ตำรวจยุคใหม่ ใช้โดรนส่องหลังคาบ้าน ท้าทายความเป็นส่วนตัว

Loading

  ในระหว่างที่ชาวนิวยอร์ก กำลังใช้วันหยุดไปกับการจัดปาร์ตี้บาร์บีคิวที่สวนหลังบ้าน ช่วงนั้นเองก็มีโดรนติดกล้องจากทางเจ้าหน้าที่ บินมาร่วมแจมด้วย…   กรมตำรวจนครนิวยอร์กประกาศใช้แผนส่งโดรนสำรวจบนท้องฟ้าในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์นี้ โดยเลือกติดตามบ้านที่มีการงานปาร์ตี้กลางแจ้ง เพื่อตรวจสอบความเรียบร้อย หากได้รับการโทรแจ้งเข้ามาเป็นจำนวนมาก   อย่างไรก็ตาม แผนการดังกล่าวก็ถูกตั้งคำถามถึงความเป็นส่วนตัว รวมถึงการละเมิดกฎหมายควบคุมการสอดแนมในพื้นที่ด้วยหรือไม่ และการบินสองปาร์ตี้หลังบ้านในเมือง ดูเป็นเรื่องเร่งด่วนจริง ๆ หรือ   ทางด้านกรรมการบริหารของ Surveillance Technology Oversight Project (STOP) ในสหรัฐฯ ก็ออกมาแสดงความคิดเห็นคล้าย ๆ กัน โดยมองด้วยว่าตัวโดรนของเจ้าหน้าที่ อาจบินไปดูส่วนที่เป็นห้องนอนโดยมิชอบ   มีข้อมูลเผยว่า ที่ผ่านมาทางตำรวจนิวยอร์คได้ใช้โดรนบินเพิ่มขึ้นอย่างมากในปีนี้ แต่มีการใช้โดรนเพื่อความปลอดภัยในที่สาธารณะหรือเหตุฉุกเฉินเพียงสี่ครั้ง ในขณะที่ตัวเลขขึ้นบินมีมากถึง 124 ครั้ง และจะเพิ่มมากขึ้นในวันหยุดช่วงสุดสัปดาห์นี้   แนวคิดการเฝ้าระวังบนท้องฟ้าด้วยโดรน นับว่าเป็นเรื่องดีที่จะช่วยให้เจ้าหน้าที่สองส่องดูแลได้ทั่วถึงขึ้น แต่การไปสอดส่องบริเวณที่อยู่อาศัย ที่ที่เป็นพื้นที่ส่วนตัวของชาวเมือง จึงไม่แปลกที่จะเกิดเสียงต่อต้าน วันดีคืนดีอาจมีโดรนตำรวจถูกสอยเข้าสักวันเป็นแน่     ที่มา : Techspot       —————————————————————————————————————————————————…

‘เทคโนโลยี’ กับการสร้าง ความปลอดภัยให้สังคม

Loading

  ‘สภาพแวดล้อม’ ที่ปลอดภัยถือเป็นปัจจัยสำคัญพื้นฐาน ที่ช่วยสร้างมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดี ให้ผู้คนในสังคม โดยเฉพาะ “ความปลอดภัยในพื้นที่สาธารณะ” (Public Safety) หนึ่งในประเด็นที่คนในสังคมให้ความสำคัญ   เนื่องจากช่วยสร้างความมั่นใจและความอุ่นใจในการใช้ชีวิต ช่วยสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีและมีประสิทธิภาพ ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว และส่งผลดีต่อการพัฒนาทางธุรกิจ ซึ่งจะนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน   นั่นจึงเป็นเหตุผลให้ สหประชาชาติกำหนดให้การ “ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ มีความเสมอภาค ปลอดภัย ยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง และยั่งยืน” (Make cities and human settlements inclusive, safe, resilient and sustainable) เป็นหนึ่งใน ‘เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน’ (Sustainable Development Goals: SDGs)   แม้ปัจจุบันหลายองค์กรจะให้ความสำคัญกับการยกระดับความปลอดภัยสาธารณะ แต่ปัญหาอาชญากรรมและอุบัติเหตุในรูปแบบต่าง ๆ ก็ยังคงมีให้เห็นกันอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การพัฒนาเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยจึงได้กลายเป็นตัวแปรสำคัญที่จะช่วยเสริมความรวดเร็วและความแม่นยำในการป้องกันและยับยั้งภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้น เช่น เทคโนโลยีระบบสื่อสารฉุกเฉิน (Emergency Communication Systems) ที่ติดตั้งบนอุปกรณ์การสื่อสารต่าง ๆ อาทิ…

กรุงโซลเตรียมติดตั้งกล้องเพิ่ม หลังเกิดคดีสะเทือนขวัญข่มขืนครูสาว

Loading

  นายกเทศมนตรีกรุงโซลประกาศจะติดตั้งกล้องวงจรปิดตามสวนสาธารณะและเส้นทางเดินขึ้นเขาเพิ่ม หลังเกิดเหตุคนร้ายทำร้ายร่างกายและกระทำชำเราครูสาวจนบาดเจ็บหนักและเสียชีวิตในพื้นที่ที่ไม่มีกล้องวงจรปิด   นับเป็นคดีสะเทือนขวัญชาวกรุงโซล เมืองหลวงของเกาหลีใต้ หลังจากที่ครูประถมรายหนึ่งถูกคนร้ายทำร้ายร่างกายและกระทำชำบนเส้นทางเดินป่าที่เต็มไปด้วยผู้คนเมื่อสัปดาห์ก่อน จนกระทั่งเธอเสียชีวิตจากอาการบาดเจ็บสาหัสในเวลาต่อมา ส่งผลให้มีความเคลื่อนไหวเรียกร้องให้ผู้บริหารสภาเทศบาลออกมารับผิดชอบด้วยการลาออก หลังจากที่เขาเคยประกาศทางยูทูบเมื่อปีที่แล้วว่าเขาได้ตัดลดงบประมาณสำหรับสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้ผู้หญิงลง   ล่าสุดนาย โอ เซ ฮุน นายกเทศมนตรีกรุงโซลประกาศจะติดตั้งกล้องวงจรปิดเพิ่มให้ทั่วสวนสาธารณะต่าง ๆ รวมทั้งเส้นทางเดินขึ้นเขา เพื่อไม่ให้มีจุดบอด และสามารถป้องกันเหตุร้ายได้อย่างทันท่วงที โดยยืนยันว่ากรุงโซลต้องเป็นพื้นที่ปลอดภัยที่ผู้หญิงสามารถเดินไปไหนมาไหนเพียงลำพังได้ และหากยังเกิดเหตุอาชญากรรมแบบนี้ต่อไป เป้าหมายที่จะให้กรุงโซลเป็นเมืองปลอดภัยย่อมจะไม่มีทางเกิดขึ้น     มีข้อมูลจากตำรวจว่าคนร้ายคือ นายชอย ยุน จอง มีการเลือกเหยื่อด้วยการสุ่ม และซุ่มรอเหยื่ออยู่ตรงทางแยกเส้นทางเดินป่า หรือตามสวนสาธารณะในกรุงโซล โดยเลือกพื้นที่ที่ไม่มีกล้องวงจรปิดอยู่ ก่อนที่จะทำร้ายร่างกายเหยื่อและข่มขืน   ตำรวจยังระบุกับสำนักข่าวยอนฮับด้วยว่า การก่ออาชญากรรมครั้งนี้ เป็นการกระทำที่มีการวางแผนเอาไว้ก่อน โดยคนร้ายได้ทำร้ายร่างกายเหยื่อในที่สาธารณะ ก่อนจะข่มขืน จนทำให้เธอเสียชีวิต   มีรายงานว่าเหยื่อสาวผู้เคราะห์ร้าย เป็นครูประถมอายุราว 30 ปี โดยเธอบาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิตที่โรงพยาบาลหลังเกิดเหตุได้ 2 วัน   ทั้งนี้ ประเทศเกาหลีใต้ นับว่าเป็นประเทศที่มีความปลอดภัยในระดับต้น ๆ…

บพข. พัฒนาเทคโนโลยี 5G – AI ป้องกันการอาชญากรรม

Loading

  หน่วยบริหารและจัดการทุนเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ร่วมกับ สถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัล-มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) และเกาหลีใต้ “วิจัยและพัฒนานวัตกรรม 5G – AI” เพื่อติดตามและป้องกันอาชญากรรม เช่น การตรวจจับใบหน้า ติดตามวัตถุ สร้างความปลอดภัยในพื้นที่สาธารณะให้แก่ประชาชน   สถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัล ม.สงขลานครินทร์ ลงนามบันทึกข้อตกลง “วิจัยและพัฒนานวัตกรรม 5G และระบบปัญญาประดิษฐ์ AI” เพื่อกิจการงานตำรวจ ซึ่งนำร่องด้วยแพลตฟอร์ม 5G-AI รักษาความปลอดภัยในพื้นที่สาธารณะ ที่เป็นความร่วมมือระหว่าง ม.สงขลานครินทร์, โรงเรียนนายร้อยตำรวจ, บริษัท พอยท์ ไอที คอนซัลทิ่ง จำกัด   และภาคเอกประเทศเกาหลีใต้ ประกอบด้วย Hanwha Techwin (ประเทศไทย) บริษัท ฟาโตส จำกัด (FATOS) และ บริษัท อินโนเดป อิงค์ (InnoDep Inc) เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีองค์ความรู้ เพื่อติดตามและป้องกันการเกิดอาชญากรรม สร้างความปลอดภัยในพื้นที่สาธารณะให้กับประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ…