ทลายคลังแสง! รวบนักยิงปืนทีมชาติลักลอบขายปืนทางเฟซฯ ยึดปืน-กระสุนอื้อ

Loading

MGR Online – ปคม. บุกรวบนักยิงปืนรณยุทธทีมชาติไทย ลักลอบขายปืนทางเฟซบุ๊ก ผงะพบอาวุธปืน กระสุน และเครื่องผลิตกระสุนจำนวนมาก วันนี้ (6 มี.ค.) พล.ต.ต.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบก.ปคม. พ.ต.อ.ภูมินทร์ พุ่มพันธุ์ม่วง รอง ผบก.ปคม. สั่งการ พ.ต.อ.มารุต กาญจนขันธกุล ผกก.1 บก.ปคม. พ.ต.ท.พงศ์พัฒน์ บัวรุ่ง สว.กก.1 บก.ปคม. นำกำลังจับกุม นายธำรงศักดิ์ วงศ์รักศักดิ์ นักกีฬายิงปืนรณยุทธทีมชาติไทย พร้อมของกลางอาวุธปืนสั้นและอาวุธปืนยาว รวม 27 กระบอก เครื่องกระสุนปืนขนาดต่างๆ รวมประมาณ 5,000 นัด เครื่องผลิตกระสุนปืน จำนวน 2 เครื่อง และอุปกรณ์การผลิตกระสุนปืน (ปลอกกระสุนปืน, ดินปืน, หัวกระสุน) อีกจำนวนมาก ได้ที่บ้านเลขที่ 150 ซอยพหลโยธิน 1 ถนนพหลโยธิน แขวงพญาไท…

ตะลึง ซาอุฯ จับพระอนุชาคิงซัลมาน กับ 2 เจ้าชาย ข้อหากบฏ

Loading

ทางการซาอุดีอาระเบียควบคุมตัวสมาชิกราชวงศ์ 3 พระองค์ รวมทั้งองค์ชายอาวุโส 2 พระองค์ ในข้อหาพยายามก่อกบฏ สำนักข่าว เดอะ การ์เดียน รายงานในวันเสาร์ที่ 7 มี.ค. 2563 ว่า เจ้าชายอาห์เหม็ด บิน อับดุลอาซิซ อัล-ซาอุด พระอนุชาในสมเด็จพระราชาธิบดี ซัลมาน บิน อับดุลอาซิซ อัล-ซาอุด แห่งประเทศซาอุดีอาระเบีย และเจ้าชายโมฮัมหมัด บิน นาเยฟ พระราชนัดดา ถูกราชองครักษ์ควบคุมตัวจากที่ประทับของพระองค์ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (6 มี.ค.) หลังจากทั้งสองพระองค์ถูกกล่าวหาว่าวางแผนก่อกบฏโค่นบัลลังก์ เจ้าชายอาห์เหม็ด บิน อับดุลอาซิซ อัล-ซาอุด ขณะที่สำนักข่าว นิวยอร์กไทม์ส รายงานด้วยว่า เจ้าชาย นาวาฟ บิน นาเยฟ พระอนุชาในเจ้าชายโมฮัมหมัด บิน นาเยฟ ก็ถูกควบคุมตัวด้วยเช่นกัน แต่ยังไม่มีการเปิดเผยสาเหตุที่ทั้ง 3 พระองค์ ถูกจับกุมอย่างเป็นทางการ ข่าวการจับกุมเจ้าชายทั้งสามพระองค์ นับเป็นสัญญาณล่าสุดของมาตรการปราบปรามเพื่อรวมศูนย์อำนาจของมกุฎราชกุมาร เจ้าชาย โมฮัมเหม็ด…

