กระทรวงมาตุภูมิฯสหรัฐฯออกไอเดียให้ “พลเมืองสหรัฐฯ” ทุกคนต้องสแกนใบหน้าเข้าออกประเทศ

Loading

รอยเตอร์ – รัฐบาสหรัฐฯชุดทรัมป์ต้องการบังคับใช้ข้อกำหนดใหม่ในปีหน้า กำหนดให้ผู้เดินทางผ่านเข้าออกประเทศทุกคน รวมพลเมืองสหรัฐฯต้องถูกถ่ายภาพไว้เป็นหลักฐานทุกครั้ง รอยเตอร์รายงานวันนี้ (3 พ.ย) ว่า ข้อกำหนดที่ถูกเสนอออกมาเมื่อกฎกฎาคมที่ผ่านมาโดยกระทรวงมาตุภูมิและความมั่นคงสหรัฐฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในภาพกว้างของระบบติดตามตัวนักเดินทางเข้าและออก อย่างไรก็ตามแผนที่ว่านี้ได้รับการต่อต้านออกจากกลุ่มผู้สนับสนุนสิทธิส่วนบุคคล โดยเจย์ สแตนลีย์ (Jay Stanley) นักวิเคราะห์นโยบายอาวุโสให้กับสหภาพสิทธิพลเมืองสหรัฐฯ ACLU ได้ออกมาโต้แย้งแนวความคิดการให้สแกนใบหน้าพลเมืองอเมริกันในการผ่านเข้าออกประเทศผ่านแถลงการณ์ว่า “นักท่องเที่ยวรวมถึงพลเมืองสหรัฐฯไม่สมควรต้องยอมจำนนต่อการตรวจทางชีววิทยาที่เหมือนเป็นการบุกรุก เนื่องมาจากเงื่อนไขในการปกป้องสิทธิตามกฎหมายรัฐธรรมนูญในการเดินทางของพวกเขา” ทั้งนี้พบว่าสาธารณะมีเวลาราว 30-60 วันในการแสดงความเห็นต่อข้อกำหนดของสหรัฐฯ และหลังจากนั้นหน่วยงานรัฐบาลกลางสหรัฐฯจะทำการพิจารณาทบทวนและตอบต่อความเห็นเหล่านั้น ซึ่งถือเป็นกระบวนการที่ใช้ระยะเวลามากที่สุด นอกจากนี้รัฐบาลสหรัฐฯชุดทรัมป์ยังกล่าวในวาระกฎเกณฑ์ว่า ทางสหรัฐฯมีแผนที่จะออกข้อกำหนดฟาสต์แทร็กที่แยกออกมาต่างหากภายในเดือนนี้เพื่อทำให้โปรเจกต์เข้า-ออกนั้นไปไกลกว่าสถานะนำร่อง สำนักงานศุลกากรและปกป้องพรมแดนสหรัฐฯที่อยู่ภายใต้กระทรวงมาตุภูมิและความมั่นคงสหรัฐฯได้ออกโครงการนำร่องทำการรวบรวมภาพถ่ายและลายนิ้วมือของนักท่องเที่ยวต่างชาติ อย่างไรก็ตามในปี 2018 ฝ่ายตรวจสอบภายในได้พบปัญหาด้านปฎิบัติการและเทคนิคที่สนามบิน 9 แห่งในสหรัฐฯ ซึ่งทำให้สร้างความสงสัยว่าทางกระทรวงมาตุภูมิสหรัฐฯจะสามารถทำได้ทันกำหนดเส้นตายของตัวเองหรือไม่ที่จะสมารถยืนยันการเดินทางออกนอกประเทศของชาวต่างชาติทุกคนได้ทันในสนามบินขนาดใหญ่ 20 แห่งทั่วประเทศภายในปีงบประมาณปี 2021 ————————————– ที่มา : MGR Online / 3 ธันวาคม 2562 Link : https://mgronline.com/around/detail/9620000115756

อียูเริ่มตรวจสอบวิธีเก็บข้อมูลผู้ใช้ของ ‘กูเกิล’ เข้าข่ายผิดกฎหมายหรือไม่?

