แคสเปอร์สกี้ พบการโจมตีออนไลน์ในไทยลดลง ภัยคุกคามออฟไลน์กลับเพิ่มขึ้น

Loading

  แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) เปิดรายงานความปลอดภัยทางไซเบอร์ปี 2023 ของไทย ตรวจพบและบล็อกภัยคุกคามทางเว็บที่มีเป้าหมายโจมตีผู้ใช้เกือบ 13 ล้านรายการ   ปัจจุบันภัยคุกคามทางไซเบอร์เป็นเรื่องที่เกิดและพบบ่อยครั้ง โดยเฉพาะเมื่อมีการรายงานจากสื่อต่างๆ การโจมตีทางไซเบอร์เหล่านี้ส่วนใหญ่ส่งผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงการโจมตีทางไซเบอร์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ซึ่งเก็บข้อมูลส่วนบุคคล หรือแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ ซึ่งที่ผ่านมาภัยคุกคามทางไซเบอร์สร้างความเสียหายทั้งต่อเศรษฐกิจระดับประเทศ ธุรกิจเอกชน รวมถึงประชาชนทั่วไปมากยิ่งขึ้นทุกที   ในปี 2023 ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้ตรวจพบความพยายามในการคุกคามเว็บจำนวน 12,923,280 รายการบนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ในประเทศไทยที่เข้าร่วม Kaspersky Security Network (KSN) ซึ่งมีสัดส่วนน้อยกว่าปีที่แล้ว 25.28% (17,295,702 รายการ)   การโจมตีผ่านเว็บเบราว์เซอร์ เป็นวิธีการหลักในการแพร่กระจายโปรแกรมที่เป็นอันตราย การใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ในเบราว์เซอร์และปลั๊กอิน (ไดรฟ์บายดาวน์โหลด) รวมถึงวิศวกรรมสังคม เป็นวิธีที่อาชญากรไซเบอร์ใช้ในการเจาะระบบโดยทั่วไปมากที่สุด   แคสเปอร์สกี้ตรวจพบเหตุการณ์โจมตีแบบออฟไลน์จำนวน 22,268,850 รายการ ซึ่งเป็นจำนวนมากกว่าปีที่แล้ว 4.36% (22,268,850 รายการ)   โดยส่วนใหญ่แล้ว เวิร์มและไฟล์ไวรัสเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในเครื่อง ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นถึงความถี่ที่ผู้ใช้ถูกโจมตีโดยมัลแวร์ที่แพร่กระจายผ่านไดรฟ์ USB แบบถอดได้ ซีดี…

เหยื่อปฏิเสธจ่ายเงินค่าไถ่ ‘แรนซัมแวร์’

Loading

  แม้ว่าในปัจจุบันจะมีเหตุการณ์การโจมดีด้วย “แรนซัมแวร์” อยู่อย่างต่อเนื่องแต่อัตราการจ่ายเงินค่าได้กลับไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย   จากรายงานของ Coveware บริษัทรับเจรจาเรื่อง แรนซัมแวร์ (Ransomware) พบว่า จำนวนเหยื่อแรนซัมแวร์ที่จ่ายค่าไถ่ลดลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 29% ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2023   แนวโน้มนี้ได้ปรากฏชัดเจนอย่างมากในช่วงกลางปี 2021 เมื่ออัตราการจ่ายเงินลดลงเหลือ 46% หลังจากก่อนหน้านี้อยู่ที่ 85% ในปี 2019 สำหรับสาเหตุของการลดลงอย่างต่อเนื่องนี้มีหลายแง่มุม   ส่วนหนึ่งเพราะมีการเตรียมพร้อมที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นขององค์กรต่างๆ บวกกับการไม่ไว้วางใจต่ออาชญากรไซเบอร์ที่สัญญาว่าจะไม่เผยแพร่ข้อมูลที่ถูกขโมย รวมไปถึงความกดดันทางกฎหมายในบางภูมิภาคที่ระบุว่า การจ่ายเงินค่าไถ่เป็นสิ่งผิดกฎหมายเลยทำให้ไม่เพียงแต่จำนวนเหยื่อที่จ่ายค่าไถ่แรนซัมแวร์ลดลงแต่ยังรวมถึงจำนวนเงินค่าไถ่ด้วย   การจ่ายค่าไถ่ในโตรมาสที่ 4 ปี 2023 มีมูลค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 568,705 ดอลลาร์ ลดลง 33% จากไตรมาสก่อน ขณะที่การจ่ายค่าไถ่เฉลี่ยอยู่ที่ 200,000 ดอลลาร์   หากพิจารณาเฉพาะองค์กรที่ตกเป็นเหยื่อจะเห็นว่า มีจำนวนลดลงในไตรมาสที่ 4 ปี 2023 เช่นกัน ซึ่งสวนทางกับไตรมาส 2 ปี 2565…