เยอรมนีบุกทลายแก๊งค้ามนุษย์เวียดนาม

Loading

สำนักงานตำรวจแห่งชาติเยอรมนี ระดมกำลังเจ้าหน้าที่กว่า 700 นาย บุกตรวจค้นบ้านพักและอาคารธุรกิจ กว่า 30 แห่ง ทั่วประเทศ เมื่อวันอังคาร เพื่อกวาดล้างขบวนการค้ามนุษย์จากเวียดนาม สำนักข่าวเอพีรายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 3 มี.ค. ว่า ปฏิบัติการจู่โจมมีเป้าหมายจับกุมผู้ต้องสงสัย 13 คน ซึ่งเป็นชาวเวียดนามทั้งหมด และถูกระบุว่าเป็นตัวการใหญ่แก๊งนำพาชาวเวียดนาม เข้าสู่เยอรมนีโดยผิดกฎหมาย อย่างน้อย 155 คน นายแอ็กเซล แบร์นาร์ด โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติเยอรมนี เผยว่า เจ้าหน้าที่จับกุมผู้ต้องสงสัยได้ 6 คนในกรุงเบอร์ลิน และรัฐซัคเซิน และอีก 4 คนจากรัฐอื่นๆ เจ้าหน้าที่หน่วยสอบสวน สำนักงานตำรวจแห่งชาติเยอรมนี เผยว่า กลุ่มผู้ต้องสงสัยร่วมขบวนการนี้ เก็บเงินจากชาวเวียดนามคนละ 5,000 – 20,000 ดอลลาร์สหรัฐ (156,820 – 627,290 บาท)เพื่อเป็นค่าบริการลักลอบนำพาเข้าสู่เยอรมนี โดยผู้อพยพผิดกฎหมายเหล่านี้จำนวนมาก ลงเอยด้วยการทำงานในร้านเสริมสวย ภัตตาคาร และกรรมกรในโรงงาน เพื่อหาเงินจ่ายหนี้ค่าหัวเดินทาง…

บริษัทความปลอดภัยทางไซเบอร์จีนแฉถูกCIAแฮกข้อมูลมานานนับทศวรรษ

Loading

รอยเตอร์ – ฉี่หู่ 360 บริษัทแอนตี้ไวรัสสัญชาติจีน ระบุว่าพวกมือแฮคเกอร์ของซีไอเอเจาะระบบอุตสาหกรรมการบินจีนและเป้าหมายอื่นๆมานานกว่าทศวรรษ ในข้อกล่าวหาล่าสุดเกี่ยวกับกรณีสหรัฐฯทำการจากรรมข้อมูลบริษัทใดบริษัทหนึ่งที่มีสำนักงานในกรุงปักกิ่ง ในข้อความสั้นๆที่โพสต์ลงบนบล็อกๆหนึ่ง ซึ่งเผยแพร่ทั้งเป็นภาษาอังกฤษและจีนเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ทางฉี่หู่อ้างว่าพวกเขาตรวจพบการสอดแนมโดยการเปรียบเทียบตัวอย่างกับซอฟต์แวร์มุ่งร้ายที่พวกเขาเคยเจออยู่ในขุมเครื่องมือสอดแนมทางดิจิตัลของซีไอเอ ตามที่วิกิลีกส์ออกมาแฉเมื่อปี 2017 ฉี่หู่ 360 ซึ่งเป็นบริษัทด้านความมั่นคงทางไซเบอร์รายใหญ่ บอกด้วยว่าสำนักงานข่าวกรองกลางสหรัฐฯ(ซีไอเอ) มีเป้าหมายที่ภาคการบินและพลังงานของจีน, องค์การต่างๆที่วิจัยด้านวิทยาศาสตร์, เหล่าบริษัทอินเตอร์เน็ต และหน่วยงานต่างๆของรัฐบาล พร้อมระบุว่าการแฮกเป้าหมายด้านการบินอาจมีเป้าหมายคือการแกะรอยแผนการเดินทางของบรรดาบุคคลสำคัญ ทั้งนี้ ฉี่หู่ 360 ได้เผยแพร่รายการตัวอย่างซอฟต์แวร์มุ่งร้ายที่สกัดกั้นได้ เช่นเดียวกับผลการวิเคราะห์ช่วยเวลาของการสร้างซอฟต์แวร์เหล่านั้น ซึ่งบ่งชี้ว่าใครก็ตามที่ประดิษฐ์เครื่องมือประสงค์ร้ายดังกล่าวได้เจาะระบบในชั่วโมงการทำงานตามเวลาชายฝั่งตะวันออกสหรัฐฯ ซีไอเอและสถานทูตจีนในกรุงวอชิงตันยังไม่มีคำตอบกลับมา หลังจากรอยเตอร์ส่งข้อความไปสอบถามความคิดเห็นต่อคำกล่าวอ้างดังกล่าว สหรัฐฯ ก็เหมือนกับจีนและชาติมหาอำนาจของโลกอื่นๆ ที่ไม่ค่อยแสดงความคิดเห็นต่อคำกล่าวหาจารกรรมทางไซเบอร์ อย่างไรก็ตามมีหลักฐานปรากฏต่อสาธารณะมาอย่างยาวนาน ว่าทั้งสองประเทศต่างฝ่ายต่างแฮกข้อมูลกันทั้งคู่ อดัม ซีดัล ผู้ศึกษาด้านจีนและประเด็นความมั่นคงทางไซอร์เบอร์ แห่งสภาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในนิวยอร์ก มองว่ากรอบเวลาของการเปิดเผยเรื่องราวต่อสาธารณชนของ ฉี่หู่ 360 มีความเป็นไปได้ที่อาจสัมพันธ์กับกรณีที่เหล่าแฮกเกอร์ทหารจีน 4 นาย ถูกดำเนินคดีเมื่อเดือนที่แล้ว ต่อกรณีลอบเจาะล้วงข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัทผู้ตรวจสอบเครดิตในสหรัฐฯ อิควิแฟ็กซ์ (Equifax) และขโมยข้อมูลลับและข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าราว 150 ล้านคน เขาบอกว่าการออกมาแฉปฏิบัติการเก่าๆของซีไอเอ อาจเป็นหนทางหนึ่งในการส่งข้อความถึงวอชิงตัน ใขณะเดียวกันก็เป็นการล้างมลทินให้ฉี่หู่ 360…

