ไทยจับมืออินโดฯแบ่งปันข่าวกรอง จำกัดความเคลื่อนไหวกลุ่มก่อความไม่สงบ

Loading

รอยเตอร์ – ไทยและอินโดนีเซียในวันอังคาร (14 ม.ค.) ลงนามในข้อตกลงแบ่งปันข่าวกรอง ที่ทางผู้บัญชาการทหารของไทยบอกว่าจะช่วยจำกัดความเคลื่อนไหวของพวกก่อความไม่สงบที่ปฏิบัติการทางภาคใต้ของไทย รอยเตอร์อ้างเอกสารอย่างเป็นทางการที่พบเห็น ระบุว่าไทย ซึ่งมีชาวพุทธเป็นคนกลุ่มใหญ่แลอินโดนีเซีย อันมีชนกลุ่มใหญ่เป็นมุสลิม จะแบ่งปันข้อมูลความเคลื่อนไหวต่างๆของพวกหัวรุนแรง กบฏและกลุ่มผู้กระทำผิดทั้งหลาย ซึ่งบ่อนทำลายความมั่นคงของชาติ การลงนามมีขึ้นระหว่างที่พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบกเดินทางเยือนจังหวัดอาเจะห์ของอินโดนีเซียในวันอังคาร (14 ม.ค.) “มันเป็นการจำกัดความเคลื่อนไหวโดยเสรีของกลุ่มต่างๆ เพราะว่าเราจะแบ่งปันข้อมูลและเฝ้าระวังบุคคลทั้งหลาย” พล.อ.อภิรัชต์ ระบุต่อว่าอินโดนีเซีย โดยเฉพาะจังหวัดอาเจะห์ เคยถูกพวกกลุ่มก่อความไม่สงบกลุ่มต่างๆในไทยใช้เป็นแหล่งฝึกฝน ซ่อนตัวและวางแผนปฏิบัติการต่างๆโจมตีไทย จากข้อมูลของศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch) ไทยสู้รบกับกลุ่มก่อความไม่สงบแบ่งแยกดินแดนมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ยะลา, ปัตตานีและนราธิวาส มานับตั้งแต่ปี 2004 คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วเกือบ 7,000 ศพ ด้านพลเอกเปอร์กาซา แห่งกองทัพอินโดนีเซีย ไม่ได้พาดพิงอย่างเจาะจงว่ากลุ่มนักรบใดที่อินโดนีเซียได้รับการร้องขอจากไทยให้เฝ้าสังเกตการณ์เป็นพิเศษ แต่เน้นย้ำถึงความร่วมมือระดับภูมิภาค “ในการจัดการกับประเด็นความมั่นคงใดๆ เราควรร่วมมือกัน” อินโดนีเซียเองก็เผชิญกับภัยคุกคามของกลุ่มนักรบอิสลามิสต์ต่างๆเช่นกัน อาทิเจมาห์ อิสลามิยาห์ (Jemaah Islamiah) และกลุ่มอื่นๆที่ได้แรงบันดาลใจจากพวกรัฐอิสลาม (ไอเอส) อาเจะห์ เคยถูกห้อมล้อมไปด้วยเหตุการณ์ความไม่สงบมานานกว่า…

ผู้บัญชาการกองทัพอวกาศคนแรกของสหรัฐฯ สาบานตนรับตำแหน่ง

Loading

Pence Space Force พลอากาศเอกจอห์น เจย์ เรย์มอนด์ สาบานตนเข้ารับตำแหน่งผู้บัญชาการกองทัพอวกาศคนแรกของสหรัฐฯ ที่ทำเนียบขาวเมื่อวันอังคาร ก่อนหน้านี้ พลอากาศเอกเรย์มอนด์ เป็นผู้บัญชาการกองบัญชาการอวกาศ ที่จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคมปีก่อน และได้รับการเสนอชื่อและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองทัพอวกาศ หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ลงนามในร่างกฎหมาย 2020 National Defense Authorization Act เมื่อเดือนที่แล้ว ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งกองทัพอวกาศ เหล่าทัพที่ 6 ของกองทัพสหรัฐฯ ทั้งนี้ กองทัพอวกาศสหรัฐฯ มีหน้าที่บริหารจัดการ ฝึกฝน และจัดสรรบุคลากรของกองทัพที่เน้นเรื่องปฏิบัติการด้านอวกาศโดยเฉพาะ และเป็นกองทัพอิสระ มีสถานะเทียบเท่า 5 เหล่าทัพแรก คือ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ กองกำลังนาวิกโยธิน และกองกำลังรักษาการณ์ชายฝั่ง ——————————————————— ที่มา : VOA Thai / 15 มกราคม 2563 Link : https://www.voathai.com/a/us-space-force-chief-sworn-in-01142020/5245700.html

