ร่างกายฉัน แต่ DNA นั้นของใคร? การสืบสวนจะเป็นอย่างไรเมื่อ DNA ของคนอื่นอยู่ในตัวเรา

Loading

Chris Long credit : The New York Times (Tiffany Brown Anderson) ลองจินตนาการว่าวันหนึ่งเราไปตรวจเลือดเพื่อวินิจฉัยโรค แต่กลับพบว่า ดีเอ็นเอในเลือดนั้นไม่ใช่ของเราเพียงคนเดียว แต่มีของเพื่อนร่วมงาน คนข้างบ้าน หรือคนแปลกหน้าที่อยู่ถัดไปอีกหมู่บ้านหนึ่งซึ่งไม่เคยพบกันมาก่อนปะปนอยู่ด้วย! เรื่องแบบนี้มันเกิดขึ้นได้จริงๆ น่ะเหรอ? หรืออาจจะไม่ต้องจินตนาการแล้วก็ได้ เพราะเหตุการณ์นี้ได้เกิดขึ้นจริงกับผู้ป่วยโรคลูคีเมียคนหนึ่ง ที่เคยเข้ารับการบริจาคไขกระดูก ซึ่งเป็นเหตุให้ร่างกายของเขาได้รับดีเอ็นเอของใครบางคนมาโดยไม่รู้ตัว เรื่องนี้ถูกเผยแพร่ลงใน New York Times โดย คริส ลอง (Chris Long) ชายคนหนึ่งในเมืองรีโน รัฐเวเนดา ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า ดีเอ็นเอในเลือดของเขาเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้ก็คือการ ‘ถูกแทนที่’ ด้วยดีเอ็นเอของคนคนหนึ่ง ซึ่งพวกเขาไม่เคยรู้จักหรือพบหน้ากันมาก่อน หลังจากที่ คริส ได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูกเมื่อ 4 ปีก่อนเพื่อช่วยผลิตเม็ดเลือดให้กับร่างกาย เขาก็ได้รับการตรวจเลือดอีกครั้งหนึ่ง และสิ่งที่น่าตกใจก็คือ แม้ขนอกและผมยังมีดีเอ็นเอของเขาอยู่ แต่ในเลือดบริเวณเยื่อบุแก้ม ลิ้น และริมฝีปากของเขา กลับพบดีเอ็นเอของคนอื่น แม้กระทั่งในน้ำอสุจิด้วยก็ตาม ซึ่งภายหลังก็ทราบว่าดีเอ็นเอนั้นเป็นของชายชาวเยอรมันที่เป็น ‘ผู้ให้บริจาค’ ไขกระดูกแก่เขา…

แฮ็คเกอร์รัฐบาลเวียดนามโจมตีไทย ล้วงความลับทางธุรกิจยักษ์ใหญ่

Loading

สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่ากลุ่มแฮ็คเกอร์ชาวเวียดนามกำลังเรียนรู้ยุทธศาสตร์การทำสงครามไซเบอร์แบบเดียวกับที่จีนทำ โดยใช้การโจมตีทางไซเบอร์ที่ซับซ้อนมากขึ้น เพื่อสอดแนมคู่แข่งและช่วยให้เวียดนามสามารถไล่ตามคู่แข่งทั่วโลกได้ บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ CrowdStrike Inc. เผยว่า ในช่วงสองปีที่ผ่านมา มีกลุ่มแฮ็คเกอร์ที่คาดมีความเกี่ยวข้องกับรัฐบาลเวียดนามและรู้จักกันในชื่อ APT32 ได้ทำการจารกรรมไซเบอร์มากขึ้นโดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงการขโมยทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเป็นพฤติกรรมในลักษณะเดียวกันกับที่แฮ็คเกอร์ชาวจีนทำกันอยู่ จากข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญหลายรายระบุว่า อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นเป้าหมายสำคัญของ APT32 นักวิจัยที่จับตาเรื่องนี้อยู่แต่ไม่ขอเปิดเผยชื่อระบุว่ากลุ่ม APT32 สร้างโดเมนปลอมของ Toyota Motor Corp และ Hyundai Motor Co. เพื่อพยายามแทรกซึมเครือข่ายของผู้ผลิตรถยนต์ ในเดือนมีนาคมโตโยต้าค้นพบว่าบริษัทสาขาในเวียดนามและไทยตกเป็นเป้าหมาย รวมถึงบริษัทสาขาในญี่ปุ่นคือ Toyota Tokyo Sales Holdings Inc ในเรื่องนี้โฆษกของบริษัทคือไบรอัน ลีออนส์เป็นผู้เปิดเผย และยังมีพนักงานของโตโยต้าอีกคนหนึ่ง (ซึ่งร้องขอไม่ให้เปิดเผยตัวตน) ยืนยันว่ากลุ่มแฮ็ค APT32 เป็นผู้ลงมือ เวียดนามยังมุ่งเป้าไปที่ธุรกิจอเมริกันที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจของเวียดนาม รวมถึงอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นเวลาหลายปีจากข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญแอนดรูว์ กร็อตโต แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการอาวุโสด้านนโยบายความมั่นคงทางไซเบอร์ของสภาความมั่นคงแห่งชาติตั้งแต่ปลายปี 2558 ถึงกลางปี 2560 เขากล่าวว่า มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ในด้านการคุกคามทางไซเบอร์และผู้ที่เข้ามามีบทบาทในกิจกรรมนี้ยังเก่งขึ้นเรื่อยๆ กร็อตโต ยังกล่าวว่า…