บทเรียน 4 ประการ สำหรับการประท้วงยุคโซเชียลฯ

Loading

ผู้ชุมนุมต่อต้านร่างกฎหมายส่งตัวนักโทษข้ามแดน เมื่อ 9 มิ.ย. 2019 ที่ฮ่องกง (ที่มา: แฟ้มภาพ/HKFP/Apple Daily) บทความในวอชิงตันโพสต์เมื่อพฤศจิกายน 62 โดยนักวิจัยด้านการประท้วงหลายคนระบุถึงบทบาทของโซเชียลมีเดียที่มีต่อการชุมนุมทั้งในแง่ที่เป็นคุณและเป็นโทษ รวมถึงข้อชี้แนะ 4 ประการว่าควรจะทำอย่างไรเพื่อให้การเรียกร้องสำเร็จ ศึกษาจากบทเรียนการประท้วงร่วมสมัยจากหลายประเทศ โดยบทความในวอชิงตันโพสต์ระบุถึงยุคสมัยที่มีการประท้วงอย่างสันติในหลายประเทศเพื่อเรียกร้องให้ผู้นำพ้นจากตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นในโบลิเวีย, ชิลี, เลบานอน, เอกวาดอร์, อาร์เจนตินา, ฮ่องกง, อิรัก หรืออังกฤษ ที่ตามมาหลังจากการประท้วงในซูดานและแอลจีเรียที่ทำให้เกิดการโค่นล้มอำนาจเผด็จการลงได้ วอชิงตันโพสต์มองว่าโซเชียลมีเดียมีส่วนในการทำให้เกิดกระแสการประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก เพราะโซเชียลมีเดียทำให้เกิดการจั้ดตั้งประสานงาน อย่างไรก็ตามมันก็ทำให้การประท้วงคลี่คลายได้ยากขึ้น ในขณะที่การประท้วงยกระดับมากขึ้นทั่วโลก ก็มีปัญหาท้าทายในหลายเรื่องที่ทำให้การประท้วงคลี่คลายได้ยากและทำให้ประสบความสำเร็จเพียงแค่ได้ข้อตกลงระยะสั้นๆ โดยเฉพาะกับการประท้วงที่ไม่มีผู้นำและไม่มีการจัดตั้ง วอชิงตันโพสต์นำเสนอถึง 4 สาเหตุที่ทำให้เกิดอุปสรรคนี้ ประการแรก การปล่อยให้มี “ปีกที่ใช้ความรุนแรง” จะส่งกระทบต่อขบวน แม้ว่าจะเป็นการขบวนการประท้วงส่วนใหญ่เป็นไปอย่างสันติ วอชิงตันโพสต์ระบุว่า “ปีกที่ใช้ความรุนแรง” อาจจะกลายเป็นอุปสรรคขัดขวางขบวนการเสียเองได้ โดยถึงแม้ว่าจะมีงานวิจัยบางส่วนที่ระบุว่ากลุ่มที่ใช้ความรุนแรงและต่อสู้บนท้องถนนด้วยระเบิดเพลิงหรือขว้างปาหินจะเป็นกลุ่มที่สามารถเรียกร้องความสนใจและสร้างความกดดันชนชั้นนำให้ต้องทำการยุติวิกฤตได้ตราบใดที่การประท้วงเป็นไปอย่างมีการจัดตั้งที่ดี แต่ก็มีงานวิจัยอื่นๆ ที่ระบุว่าปีกหัวรุนแรงเหล่านี้จะทำให้ขบวนการมีโอกาสสำเร็จทั้งในระยะสั้นและระยะยาวน้อยกว่า ส่วนหนึ่งเพราะพวกเขาจะทำให้คนไม่กล้าเข้าร่วมหรือสนับสนุน อีกส่วนหนึ่งเพราะพวกเขาจะทำให้ฝ่ายตรงข้ามมีโอกาสยอมตามข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมได้น้อยกว่า วอชิงตันโพสต์ระบุว่าขบวนการประท้วงส่วนใหญ่จะช่วงชิงพื้นที่ชัยชนะได้มากจากการส่งอิทธิพลทางทัศนคติและนโยบายโดยไม่ต้องใช้ความรุนแรง พวกเขาทำการจัดตั้งประสานงานอย่างระมัดระวังและวางแผนการต่อสู้ไปในระยะยาว ขบวนการอื่นๆ ที่สามารถชนะได้แม้ว่าจะมีพวกปีกรุนแรงอยู่พวกเขาทำได้เพราะยังทำให้มวลชนจำนวนมากยังคงเข้าร่วมขบวนได้และเบนความสนใจออกไปจากการใช้ความรุนแรง ประการที่สอง เทคโนโลยีและโซเชียลมีเดียไม่ได้ให้พลังแก่ผู้ชุมนุมอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังให้พลังกับฝ่ายตรงข้ามด้วย…

