ฝึกต่อต้านก่อการร้ายไทย-จีน ครั้งประวัติศาสตร์

Loading

กองทัพไทย-จีน ปิดการฝึกภาคสนามของคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านการต่อต้านการก่อการร้ายฯ ที่สาธารณประชาชนจีน หลังผ่านการฝึกที่เข้มข้นเพื่อรับมือสถานการณ์ก่อการร้าย วันนี้ (22 พ.ย.2562) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวานนี้ (21พ.ย.62) พล.อ.พรพิพัฒน์ เบญญศรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ พล.อ.Li Zuocheng เสนาธิการกรมกิจการเสนาธิการร่วม คณะกรรมาธิการกลางการทหาร กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน (PLA) เป็นประธานร่วมในพิธีปิดการฝึกภาคสนามของคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านการต่อต้านการก่อการร้าย ภายใต้กรอบการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนและรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน การฝึกครั้งนี้ สามารถพัฒนาระบบเตรียมกำลังรบและการพัฒนากลไกการปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายตามระเบียบปฏิบัติประจำของกองกำลังร่วมผสมการต่อต้านการก่อการร้ายในเมืองให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ทำให้ประเทศสมาชิกได้เข้าใจถึงกระบวนการปฏิบัติของกำลังร่วมผสม ตั้งแต่ระดับนโยบายจนถึงระดับปฏิบัติการ นำไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุภารกิจอย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันอย่างเข้มแข็ง ทั้งนี้จะส่งผลให้ประเทศสมาชิกมีความพร้อมในการรับมือกับภัยคุกคามจากภัยการก่อการร้าย และภัยคุกคามในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในศักยภาพของการแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายให้แก่ประชาคมโลก เพื่อความสงบสุขและความมั่นคงในภูมิภาค เสริมสร้างความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศคู่เจรจาอย่างยั่งยืน การฝึกภาคสนามของคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านการต่อต้านการก่อการร้ายครั้งนี้ กองทัพไทยและกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน (PLA) ร่วมจัดการฝึกขึ้น ณ เฟ็งหลิน เทรนนิ่ง ฟิลด์ เขตหยางฉาน เมืองกุ้ยหลิน สาธารณรัฐประชาชนจีน มีกำลังพลเข้าร่วมการฝึกจาก 18 ประเทศ รวม 855 นาย โดยกองทัพไทยส่งกำลังพลเข้าร่วมการฝึก 101 นาย…

แบงค์ใหญ่อันดับ 2 ของออสเตรเลียถูกกล่าวหาฟอกเงิน-สนับสนุนกลุ่มก่อการร้าย

Loading

A pedestrian looks at his phone as he walks past a logo for Australia’s Westpac Banking Corp located outside a branch in central Sydney, Australia, November 5, 2018. REUTERS/David Gray ธนาคารใหญ่อันดับสองของออสเตรเลีย Westpac ถูกกล่าวหาว่าละเมิดกฎหมายต่อต้านการฟอกเงินและต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินให้แก่กลุ่มก่อการร้าย รวม 23 ล้านกรณี ผู้ตรวจสอบของรัฐบาลออสเตรเลียกล่าวหาว่า ธนาคาร Westpac ยินยอมให้องค์กรจากหลายประเทศ รวมทั้ง อิรัก เลบานอน ซิมบับเว และสาธารณรัฐคองโก เข้าถึงภาคการเงินของออสเตรเลียโดยไม่มีการตรวจสอบที่เหมาะสม ซึ่งเปิดโอกาสให้กลุ่มอาชญากรหรือผู้ก่อการร้ายสามารถโอนถ่ายเงินเข้าและออกจากออสเตรเลียได้ ศูนย์วิเคราะห์และรายงานธุรกรรมการเงินของออสเตรเลีย หรือ AUSTRAC ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบอาชญากรรมด้านการเงิน กล่าวหาด้วยว่า Westpac ล้มเหลวในการตรวจสอบธุรกรรมการเงินที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหาประโยชน์จากเด็กในฟิลิปปินส์และประเทศในอาเซียน และยังอนุญาตให้มีการสั่งจ่ายเงินอย่างน่าสงสัยจากผู้ที่ถูกตัดสินว่าละเมิดทางเพศต่อเด็กจำนวนมากด้วย…

