การแข่งขันโอลิมปิกและพาราลิมปิกที่ผ่านมา ถูกโจมตีทางไซเบอร์กว่า 450 ล้านครั้ง

Loading

  การแข่งขันโอลิมปิก 2020 และพาราลิมปิก 2020 ที่จัดขึ้น ณ กรุงโตเกียว เผชิญกับการโจมตีทางไซเบอร์มากกว่า 450 ล้านครั้ง โดยผู้จัดงานระบุว่าสามารถป้องกันการโจมตีที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด และการแข่งขันไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด “เราสามารถยับยั้งการโจมตีทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใด ๆ ได้ อันเป็นผลมาจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลและมาตรการเชิงตอบโต้ที่ได้มีการตระเตรียมไว้ก่อนหน้า” คณะกรรมการผู้จัดงานโตเกียวโอลิมปิกระบุ การโจมตีเกิดขึ้นตั้งแต่พิธีเปิดโอลิมปิกในวันที่ 23 กรกฎาคมที่ผ่านมา ไปจนถึงพิธีปิดงานพาราลิมปิกในวันที่ 5 กันยายน โดยส่วนใหญ่มุ่งโจมตีเว็บไซต์ทางการของงานและระบบเครือข่ายของคณะกรรมการผู้จัดงาน วิธีการหลักที่ใช้โจมตีคาดว่าน่าจะเป็น DDoS (Distributed Denial of Service) ซึ่งเป็นการปล่อยข้อมูลจำนวนมหาศาลจนเป้าหมายรับไม่ไหวและล่มไปในที่สุด ทว่าการโจมตีในความถี่ระดับนี้ยังถือว่าน้อยกว่าโอลิมปิกในครั้งก่อน ๆ โดยโอลิมปิก 2012 ที่จัดขึ้น ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ในปี 2555 ถูกโจมตีไปมากกว่า 2,300 ล้านครั้ง และโอลิมปิกฤดูหนาว 2018 ที่จัดขึ้นเมื่อปี 2561 ในเมืองเปียงชาง ประเทศเกาหลีใต้ ถูกโจมตีไปมากกว่า 600 ล้านครั้ง Trend…

วิศวะฯ มธ. หนุนไทยปั้นวิศวกรยุคใหม่ รองรับการเติบโต “เทคโนโลยีควอนตัม”

Loading

  วิศวะฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เดินหน้าหนุนไทยปั้นวิศวกรยุคใหม่ รองรับการเติบโตของ “เทคโนโลยีควอนตัม” ยกระดับความปลอดภัยไซเบอร์ ปิดช่องโหว่การโจมตีโดนแฮคเกอร์ได้ 100%   เทคโนโลยีควอนตัม (Quantum Technology) ที่เราคุ้นเคยจากภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ในจักรวาล MCU ดูเหมือนว่าตอนนี้จะไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัวอีกต่อไป เพราะการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่งของมนุษยชาติ กำลังพาเราก้าวข้ามสู่ยุคใหม่ ซึ่งเปลี่ยนผ่านจาก ‘ยุคดิจิทัล’ ไปสู่ ‘ยุคควอนตัม’ ที่อัดแน่นด้วยจำนวนข้อมูลมหาศาล ด้วยระบบประมวลผลรวดเร็วขึ้น และมีความปลอดภัย  100 เปอร์เซ็นต์ โดย รองศาสตรจารย์ วันชัย ไพจิตโรจนา อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TSE) ได้เปิดไทม์ไลน์การเปลี่ยนผ่านของยุคสมัย ที่ขับเคลื่อนด้วย ‘เทคโนโลยีควอนตัม’ (Quantum Technology) พร้อมแนวทางการปรับตัวทางวิศวกรรมที่มีบทบาทในการเปลี่ยนผ่านของยุคสมัย ซึ่งจะเป็นการพลิกโฉมครั้งสำคัญของเทคโนโลยีต่างๆ ที่เราคุ้นเคยไปโดยสิ้นเชิง   เปิดไทม์ไลน์ ‘ยุคควอนตัม’ จ่อเคาะประตูบ้าน TSE ร่วมจับตาเทรนด์ใหม่โลก การเติบโตของ ‘เทคโนโลยีควอนตัม’ (Quantum Technology) ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา เริ่มคึกคักและมีแนวโน้มการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการทุ่มงบประมาณมหาศาลของบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอย่างกูเกิ้ล (Google) ไอบีเอ็ม (IBM) และ ดีเวฟ…

