แนวโน้มการโจมตีโลกไซเบอร์ปี 2559

Loading

     ผู้เชี่ยวชาญจาก Sophos คาดการณ์ถึงสถานการณ์ที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดในปี 2559 จากเหตุการณ์โจมตีบนโลกไซเบอร์ที่ทวีความซับซ้อน และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง โดยระบุชัดระบบแอนดรอยด์มีแนวโน้มถูกโจมตีมากขึ้น ด้านระบบ iOS ก็จะพบมัลแวร์มากขึ้น โดยองค์กรธุรกิจทั้ง SME และ SMB จะตกเป็นเป้าหมายใหญ่สำหรับการโจมตี และที่สำคัญ Ransomware จะน่ากลัวมากขึ้น ฯลฯ โดยมีแนวโน้มทั้ง 11 อย่างดังต่อไปนี้ 1.อันตรายบนแอนดรอยด์จะร้ายแรงมากกว่าแค่ข่าวพาดหัว      ในปี 2559 การโจมตีบนแอนดรอยด์จะรุนแรงมากขึ้น (โดยช่วงต้นปี 2558 มีการรายงานถึงบั๊กชื่อ Stagefright เป็นจำนวนมาก แต่บั๊กตัวนี้ยังไม่สามารถเจาะระบบได้สมบูรณ์) มีช่องโหว่จำนวนพอสมควรบนแพลตฟอร์มแอนดรอยด์ที่ต้องใช้เวลาหลายเดือนในการสร้างแพทช์ขึ้นมาแก้ไข แม้กูเกิลจะอ้างว่า ยังไม่มีใครเจาะช่องโหว่เหล่านี้ได้จนถึงปัจจุบัน แต่นั่นก็เป็นการท้าทายที่เชื้อเชิญเหล่าแฮกเกอร์เข้ามาอย่างมหาศาล      SophosLabs พบตัวอย่างการใช้ความพยายามอย่างสูงในการหลีกเลี่ยงการตรวจจับ และคัดกรองของ App Store เพื่อให้แอปอันตรายอยู่รอดใน App Store ได้ เช่น แฮกเกอร์บางคนออกแบบแอปเกมที่ไม่มีอันตรายแฝงเมื่อพบว่ากำลังถูกตรวจสอบ แต่เมื่อพ้นการตรวจแล้วก็จะโหลดโค้ดอันตรายเข้ามาแทน ยิ่งกว่านั้นเมื่อเร็วๆ…

ทวิตเตอร์เตือนให้ระวังรัฐบาล ‘แฮ็ก’

Loading

ทวิตเตอร์ได้ส่งคำเตือนไปยังผู้ใช้จำนวนมากว่าบัญชีของพวกเขาอาจถูกแฮ็กโดย “ผู้กระทำที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐ” ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ทวิตเตอร์ออกคำเตือนเช่นนี้ ทวิตเตอร์ส่งอีเมล์บอกผู้ใช้ว่าแฮ็กเกอร์อาจพยายามหาอีเมล์ หรือไอพีแอดเดรส หรือหมายเลขโทรศัพท์ของพวกเขา ซึ่งเป็นข้อมูลที่ทวิตเตอร์เริ่มเก็บเมื่อไม่นานมานี้ ยังไม่ชัดเจนว่าจำนวนบัญชีผู้ใช้ที่สงสัยว่าถูกแฮ็กครั้งนี้มีมากน้อยแค่ไหน โคลด์แฮ็กที่เป็นองค์กรไม่แสวงกำไรของแคนาดา เผยว่าได้รับคำเตือนจากทวิตเตอร์ โดยอีเมล์จากทวิตเตอร์ระบุว่า “เราเชื่อว่าผู้กระทำเหล่านี้ (ที่เป็นไปได้ว่ามีความเกี่ยวข้องกับรัฐบาลของประเทศหนึ่ง) อาจพยายามเก็บข้อมูลอย่างเช่น อีเมล์แอดเดรส ไอพีแอดเดรส และ/หรือหมายเลขโทรศัพท์” “ในขณะนี้ เรายังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าพวกเขาได้ข้อมูลบัญชีของคุณไปแล้ว แต่เราก็กำลังสอบสวนเรื่องนี้อย่างจริงจัง เราอยากมีข้อมูลแจ้งให้คุณทราบมากกว่านี้ แต่ก็ยังไม่มีข้อมูลเพิ่มเติมใดๆ ในขณะนี้” รัฐบาลจีนและเกาหลีเหนือถูกมองว่าเป็นผู้รับผิดชอบกการแฮ็กข้อมูลบางอย่างที่เคยเกิดขึ้นกับบริษัทและรัฐบาลของประเทศตะวันตก ผู้เชี่ยวชาญไอทีบางรายบอกว่าแฮ็กเกอร์ที่เจาะเข้าไปในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของโซนีเมื่อปลายปีที่แล้วและปล่อยข้อมูลลับออกมาจำนวนมากนั้นได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเกาหลีเหนือ อย่างไรก็ตาม เกาหลีเหนือก็ปฏิเสธในเรื่องนี้มาตลอด เจมส์ ลูว์อิส ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงทางอินเตอร์เน็ตที่ศูนย์เพื่อการศึกษายุทธศาสตร์ระหว่างประเทศที่วอชิงตัน บอกว่าแฮ็กเกอร์ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลมีทรัพยากรต่างๆ ให้ใช้มากกว่าแก๊งค์แฮ็กเกอร์อาชญากรธรรมดามากทีเดียว และพวกเขาอาจใช้วิธีการอื่นๆ อย่างเช่น การใช้นายหน้าหรือสายลับ หรือการดักจับการสื่อสาร เพื่อเลี่ยงหรือข้ามมาตรการรักษาความปลอดภัยต่างๆ ได้ ที่มา : Facebook บีบีซีไทย – BBC Thai