สหรัฐฯ – อิรัก ตึงเครียด! หลังเหตุจรวดโจมตีสถานทูตอเมริกันในกรุงแบกแดด

Loading

Security forces inspect the scene of a rocket attack at the gate of al-Zawra public park in Baghdad, Iraq, Nov. 18, 2020. Rockets struck Iraq’s capital on Tuesday with four landing inside its heavily fortified Green Zone. เกิดเหตุจรวดโจมตีบริเวณเขตอาคารสถานทูตสหรัฐฯ ในกรุงแบกแดด ในช่วงข้ามคืนวันอังคารที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดความตึงเครียดทางการทูตเพิ่มขึ้นระหว่างสหรัฐฯ กับอิรัก หลังจากที่สหรัฐฯ เพิ่งจะประกาศถอนทหารอเมริกันอีก 500 นายออกจากอิรัก สื่อของอิรักรายงานว่า จรวดจำนวน 7 ลูกที่ยิงมาจากกลุ่มติดอาวุธที่สนับสนุนรัฐบาลอิหร่าน ตกลงในเขตปลอดภัยสูงสุด หรือ กรีนโซน ในกรุงแบกแดด โดยเชื่อว่ามีเป้าหมายโจมตีอาคารสถานทูตสหรัฐฯ…

สหรัฐฯ ประกาศ “ความก้าวหน้าอันเป็นรูปธรรม” ในการต่อต้านภัยคุกคามความมั่นคงจากจีน

Loading

US Attorney General William Barr speaks on Operation Legend, the federal law enforcement operation, during a press conference in Chicago, Illinois, on September 9, 2020. (Photo by KAMIL KRZACZYNSKI / AFP) กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ เผยว่า “มีความก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรม” ในโครงการ “China Initiative” ที่เป็นความริเริ่มของรัฐบาลในการต่อต้านความพยายามของจีนในการก่อกวนความมั่นคงและเศรษฐกิจของประเทศ ตามข้อมูลในแถลงการณ์ที่ออกมาในวันจันทร์ตามเวลาในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นวันครบรอบ 2 ปีของการดำเนินโครงการดังกล่าว วิลเลียม บารร์ รัฐมนตรียุติธรรมกล่าวว่า ทางกระทรวงฯ ประสบความสำเร็จอย่างมากในการต่อต้านภัยคุกคามจากจีน แต่ย้ำด้วยว่า ยังมีหลายเรื่องที่ต้องดำเนินการอยู่ และกระทรวงยุติธรรมจะเดินหน้าจัดการกับผู้ที่ขโมย หรือเข้าถึง “ทุน” ทางปัญญาของสหรัฐฯ โดยไม่ถูกกฎหมายให้ได้ สหรัฐฯ…

ก่อการร้ายเขย่ากรุงเวียนนาของออสเตรีย : ใครทำ?

Loading

ที่มาภาพ: https://www.bbc.com/news/world-europe-54798508 Written by Kim หลายชั่วโมงก่อนที่ออสเตรียจะปิดเมือง (lockdown) อีกครั้ง เพื่อสะกัดกั้นการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เมื่อ 2 พฤศจิกายน 2020 ได้เกิดเหตุก่อการร้ายในกรุงเวียนนา โดยที่เกิดเหตุหลายแห่งอยู่ระหว่างการตรวจสอบของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและความมั่นคง ขณะที่ผู้นำยุโรปรวมทั้งนายกรัฐมนตรีอังกฤษบอริส จอห์นสันและประธานาธิบดีฝรั่งเศสเอ็มมานูเอล มาครงร่วมประณามการโจมตีดังกล่าว ซึ่งแสดงเครื่องหมายการก่อการร้ายของ ISIS ที่คล้ายคลึงกับปฏิบัติการโจมตีกรุงปารีส (พฤศจิกายน 2015) และกรุงบรัสเซลส์ (มีนาคม 2016)[1]           การโจมตีแบบประสานงานของผู้ก่อการร้าย (ไม่ทราบจำนวน) ใช้อาวุธปืนไรเฟิลและปืนพกกราดยิง 6 จุดในกรุงเวียนนาเมื่อ 20.00 น. ของวันที่ 2 พฤศจิกายน 2020 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน (ชาย 2 หญิง 2) บาดเจ็บมากกว่า 15 คน (มีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจยิงคนร้ายเสียชีวิต 1 คน) ทางการออสเตรียระบุว่า เหตุดังกล่าวเป็นการก่อการร้าย ขณะที่ข่าวลือแพร่สะพัดในโลกออนไลน์รวมถึงการจับตัวประกันที่โรงแรมฮิลตันและร้านซูชิญี่ปุ่นสถานที่เกิดเหตุทั้ง 6 แห่งยังคงอยู่ภายใต้การตรวจสอบของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและความมั่นคง ทางการออสเตรียเตือนให้ประชาชน (พลเรือน) หลีกเลี่ยงการเดินทางใจกลางกรุงเวียนนา โดยเฉพาะสถานีขนส่งสาธารณะ เนื่องจากหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายได้เปิดปฏิบัติการรักษาความมั่นคงขนาดใหญ่ เพื่อพิสูจน์ทราบและกักตัวผู้ต้องสงสัยก่อการร้าย มีการปิดกั้นพื้นที่สถานบันเทิง ธุรกิจและถนนรอบเมือง รถยนต์กู้ภัยฉุกเฉินมุ่งสู่ถนนใจกลางกรุงเวียนนาซึ่งเป็นทางสัญจรหลักที่มีบาร์และร้านอาหารจำนวนมาก…