กฎเหล็ก“ตากาล็อก” หมัดน็อก“ก่อการร้าย”

Loading

ทหารฝ่ายรัฐบาลฟิลิปปินส์ กรีธาทัพเข้ายึดเมืองมาราวี คืนจากกลุ่มก่อการร้าย (Photo : Getty Images) ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่รบกวนต่อเสถียรภาพความมั่นคงของบรรดาประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอุษาคเนย์เรา สำหรับ “ปัญหาการก่อการร้าย” หรือในบางประเทศเรียว่า “ผู้ก่อความไม่สงบ” ที่ยังคงเปิดฉากการสู้รบกับกองทัพรัฐบาลในหลายประเทศของอาเซียน รวมประเทศไทยเราด้วย โดยนอกจากมีไทยเราแล้ว ก็ยังมี มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ที่ผจญกับศึกจากเหล่าวายร้ายพวกนี้ ทั้งนี้ ทั้ง 3 ชาติอาเซียน คือ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ข้างต้น ออกมายอมรับว่า นอกจากจะต้องปะทะกับกลุ่มติดอาวุธหัวรุนแรงที่เคลื่อนไหวภายในประเทศเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ก็ยังต้องตะลุมบอนกับเครือข่ายของขบวนการก่อการร้ายกลุ่มรัฐอิสลาม หรือไอเอส หรือที่หลายคนเรียกว่า ไอซิส ที่เคยมีประวัติการรบ การทำสงครามก่อการร้ายจากอิรัก และซีเรีย อีกต่างหากด้วย นอกจากนี้ ถึงขนาดมีบางประเทศ อย่างฟิลิปปินส์ ถิ่นตากาล็อก เคยถูกเครือข่ายไอเอสพวกนี้ ร่วมมือกับกลุ่มก่อการร้ายเจ้าถิ่น บุกโจมตีมายึดเมืองได้ทั้งเมืองก็เคยมี ยกตัวอย่าง เมืองมาราวี ใน จ.ลาเนาเดลซูร์ บนเกาะมินดาเนา ภาคใต้ของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งถูกเครือข่ายไอเอส ที่จับมือกับกลุ่ม “มาอูเต”…