แนะ 5 ข้อปฏิบัติเสริมความปลอดภัยทางไซเบอร์ขององค์กร

Loading

  ในปีที่ผ่านมา เกิดข้อถกเถียงกันในแวดวงวิศวกรรมและการออกแบบ เนื่องจากมีการพบว่าบริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่งยังคงมีการใช้งานซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ   ในปีที่ผ่านมา เกิดข้อถกเถียงกันในแวดวงวิศวกรรมและการออกแบบ เนื่องจากมีการพบว่าบริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่งยังคงมีการใช้งานซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิกันอย่างแพร่หลาย   จากการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ตำรวจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ช่วงที่ผ่านมาได้เผยให้เห็นว่า บริษัทด้านการออกแบบและวิศวกรรมที่ใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิหลายบริษัทมีส่วนร่วมในโครงการที่เกี่ยวกับระบบโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ ด้วยเหตุนี้ บีเอสเอ | พันธมิตรซอฟต์แวร์ (BSA | Software Alliance) จึงออกมาแจ้งเตือนพร้อมเน้นย้ำถึงการใช้ซอฟต์แวร์หมดอายุการใช้งานและไม่ปลอดภัยในโครงการดังกล่าว ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในด้านความปลอดภัยแก่สาธารณะได้   นายดรุณ ซอว์เนย์ ผู้อำนวยการอาวุโส บีเอสเอ กล่าวว่า ผู้บริหารและผู้นำทางธุรกิจทุกท่านในอุตสาหกรรมวิศวกรรมและการออกแบบควรตั้งเป้าหมายสำหรับปี 2567 ในด้านการจัดการสินทรัพย์ซอฟต์แวร์อย่างรัดกุม เนื่องจากรัฐบาลทั่วทั้งภูมิภาคกำลังจับตามองการใช้ซอฟต์แวร์ในโครงการสาธารณะอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ทุกโครงการที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานอันมาจากภาษีของประชาชน ได้ถูกออกแบบด้วยซอฟต์แวร์ที่ปลอดภัยและถูกต้องตามกฎหมาย   ซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ มีความเสี่ยงสูงต่อการถูกคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนเพิ่มขึ้นทั่วโลก โดยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมูลค่าความเสียหายที่เกิดจากการละเมิดข้อมูลพุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ สร้างความสูญเสียเป็นมูลค่ามากกว่า 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 100 ล้านบาท ในปี 2566 ซึ่งสูงขึ้นถึง 6% เมื่อเทียบกับปี 2565   ดรุณ ซอว์เนย์   บริษัทต่าง…

10 อันดับประเทศที่มีแฮ็กเกอร์สุดอันตราย VS ความปลอดภัยไซเบอร์แน่นหนา

Loading

ปัจจุบันมีการรับรู้ถึงความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เพิ่มมากขึ้นจำนวนมาก การแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องทั่วโลกได้สร้างความไม่ไว้วางใจให้กับผู้คนและธุรกิจโดยเฉพาะในโลกออนไลน์ CYWARE SOCIAL ได้มีการรวบรวมประเทศ 10 อันดับแรกที่มีแฮ็กเกอร์หรืออาชญากรไซเบอร์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการโจมตีทางไซเบอร์มากที่สุดในโลก

กว่าครึ่งผู้บริหารเลี่ยงปฏิบัติ ตามมาตรการ ‘ความปลอดภัยไซเบอร์’

Loading

จากการสำรวจความคิดเห็นของ ผู้บริหารระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ และพนักงานออฟฟิศในองค์กรทั่วโลกกว่า 6,500 คน พบว่า เกือบครึ่งหนึ่ง (49%) ของผู้บริหารระดับสูงพยายามหลีกเลี่ยงมาตรการรักษาความปลอดภัยต่างๆ ในปีที่ผ่านมา

แฮ็กเกอร์โฆษณาขายข้อมูลที่ขโมยมา ขณะผู้เชี่ยวชาญเตือนอย่าใช้รหัสผ่านซ้ำ ๆ

Loading

แฮ็กเกอร์รายหนึ่งได้โฆษณาขายข้อมูลหลายล้านชิ้นที่ถูกขโมยจาก 23andMe ซึ่งเป็นเว็บไซต์ด้านเทคโนโลยีชีวภาพและพันธุกรรมของสหรัฐ 23andMe ให้บริการทดสอบทางพันธุกรรมแก่ลูกค้าที่ส่งตัวอย่างน้ำลายไปที่ห้องปฏิบัติการ และลูกค้าจะได้รับรายงานเกี่ยวกับบรรพบุรุษและความบกพร่องทางพันธุกรรม