ชายอินเดียปลอมเป็นนักบินเพื่อขึ้นบินไว-อ้างซื้อบัตรเก๊ในไทย

Loading

อีกกรณีปลอมตัวอย่างน่าตื่นตะลึงที่อินเดีย เดินทางบ่อย ไม่อยากรอนาน ซื้อชุดนักบินมาใส่เลยง่ายๆ นายราจัน มาห์บูบานี เจ้าของบริษัทที่ปรึกษาแห่งหนึ่งในกรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย ถูกจับกุมที่สนามบินนานาชาติอินทรา คานธี เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (19 พ.ย.) หลังพบว่าเขาปลอมตัวแต่งเป็นนักบินสายการบิน ลุฟต์ฮันซา ของเยอรมนี นักธุรกิจวัย 49 ปีรายนี้ กำลังจะขึ้นเครื่อง แอร์เอเชีย ไปยังนครโกลกาตา ในคราบนักบินและมีบัตรประจำตัวด้วย แต่เจ้าหน้าที่สายการบินเอร์เอเชีย โทรศัพท์ไปยังสำนักงานลุฟต์ฮันซา เพื่อขอคำยืนยันการเดินทางของนักบินต้องสงสัย และเมื่อเจอกับเจ้าหน้าที่ลุฟต์ฮันซาที่รุดไปตรวจสอบที่บอร์ดดิง เกต นายราจันก็ยอมรับว่าปลอมตัว ผลสอบสวนพบว่า นายราจัน เดินทางโดยเครื่องบินบ่อยครั้ง และใช้การปลอมตัวเป็นนักบิน เป็นทางลัด เลี่ยงการผ่านด่านรักษาความปลอดภัยตามขั้นตอนปกติ อินเดีย ทูเดย์ รายงานเพิ่มเติม นายราจันแต่งชุดนักบินขึ้นเครื่องอย่างน้อย 15 เที่ยว ใช้ผ่านทางที่สนามบินโกลกาตา และนิวเดลี ในช่วง 6 เดือน ก่อนถูกจับได้ และด้วยเครื่องแบบกัปตัน ยังทำให้เขาได้อภิสิทธิ์อื่นอีกหลายอย่าง เช่น ขึ้นเครื่องได้เลยไม่ต้องต่อแถวรอคิว การดูแลบนเครื่องบิน โอกาสได้รับการอัพเกรดที่นั่งโดยไม่ต้องจ่ายเพิ่ม หรือแม้แต่เข้าไปถ่ายรูปในห้องนักบินได้ นักบินกำมะลอ…

