“28 ม.ค.วันแห่งข้อมูลส่วนตัว” ถึงเวลาคนไทยต้องตระหนักรู้

Loading

  วันที่ 28 ม.ค.ของทุกปี เป็น “วันแห่งข้อมูลส่วนตัว” (Data Privacy Day)  ซึ่งในยุค “ดิจิทัล”  ข้อมูลส่วนบุคคล ถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก!!   ทุกประเทศต่างมีกฎหมายที่ออกมาคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งหากเจ้าของข้อมูลไม่ยินยอมให้ข้อมูล หรือเปิดข้อมูล หากมีการละเมิด ก็ถือว่าผิดกฎหมาย!?!   ซึ่งจากผลสำรวจโดย Telenor Asia Digital Lives Decoded ปี 2023 พบว่าคนไทยมีความกังวลในเรื่องความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูลเพียง 17% ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียที่อยู่ที่ 44% ส่วนกลุ่มที่ระบุว่าไม่กังวลเรื่องนี้มี 21% สูงกว่าค่าเฉลี่ยของเอเชียที่มีเพียง 8% เท่านั้น แสดงให้เห็นว่า คนไทยกังวลเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในภูมิภาคเอเชีย!!   ภาพ pixabay.com   อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศไทย ก็มี พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ ก.ม.พีดีพีเอ  ที่ออกมาบังคับใช้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งทุกองค์กรไม่ว่าภาครัฐ หรือเอกชน ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย   สำหรับองค์กรโทรคมนาคมใหญ่อย่าง ทรู ที่หลังมีการควบรวมกับดีแทคแล้ว ยิ่งทำให้มีลูกค้าที่ต้องดูแลเพิ่มมากขึ้น จะมีวิธีจัดการและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าอย่างไร?   “มนตรี สถาพรกุล” หัวหน้าฝ่ายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า  ทรู คอร์ปอเรชั่น ตระหนักถึงการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบและรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า ถือเป็นการเคารพสิทธิมนุษยชนอีกมิติหนึ่งในยุคดิจิทัล ซึ่งถือเป็นหนึ่งในประเด็นด้านความยั่งยืนที่ทรูให้ความสำคัญในระดับสูงมาก   มนตรี สถาพรกุล   “หลังการควบรวมระหว่างทรู และดีแทค ทำให้มีฐานลูกค้ากว่า 51 ล้านรายที่ต้องดูแล และหากรวมบริการต่างๆ ทั้งหมดแล้ว จะมีมากกว่า 100 ล้านบัญชีที่ต้องดูแลข้อมูลส่วนบุคคล โดยได้ยึดกลยุทธ์ “Privacy and Security by Design” ซึ่งเป็นการเคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวที่ปกป้องข้อมูลลูกค้าให้ปลอดภัย ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ พร้อมคุมเข้มความปลอดภัยสารสนเทศ ด้วยมาตรฐานสากล ISO 27001 และเน้นการใช้เทคโนโลยีเพื่อจำกัด การเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่จำเป็น”   นอกจากนี้ยังได้มีการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ มาใช้ในการลงทะเบียนซิมเพื่อความแม่นยำและปลอดภัย การเปลี่ยนเอกสารไปเป็นดิจิทัล เลิกใช้กระดาษ 100% นำ เอไอ และแชตบอทเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการลูกค้า เพื่อลดระยะเวลารอและลดระดับการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล   หัวหน้าฝ่ายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล บอกต่อว่า คนไทยส่วนใหญ่ยังตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลส่วนบุคคลของตนเองน้อย จึงต้องมีการสร้างความเข้าใจถึงความสำคัญของข้อมูลส่วนบุคคล ควรทำในวงกว้าง และต่อเนื่อง เราต้องการให้ผู้ใช้บริการมือถือและเทคโนโลยีดิจิทัลทุกคนเข้าใจสิทธิของการเป็นเจ้าของข้อมูลและรับรู้วัตถุประสงค์ในการใช้ข้อมูล เลือกที่จะให้หรือไม่ให้ความยินยอมในการเข้าถึง เปิดเผย และใช้ข้อมูลส่วนบุคคล มีสิทธิทราบ ขั้นตอนที่ได้มาของข้อมูล และมีสิทธิยกเลิกหรือแจ้งให้ลบทำลายข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้กฎหมายเมื่อไหร่ก็ได้   โดยผู้ให้บริการมือถือและดิจิทัล เป็นเพียง “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” เท่านั้น  ผู้ใช้บริการซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูล สามารถเลือกให้ความยินยอมด้านความเป็นส่วนตัวใน 2…

