พฤติกรรมที่ขาดความมั่นคงปลอดภัยเป็นเหมือนโรคร้ายต่อองค์กร

Loading

ผลสำรวจจาก Preempt ผู้ให้บริการด้านความมั่นคงปลอดภัยและผู้เชี่ยวชาญระบบเครือข่ายที่เข้าไปสำรวจพนักงานระดับบริหารกว่า 200 คนในองค์กรที่มีลูกจ้างมากกว่า 1 พันคน พบว่าลูกจ้างมีสิทธิ์ในการเข้าถึงมากกว่าที่ควรจะเป็น โดยประมาณ 25% มีความพยายามที่จะเข้าถึงข้อมูลมากกว่าสิทธิ์ที่สมควรได้ในที่ทำงานและ 60% ในจำนวนนี้สามารถทำได้สำเร็จ นี่เป็นเรื่องที่น่าตกใจเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะทีม IT Security ควรจะให้ความสนใจเรื่องการเข้าถึงข้อมูลและทรัพยากรเกินขอบเขตเป็นเรื่องหลัก รายงานยังได้ระบุว่า “ข้อมูลที่ถูกเปิดเผยนั้นสามารถทำให้บริษัทและพนักงานมีความเสี่ยงที่อาจจะทำให้การดำเนินงานของธุรกิจและความน่าเชื่อถือขององค์กรเสียหายได้ ดังนั้นในธุรกิจควรจะประเมินปัจจัยความเสี่ยงจากลูกจ้างที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดช่วงเวลาการจ้างงาน เช่นกันสำหรับ IT Security ผลสำรวจนี้ชี้ไปถึงว่าทีมควรทำความเข้าใจให้มากขึ้นถึงวิธีการประเมินความเสี่ยงและความน่าเชื่อถือต่อพนักงาน” สถิติที่น่าสนใจของพฤติกรรมที่มีความมั่นคงปลอดภัยต่ำมีดังนี้ 1 ใน 3 ของลูกจ้างยอมรับว่าทำผิดกฎหรือทำงานบางอย่างให้เสร็จโดยไม่ได้แก้ปัญหาอย่างถาวรและในจำนวนนี้มากกว่า 10% ปฏิบัติเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราว 41% ของลูกจ้างใช้รหัสผ่านของที่ทำงานเหมือนกับรหัสผ่านของบัญชีส่วนตัว 20% ของลูกจ้างตระหนักถึงรหัสผ่านว่าอาจจะถูกแทรกแทรงได้จากภาวะการรั่วไหลของข้อมูล 56% บอกว่าพวกเขาจะเปลี่ยนรหัสผ่านบัญชีที่มีการรั่วไหลเท่านั้น มากกว่า 1 ใน 3 จะไม่รู้เรื่องอะไรเลยหากชื่อหรือรหัสผ่านบัญชีรั่วไหนสู่สาธรณะ เมื่อถามถึงการให้คะแนนตัวเองถึงเรื่อง IT Security เทียบกับคนอื่นๆ ในองค์กรว่าเป็นอย่างไร พบว่า 41% บอกว่าพวกเขาอยู่ในกลุ่ม 25% แรก อีก 50% ให้คะแนนตัวเองว่าอยู่ในกลุ่ม…

Uber แถลง Hacker ขโมยข้อมูลผู้ขับรถและผู้โดยสารทั่วโลกกว่า 57 ล้านรายการได้เมื่อปี 2016

Loading

นับเป็นข่าวใหญ่ไม่น้อยกับการแถลงของ Uber ว่าเมื่อปี 2016 ที่ผ่านมานั้นมี Hacker สามารถเข้าถึงฐานข้อมูลผู้ขับขี่รถยนต์และผู้โดยสารของ Uber ได้กว่า 57 ล้านรายการ และทาง Uber ในยามนั้นก็เลือกที่จะจ่ายค่าไถ่มูลค่า 100,000 เหรียญหรือราวๆ 3.5 ล้านบาท เพื่อให้ Hacker ลบข้อมูลเหล่านั้นทิ้งไปเสีย และปิดปากเงียบมาเป็นเวลากว่า 1 ปี การโจมตีครั้งนี้เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนตุลาคม 2016 โดย Hacker สามารถเข้าถึงข้อมูลชื่อ, Email, ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ของผู้ใช้บริการ Uber กว่า 50 ล้านรายทั่วโลก อีกทั้งยังถูกเข้าถึงข้อมูลผู้ขับขี่รถยนต์ในระบบของ Uber อีกกว่า 7 ล้านราย และยังรวมถึงเลขใบขับขี่ของผู้ขับในสหรัฐอเมริกาอีกกว่า 600,000 รายการ อย่างไรก็ดี Uber ระบุว่าไม่มีข้อมูล Social Security Number, ข้อมูลบัตรเครดิต, ข้อมูลที่หมายปลายทาง หรือข้อมูลอื่นๆ ถูกขโมยแต่อย่างใด และเชื่อด้วยว่าข้อมูลที่ถูกขโมยไปนั้นก็ไม่ได้ถูกนำไปใช้งานด้วย…

เตือนช่องโหว่ RSA Implementation บน F5 Big-IP เสี่ยงถูกดักฟังข้อมูลที่เข้ารหัส

Loading

F5 Networks ผู้นำด้านเทคโนโลยี Application Delivery Networking ออกมาแจ้งเตือนถึงช่องโหว่ RSA Implementation บน F5 Big-IP ซึ่งช่วยให้แฮ็คเกอร์สามารถดักฟังข้อมูลที่ถูกเข้ารหัสหรือโจมตีแบบ Man-in-the-Middle โดยไม่จำเป็นต้องทราบ Private Key ได้ แนะนำให้ผู้ดูแลระบบรีบอัปเดตแพตช์โดยด่วน ช่องโหว่ดังกล่าวมีรหัส CVE-2017-6168 ซึ่งอธิบายไว้ว่า “Virtual Server ที่ถูกตั้งค่าด้วยโปรไฟล์ Client SSL อาจมีช่องโหว่การโจมตี Adaptive Chosen Ciphertext Attack (หรือรู้จักกันในชื่อ Bleichenbacher Attack) บน RSA ซึ่งถ้าถูกเจาะ อาจก่อให้เกิดการได้มาถึง Plaintext ของข้อความที่ถูกเข้ารหัส และ/หรือถูกโจมตีแบบ Man-in-the-Middle” ถึงแม้ว่าแฮ็กเกอร์จะไม่ทราบ Private Key ที่ใช้ในการเข้ารหัสก็ตาม Bleichenbacher Attack เป็นชื่อที่ตั้งตามนักวิจัยด้านวิทยาการรหัสลับชาวสวิตเซอร์แลนด์ Daniel Bleichenbacher ซึ่งค้นพบการโจมตีดังกล่าวเมื่อปี 2006 การโจมตีนี้ช่วยให้เขาสามารถแคร็กข้อความที่ถูกเข้ารหัสและอ่าน Plaintext ของข้อความนั้นได้หลังจากที่จบเซสชันไปแล้ว…

Checkpoint เตือน องค์กรทั้งหมดได้รับผลกระทบจากการโจมตีบนมือถือ

Loading

Checkpoint จัดทำรายงานสำรวจบริษัทระดับนานาชาติต่างๆ กว่า 850 บริษัทและพบว่าทั้งหมดได้รับผลกระทบจากการโจมตีบนมือถือ เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีว่าทุกองค์กรย่อมมีการใช้งานมือถือและมันกลายเป็นจุดอ่อนที่แฮ็กเกอร์สามารถโจมตีได้ง่าย อีกทั้งยังสามารถได้ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานได้อีกด้วย สถิติที่เกิดขึ้นมีดังนี้ 54% ถูกโจมตีจากมัลแวร์บนมือถือ 89% ถูกโจมตีแบบ Man-in-the-Middle ผ่านเครือข่ายไร้สาย Platform ที่ได้รับผลกระทบเป็นส่วนใหญ่คือ Android และ iOS 75% ขององค์กรจะต้องมีเครื่องที่ Jailbroken iOS หรือ Rooted Android อย่างน้อย 1 เครื่องเชื่อมต่ออยู่ในเครือข่าย มีมือถือที่ถูก Jailbroken หรือ Rooted ประมาณ 35 เครื่องต่อบริษัทโดยเฉลี่ย ภัยคุกคามของผู้ใช้งานมือถือสามารถที่จะแทรกแซงอุปกรณ์ใดก็ได้และเข้าถึงข้อมูลที่ละเอียดอ่อนเมื่อใดก็ได้ โดยภัยคุกคามส่งผลกระทบไปทุกประเภทธุรกิจตั้งแต่บริการด้านการเงินตลอดจนถึงภาครัฐหรืออุตสาหกรรมการผลิต นอกจากนี้ยังมีความเห็นจาก Michael Shaulov หัวหน้าผลิตภัณฑ์ด้านมือถือและความมั่งคงปลอดภัยบนคลาวน์จาก Checkpoint ว่า “ผลประโยชน์ด้านการเงินและความถี่ในการโจมตีบนมือถือเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สำหรับผู้โจมตีแล้วอุปกรณ์มือถือคือ Backdoor ช่องทางใหม่” ————————– ที่มา :.techtalkthai / November 21, 2017 Link : https://www.techtalkthai.com/organization-effect-from-mobile-attack/