เพราะอินเทอร์เน็ตคือสิทธิพื้นฐาน ศาลสั่งรัฐบาลอินเดียทบทวนการปิดกั้นอินเทอร์เน็ตในแคชเมียร์

Loading

ภาพจาก stockpexel/Shutterstock ใช้เพื่อการข่าวเท่านั้น รัฐบาลอินเดียปิดการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในแคว้นแคชเมียร์มาหลายเดือนแล้ว ซึ่งเป็นผลจากการที่รัฐบาลอินเดียเพิกถอนบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่มอบสถานะพิเศษให้แก่ดินแดนแคชเมียร์ ล่าสุดศาลสูงสุดอินเดียตัดสินว่าการปิดการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตนั้นผิดกฎหมาย และต้องทบทวนมาตรการใหม่ และต้องมาพร้อมกับการนำพยานหลักฐานที่จะได้รับผลกระทบหากเปิดให้มีการใช้อินเทอร์เน็ตมาให้การต่อศาล ปัจจุบันรัฐบาลค่อยๆ กู้คืนการสื่อสารให้ประชาชนในพื้นที่เช่น SMS, โทรศัพท์บ้าน แต่ก็ยังมีคนอีก 7 ล้านที่ขาดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ถือเป็นการปิดกั้นการใช้อินเทอร์เน็ตที่ยาวนานที่สุดที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ ซึ่งรัฐบาลให้เหตุผลว่าทำไปเพื่อป้องกันเหตุร้ายและรักษาชีวิตประชาชน —————————————— ที่มา : Blognone / 13 มกราคม 2563 Link : https://www.blognone.com/node/114091

เตือนชาติเอเชียพร้อมรับมือ ‘สหรัฐ-อิหร่าน’ ก่อ ‘สงครามไซเบอร์’

Loading

โดย : KANYAPORN PHUAKVISUTHI ผู้เชี่ยวชาญเตือนบริษัทข้ามเสี่ยงได้รับความเสียหายจาก “สงครามไซเบอร์” ระหว่างสหรัฐกับอิหร่าน แม้การที่ฝ่ายอเมริกันสังหารนายพลระดับสูงของอิหร่าน จะไม่นำไปสู่ความขัดแย้งทางทหารอย่างเต็มรูปแบบก็ตาม นายเกร็ก ออสติน หัวหน้าฝ่ายโครงการความไซเบอร์ อวกาศ และความขัดแย้งในอนาคน สถาบันความมั่นคงศึกษาระหว่างประเทศ ในสิงคโปร์ กล่าวว่า แม้ในตอนนี้ ทั้งสหรัฐ และอิหร่านจะถอยคนละก้าวไม่มีการปฏิบัติการทางทหารเพิ่มเติม แต่บรรดาตลาดซื้อขายเงินดิจิทัล โครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน และซัพพลายเชนของบริษัทอเมริกัน และซาอุดีอาระเบีย ต่างมีความเสี่ยงที่จะตกเป็นเป้าการโจมตีของกลุ่มแฮคเกอร์ที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่าน และต้องการที่จะจัดการทางอ้อมต่อการคว่ำบาตรของสหรัฐ และสร้างความวุ่นวายให้กับเครือข่ายของรัฐบาล และบริษัท “ชาวอิหร่านแสดงให้เห็นมาตั้งแต่ปี 2555 แล้วว่า พวกเขาสามารถมุ่งไปยังเป้าหมายที่มีมูลค่าสูงอย่างมากได้ ด้วยการโจมตีทางไซเบอร์เพื่อก่อกวน ซึ่งการเผชิญหน้าในโลกไซเบอร์ระหว่างอิหร่านกับสหรัฐ ที่มากอยู่แล้ว จะยิ่งเพิ่มความรุนแรงขึ้นไปอีก” ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา บรรดาแฮคเกอร์อิหร่านต่างดำเนินการโจมตีเป้าหมายเอกชนในโอกาสต่างๆ จำนวนหนึ่ง โดยในปี 2555 กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “Cutting Sword of Justice” ได้ออกมาอ้างความรับผิดชอบในการโจมตีทางไซเบอร์ “ซาอุดี อาแรมโก” บริษัทน้ำมันแห่งชาติของซาอุดีอาระเบีย ที่ทำให้คอมพิวเตอร์ราว 30,000 เครื่องใช้งานไม่ได้ และพนักงานของซาอุดี อาแรมโก…