เปิดหลักเกณฑ์ตำรวจ “ล่าโจรโลกไซเบอร์”

Loading

  การฉ้อโกงผ่านโลกออนไลน์ที่เป็นข่าวโด่งดังหลายคดี ทำให้อาจสงสัยว่า ทำไมมีแค่คดีใหญ่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง ที่จับกุมตัวคนร้ายได้ แต่กับคดีการฉ้อโกง-หลอกลวง หรือแม้แต่หมิ่นประมาททางออนไลน์ คดีความกลับไม่คืบหน้า เรามาหาคำตอบจากหลักเกณฑ์การล่าโจรไซเบอร์กัน 28 กันยายน 2564 พันตำรวจเอก ศิริวัฒน์ ดีพอ รองผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ปอท. ในฐานะรองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ บอกว่า ขณะนี้ ทาง ปอท.ได้รับมอบหมายหน้างานหลักเกี่ยวกับการสืบสวนสอบสวนความผิดที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง แต่ถ้าเป็นคดีฉ้อโกง หรืออาชญากรรมไซเบอร์ เช่น การแฮกข้อมูล หรือการนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบ ก็จะเป็นหน้าที่ของกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนทางอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ บช.สอท.ซึ่งมีคำสั่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ได้ประกาศออกมาเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ที่ผ่านมา ส่วนคดีหมิ่นประมาททางออนไลน์ ก็จะเป็นหน้าที่ของโรงพักท้องที่ ซึ่งคนส่วนใหญ่เข้าใจว่า เป็นหน้าที่ของ ปอท. ซึ่งทางสถานีตำรวจท้องที่อาจจะขอความร่วมมือในการให้ ปอท.เข้าไปช่วยเหลือ หากกรณีที่คดีมีความซับซ้อน แต่จริงๆแล้ว โรงพักท้องที่ก็สามารถสืบสวนคดีเหล่านี้ได้เอง หากย้อนไปดูคำสั่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 287/2564 จะพบว่า ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พลตำรวจเอก สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ระบุว่า…

Shopee ปฏิเสธกรณีมีรายงานว่าข้อมูลลูกค้ารั่วไหล

Loading

  สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ได้เข้าดำเนินการสืบสวนกรณีที่มีรายงานว่าข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้ากว่า 15 ล้านรายบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ Shopee รั่วไหล เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (22 กันยายน) มีผู้ใช้รายหนึ่งในเว็บไซต์ raidforums.com ซึ่งเป็นแหล่งแบ่งปันและซื้อขายข้อมูล ได้ประกาศขายข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า Shopee ที่มีทั้งชื่อ อีเมล ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ ลงบนเว็บไซต์ฯ ดังกล่าว น.อ. อมร ชมเชย รักษาการณ์เลขาธิการ สกมช. ระบุว่าทางหน่วยอยู่ระหว่างการประสานความร่วมมือกับทีมงานของ Shopee เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการรั่วไหลของข้อมูลหรือไม่ และยังระบุด้วยว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่จะมีผลใช้บังคับในเดือนมิถุนายนปีหน้า น่าจะมีประโยชน์ในการลงโทษปรับผู้ที่ปล่อยข้อมูลส่วนบุคคล ล่าสุด ทาง Shopee ได้ออกมาแถลงว่าจากการตรวจสอบพบว่าข้อมูลที่มีผู้อ้างนำมาขายนั้นไม่มีความเกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลใด ๆ ของ Shopee พร้อมยืนยันว่าทางบริษัทให้ความสำคัญกับการปกป้องข้อมูลอย่างถึงที่สุด และเว็บ raidforums ก็ได้บล็อกผู้ใช้ที่เอาข้อมูล Shopee มาปล่อย เพราะตรวจพบว่าเป็นการย้อมแมวเอาข้อมูลปลอมมาขาย (อาจจะเป็นข้อมูลเก่าที่เคยหลุด แล้วมาขายซ้ำ) ที่มา Bangkok Post   ————————————————————————————————————————— ที่มา :…