ส.ส.แฉ ‘ประธานาธิบดีไต้หวัน’สั่งติดตั้งจรวดที่ออฟฟิศ ด้วยความหวาดกลัวจีน

Loading

(ภาพจากแฟ้มถ่ายเมื่อ 2 มกราคม 2019) ประธานาธิบดีไช่ อิงเหวิน ของไต้หวัน ขณะแถลงข่าวที่ทำเนียบประธานาธิบดีในกรุงไทเป Taiwan leader has missiles at office: lawmakerBy KG Chan สมาชิกสภานิติบัญญัติไต้หวันผู้หนึ่งกล่าวทางรายการทีวีของสถานีโทรทัศน์ทางการจีนว่า ประธานาธิบดีไช่ อิงเหวิน มีอาวุธอย่างเครื่องยิงจรวดต่อต้านรถถัง อยู่ใกล้ๆ สำนักงานของเธอในกรุงไทเป เผื่อเอาไว้รับมือกรณีที่จีนยกกำลังเข้ารุกราน ผู้นำไต้หวันออกคำสั่งให้ติดตั้งพวกอาวุธจรวดขีปนาวุธเอาไว้ใกล้ๆ สำนักงานของเธอ เผื่อรับมือในกรณีที่ปักกิ่งเปิดการโจมตี สมาชิกสภานิติบัญญัติไต้หวันผู้หนึ่งบอกกล่าวเล่าเรื่องนี้ทางสถานีโทรทัศน์ของทางการจีน ประธานาธิบดีไช่ อิงเหวิน ของไต้หวัน รู้สึกเสียขวัญมากจากการที่กองทัพปลดแอกประชาชนจีนประกาศจะทำการ “โจมตีแบบมุ่งเด็ดหัว” (decapitation strikes) จนกระทั่งเธอออกคำสั่งให้นำเอาพวกอาวุธจรวดขีปนาวุธมาเข้าประจำการใกล้ๆ ตัวเธอ โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนการซึ่งร่างกันขึ้นมาเมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อเสริมสร้างทำให้สำนักงานและบ้านพักของเธอในกรุงไทเปอยู่ในสภาพ “ป้อมค่าย” สมาชิกสภาไต้หวันผู้นี้บอกกับสถานีโทรทัศน์ชั้นนำของจีนแผ่นดินใหญ่ สมาชิกสภานิติบัญญัติไต้หวันที่ออกมากล่าวอ้างเรื่องนี้ชื่อ ชิว อี้ (Chiu Yi) เขาปรากฏตัวเป็นประจำในรายการกระแสข่าวเกี่ยวกับไต้หวัน ทางสถานีโทรทัศน์ส่วนกลาง (ซีซีทีวี) ของทางการจีน (ภาพถ่ายจากจอทีวี) ชิว อี้ สมาชิกสภาไต้หวัน…

“สหรัฐ”สถาปนา”กองทัพอวกาศ” อย่างเป็นทางการ

Loading

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ สถาปนากองทัพอวกาศ ให้เป็นกองกำลังที่ 6 ภายใต้สังกัดกองทัพสหรัฐอย่างเป็นทางการ เพื่อพิทักษ์ “ผลประโยชน์ของชาติ” ที่อยู่ในอวกาศ ซึ่งเป็น “แนวรบใหม่” สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.ว่าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ลงนามใน “กฎหมายการจัดการอำนาจความมั่นคงแห่งชาติ ( เอ็นดีเอเอ ) 2020” ที่ฐานทัพร่วมเรือ-อากาศแอนดรูว์ส ในรัฐแมริแลนด์ ริมชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา กฎหมายดังกล่าวรวมถึงงบประมาณ 738,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ( ราว 22.29 ล้านล้านบาท ) ที่สภาคองเกรสอนุมัติให้ในสัปดาห์นี้ สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายด้านความมั่นคงประจำปีงบประมาณ 2563 ซึ่งการจัดสรรงบประมาณความมั่นคงในปีงบประมาณล่าสุดมีสัดส่วนเกินครึ่งของงบประมาณทั้งหมดที่สภาคองเกรสรับรอง คือ 1.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ( ราว 42.29 ล้านล้านบาท ) ทั้งนี้ หนึ่งในสาระสำคัญของกฎหมายเอ็นดีเอเอคือการจัดตั้ง “กองทัพอวกาศ” เป็นกองกำลังที่ 6 ของกองทัพสหรัฐ นอกจากกองทัพบก กองทัพเรือ…