บัวแก้วเตือนคนไทยในต่างแดน ระวังเพจปลอม-แอบอ้างเป็นจนท.หลอกเอาข้อมูลส่วนตัว

Loading

กรมการกงสุลได้ประกาศเตือนให้ประชาชนระวังเพจปลอมที่แอบอ้างเป็นกรมการกงสุล ขอให้ประชาชนไม่หลงเชื่อคนที่ขอให้ลงทะเบียนทำหนังสือเดินทาง ขอเพิ่มเป็นเพื่อนในไลน์ หรือเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ขอให้ทุกคนทราบว่าเว็บไซต์ของกรมการกงสุลจะลงท้ายด้วย .go.th เท่านั้น

วิจัยเผยข้อมูลผู้ใช้ Facebook 1 คนอาจอยู่ในมือของเกือบ 50,000 บริษัท

Loading

ผลการศึกษาจาก Consumer Reports เผยว่า Facebook ได้ข้อมูลของผู้ใช้งาน 1 คนจากบริษัทมากกว่า 2,000 บริษัท นักวิจัยของ Consumer Reports ชี้ว่า Facebook ได้รับข้อมูลผู้ใช้งาน 1 คน โดยเฉลี่ยคนละ 2,230 บริษัท โดยศึกษาจากอาสาสมัคร 709 คน

สกมช. ผนึก โกโกลุค หนุนใช้ ฮูส์คอลล์ สกัดโจรไซเบอร์ งดรับสายมิจฉาชีพ

Loading

เมื่อวันที่ 18 มกราคม พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการ สกมช. ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ระหว่าง สกมช. กับ บริษัท โกโกลุค จำกัด โดยนายเจฟฟ์ กัว ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทโกโกลุค

เทคนิคลดความเสี่ยง จาก ‘รอยเท้าดิจิทัล’

Loading

  ก่อนสิ้นปีที่ผ่านมาผมได้รับข้อความจากค่ายเพลง Spotify ที่เป็นสมาชิก เพื่อสรุปรายละเอียดการใช้ Spotify ของผมในรอบปีที่ผ่านมา บทสรุปมีรายละเอียดมากมายซึ่งคือ “รอยเท้าดิจิทัล” (Digital Footprint) ที่เกิดจากการใช้บริการบนโลกออนไลน์ของผม   ก่อนสิ้นปีที่ผ่านมาผมได้รับข้อความจากค่ายเพลง Spotify ที่เป็นสมาชิก เพื่อสรุปรายละเอียดการใช้ Spotify ของผมในรอบปีที่ผ่านมาว่า ฟังเพลงไปกี่นาที เพลงหรือศิลปินคนไหนบ้างที่ผมฟังมากที่สุด และใช้เวลาไปกี่นาที บทสรุปมีรายละเอียดมากมายซึ่งคือ “รอยเท้าดิจิทัล” (Digital Footprint) ที่เกิดจากการใช้บริการบนโลกออนไลน์ของผม   รอยเท้าดิจิทัล ที่ผมใช้บริการมีอยู่มากมายที่แอปต่าง ๆ เปิดให้ผมดูได้ ตั้งแต่การสั่งอาหาร หรือเรียกใช้บริการรถสาธารณะออนไลน์ ที่สามารถดูได้ว่าสั่งร้านใดไปเมื่อไร เดินทางไปไหน หรือ แม้แต่ว่าสั่งรายการอะไร มีข้อมูลบัตรทางด่วนที่เห็นรายละเอียดได้ว่าไปจ่ายที่ด่านไหน วันเวลาอะไร รวมถึงการทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ เช่น การใช้พร้อมเพย์ โมบายแบงกิ้ง หรือการจ่ายเงินผ่านดิจิทัลวอลเล็ตอย่าง True Money ที่จะเห็นรายละเอียดต่างๆ   นอกจากนี้หากไปดูข้อมูลในโซเชียลมีเดียต่างๆ ที่ผมใช้บริการจะมีรอยเท้าดิจิทัลของผมอีกว่า ผมโพสต์ข้อมูลใดบ้าง เมื่อไร ผมไปกดไลค์ข้อความไหน ใครเป็นเพื่อนผมบ้าง…

ผู้ใช้งานในยุโรปจะเลือกได้ว่าจะแบ่งปันข้อมูลส่วนตัวให้บริการต่าง ๆ ของ Google ได้มากน้อยแค่ไหน

Loading

Google เผยว่าผู้ใช้งานในยุโรปจะสามารถเลือกได้ว่าจะแบ่งปันข้อมูลของตัวเองกับบริการต่าง ๆ ของ Google ได้มากน้อยแค่ไหน เพื่อทำตามกฎหมายตลาดดิจิทัลของสหภาพยุโรป โดยผู้ใช้จะกำหนดได้ว่าจะแบ่งปันข้อมูลให้กับทุกบริการ บางบริการ หรือไม่ให้เลยแม้แต่บริการเดียว