กลาโหมลิทัวเนียเตือน ทิ้งมือถือจีน และอย่าซื้อ หลังพบระบบเซ็นเซอร์ในตัว

Loading

  กลาโหมลิทัวเนียเตือน – วันที่ 22 ก.ย. บีบีซี รายงานว่า นายมาร์กีริส อาบูเควีซีอุส รัฐมนตรีกลาโหมของลิทัวเนีย ประเทศในยุโรปตะวันออก เตือนประชาชนควรทิ้งโทรศัพท์มือถือของจีนที่ใช้อยู่โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และอย่าซื้อมือถือเครื่องใหม่ที่เป็นของจีน     หลังรายงานโดยคณะนักวิจัยจากศูนย์ความมั่นคงไซเบอร์แห่งชาติลิทัวเนียที่ทดสอบบรรดาโทรศัพท์มือถือ 5G จากผู้ผลิตในจีน พบว่า โทรศัพท์มือถือยี่ห้อเสี่ยวมี่ (Xiaomi) Mi 10T 5G ซึ่งเป็นรุ่นเรือธง มีการติดตั้งซอฟต์แวร์ที่สามารถตรวจจับและเซ็นเซอร์คำต่างๆ รวมถึงคำว่า “Free Tibet” (ปล่อยทิเบต) “Long live Taiwan independence” (อิสรภาพไต้หวันจงเจริญ) หรือ “democracy movement” (ขบวนการประชาธิปไตย) รายงานเน้นว่า จำนวนคำมากกว่า 449 คำ สามารถถูกระบบโทรศัพท์ของเสี่ยวมี่ รวมถึงบราวเซอร์อินเตอร์เน็ตเริ่มต้น เซ็นเซอร์ได้ ทั้งที่ โทรศัพท์รุ่นเหล่านี้ที่วางจำหน่ายในยุโรปจะปิดการทำงานความสามารถดังกล่าวออกไปแล้ว แต่รายงานแย้งว่า สามารถเปิดใช้งานจากระยะไกลได้ทุกเมื่อ นอกจากนี้ Mi 10T 5G…

สื่อต่างชาติ เผย ข้อมูลนักท่องเที่ยวมาไทย 106 ล้านราย รั่วไหล

Loading

  บริษัทวิจัยด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ของอังกฤษ ตรวจพบข้อมูลของ “นักท่องเที่ยวต่างชาติ” ที่เคยเดินทางเข้าเมืองไทยกว่า 106 ล้านราย รั่วไหล ด้าน ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส แจงว่าอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูล และยังไม่ทราบว่าเกิดขึ้นจริงหรือไม่ ขณะที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย คาดว่า ข้อมูลที่รั่วไหล อาจจะหลุดจาก สำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง Comparitech บริษัทวิจัยด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ของอังกฤษ ตรวจพบข้อมูลของ “นักท่องเที่ยวต่างชาติ” ที่เคยเดินทางเข้าเมืองไทยรั่วไหลกว่า 106 ล้านราย หลุดบนโลกออนไลน์ โดยเป็นข้อมูลย้อนหลังไปถึง 10 ปี โดยฐานข้อมูลที่หลุดนั้นประกอบไปด้วย ชื่อ นามสกุล หมายเลขหนังสือเดินทาง วันที่เดินทางถึงประเทศไทย และข้อมูลอื่นๆ เรื่องนี้ได้รับการเปิดเผยโดย นายบ๊อบ ดิอาเชนโก หัวหน้าทีมวิจัยด้านความปลอดภัยไซเบอร์ Comparitech     สื่อต่างชาติ เผย ข้อมูลนักท่องเที่ยวมาไทย 106 ล้านราย รั่วไหล โดยยังคาดว่าข้อมูลที่หลุดออกมาเป็นของชาวต่างชาติที่เดินทางมาไทยช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งตัว นายดิอาเชนโก…