เตือนชาติเอเชียพร้อมรับมือ ‘สหรัฐ-อิหร่าน’ ก่อ ‘สงครามไซเบอร์’

Loading

โดย : KANYAPORN PHUAKVISUTHI ผู้เชี่ยวชาญเตือนบริษัทข้ามเสี่ยงได้รับความเสียหายจาก “สงครามไซเบอร์” ระหว่างสหรัฐกับอิหร่าน แม้การที่ฝ่ายอเมริกันสังหารนายพลระดับสูงของอิหร่าน จะไม่นำไปสู่ความขัดแย้งทางทหารอย่างเต็มรูปแบบก็ตาม นายเกร็ก ออสติน หัวหน้าฝ่ายโครงการความไซเบอร์ อวกาศ และความขัดแย้งในอนาคน สถาบันความมั่นคงศึกษาระหว่างประเทศ ในสิงคโปร์ กล่าวว่า แม้ในตอนนี้ ทั้งสหรัฐ และอิหร่านจะถอยคนละก้าวไม่มีการปฏิบัติการทางทหารเพิ่มเติม แต่บรรดาตลาดซื้อขายเงินดิจิทัล โครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน และซัพพลายเชนของบริษัทอเมริกัน และซาอุดีอาระเบีย ต่างมีความเสี่ยงที่จะตกเป็นเป้าการโจมตีของกลุ่มแฮคเกอร์ที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่าน และต้องการที่จะจัดการทางอ้อมต่อการคว่ำบาตรของสหรัฐ และสร้างความวุ่นวายให้กับเครือข่ายของรัฐบาล และบริษัท “ชาวอิหร่านแสดงให้เห็นมาตั้งแต่ปี 2555 แล้วว่า พวกเขาสามารถมุ่งไปยังเป้าหมายที่มีมูลค่าสูงอย่างมากได้ ด้วยการโจมตีทางไซเบอร์เพื่อก่อกวน ซึ่งการเผชิญหน้าในโลกไซเบอร์ระหว่างอิหร่านกับสหรัฐ ที่มากอยู่แล้ว จะยิ่งเพิ่มความรุนแรงขึ้นไปอีก” ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา บรรดาแฮคเกอร์อิหร่านต่างดำเนินการโจมตีเป้าหมายเอกชนในโอกาสต่างๆ จำนวนหนึ่ง โดยในปี 2555 กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “Cutting Sword of Justice” ได้ออกมาอ้างความรับผิดชอบในการโจมตีทางไซเบอร์ “ซาอุดี อาแรมโก” บริษัทน้ำมันแห่งชาติของซาอุดีอาระเบีย ที่ทำให้คอมพิวเตอร์ราว 30,000 เครื่องใช้งานไม่ได้ และพนักงานของซาอุดี อาแรมโก…

ไทยหนีไม่พ้น เราจะต้องระวังอะไรจากความขัดแย้งอิหร่าน-สหรัฐ

Loading

บทวิเคราะห์โดย กรกิจ ดิษฐาน อิหร่านหักปากกาเซียนด้วยการโจมตีสหรัฐแบบตรงไปตรงมา ไม่ใช่วิธียืมมือกลุ่มติดอาวุธที่ตัวเองสนับสนุนอย่างที่บางคนคาดการณ์ไว้ การโจมตีด้วยขีปนาวุธถล่มฐานทัพสหรัฐในอิรัก คือการทำสงครามแบบ Conventional warfare หรือ “สงครามในรูปแบบ” นั่นคือการรบโดยใช้อาวุธโจมตีกันไปมา ไม่ว่าจะเป็นอาวุธแบบมาตรฐาน เช่นจรวดหรือแบบล้ำสมัยเช่นโดรน บรรดาเซียนการเมืองเชื่อว่าอิหร่านอาจจะรบแบบ Unconventional warfare หรือสงครามนอกระบบ โดยเฉพาะการใช้ตัวแทนรบกับสหรัฐ (Proxy war) ด้วยการบ่อนทำลายผลประโยชน์ของสหรัฐเป็นจุดๆ ไป อย่างที่สหรัฐเรียกว่า “การก่อการร้าย” อิหร่านควรใช้วิธีนี้เพราะมีแสนยานุภาพด้อยกว่าสหรัฐแต่มี “บริวาร” ที่เป็นเครือข่ายติดอาวุธที่ทำงานครอบคลุมไปทั่วโลก เช่น ฮิซบุลลอฮ์ แต่อย่างที่เราทราบ อิหร่านเลือกที่จะปะทะตรงๆ ทั้งๆ ที่แสนยานุภาพของอิหร่านเมื่อเทียบกับสหรัฐแล้วเหมือนหนูกับช้าง นั่นแสดงว่าอิหร่านกำลังเลือดเข้าตา และเห็นแก่ศักดิ์ศรีที่ถูกหยามมากกว่าจะมองความเป็นจริงในการรบ อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าอิหร่านจะไม่รบนอกแบบ และใช้ตัวแทนรบกับสหรัฐ Quds Force ของอิหร่านซึ่งผู้บัญชาการเพิ่งจะถูกสังหารไป มีสายสัมพันธ์กับกองกำลังติดอาวุธหลายกลุ่มในตะวันออกกลาง โดยเฉพาะกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ (Hezbollah) จากการรายงานของ Institute for Near East Policy ในกรุงวอชิงตัน ในระยะหลังทั้งสองกลุ่มนี้ทำงานร่วมกันเพื่อโจมตีเป้าหมายสหรัฐ อิสราเอล และประเทศตะวันตก…

เปิดภาพวงจรปิด “บิ๊กนิสสัน” หนีจากญี่ปุ่น จ้างหน่วยรบพิเศษสหรัฐฯ คุ้มครอง

Loading

ภาพจากกล้องวงจรปิดเผยให้เห็นเส้นทางการหลบหนีของนายคาร์ลอส กอส์น อดีตประธานนิสสัน มอเตอร์ โดยใช้เวลาวางแผนนานกว่า 3 เดือน มีหน่วยรบพิเศษ “กรีน แบเรต์” ของสหรัฐฯ ช่วยดำเนินการ ฝ่ายสืบสวนของญี่ปุ่นแกะรอยภาพจากกล้องวงจรปิดจำนวนมาก เผยเส้นทางการหลบหนีออกจากประเทศญี่ปุ่นของนายคาร์ลอส กอส์น ซึ่งขณะนี้อยู่ที่เลบานอน และเตรียมเปิดแถลงข่าวเกี่ยวกับคดีของเขาในวันพรุ่งนี้ (8 ม.ค.) ราว 14.30 น.ของวันที่ 29 ธันวาคม นายกอส์นออกจากบ้านพักของตัวเองในกรุงโตเกียว ไปพบกับชาย 2 คนซึ่งน่าจะเป็นชาวสหรัฐฯ ที่ให้ความช่วยเหลือที่โรงแรมหรูแห่งหนึ่ง ห่างออกไปประมาณ 800 เมตรจากบ้านพักของเขา จากนั้นทั้ง 3 คนได้ขึ้นรถไฟหัวกระสุนชิงกันเซ็น จากสถานีชินางาวะในกรุงโตเกียว และเดินทางถึงสถานีชินโอซากา ก่อนเวลา 19.30 น. หลังเวลา 20.00 น. ทั้ง 3 คนเดินทางถึงโรงแรมหรูแห่งหนึ่งใกล้ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ 2 ชั่วโมงต่อมา ชาวสหรัฐฯ ทั้ง 2 คนได้ออกจากโรงแรม พร้อมด้วยกล่องขนาดใหญ่ 2 กล่อง…

ประเทศในเอเชียเตรียมแผนอพยพประชาชนของตนออกจาก ‘อิรัก-อิหร่าน’

Loading

In this handout photo provided by the Malacanang Presidential Photographers Division, Philippine President Rodrigo Duterte, right, talks with security officials at the Malacanang presidential palace in Manila, Jan. 5, 2020. ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ โรดริโก ดูเตอร์เต้ จัดประชุมฉุกเฉินเพื่อสั่งการให้กองทัพเตรียมส่งเรือรบและเครื่องบินทหารไปยังตะวันออกกลางเพื่ออพยพประชาชนชาวฟิลิปปินส์หลายพันคนออกจากอิรักและอิหร่านทันทีที่ได้รับคำสั่ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความกังวลของรัฐบาลประเทศในแถบเอเชียที่กลัวว่าประชาชนของตนจะได้รับผลกระทบรุนแรงจากสถานการณ์ในตะวันออกกลาง ปธน.ดูเตอร์เต้ กล่าวว่าตนค่อนข้างกังวลว่าอิหร่านจะตอบโต้สหรัฐฯ และจะเกิดความรุนแรงและการนองเลือดในตะวันออกกลาง คาดว่าปัจจุบันมีชาวฟิลิปปินส์ทำงานอยู่ในอิรักและอิหร่านมากกว่า 7,000 คน รวมทั้งที่ทำงานให้กับบริษัทของสหรัฐฯ และประเทศตะวันตกที่มีฐานอยู่ในกรุงแบกแดด นอกจากนี้ ยังมีชาวฟิลิปปินส์จำนวนมากที่ทำงานอยู่ในประเทศใกล้เคียง โดยเฉพาะซาอุดิอาระเบีย ที่คาดว่าตัวเลขรวมอาจสูงถึงหลายแสนคน โดยส่วนใหญ่ทำงานเป็นแม่บ้าน คนงานก่อสร้าง ลูกเรือ และอาชีพทักษะฝีมือระดับสูงอื่น ๆ ขณะเดียวกัน ประเทศในเอเชียที่มีประชาชนจำนวนมากไปทำงานอยู่ในตะวันออกกลางก็กำลังเตรียมการอพยพประชาชนของตนออกจากอิรักและอิหร่านเช่นกัน ด้านรัฐบาลเกาหลีใต้กำลังหารือเรื่องการใช้มาตรการปกป้องชาวเกาหลีใต้…

หลังจากการสังหารพลเอกกาเซ็ม สุไลมานี สหรัฐฯจะหลีกเลี่ยงสงครามกับอิหร่านอย่างไร

Loading

พลเอกกาเซ็ม สุไลมานี (Qasem Suleimani) ผู้บัญชาการหน่วยรบพิเศษ “คุดส์”ของอิหร่าน ที่มาภาพ : https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/ รายงานโดย ปรีดี บุญซื่อ จากการอนุมัติของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ให้กับการโจมตีด้วยเครื่องโดรนเพื่อสังหารพลเอกกาเซ็ม สุไลมานี (Qasem Suleimani) ผู้บัญชาการหน่วยรบพิเศษ “คุดส์” ของอิหร่าน ที่สนามบินแบกแดด อิรัก เมื่อวันศุกร์ที่ 3 มกราคมที่ผ่านมา กล่าวกันว่า เป็นปฏิบัติการที่อุกอาจที่สุดของสหรัฐฯ นับจากปฏิวัติของอิหร่านเมื่อปี 1979 พลเอกสุไลมานีถือเป็นบุคคลที่มีอำนาจอิทธิพลมากสุดอันดับสองของอิหร่าน และเป็นผู้บัญชาการกองกำลังคุดส์ ที่เป็นกองกำลังพิเศษในต่างประเทศของกองกำลังพิทักษ์อิสลามของอิหร่าน สุไลมานีมีบทบาทสำคัญที่กำหนดความเป็นไปต่างๆที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลาง เช่น สงครามการเมืองในซีเรีย และสร้างกองกำลังอาสาสมัครกลุ่มชีอะห์ในอิรัก เพื่อต่อสู้กับกลุ่มรัฐอิสลามหรือไอซิส พลเอกเดวิด เพทราอุส อดีตผู้อำนวยการ CIA และผู้บัญชาการทหารสหรัฐฯในอิรักปี 2007-2008 กล่าวว่า “หากจะเปรียบกับตำแหน่งในสหรัฐฯ กาเซ็ม สุไลมานีคือคนที่ดำรงตำแหน่ง ทั้งผู้อำนวยการ CIA ผู้บัญชาการหน่วยรบพิเศษ และทูตพิเศษของประธานาธิบดีต่อภูมิภาค” รัฐบาลสหรัฐฯในสมัยจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช และบารัค…

ประเทศใดบ้างอาจตกเป็นเป้าการโจมตีของอิหร่าน

Loading

Pro-Iranian militiamen and their supporters set a fire during a sit-in in front of the U.S. embassy in Baghdad, Iraq, Wednesday, Jan. 1, 2020. สถานการณ์การเมืองโลกกำลังร้อนระอุ หลังอิหร่านประกาศว่าจะแก้แค้นสหรัฐฯ ที่ใช้โดรนสังหารนายพลคนสำคัญ พลตรี กาส์เซม สุไลมานีของกองทัพอิหร่านในกรุงแบกแดดประเทศอิรัก ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐฯกล่าวว่าหากเกิดการโจมตีโดยอิหร่าน อเมริกาจะโต้กลับอย่างรุนแรงและรวดเร็ว ผู้นำสหรัฐฯกล่าวด้วยว่ากระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ระบุสถานที่ในอิหร่าน 52 แห่งที่อเมริกาตั้งเป้าไว้ เขากล่าวด้วยว่าบางแห่งเป็นสถานที่สำคัญทางวัฒนธรรม นอกจากนี้อเมริกาส่งกำลังไปยังตะวันออกกลางเพื่อปกป้องรักษาผลประโยชน์แห่งชาติในภูมิภาคดังกล่าวแล้ว นักวิเคราะห์รวมถึงเจ้าหน้าข่าวกรองและเจ้าหน้าที่การทูตต่างพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่ พันธมิตรของสหรัฐฯประเทศต่างๆ อาจจะถูกโจมตีโดยอิหร่านได้ด้วยเช่นกัน President Donald Trump holds up a sign given to him by a supporter…