ไทยหนีไม่พ้น เราจะต้องระวังอะไรจากความขัดแย้งอิหร่าน-สหรัฐ

Loading

บทวิเคราะห์โดย กรกิจ ดิษฐาน อิหร่านหักปากกาเซียนด้วยการโจมตีสหรัฐแบบตรงไปตรงมา ไม่ใช่วิธียืมมือกลุ่มติดอาวุธที่ตัวเองสนับสนุนอย่างที่บางคนคาดการณ์ไว้ การโจมตีด้วยขีปนาวุธถล่มฐานทัพสหรัฐในอิรัก คือการทำสงครามแบบ Conventional warfare หรือ “สงครามในรูปแบบ” นั่นคือการรบโดยใช้อาวุธโจมตีกันไปมา ไม่ว่าจะเป็นอาวุธแบบมาตรฐาน เช่นจรวดหรือแบบล้ำสมัยเช่นโดรน บรรดาเซียนการเมืองเชื่อว่าอิหร่านอาจจะรบแบบ Unconventional warfare หรือสงครามนอกระบบ โดยเฉพาะการใช้ตัวแทนรบกับสหรัฐ (Proxy war) ด้วยการบ่อนทำลายผลประโยชน์ของสหรัฐเป็นจุดๆ ไป อย่างที่สหรัฐเรียกว่า “การก่อการร้าย” อิหร่านควรใช้วิธีนี้เพราะมีแสนยานุภาพด้อยกว่าสหรัฐแต่มี “บริวาร” ที่เป็นเครือข่ายติดอาวุธที่ทำงานครอบคลุมไปทั่วโลก เช่น ฮิซบุลลอฮ์ แต่อย่างที่เราทราบ อิหร่านเลือกที่จะปะทะตรงๆ ทั้งๆ ที่แสนยานุภาพของอิหร่านเมื่อเทียบกับสหรัฐแล้วเหมือนหนูกับช้าง นั่นแสดงว่าอิหร่านกำลังเลือดเข้าตา และเห็นแก่ศักดิ์ศรีที่ถูกหยามมากกว่าจะมองความเป็นจริงในการรบ อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าอิหร่านจะไม่รบนอกแบบ และใช้ตัวแทนรบกับสหรัฐ Quds Force ของอิหร่านซึ่งผู้บัญชาการเพิ่งจะถูกสังหารไป มีสายสัมพันธ์กับกองกำลังติดอาวุธหลายกลุ่มในตะวันออกกลาง โดยเฉพาะกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ (Hezbollah) จากการรายงานของ Institute for Near East Policy ในกรุงวอชิงตัน ในระยะหลังทั้งสองกลุ่มนี้ทำงานร่วมกันเพื่อโจมตีเป้าหมายสหรัฐ อิสราเอล และประเทศตะวันตก…

เปิดภาพวงจรปิด “บิ๊กนิสสัน” หนีจากญี่ปุ่น จ้างหน่วยรบพิเศษสหรัฐฯ คุ้มครอง

Loading

ภาพจากกล้องวงจรปิดเผยให้เห็นเส้นทางการหลบหนีของนายคาร์ลอส กอส์น อดีตประธานนิสสัน มอเตอร์ โดยใช้เวลาวางแผนนานกว่า 3 เดือน มีหน่วยรบพิเศษ “กรีน แบเรต์” ของสหรัฐฯ ช่วยดำเนินการ ฝ่ายสืบสวนของญี่ปุ่นแกะรอยภาพจากกล้องวงจรปิดจำนวนมาก เผยเส้นทางการหลบหนีออกจากประเทศญี่ปุ่นของนายคาร์ลอส กอส์น ซึ่งขณะนี้อยู่ที่เลบานอน และเตรียมเปิดแถลงข่าวเกี่ยวกับคดีของเขาในวันพรุ่งนี้ (8 ม.ค.) ราว 14.30 น.ของวันที่ 29 ธันวาคม นายกอส์นออกจากบ้านพักของตัวเองในกรุงโตเกียว ไปพบกับชาย 2 คนซึ่งน่าจะเป็นชาวสหรัฐฯ ที่ให้ความช่วยเหลือที่โรงแรมหรูแห่งหนึ่ง ห่างออกไปประมาณ 800 เมตรจากบ้านพักของเขา จากนั้นทั้ง 3 คนได้ขึ้นรถไฟหัวกระสุนชิงกันเซ็น จากสถานีชินางาวะในกรุงโตเกียว และเดินทางถึงสถานีชินโอซากา ก่อนเวลา 19.30 น. หลังเวลา 20.00 น. ทั้ง 3 คนเดินทางถึงโรงแรมหรูแห่งหนึ่งใกล้ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ 2 ชั่วโมงต่อมา ชาวสหรัฐฯ ทั้ง 2 คนได้ออกจากโรงแรม พร้อมด้วยกล่องขนาดใหญ่ 2 กล่อง…