Loading

FILE – Google CEO Sundar Pichai (R) and Philipp Justus, Google Vice President for Central Europe and the German-speaking Countries, attend the opening of the new Alphabet’s Google Berlin office in Berlin, Germany, Jan. 22, 2019. สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า คณะกรรมการต่อต้านการผูกขาดของสหภาพยุโรปกำลังตรวจสอบวิธีจัดเก็บข้อมูลของบริษัทเทคโนโลยีกูเกิล ว่าขัดกับกฎหมายของอียูหรือไม่ โดยการตรวจสอบดังกล่าวจะมุ่งไปในประเด็นที่ว่า กูเกิลจัดเก็บข้อมูลอย่างไรและทำไมจึงต้องเก็บข้อมูลเหล่านั้นไว้ ผู้ตรวจสอบของอียูกล่าวกับรอยเตอร์ว่า ในเบื้องต้นได้มีการส่งแบบสอบถามไปยังกูเกิลแล้ว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสอบสวนเกี่ยวกับข้อมูลการค้นหาต่าง ๆ ที่กูเกิลจัดเก็บไว้ รวมถึงการโฆษณาออนไลน์ การเจาะกลุ่มเป้าหมาย การท่องเว็บไซต์ และพฤติกรรมอื่น ๆ ของผู้ใช้กูเกิล ในช่วงสองปีที่ผ่านมา คณะกรรมการสนับสนุนการแข่งขันอย่างเท่าเทียมในสหภาพยุโรป ได้สั่งปรับเงินกูเกิลไปแล้วกว่า…

จีนเริ่มใช้กฎสแกนใบหน้าผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ

Loading

รัฐบาลจีนเริ่มบังคับใช้กฎระเบียบใหม่ ที่กำหนดให้ประชาชนในประเทศ ต้องสแกนใบหน้า เมื่อจดทะเบียนขอใช้บริการโทรศัพท์มือถือ ส่วนหนึ่งของมาตรการที่รัฐบาลพยายามระบุตัวตน ประชาชนหลายร้อยล้านคน ที่ใช้อินเทอร์เน็ตในจีน กฎระเบียบใหม่ ซึ่งประกาศครั้งแรกในเดือน ก.ย. เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 1 ธ.ค. 2562 รัฐบาลจีนกล่าวว่า ต้องการปกป้อง “สิทธิและผลประโยชน์ที่ถูกต้องตามกฎหมายของพลเมืองในโลกไซเบอร์” ก่อนหน้านี้ทางการจีนได้ติดตั้ง เทคโนโลยีจดจำใบหน้า ตามสถานที่สาธารณะทั่วประเทศ เพื่อสำรวจประชากรของตน จีนถือเป็นผู้นำโลก ทางด้านเทคโนโลยีเหล่านี้ แต่การใช้ระบบเพื่อตรวจสอบอย่างเข้มข้นมากขึ้นของทางการ ในระยะหลายปีที่ผ่านมา กลายเป็นประเด็นถกเถียงในวงกว้าง เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล. ———————————————- ที่มา : NEW18 / 2 ธันวาคม 2562 Link : https://www.newtv.co.th/news/45435

แนวคิดในการนำเอไอมาใช้กับข้อมูลส่วนบุคคล

Loading

โดย จรัล งามวิโรจน์เจริญ Chief Data Scientist & VP of Data Innovation Lab ในโลกปัจจุบัน เรามีข้อมูลที่ถูกสร้างและถูกเก็บจำนวนมาก โดยมาจากสิ่งต่างๆ รอบตัวเรา เช่น พฤติกรรมการใช้งานฟังก์ชันต่างๆ จากโทรศัพท์มือถือและจากในโลกอินเทอร์เน็ต ที่ถูกแปลงไปอยู่ในโลกดิจิทัล เพื่อช่วยให้เอไอและแมชชีนเลิร์นนิง (AI & machine learning) ทำการประมวลผลบางอย่าง เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อภาคธุรกิจและสังคม ทั้งในด้านของการช่วยตัดสินใจ การคาดการณ์ (prediction) การทำงานอย่างอัตโนมัติ (automation) โดยองค์กรอาจนำเอาข้อมูลส่วนตัวมาร่วมใช้วิเคราะห์ตัดสินใจควบคู่กันไปด้วย เพื่อทำให้ลูกค้ามีประสบการณ์การใช้งานที่ดี (user experience) และอยู่ใช้บริการกับองค์กรได้นานยิ่งขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าจะช่วยสร้างรายได้ให้กับธุรกิจมากยิ่งขึ้นเช่นกัน จากประโยชน์ของการนำข้อมูลส่วนบุคคลมาใช้เพื่อประโยชน์ขององค์กรหรือภาคธุรกิจต่างๆ นี้เอง ทำให้ช่วงที่ผ่านมาหลายๆ ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยได้ออกกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ทำให้องค์กรและผู้ประกอบการเกิดความตระหนักและต้องคิดให้รอบคอบมากขึ้นในกรณีที่ต้องการนำข้อมูลต่างๆ มาใช้งาน ซึ่งแน่นอนว่าการที่จะทำ personalization ที่ดีได้นั้น ต้องอาศัยข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลจำนวนมาก แต่จะทำอย่างไรให้การนำข้อมูลมาใช้ยังคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล ในขณะที่ก็ให้ประโยชน์กับผู้ใช้งานด้วยเช่นกัน เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายมาก โดยองค์กรหรือผู้ประกอบการอาจจะเป็นผู้ที่ควบคุมหรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าหรือผู้ใช้ได้ ภายใต้ข้อบังคับของกฎหมาย บทความนี้ผมอยากนำเสนอแนวคิด…

