่วออกไปได้มากขึ้นเช่นกัน   ในยุคที่ข้อมูลเป็นสินทรัพย์สำคัญที่สุด รวมถึงการถือกำเนิดของเงินสกุลดิจิทัล เราจึงคุ้นเคยกับคำว่าสินทรัพย์ดิจิทัลมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่สิ่งที่ยังพัฒนาตามมาไม่ทันคือแนวคิดแบบดิจิทัล ที่ต้องตระหนักในเรื่องความปลอดภัยและใส่ใจต่อข้อมูลส่วนบุคคลมากกว่านี้   เริ่มจากประการแรกคือต้องเข้าใจว่า “ของฟรีไม่มีในโลก” แม้ว่าบริการดิจิทัลที่เปิดใช้อยู่ในปัจจุบันหลายแพลตฟอร์มจะไม่เสียค่าใช่จ่ายใด ๆ แต่เราต้องเข้าใจว่าบริการเหล่านี้ล้วนได้ “ข้อมูลส่วนบุคคล” ของผู้ใช้เป็นเครื่องแลกเปลี่ยน ไม่ได้ใจดีเปิดให้ใช้ฟรีอย่างที่หลาย ๆ คนคิด   ข้อมูลเหล่านี้มีทั้งข้อมูลพื้นฐานของผู้ใช้ รวมไปถึงข้อมูลจากการวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานว่าเข้ามาดูข้อมูลหรือค้นหาสินค้าชนิดใดเป็นพิเศษ ซึ่งระบบเอไอก็จะช่วยวิเคราะห์ได้ว่าตัวตนของเรานั้นเป็นอย่างไร เหมาะกับสินค้าและบริการแบบไหน เราจึงได้เห็นโฆษณาสินค้าที่เรากำลังมีความสนใจอยู่บ่อย ๆ   ซึ่งนี่เป็นเรื่องพื้นฐานเท่านั้น เพราะในปัจจุบันแพลตฟอร์มต่าง ๆ เริ่มพยากรณ์ความต้องการของผู้ใช้ได้แม่นยำมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเก็บข้อมูลจากผู้ใช้ได้ละเอียดมากขึ้นเช่นกัน   ประเด็นที่สองที่ต้องขบคิดให้ดีก่อนจะสมัครใจใช้แพลตฟอร์มใด ๆ ก็คือความน่าเชื่อถือของแต่ละแพลตฟอร์ม เพราะทุกวันนี้มีบริการดิจิทัลใหม่ ๆ เปิดตัวมากมายแทบจะทุกนาทีซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่ทุกแฟลตฟอร์มจะถูกตรอจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วนอย่างที่ควรจะเป็น   ในโลกแห่งความเป็นจริงเราจึงเห็นแอปพลิเคชันบางตัว ขอสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้มากเกินไป รวมไปถึงบางแอปพลิเคชันที่ตั้งใจทำขึ้นมาเพื่อเอาข้อมูลจากผู้ใช้ และที่หนักที่สุดคือแอปพลิเคชันที่มิจฉาชีพหลอกให้ผู้ใช้โหลดโดยตรงเพื่อนำเงินออกจากธนาคารตามที่เป็นข่าวครึกโครมในรอบ 1-2 ปีที่ผ่านมา   ก่อนจะใช้บริการจากแพลตฟอร์มใด ๆ เราจึงต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนว่าแอปพลิเคชันเหล่านั้นมีความจำเป็นต้องเข้าถึงข้อมูลของเรามากเพียงใด…