ปากีสถานปิดถนนเข้าเมืองหลวง-ตัดสัญญาณโทรศัพท์ ป้องกันประท้วงต่อต้านฝรั่งเศสลุกลาม

Loading

Security vehicles park near shipping containers placed by authorities on a highway to stop supporters of the ‘Tehreek-e-Labaik Pakistan, a religious political party, entering into the capital during an anti-France rally in Islamabad, Nov. 16, 2020. กองกำลังรักษาความมั่งคงปากีสถานเข้าปิดล้อมถนนสายหลักที่เข้าสู่กรุงอิสลามาบัดในวันจันทร์ เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนชาวมุสลิมหลายพันคนที่ชุมนุมประท้วงอยู่นอกเมืองเดินทางเข้าไปในเขตใจกลางกรุงอิสลามาบัด รายงานระบุว่า ชาวมุสลิมราว 5,000 คนซึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มขวาจัด Tehreek-e-Labbaik Pakistan หรือ TLP เริ่มเดินขบวนเมื่อวันอาทิตย์ในเมืองราวัลพินดี นอกกรุงอิสลามาบัด โดยมีเป้าหมายมุ่งหน้าไปยังสถานทูตฝรั่งเศสในกรุงอิสลามาบัด เพื่อแสดงจุดยืนต่อต้านการตีพิมพ์ภาพการ์ตูนล้อเลียนศาสดามูฮัมหมัด ในหนังสือพิมพ์ชาร์ลีเอ็บโด ในฝรั่งเศส บรรดาผู้ประท้วงพากันตะโกนคำขวัญต้านฝรั่งเศส และเรียกร้องให้ขับเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสออกจากประเทศ รัฐบาลปากีสถานได้ส่งกำลังตำรวจและทหารกองหนุนหลายพันคนเข้าควบคุมสถานการณ์…