แถลงข่าว จับกุมหนุ่มแฮก facebook “หลอกโอนเงิน” เข้ากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์

Loading

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดเผยในการร่วมกับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) ที่ผ่านมาและมีสถิติรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาดำเนินคดีตามกฎหมายและเร่งรัดดำเนินคดีการตามมาตรการป้องกันและปราบปราม ในห้วงที่ผ่านมามีสถิติการจับกุมระหว่างเดือนกรกฎาคม – เดือนกันยายน ๒๕๖๒ มีจำนวนทั้งสิ้น ๗ ราย ดังนี้ เดือนกรกฎาคม ๖ ราย เดือนสิงหาคม ๖ ราย และเดือนกันยายน ๑ ราย วันนี้ (15 พฤศจิกายน) มีการแถลงข่าวจับกุมตัวผู้ต้องหาแฮก facebook หลอกยืมเงินเข้ากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีรูปแบบการกระทำความผิด (แผนประทุษกรรม) ที่ซับซ้อน โดยหลอกลวงรับสมัครงานในโลกออนไลน์เพื่อเอาบัญชีผู้อื่นที่มาสมัครงานเป็นบัญชีผู้รับโอนเงินจากเหยื่อ ซึ่งเมื่อวันที่ 14 พ.ย.62 ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ต.ไพบูลย์ น้อยหุ่น ผบก.ปอท. พ.ต.อ.สมเกียรติ เฉลิมเกียรติ รอง ผบก.ปอท. พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รอง ผบก.ปอท.…

เผยผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตกว่า 40% ใน เอเชีย-แปซิฟิก มี Cyber risk สูง

Loading

ความจริงที่น่าตกตะลึง!! ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตใน เอเชีย-แปซิฟิก มีพฤติกรรมทางไซเบอร์เสี่ยงสูง (Cyber risk) ผลสำรวจพบว่า 40% เต็มใจเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว… ผลสำรวจชี้ชัด Cyber risk ใน APAC สูง  เมื่อไม่นานมานี้ได้มีเปิดเผยผลสำรวจ Global Privacy Report 2018 ที่ทาง แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ได้สำรวจผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific หรือ APAC) พบว่า 39.2% เต็มใจที่จะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวเพื่อให้ได้ความปลอดภัยเพิ่มเติม เช่น การตรวจสอบ หรือสอดส่องความปลอดภัยออนไลน์ แต่ยังมีกว่า 40% ที่ยอมเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว โดยกว่า 22% สารภาพว่าแชร์ข้อมูลโซเชียลมีเดียเพื่อเล่นควิซต่างๆ ขณะที่ 18.9% ยอมรับว่ายอมสละความเป็นส่วนตัวเพื่อรับสินค้า และบริการฟรี เช่น ซอฟต์แวร์หรือของขวัญอื่น ๆ นอกจากนี้ในรายงานฉบับดังกล่าวยังเปิดเผยอีกว่า 55.5% ของผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอยู่ในช่วงอายุ 16-24 ปี และ 25-34 ปี และมีความคิดว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะมีความเป็นส่วนตัวครบถ้วนสมบูรณ์ในโลกดิจิทัลสมัยใหม่ และเชื่อว่าข้อมูลส่วนตัว เช่น ที่อยู่ วันเกิด…