‘ยูเนสโก’ ขยายโครงการหนังสือเดินทางรับรองคุณสมบัติผู้ลี้ภัย

Loading

องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม ของสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก กำลังขยายโครงการที่เรียกว่า “Qualification Passport” หรือการให้หนังสือเดินทางรับรองผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม เพื่อให้ผู้ลี้ภัยเหล่านั้นสามารถศึกษาและทำงานในประเทศอื่นได้อย่างถูกต้อง หลายครั้งที่ผู้ลี้ภัยจำนวนมากซึ่งไปอาศัยอยู่ในประเทศอื่น ไม่มีโอกาสได้รับการศึกษาในระดับสูงเหมือนกับที่เคยศึกษาอยู่ในประเทศบ้านเกิด หรือไม่สามารถหางานทำที่เหมาะสมกับทักษะฝีมือของพวกเขาในประเทศใหม่ที่พวกเขาลี้ภัยไปอาศัยอยู่ สาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งเป็นเพราะพวกเขาไม่มีใบรับรองการศึกษา หรือใบรับรองทักษะฝีมือการทำงานสำหรับนายจ้างในประเทศใหม่ ด้วยเหตุนี้ องค์การยูเนสโกจึงได้จัดให้มีโครงการที่ชื่อว่า “Qualification Passport” หรือการให้หนังสือเดินทางรับรองผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม ซึ่งช่วยออกเอกสารที่เป็นมาตรฐานสากล ระบุข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ลี้ภัยผู้นั้น รวมถึงประสบการณ์การทำงาน ระดับการศึกษา และภาษาที่ใช้ได้คล่องแคล่ว คุณสเตฟานี จิอันนินี ผู้ช่วยผู้อำนวยการยูเนสโก ฝ่ายกิจการการศึกษา กล่าวว่า จุดประสงค์ของโครงการนี้คือการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยที่ไม่มีเอกสารรับรองความสามารถหรือความสำเร็จที่เคยมีมาในประเทศบ้านเกิด คุณจิอันนินี กล่าวว่า ผู้ลี้ภัยที่ไม่มีเอกสารสำคัญติดตัวก็เหมือนสูญเสียส่วนสำคัญในชีวิตของพวกเขาไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นความเชี่ยวชาญ ความสามารถ หรือความรู้ โครงการนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อช่วยคนเหล่านั้น และยังเป็นการช่วยเหลือประเทศที่รับผู้ลี้ภัยเข้าไปอาศัยให้สามารถใช้ประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรมนุษย์เหล่านั้น คุณอันวาร์ โฮรานี ผู้ลี้ภัยชาวซีเรีย คือผู้ได้รับหนังสือเดินทางแบบรับรองคุณสมบัตินี้ชุดแรก ๆ เธอจบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขากายภาพบำบัดที่เมือง Homs เมื่อปี ค.ศ. 2016 และต้องลี้ภัยสงครามหลังจากนั้น เธอใช้เวลา 1…

เศรษฐกิจ ‘แคว้นแคชเมียร์’ หยุดชะงัก หลังรัฐบาลอินเดียตัดอินเทอร์เน็ต

Loading

FILE PHOTO: A Kashmir girl rides her bike past Indian security force personnel standing guard in front closed shops in a street in Srinagar, October 30, 2019. REUTERS/Danish Ismail/File Photo มาตรการตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ตในแคว้นจัมมูและแคว้นแคชเมียร์ของอินเดีย ตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของชุมชนต่าง ๆ ในแคว้นดังกล่าว และทำให้มีคนตกงานหลายพันคน ตามรายงานขององค์กรสิทธิมนุษยชนหลายกลุ่ม องค์กร Access Now ซึ่งติดตามตรวจสอบสถานการณ์ในแคว้นแคชเมียร์มาตั้งแต่เกิดการประท้วงเรื่องการยกเลิกสถานะการปกครองตนเองเมื่อหลายเดือนก่อน ระบุว่า “การที่ดินแดนนี้ถูกตัดขาดจากโลกภายนอกในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา กำลังสร้างความเสียหายอย่างหนักต่อชุมชนท้องถิ่น” รัฐบาลอินเดียยืนยันว่า มาตรการตัดอินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการป้องกันการโจมตีของผู้ก่อการร้าย แต่นักวิเคราะห์หลายคนเชื่อว่าเป็นมาตรการที่รัฐนำมาใช้เพื่อป้องกันการปลุกระดมผ่านโลกออนไลน์ ซึ่งจะนำไปสู่การประท้วงครั้งใหญ่มากกว่า คุณชี้ค อาชิก ประธานหอการค้าแคชเมียร์ กล่าวว่า มีชาวแคชเมียร์ตกงานมากขึ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมสินค้าทำมือต่าง ๆ…