ดันกฎหมายห้ามแชร์ภาพใส่ร้ายตำรวจขณะปฏิบัติหน้าที่

Loading

ภาพประกอบ – ผู้ประท้วงต่อต้านการล็อคดาวน์ถูกตำรวจควบคุมตัวระหว่างการเดินขบวนในเมืองแฟรงก์เฟิร์ตอัมไมน์ทางตะวันตกของเยอรมนีเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2020 (ภาพโดย Yann Schreiber / AFP) ฝรั่งเศสผลักดันกฎหมายเอาผิดผู้ที่แพร่ภาพหรือคลิปที่ทำให้ตำรวจดูเป็นผู้ร้ายในสายตาประชาชน สำนักข่าว France24 รายงานว่าฝรั่งเศสเสนอร่างกฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่ โดยจะห้ามมิให้เผยแพร่ภาพเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีเจตนาจะป้ายสีเจ้าหน้าที่ตำรวจให้มีภาพลักษณ์ที่เลวร้าย เพื่อปกป้องเจ้าหน้าที่จากการโจมตีที่มุ่งร้ายโดยใช้โซเชียลมีเดีย มาตรา 24 ของร่างกฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่ของฝรั่งเศสจะกำหนดความผิดทางอาญาใหม่ซึ่งมีโทษจำคุก 1 ปีและปรับ 45,000 ยูโร (ราว 1,6 ล้านบาท) หากผู้กระทำผิดเผยแพร่ภาพที่มีเป้าหมายซึ่ง “ทำร้ายให้ได้รับความกระทบกระเทือนทางร่างกายหรือจิตใจ” แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ข้อนี้ถูกเสนอครั้งแรกโดยฌอง มิเชล-โฟแวร์เกอ ซึ่งเป็น ส.ส. ของพรรค LREM ของประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง หลังจากที่สหภาพตำรวจได้พยายามผลักดันเรื่องนี้มานาน อลิซ ตูโรต์ ส.ส. อีกคนของพรรค LREM กล่าวกับสถานีวิทยุ Inter radio ว่า จุดประสงค์ของกฎหมายฉบับนี้ก็คือเพื่อห้ามไม่ให้มีการเรียกร้องให้แก้แคนกับเจ้าหน้าที่และครอบครัวของพวกเขาด้วยวิธีการที่รุนแรง โดยผ่านทางการแพร่ภาพวิดีโอทางโซเชียลมีเดีย กฎหมายฉบับนี้ยังอนุญาตให้มีการแพร่ภาพบันทึกจากกล้องติดตัวตำรวจขณะปฏิบัติหน้าที่ (body camera) เพื่อที่จะใช้เป็นการถ่วงดุลกับภาพที่มีผู็ถ่ายเอาไว้แล้วนำมาเผยแพร่ทางโซเชียลทีเดีย เนื่องจากผู้สนับสนุนกฎหมายบอกว่าภาพคลิของตำรวจขณะปฏิบัติหน้าที่ที่ถูกโพสต์บนโซเชียลมีเดียมักถูกตัดต่อจนหลายคัร้งทำให้ผู้คนเข้าใจการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจผิดไปจากบริบทของสถานการณ์แวดล้อม อย่างไรก็ตาม มีผู้ต่อต้านร่างกฎหมายฉบับนี้…

มาถึงจุดนี้ได้อย่างไร? ผู้นำเอธิโอเปียประกาศสงครามกับภูมิภาคไทเกรย์

Loading

นายกรัฐมนตรี อาบีย์ อาห์เหม็ด แห่งเอธิโอเปีย ประกาศสงครามกับภูมิภาค ไทเกรย์ ทางตอนเหนือของประเทศ จนเกิดการต่อสู้อย่างรุนแรงกับกลุ่ม TPLF ที่ปกครองดินแดนแห่งนี้อยู่ ชนวนของสงครามครั้งนี้เริ่มขึ้นมานานหลายปี และค่อยๆ สะสมมาเรื่อยๆ จนถึงขีดสุดเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา และลุกลามกลายเป็นหนึ่งในวิกฤติครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศ การต่อสู้ในภูมิภาคไทเกรย์อาจบานปลาย ทำให้ความขัดแย้งลุกลามไปทั่วประเทศ และอาจสร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่วภูมิภาคแหลมแอฟริกา ทหารจากภูมิภาคอัมฮารา ถูกส่งเข้าไปเผชิญหน้ากับกลุ่มกำลังของ TPLF เมื่อ 9 พ.ย. 2563 กลายเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความตกตะลึงไปทั่วโลก เมื่อนายกรัฐมนตรี อาบีย์ อาห์เหม็ด ซึ่งเพิ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพไปเมื่อปีที่แล้ว ประกาศสงครามกับภูมิภาคไทเกรย์ ดินแดนกึ่งปกครองตนเองในภาคเหนือของประเทศ อย่างไม่มีใครคาดคิด เมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2563 สงครามครั้งนี้มีชนวนเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม ‘แนวหน้าปลดปล่อยประชาชนไทเกรย์’ (TPLF) ซึ่งปกครองไทเกรย์ และเคยเป็นสมาชิกสำคัญของพรรคร่วมรัฐบาลเอธิโอเปียมานานหลายทศวรรษ กับรัฐบาลของนายกฯ อาบีย์ ที่คุกรุ่นตลอดหลายปีที่ผ่านมา ก่อนจะปะทุขึ้นเมื่อไทเกรย์ขัดคำสั่งรัฐบาลกลางและจัดการเลือกตั้งท้องถิ่น นายกรัฐมนตรี อาบีย์ สั่งให้กองทัพออกปฏิบัติการโจมตีในภูมิภาคไทเกรย์ หลังจากเกิดเหตุโจมตีที่ฐานทัพแห่งหนึ่ง ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บมากมาย รวมทั้งทรัพย์สินของกองทัพได้รับความเสียหาย โดยเขาโทษว่าเป็นฝีมือของกลุ่ม TPLF เอธิโอเปียมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร…