เผยสถิติแนวโน้ม phishing ส่วนใหญ่โจมตีผ่านอีเมล กว่าครึ่งใช้ HTTPS เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลและฝ่ายการเงินมีความเสี่ยงสูงสุด

Loading

บริษัท PhishLabs ได้เปิดเผยข้อมูลสถิติและแนวโน้มการโจมตีแบบ phishing ในปี 2019 โดยรวมพบว่าในปีที่ผ่านมาปริมาณการโจมตีเพิ่มขึ้นกว่า 40% ผู้โจมตีใช้บริการออกใบรับรอง HTTPS ฟรีเพื่อทำให้เว็บไซต์ปลอมดูน่าเชื่อถือ กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่คือเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลและฝ่ายการเงิน การโจมตีแบบ phishing เป็นการหลอกลวงให้เหยื่อเข้าไปยังเว็บไซต์ปลอมเพื่อข้อมูลสำคัญ เช่น รหัสผ่าน โดยส่วนใหญ่ผู้ประสงค์ร้ายจะส่งลิงก์ของเว็บไซต์ปลอมมาทางอีเมล โปรแกรมแช็ต หรือทาง SMS โดยบริการที่มักถูกนำมาสร้างเป็นหน้าเว็บไซต์ปลอมส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับด้านการเงิน อีเมล หรือบริการเก็บไฟล์แบบออนไลน์ จากสถิติของปี 2018 พบว่าผู้ประสงค์ร้ายนิยมใช้บริการเว็บโฮสติ้งฟรีเพื่อฝากหน้าเว็บไซต์ phishing นอกจากนี้ยังพบว่าเกือบครึ่งหนึ่งของเว็บไซต์ปลอมที่พบในปี 2018 เป็นเว็บไซต์ที่เข้าผ่าน HTTPS ซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้ใช้สังเกตความผิดปกติได้ยากแล้วยังมีผลกระทบต่อความสามารถของระบบตรวจจับและป้องกัน phishing ด้วย แนวทางการตรวจสอบและป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ phishing สามารถศึกษาได้จาก infographic ของไทยเซิร์ต ——————————————————– ที่มา : ไทยเซิร์ต / 17 เมษายน 2562 Link : https://www.thaicert.or.th/newsbite/

ระวัง ! มัลแวร์ตัวใหม่ชื่อ Clipper ดูดรหัสและข้อมูลในอุปกรณ์ของคุณ

Loading

นักวิจัยจาก ESET ค้นพบมัลแวร์ที่มากับแอพอันตรายบน Google Play Store บนแอนดรอยด์ ที่สามารถเปลี่ยนข้อมูลบนคลิปบอร์ดได้ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อมัลแวร์ “Clipper” โดยจ้องดูดข้อมูลรหัสผ่านและคีย์ไพรเวทบนอุปกรณ์ รวมทั้งแก้ไขที่อยู่วอลเล็ททั้งบิตคอยน์และ Ethereum ที่ถูกคัดลอกบนคลิปบอร์ดให้กลายเป็นที่อยู่วอลเล็ทของแฮ็กเกอร์แทนด้วย ผู้พัฒนามัลแวร์ตัวนี้ใช้ประโยชน์จากพฤติกรรมของผู้ใช้เงินคริปโตทั้งหลายที่ไม่มานั่งจำหรือพิมพ์ที่อยู่วอลเล็ทที่ยาวเหยียดด้วยตัวเอง แต่มักใช้การคัดลอกและวางผ่านคลิปบอร์ดมากกว่า จึงกลายเป็นช่องทางทำมาหากินของมัลแวร์ Clipper ตัวนี้ มีการพบมัลแวร์นี้ครั้งแรกบนแอพชื่อ MetaMask ซึ่งเป็นปลั๊กอินสำหรับเว็บบราวเซอร์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการโอนเงิน Ethereum บนเว็บทั่วไป ซึ่งใช้ได้กับทั้ง Chrome, Firefox, และ Brave ประเด็นคือ ปลั๊กอิน MetaMask จากผู้ผลิตที่ถูกต้องปลอดภัยนั้นมีให้ใช้เฉพาะบนพีซีเท่านั้น ดังนั้นแอพ MetaMask ที่โผล่ให้โหลดบนมือถือจึงกลายเป็นแอพปลอมของอาชญากรแทน จริงๆมัลแวร์ Clipper นั้นระบาดครั้งแรกบนพีซีที่ใช้วินโดวส์ตั้งแต่ปี 2017 และต่อมาก็หันมาระบาดในแอพบนสโตร์จากเธิร์ดปาร์ตี้ของแอนดรอยด์ แต่ล่าสุดไม่กี่วันนี้สามารถแฝงตัวเข้ามาอยู่ใน Google Play Store ทางการได้ ซึ่งแม้ทางกูเกิ้ลจะลบแอพอันตรายดังกล่าวแล้ว แต่ก็ทำให้เกิดคำถามถึงความเชื่อมั่นในความปลอดภัยของสโตร์ทางการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ——————————————————– ที่มา : EnterpriseITPro / กุมภาพันธ์ 18, 2019 Link : https://www.enterpriseitpro.net/clipper-malware-play-store-replace-btc-eth-wallet-address/