รู้จัก ‘แฮกเกอร์สายขาว’ ของไทย ผู้ปกป้องเงินในบัญชีของคุณ

Loading

ปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ในไทยผลักดันให้ลูกค้าหันมาทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ ซึ่งนอกจากจะช่วยประหยัดเวลา ลดต้นทุนของธนาคาร ธนาคารมักยืนยันว่ามีความปลอดภัย แต่ลูกค้ามั่นใจได้จริงแค่ไหน พิชญะ โมริโมโต พยายามแฮกเข้าระบบของธนาคารเป็นประจำและมักประสบผลสำเร็จ แต่ต่างจากอาชญากรไซเบอร์ เพราะเขาเป็น “แฮกเกอร์สายขาว” ซึ่งหน้าที่ก็คือช่วยให้เงินฝากในบัญชีของธนาคารปลอดภัยมากยิ่งขึ้น สิ่งที่เขาพบก็คือระบบการรักษาความปลอดภัยของธนาคารโดยรวมยังมีจุดอ่อน “ยังไม่ค่อยปลอดภัยเท่าที่ควร ยังมีหลาย ๆ ครั้ง ที่พบช่องโหว่ที่มีความรุนแรงสูงมาก แต่ไม่มีการซ่อมแซม” พิชญะ ผู้มีตำแหน่งผู้ให้คำปรึกษาด้านความปลอดภัย ของบริษัท SEC Consult กล่าว ส่องเทคโนโลยีปี 2560 : ธนาคารใหญ่จะพ่ายโจรไซเบอร์ ขุดบิทคอยน์: อาชีพเสริมใหม่ หรือ กระแสชั่วคราว? บริการยิ่งหลากหลายยิ่งเสี่ยงมากขึ้น ตามระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งในประเทศจะต้องทดสอบความปลอดภัยของระบบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งโดยผู้ตรวจสอบจากนอกองค์กร นั่นหมายถึงธนาคารต้องจ้างมืออาชีพตรวจสอบด้านความปลอดภัยระบบอย่าง พิชญะ เข้ามาทำงาน สิ่งที่เขาทำคือจำลองสถานการณ์เหมือนเป็นแฮกเกอร์ที่พยายามเจาะระบบ เพื่อวิเคราะห์ว่าสามารถโจมตีทางใดได้บ้างและรายงานต่อธนาคารเพื่อแก้ไข พิชญะ อธิบายว่าความเสี่ยงของระบบนั้นขึ้นอยู่กับสิ่งที่เรียกว่า attack surface นั่นคือช่องทางหรือพื้นที่แฮกเกอร์สามารถทำงานได้ กล่าวคือ ยิ่งมีบริการออนไลน์หลายรูปแบบ ยิ่งมีโอกาสเกิดช่องโหว่ได้มากขึ้น “เขาอาจจะมองว่าถึงมีช่องโหว่จริง แต่เขาก็มีทีมมอร์นิเตอร์และมั่นใจว่าจะระงับเหตุได้ทันท่วงที” พิชญะกล่าว แต่ในมุมมองของเขา…

กระทรวงดีอีตั้งหน่วยงานดูแลความผิดปกติทางอินเทอร์เน็ต

Loading

กระทรวงดีอี พร้อมรับมือภัยโจรกรรมโจมตีไซเบอร์ พร้อมจัดตั้งหน่วยงานดูแลจับความผิดปกติทางอินเทอร์เน็ต นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี กล่าวว่า ได้เตรียมความพร้อม รับมือเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ Cyber Security โดยได้มีมาตราการรับมือกับการโจมตีทางระบบไซเบอร์ไว้ เพราะปัจจุบันการโจมตีผ่านระบบไซเบอร์ เริ่มมีมากขึ้น และจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมได้ เห็นได้จาก คดีการโจรกรรมข้อมูล หรือ มีนักแฮคเกอร์ สามารถเข้ามาล้วงข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลการทำธุรกรรมทางการเงิน ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษบกิจ รวมทั้งอาจจะกระทบไปถึงฐานข้อมูลประเทศโดยรวม จึงได้ตั้งคณะกรรมการไซเบอร์ซีเคียวริตี้แห่งชาติ หรือ  National Cyber Security Committee โดยมี นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน  ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวจะกำกับดูแลความปลอดภัยและวางโครงสร้างพื้นฐานด้านการเงิน ธนาคาร พลังงาน และด้านสาธารณูปโภค ที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลการทำงานผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ขณะเดียวกันในปีหน้าจะเป็นปีแห่ง Big Data ซึ่งทุกกระทรวงจะต้องดำเนินการทำ Big Data ของแต่ละกระทรวง เพื่อเตรียมไว้ใช้ สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลและวางแผนการพัฒนาประเทศ ผ่านโครงการต่างๆ โดยรัฐบาลลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ผ่านโครงการเน็ทประชารัฐไว้รองรับการใช้อินเทอร์เน็ตให้กับประชาชน ซึ่งภายในสิ้นปีนี้จะติดตั้งครบทั้ง 24,700 หมู่บ้าน และภายในปีหน้า…