3 เหตุผลทำไม? ต้องปกป้อง “มือถือ” ให้ใช้งานได้ปลอดภัย!

Loading

  ปัจจุบันในสมาร์ตโฟนของเรา จะมีข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ มากมาย ทั้งรูปภาพ บทสนทนา รวมถึงการใช้างนแอปต่าง ๆ   ปัจจุบันในสมาร์ตโฟนของเรา จะมีข้อมูลส่วนบุคคลต่างๆ มากมาย ทั้งรูปภาพ  บทสนทนา รวมถึงการใช้างนแอปต่างๆ  โดยเฉพาะ แอปการเงิน   ทำให้การป้องกันความปลอดภันของสมาร์ตโฟน ถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง แต่คนส่วนใหญ่เมื่อโทรศัพท์ใหม่ จะรีบหาซื้อเคสป้องกันทันที เพื่อป้องกันไม่ให้โทรศัพท์มีรอยหรือแตกหักแม้จะตกหล่น แต่ละเลยเรื่องความปลอดภัยในการใช้งาน แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) แนะเหตุผลสำคัญ 3 ประการว่าทำไมจึงจำเป็นต้องปกป้องโมบายดีไวซ์ด้วยซอฟต์แวร์   1. เพราะมีเงินอยู่ในสมาร์ตโฟนของคุณ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับการขนานนามว่าเป็นตลาดโมบายวอลเล็ต หรือกระเป๋าเงินออนไลน์ ที่เติบโตเร็วที่สุดหลังจากเหตุโรคระบาดที่ทำให้เกิดการยอมรับธนาคารออนไลน์และการใช้กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ในภูมิภาคอย่างเฟื่องฟู   ในปีที่แล้ว การชำระเงินผ่านโมบายดีไวซ์ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องด้วยบริการเงินออนไลน์ทั้ง 86 บริการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และคาดการณ์ว่าจะมีสตาร์ทอัพกลุ่มยูนิคอร์นเพิ่มมากขึ้น และกระแสกระปุกออมสินดิจิทัลมากขึ้นเช่นกัน และการวิจัยของแคสเปอร์สกี้เรื่องการจ่ายเงินดิจิทัล หรือ Digital Payments ระบุว่าสมาร์ตโฟนแอนดรอยด์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์มากที่สุดในภูมิภาคนี้     ผู้บริโภคส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้ใช้โทรศัพท์แอนดรอยด์ ผู้ใช้บริการการชำระเงินดิจิทัลในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์จำนวนมากกว่าสี่ในห้า (82%) ระบุว่าใช้อุปกรณ์แอนดรอยด์ในการทำธุรกรรม ขณะที่มาเลเซียมี…

ช่องโหว่ในระบบรถไฟใต้ดินนิวยอร์กทำให้มิจฉาชีพดูประวัติการเดินทางเหยื่อได้

Loading

  ช่องโหว่ในระบบการใช้จ่ายแบบไร้สัมผัสของรถไฟใต้ดินในนครนิวยอร์กทำให้คนที่มีข้อมูลบัตรเครดิตของผู้โดยสารสามารถเข้าไปดูประวัติการเดินทางของคนนั้นได้   ช่องโหว่นี้อยู่ในฟีเจอร์หนึ่งบนเว็บไซต์ OMNY ของสำนักงานการคมนาคมมหานคร (MTA) ซึ่งทำให้ผู้ใช้เข้าชมประวัติการเดินทางใน 1 สัปดาห์ของใครก็ได้ เพียงแค่มีข้อมูลบัตรเครดิต   ไม่เพียงแค่บัตรเครดิตเท่านั้น หากมีข้อมูลใช้จ่ายบน Apple Pay หรือ Google Pay ก็ดูได้เช่นกัน   เอวา กัลเพริน (Eva Galperin) ผู้อำนวยการฝ่ายไซเบอร์ของ Electronic Frontier Foundation (EFF) ชี้ว่าช่องโหว่นี้เอื้อประโยชน์ให้ผู้ไม่หวังดีที่มีข้อมูลเหล่านี้ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่อาศัยกับเหยื่อ   ด้าน ยูจีน เรสนิก (Eugene Resnick) โฆษกของ MTA ระบุว่าทางองค์กรพร้อมปรับปรุงความเป็นส่วนตัวอยู่เสมอและจะให้ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยเข้ามาให้คำแนะนำ   ที่มา finextra     ——————————————————————————————————————————————————– ที่มา :             …

