กูรูไซเบอร์ชี้ “สิงคโปร์” ถูกแฮกฐานข้อมูลสุขภาพครั้งใหญ่อาจเป็นฝีมือ “รบ.ต่างชาติ”

Loading

  เอเอฟพี – ผู้เชี่ยวชาญเผยการโจมตีทางไซเบอร์ครั้งใหญ่ที่สุดที่เกิดขึ้นในสิงคโปร์ ซึ่งทำให้ประวัติการรักษาโรคของประชาชนกว่า 1.5 ล้านคนถูกขโมย น่าจะเป็นฝีมือผู้ก่อการระดับรัฐ (state actors) เมื่อพิจารณาจากขนาดและความซับซ้อนในการเจาะข้อมูล รัฐบาลสิงคโปร์ออกมาแถลงยอมรับเมื่อวานนี้ (20 ก.ค.) ว่า กลุ่มแฮกเกอร์ได้โจมตีฐานข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข และเข้าถึงประวัติการรักษาโรคของชาวสิงคโปร์ราว 1.5 ล้านคน รวมถึงนายกรัฐมนตรี ลี เซียนลุง ซึ่งตกเป็นเป้าหมายแบบ ‘เฉพาะเจาะจง’ ของคนร้ายกลุ่มนี้ รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขสิงคโปร์ ระบุว่า การโจมตีครั้งนี้ “ผ่านการวางแผนมาอย่างรัดกุม และมีเป้าหมายที่ชัดเจน ไม่ใช่แฮกเกอร์มือสมัครเล่นหรือแก๊งอาชญากรทั่วๆ ไป” เจ้าหน้าที่สิงคโปร์ยังปฏิเสธที่จะระบุตัวตนของแฮกเกอร์กลุ่มนี้ โดยอ้าง ‘ปฏิบัติการด้านความมั่นคง’ แต่ผู้เชี่ยวชาญไซเบอร์ให้ความเห็นว่า รูปแบบการโจมตีที่สลับซับซ้อนและเน้นเป้าหมายระดับไฮโปรไฟล์อย่างนายกรัฐมนตรี ลี เซียนลุง บ่งชี้ว่า น่าจะเป็นฝีมือ ‘ผู้ก่อการระดับรัฐ’ อีริค โฮห์ (Eric Hoh) ประธานประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ของบริษัทความมั่นคงไซเบอร์ FireEye เผยกับสำนักข่าวแชนแนลนิวส์เอเชีย ว่า การโจมตีครั้งนี้ถือเป็น “ภัยคุกคามที่ก้าวหน้า” “ลักษณะการโจมตีบ่งชี้ว่าเป็นการกระทำโดยรัฐ และใช้เครื่องมือที่ทันสมัยมาก… พวกเขามีทั้งทรัพยากร แหล่งทุน…

ดูท่าทีย้อนแย้งของโดนัลด์ ทรัมป์ กรณีรัสเซียโจมตีไซเบอร์แทรกแซงเลือกตั้งสหรัฐฯ

Loading

  สื่อตั้งข้อสังเกตท่าทีของประธานาธิบดีสหรัฐฯ กรณีรัสเซียแทรกแซงเลือกตั้งสหรัฐฯ เมื่อปี 2559 ระบุ ว่าก่อนหน้าการเข้ารับตำแหน่งทรัมป์ เองก็เคยแฉพฤติการณ์ดังกล่าว แต่หลังจากที่ตัวเองได้ตำแหน่งแล้วก็เริ่มกลับคำและพูดถึงเรื่องนี้แบบไม่เต็มปากเท่าเดิม เมื่อไม่นานนี้มีการพบปะหารือระหว่างโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ กับ วลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย รวมถึงมีการสั่งลงโทษเจ้าหน้าที่ทหารของรัสเซียที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งปี 2559 ของสหรัฐฯ ทำให้ประเด็นข้อกล่าวหาเรื่องการแทรกแซงของรัสเซียกลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง สื่อนิวยอร์กไทม์นำเสนอในเรื่องนี้โดยตั้งข้อสังเกตย้อนไปตั้งแต่ช่วงก่อนทรัมป์เข้ารับตำแหน่งว่า ทรัมป์เคยนำเสนอหลักฐานด้านข่าวกรองที่แสดงให้เห็นว่าปูตินเป็นผู้สั่งโจมตีทางไซเบอร์เพื่อปั่นป่วนการเลือกตั้งสหรัฐฯ ในปี 2559 หลักฐานที่ทรัมป์นำเสนอในครั้งนั้นมีทั้งเอกสารและอีเมลจากเจ้าหน้าที่กองทัพรัสเซียและข้อมูลลับสุดยอดอื่นๆ จากแหล่งที่ใกล้ชิดกับปูติน โดยในข้อมูลเหล่านี้เปิดเผยว่ารัสเซียพยายามแฮ็กระบบและใช้วิธีการใส่ร้ายป้ายสีในการป่วนการเลือกตั้งสหรัฐฯ อย่างไร แต่หลังจากนั้นทรัมป์ก็ไม่ได้พูดถึงข้อค้นพบข้างต้นอย่างชัดเจนและหลังจากการประชุมร่วมกับรัสเซียในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาที่ฟินแลนด์ก็ตอบคำถามนักข่าวเรื่องการแทรกแซงของรัสเซียโดยบอกว่ารัสเซียไม่ได้ตั้งเป้าหมายกับสหรัฐฯ ซึ่งฟังดูขัดแย้งกับสิ่งที่ผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองแห่งชาติ แดน โคท กล่าวไว้หลายวันก่อนหน้านี้ แม้ว่าเขาจะนั่งห่างจากทรัมป์ออกไปไม่มากนักในห้องทำงานคณะรัฐมนตรี อีกไม่กี่ชั่วโมงต่อมาทรัมป์ก็ให้สัมภาษณ์กับสื่อซีบีเอสในแบบที่กลับคำอีกครั้ง โดยบอกว่าโดยส่วนตัวแล้วเขาโทษปูตินในเรื่องการแทรกแซงการเลือกตั้งสหรัฐฯ แต่ก็เชื่อว่าปูตินมีส่วนเกี่ยวข้องในทางอ้อมในฐานะ “ผู้เป็นผู้นำประเทศ” เท่านั้นไม่ใช่ในทางตรง รวมถึงอาจจะมีคนกลุ่มอื่นก็ได้ที่ก่อเหตุ สำหรับสาเหตุที่ทรัมป์ต้องกลับคำไปมาเช่นนี้ มีผู้ช่วยประธานาธิบดีที่ใกล้ชิดกับทรัมป์แต่ไม่ประสงค์ออกนามบอกกับสื่อนิวยอร์กไทม์ว่าเป็นเพราะถ้าหากทรัมป์ยอมรับว่ามีการพยายามแทรกแซงการเลือกตั้งปี 2559 จากรัสเซียแล้ว ถึงแม้ว่าจะบอกว่าเป็นการแทรกแซงที่ไม่สำเร็จก็ตาม มันก็จะทำให้เกิดการตั้งคำถามต่อความชอบธรรมในการตำรงตำแหน่งปัจจุบันของทรัมป์ ตัวอย่างที่ดีที่สุดสำหรับเรื่องนี้ต้องย้อนไปเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2560 มีการประชุมสรุปประเมินสถานการณ์ย่อๆ จากเจ้าหน้าที่ระดับสูงฝ่ายความมั่นคงหลายคนของสหรัฐฯ เจ้าหน้าที่ผู้ที่เข้าร่วมประชุมด้วยในวันนั้นบอกว่ามีการนำเสนอข้อมูลข่าวกรองจำนวนมากที่แสดงให้เห็นว่าปูตินมีบทบาทในการแทรกแซงการเลือกตั้งสหรัฐฯ เช่น อีเมลที่ฝ่ายข่าวกรองกองทัพรัสเซียฉกมาได้จากพรรคเดโมแครตและวางแผนร่วมกับวิกิลีคส์ว่าจะเผยแพร่อีเมลนี้อย่างไรดี…

ดูท่าทีย้อนแย้งของโดนัลด์ ทรัมป์ กรณีรัสเซียโจมตีไซเบอร์แทรกแซงเลือกตั้งสหรัฐฯ

Loading

  สื่อตั้งข้อสังเกตท่าทีของประธานาธิบดีสหรัฐฯ กรณีรัสเซียแทรกแซงเลือกตั้งสหรัฐฯ เมื่อปี 2559 ระบุ ว่าก่อนหน้าการเข้ารับตำแหน่งทรัมป์ เองก็เคยแฉพฤติการณ์ดังกล่าว แต่หลังจากที่ตัวเองได้ตำแหน่งแล้วก็เริ่มกลับคำและพูดถึงเรื่องนี้แบบไม่เต็มปากเท่าเดิม เมื่อไม่นานนี้มีการพบปะหารือระหว่างโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ กับ วลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย รวมถึงมีการสั่งลงโทษเจ้าหน้าที่ทหารของรัสเซียที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งปี 2559 ของสหรัฐฯ ทำให้ประเด็นข้อกล่าวหาเรื่องการแทรกแซงของรัสเซียกลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง สื่อนิวยอร์กไทม์นำเสนอในเรื่องนี้โดยตั้งข้อสังเกตย้อนไปตั้งแต่ช่วงก่อนทรัมป์เข้ารับตำแหน่งว่า ทรัมป์เคยนำเสนอหลักฐานด้านข่าวกรองที่แสดงให้เห็นว่าปูตินเป็นผู้สั่งโจมตีทางไซเบอร์เพื่อปั่นป่วนการเลือกตั้งสหรัฐฯ ในปี 2559 หลักฐานที่ทรัมป์นำเสนอในครั้งนั้นมีทั้งเอกสารและอีเมลจากเจ้าหน้าที่กองทัพรัสเซียและข้อมูลลับสุดยอดอื่นๆ จากแหล่งที่ใกล้ชิดกับปูติน โดยในข้อมูลเหล่านี้เปิดเผยว่ารัสเซียพยายามแฮ็กระบบและใช้วิธีการใส่ร้ายป้ายสีในการป่วนการเลือกตั้งสหรัฐฯ อย่างไร แต่หลังจากนั้นทรัมป์ก็ไม่ได้พูดถึงข้อค้นพบข้างต้นอย่างชัดเจนและหลังจากการประชุมร่วมกับรัสเซียในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาที่ฟินแลนด์ก็ตอบคำถามนักข่าวเรื่องการแทรกแซงของรัสเซียโดยบอกว่ารัสเซียไม่ได้ตั้งเป้าหมายกับสหรัฐฯ ซึ่งฟังดูขัดแย้งกับสิ่งที่ผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองแห่งชาติ แดน โคท กล่าวไว้หลายวันก่อนหน้านี้ แม้ว่าเขาจะนั่งห่างจากทรัมป์ออกไปไม่มากนักในห้องทำงานคณะรัฐมนตรี อีกไม่กี่ชั่วโมงต่อมาทรัมป์ก็ให้สัมภาษณ์กับสื่อซีบีเอสในแบบที่กลับคำอีกครั้ง โดยบอกว่าโดยส่วนตัวแล้วเขาโทษปูตินในเรื่องการแทรกแซงการเลือกตั้งสหรัฐฯ แต่ก็เชื่อว่าปูตินมีส่วนเกี่ยวข้องในทางอ้อมในฐานะ “ผู้เป็นผู้นำประเทศ” เท่านั้นไม่ใช่ในทางตรง รวมถึงอาจจะมีคนกลุ่มอื่นก็ได้ที่ก่อเหตุ สำหรับสาเหตุที่ทรัมป์ต้องกลับคำไปมาเช่นนี้ มีผู้ช่วยประธานาธิบดีที่ใกล้ชิดกับทรัมป์แต่ไม่ประสงค์ออกนามบอกกับสื่อนิวยอร์กไทม์ว่าเป็นเพราะถ้าหากทรัมป์ยอมรับว่ามีการพยายามแทรกแซงการเลือกตั้งปี 2559 จากรัสเซียแล้ว ถึงแม้ว่าจะบอกว่าเป็นการแทรกแซงที่ไม่สำเร็จก็ตาม มันก็จะทำให้เกิดการตั้งคำถามต่อความชอบธรรมในการตำรงตำแหน่งปัจจุบันของทรัมป์ ตัวอย่างที่ดีที่สุดสำหรับเรื่องนี้ต้องย้อนไปเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2560 มีการประชุมสรุปประเมินสถานการณ์ย่อๆ จากเจ้าหน้าที่ระดับสูงฝ่ายความมั่นคงหลายคนของสหรัฐฯ เจ้าหน้าที่ผู้ที่เข้าร่วมประชุมด้วยในวันนั้นบอกว่ามีการนำเสนอข้อมูลข่าวกรองจำนวนมากที่แสดงให้เห็นว่าปูตินมีบทบาทในการแทรกแซงการเลือกตั้งสหรัฐฯ เช่น อีเมลที่ฝ่ายข่าวกรองกองทัพรัสเซียฉกมาได้จากพรรคเดโมแครตและวางแผนร่วมกับวิกิลีคส์ว่าจะเผยแพร่อีเมลนี้อย่างไรดี นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงแหล่งข่าวกรองที่เป็นบุคคลยึนยันบทบาทของปูตินในกรณีนี้เช่นกัน…

คลังสหรัฐฯ ประกาศลงโทษพลเมืองและนิติบุคคลรัสเซีย 8 รายสนับสนุนการโจมตีทางไซเบอร์

Loading

                    กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ประกาศการลงโทษนิติบุคคลของรัสเซีย 5 ราย และพลเมืองชาวรัสเซียอีก 3 ราย โดยกล่าวหาว่าเป็นผู้จัดหาและสนับสนุนด้านเทคโนโลยีแก่สำนักงานด้านข่าวกรองของรัสเซีย เพื่อโจมตีทางไซเบอร์ต่อสหรัฐฯ และพันธมิตร รัฐมนตรีการคลังสหรัฐฯ สตีเว่น มนูชิน (Steven Mnuchin) กล่าวว่า “ผู้ที่ถูกลงโทษในครั้งนี้มีส่วนในการพัฒนาความสามารถทางไซเบอร์ของรัสเซีย ผ่านการทำงานร่วมกับองค์กรที่ชื่อว่า สำนักงานความมั่นคงของรัฐบาลกลางรัสเซีย ซึ่งถือเป็นภัยต่อความมั่นคงปลอดภัยของสหรัฐฯ และชาติพันธมิตร” มาตรการลงโทษครั้งนี้รวมถึงการปิดกั้นการเข้าถึงบัญชีธนาคารในสหรัฐฯ ของบรรดาผู้ที่ถูกลงโทษ และห้ามคนอเมริกันทำธุรกรรมกับผู้ที่ถูกลงโทษดังกล่าวด้วย นอกจากนี้ การลงโทษครั้งล่าสุดยังมุ่งเน้นไปที่ศักยภาพใต้ทะเลของรัสเซีย ซึ่งรวมถึงสายเคเบิลใต้ทะเลที่เป็นตัวส่งข้อมูลด้านโทรคมนาคมจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม การลงโทษครั้งนี้แสดงให้เห็นถึง ‘ท่าทีที่ขัดแย้งกันเอง’ ของสหรัฐฯ ที่มีต่อรัสเซีย หลังจากที่ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เพิ่งเสนอให้รัสเซียกลับเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศกลุ่ม จี 7 ระหว่างการประชุมของ จี 7 ที่แคนาดา สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ก่อนหน้านี้ รัสเซียเคยเป็นสมาชิกของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก เมื่อปี ค.ศ. 1997…