จีนเปิดรับฟังความเห็นต่อข้อบังคับรายงานเหตุ ‘ความมั่นคงทางไซเบอร์’

Loading

วันศุกร์ (8 ธ.ค.) หน่วยกำกับดูแลไซเบอร์สเปซแห่งประเทศจีน ได้เผยแพร่ร่างข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารจัดการการรายงานเหตุความมั่นคงทางไซเบอร์ ร่างข้อบังคับดังกล่าวมุ่งบรรเทาความเสียหายและอันตรายอันเกิดจากเหตุความมั่นคงทางไซเบอร์ และเริ่มเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างข้อบังคับนี้จากสาธารณชน

เอาจริง! จีนเล็งเพิ่มบทลงโทษภายใต้กฎหมายความมั่นคงทางไซเบอร์

Loading

  สำนักงานบริหารไซเบอร์สเปซของจีน (ซีเอซี) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลความมั่นคงทางไซเบอร์ของจีน เสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายความมั่นคงทางไซเบอร์ของประเทศหลายชุด รวมถึงการเพิ่มโทษปรับของการละเมิดบางประการ โดยระบุว่าต้องการทำเช่นนั้นเพื่อปรับปรุงการประสานงานกับกฎหมายใหม่อื่น ๆ   สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 15 ก.ย. ว่า ซีเอซี กล่าวว่า ทางหน่วยงานต้องการมุ่งเสนอบทลงโทษที่จะทำให้ผู้ประกอบการโครงสร้างพื้นฐานของข้อมูลสำคัญ ซึ่งใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการต่าง ๆ ที่ไม่ผ่านการตรวจสอบความปลอดภัย ถูกปรับสูงถึง 5% ของรายได้ในปีที่แล้วของพวกเขา หรือเป็น 10 เท่าของจำนวนเงินที่พวกเขาจ่ายให้กับผลิตภัณฑ์นั้น ๆ   นอกจากนี้ ซีเอซียังกล่าวเพิ่มเติมว่า ทางหน่วยงานต้องการเพิ่มค่าปรับสำหรับการละเมิดบางอย่าง จากเดิมในช่วงก่อนหน้านี้ที่สูงถึง 100,000 หยวน (ประมาณ 527,000 บาท) เป็น 1 ล้านหยวน (ประมาณ 5.27 ล้านบาท) ซึ่งการแก้ไขที่มีการเสนอไปนั้น จะเปิดรับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากสาธารณชนจนถึงวันที่ 29 ก.ย.นี้   China’s cyberspace regulator has proposed…

นายกรัฐมนตรีกำชับทุกหน่วยงานให้ความสำคัญการรักษาความมั่นคงทางไซเบอร์

Loading

  นายกรัฐมนตรีกำชับทุกหน่วยงานให้ความสำคัญการรักษาความมั่นคงทางไซเบอร์ หลัง กมช.ประเมินแนวโน้มเหตุการณ์ภัยคุกคามและมูลค่าความเสียหายมีมากขึ้น วันที่ 19 สิงหาคม 2565 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้กำชับทุกส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐให้ความสำคัญกับการมีมาตรการรักษาความมั่นคงทางไซเบอร์ โดยเฉพาะหน่วยงานที่เก็บรักษาฐานข้อมูลที่สำคัญของประชาชน เนื่องจากแนวโน้มของเหตุการณ์และมูลค่าความเสียหายที่มาจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่สูงขึ้น ตามจำนวนผู้ใช้และเข้าถึงบริการอินเตอร์เน็ตและดิจิทัล ทั้งนี้ รัฐบาลได้วางกลไกการเฝ้าระวังและรักษาความมั่นคงทางไซเบอร์ผ่านคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) และมีสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) เป็นหน่วยดำเนินการในทางปฏิบัติตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา โดยมี พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ.2562 เป็นกฎหมายหลักในการกำหนดภารกิจ น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ล่าสุด กมช. ได้รายงานถึงการดำเนินงานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2565 (ต.ค.2564 – มี.ค.2565) พบว่ามีเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ต่อฐานข้อมูลหน่วยงานของรัฐ 144 ครั้ง แยกประเภทภัยคุกคามที่พบมากที่สุดได้ ดังนี้  1. Hacked Website ซึ่งเป็นลักษณะของการพนันออนไลน์ การปลอมแปลงหน้าเว็บไซต์จริงเพื่อหลอกเอาข้อมูล (Website Phishing) การโจมตีเว็บไซต์เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อมูลเผยแพร่หน้าเว็บไซต์ (Website…