10 สิ่งที่ไม่ควรเก็บไว้ในสมาร์ทโฟนของคุณ เพราะจะนำมาซึ่งอันตราย

Loading

iT24Hrs   10 สิ่งที่ไม่ควรเก็บไว้ในสมาร์ทโฟนของคุณ ทั้งนี้ผู้ใช้สมาร์ทโฟนส่วนใหญ่ เปลี่ยนสมาร์ทโฟนเหมือนกระเป๋าสตางค์ เก็บทั้งสำเนาดิจิทัลของบัตรเดบิตและบัตรเครดิต บัตรสมาชิก บัตรประชาชน ตั๋วเดินทาง ตั๋วภาพยนตร์ ตั๋วคอนเสิร์ต รวมถึงสิ่งจำเป็นอื่น ๆ ง่ายกว่าการพกบัตรพลาสติกและกระดาษหลาย ๆ ใบไว้ในกระเป๋า   แม้จะสะดวกสำหรับคุณ แต่การจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลในสมาร์ทโฟนก็มีความเสี่ยง เพราะมิจฉาชีพยุคนี้ สามารถแฮ็ก โจมตีทางไซเบอร์ต่าง ๆ ตั้งแต่การแฮ็ก NFC ไปจนถึงลิงก์ฟิชชิง คุณจะปล่อยให้ตัวเองเสี่ยงต่อการถูกขโมยข้อมูลสำคัญ หากคุณไม่ลบรายการเหล่านี้ออกจากอุปกรณ์ของคุณ   10 สิ่งที่ไม่ควรเก็บไว้ในสมาร์ทโฟน   1. รหัสผ่านหลัก จดรหัสผ่านเซฟไว้ในมือถือ ทั้งนี้เพื่อให้ความปลอดภัยขั้นสุด ควรจัดเก็บและเข้ารหัสไว้ผ่านแอปจัดการรหัส คุณจะต้องจำรหัสผ่านหลักเพียงรหัสเดียวเท่านั้น   2. ที่อยู่บ้านของคุณ กำจัดไฟล์ที่แสดงที่อยู่บ้านของคุณ มิจฉาชีพอาจใช้สมุดที่อยู่ ใบแจ้งหนี้ และบิลต่าง ๆ เพื่อติดตามคุณ เป็นอันตรายต่อครอบครัวของคุณ พวกเขาอาจส่งคำขู่เป็นลายลักษณ์อักษร สะกดรอยตามคุณ หรือแม้กระทั่งบุกเข้าไปในที่อยู่อาศัยของคุณได้ ปิด Location ของคุณ…

ญี่ปุ่นเลิกข้อบังคับ “คนขับแท็กซี่” แสดงชื่อ-รูปถ่าย ป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนตัว

Loading

  ญี่ปุ่นเลิกข้อบังคับ – เอ็นเอชเค และซินหัว รายงานว่ากระทรวงคมนาคมของญี่ปุ่นยกเลิกข้อบังคับให้ คนขับรถแท็กซี่ แสดงชื่อและรูปถ่ายบนรถยนต์ อย่างไรก็ตาม ผู้โดยสารยังสามารถระบุยานยนต์จากหมายเลขคนขับหรือใบเสร็จรับเงินหากหลงลืมสิ่งของไว้บนรถและจำเป็นต้องติดต่อผู้ให้บริการ   รายงานระบุว่าการยกเลิกข้อบังคับดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการโพสต์ข้อมูลส่วนบุคคลของคนขับรถแท็กซี่ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์   Japan’s transport ministry has abolished the requirement for taxi drivers to display their name and photograph in their vehicles. The change that came into effect this month is aimed at preventing the posting of their personal information online. /NHK/   และเพื่อรับประกันสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยสำหรับผู้ประกอบอาชีพขับแท็กซี่ รวมถึงบรรเทาปัญหาขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมการขนส่ง…

อิรักจะปลดแบน Telegram หลังเจ้าของแพลตฟอร์มยอมให้ความร่วมมือจัดการข้อมูลรั่ว

Loading

  รัฐมนตรีกระทรวงโทรคมนาคมของอิรักเผยว่าจะปลดแบน Telegram หลังเจ้าของแพลตฟอร์มยินดีทำตามข้อบังคับด้านความปลอดภัยของรัฐบาลแล้ว   โดยรัฐบาลกล่าวว่าบริษัทที่เป็นเจ้าของ Telegram ยอมเผยข้อมูลขององค์กรที่ทำข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนหลุดรั่วออกไป และยังแสดงความพร้อมที่จะสื่อสารกับรัฐบาลด้วย   Telegram ออกมาชี้ว่าการโพสต์ข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับความยินยอมถือเป็นสิ่งที่ละเมิดข้อตกลงการใช้งานอยู่แล้ว และมักจะถูกนำออกโดยผู้ดูแลอยู่เสมอ อีกทั้งบริษัทยังไม่มีนโยบายที่จะมอบข้อมูลให้กับผู้ใดด้วย   ก่อนหน้านี้อิรักประกาศแบน Telegram โดยอ้างเหตุผลด้านความปลอดภัยและการรั่วไหลของข้อมูลเจ้าหน้าที่รัฐบาลและประชาชนทั่วไป   สำนักข่าว Reuters ชีัว่า Telegram ได้รับความนิยมแพร่หลายในอิรักในฐานะที่เป็นสื่อกลางการสนทนาและแหล่งข้อมูลข่าวสาร บาง ‘ช่อง’ (Channel) ในแอปมีข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมหาศาล     ที่มา   Reuters       ——————————————————————————————————————————————————– ที่มา :                      แบไต๋             …

CAC ยกร่างกฎควบคุมการใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้า

Loading

  สำนักงานไซเบอร์สเปซจีน (CAC) เผยว่าได้ยกร่างกฎควบคุมความมั่นคงปลอดภัยในการใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้า   CAC ชี้ว่าต้องมีการควบคุมให้ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในจุดประสงค์เฉพาะและต้องมีความจำเป็นที่พอเหมาะ ภายใต้มาตรการเชิงป้องกันที่เข้มงวด   นอกจากนี้ การใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้ายังต้องได้รับความยินยอมจากปัจเจกบุคคล อีกทั้งยังควรใช้ระบบการยืนยันตัวตนที่ไม่ใช่ข้อมูลไบโอเมตริกซ์หากมีประสิทธิภาพเท่ากัน   ในร่างกฎของ CAC ยังห้ามการใช้อุปกรณ์ยืนยันตัวตนและการจับภาพในห้องพักโรงแรม ห้องน้ำสาธารณะ ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า และสถานที่อื่น ๆ ที่จะละเมิดความเป็นส่วนตัว   การติดตั้งอุปกรณ์เหล่านี้ควรมีเป้าหมายเพื่อความปลอดภัยสาธารณะเท่านั้นและต้องมีป้ายเตือนที่เห็นเด่นชัดวางอยู่ใกล้ ๆ ด้วย     ที่มา   Reuters       ————————————————————————————————————————————————— ที่มา :                    แบไต๋                     /…