นิวยอร์กไทม์เปิดเอกสารลับซินเจียง รัฐบาลจีนคุมขังชาวอุยกูร์ในค่ายกักกัน

Loading

ตลาดการค้าที่เมืองคาชการ์ เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ เมื่อ ค.ศ. 1986 (ที่มา: แฟ้มภาพ/Flickr/Urban J. Kinet/UC Berkeley, Department of Geography) นิวยอร์กไทม์เปิดโปงเอกสารลับ ‘ซินเจียงเปเปอร์ส’ ซึ่งระบุถึงคำสั่งของผู้นำจีนให้ใช้ “กลไกเผด็จการ” กวาดต้อนจับกุมชาวมุสลิมในซินเจียงจำนวนมากเข้าค่ายกักกันปรับทัศนคติ ซึ่งจีนอ้างว่าเป็นเพียง “ศูนย์ฝึกวิชาชีพ” นอกจากนี้เอกสารลับยังระบุถึงแนวทางในการกดดันนักศึกษาที่กลับบ้านเกิดในซินเจียงแล้วสงสัยเรื่องที่ครอบครัว-เพื่อนบ้านหายไปให้เงียบ รวมถึงการปราบปรามเจ้าหน้าที่ผู้ขัดขืนนโยบาย เป็นอีกหนึ่งหลักฐานที่บ่งชี้ว่าค่ายกักกันในซินเจียงมีอยู่จริง นักศึกษาในประเทศจีนตีตั๋วกลับบ้านในช่วงปิดเทอมเพื่อพักผ่อนหลังการสอบ และหวังจะได้ใช้วันหยุดฤดูร้อนไปกับครอบครัวที่อาศัยอยู่ในทางตะวันตกของจีน แต่ทว่าเมื่อเขากลับไปถึงบ้านก็พบพ่อแม่กับญาติพี่น้องหายไปกันหมด เพื่อนบ้านของเขาทุกคนก็หายไปด้วย เพราะทั้งหมดถูกคุมขังอยู่ในสถานกักกันที่ใช้ควบคุมตัวชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ เมื่อไม่นานนี้ สื่อนิวยอร์กไทม์นำเสนอเอกสารลับที่รั่วไหลของทางการจีนเกี่ยวกับค่ายกักกันชนกลุ่มน้อยในซินเจียงซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวอุยกูร์ โดยเอกสารความยาว 403 หน้า ที่ถูกนำมาเปิดโปงนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับคำสั่งชี้แนะของทางการต่อเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่นว่าพวกเขาควรจะปฏิบัติอย่างไรกับนักเรียนนักศึกษาที่กลับจากการไปเรียนในเมืองอื่นๆ และบีบให้นักเรียนนักศึกษาเหล่านี้เงียบลงได้อย่างไร โดยเริ่มต้นจากข้อสงสัยที่ผู้เดินทางกลับมาน่าจะสงสัยมากที่สุดคือ ครอบครัวของพวกเขาหายไปไหน เอกสารดังกล่าวนี้มีความสำคัญในแง่ที่ว่ารัฐบาลจีนพยายามปฏิเสธข้อวิพากษ์วิจารณ์จากประชาคมโลกเสมอมาว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในซินเจียงเป็นค่ายกักกัน แต่ทางการจีนอ้างว่าค่ายเหล่านี้เป็น “ศูนย์ฝึกพัฒนาวิชาชีพ” เพื่อต่อต้านแนวคิดหัวรุนแรง อย่างไรก็ตามเอกสารที่รั่วไหลนี้แสดงให้เห็นว่าทางการจีนใช้วีธีในเชิงข่มขู่คุกคามผ่านคำสั่งสู่เจ้าหน้าที่ทางการ ถึงแม้ว่านักเรียนนักศึกษาที่กลับบ้านเกิดจะรู้สึกกังวลว่าเมื่อพ่อแม่เขาถูกพาตัวไปแล้วใครจะเป็นคนส่งเสียค่าเล่าเรียนของพวกเขา และไร่นาที่บ้านใครจะเป็นคนดูแล แต่เจ้าหน้าที่ทางการกลับถูกสั่งจากรัฐบาลกลางให้บอกผู้คนที่ร้องทุกข์เหล่านี้ว่าขอให้พวกเขาซาบซึ้งในบุญคุณของความช่วยเหลือจากพรรคคอมมิวนิสต์และขอให้พวกเขาเงียบในเรื่องนี้ นิวยอร์กไทม์ระบุว่า เอกสารที่รั่วไหลนี้ชี้ให้เห็นว่าจีนมีกลไกลับๆ ในการดำเนินค่ายกักกันที่กินจำนวนประชากรเป็นวงกว้างที่สุดนับตั้งแต่ยุคสมัยของเหมาเจ๋อตุง เนื้อหาหลักๆ ในเอกสารเหล่านี้เปิดเผยว่า ประธานาธิบดีสีจิ้นผิง เป็นคนที่วางรากฐานในการปราบปรามชาวอุยกูร์ โดยมีคำพูดของเขาที่แนะนำต่อเจ้าหน้าที่หลังจากที่เคยมีเหตุการณ์กลุ่มติดอาวุธอุยกูร์สังหารคนไป 31 คน…

เวียดนามจำคุกครูดนตรีนักเคลื่อนไหวในข้อหา ‘บ่อนทำลายประเทศ’

Loading

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า ทางการเวียดนามได้มีคำตัดสินจำคุกครูสอนดนตรีผู้หนึ่งเป็นเวลา 11 ปี ในวันศุกร์ หลังจากที่เขาโพสต์ข้อความในเฟสบุ๊กที่รัฐบาลมองว่าเป็นการบ่อนทำลายประเทศ ถือเป็นกรณีล่าสุดที่รัฐบาลเวียดนามจับกุมคุมขังประชาชนที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ซึ่งมีการแสดงความเห็นที่แหลมคมและสุ่มเสี่ยงมากกว่าสื่อกระแสหลักที่ถูกควบคุมอย่างเข้มวงดโดยรัฐบาล ครูสอนดนตรีระดับมหาวิทยาลัยวัย 42 ปีผู้นี้มีชื่อว่า เหงียน นาง ตินห์ ซึ่งเขาโพสต์ข้อความและรูปภาพเกี่ยวกับการกระทำที่รุนแรงของตำรวจเวียดนาม สิทธิในที่ดิน และปัญหาสารเคมีปนเปื้อนในทะเลซึ่งเกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างชาติ เขาถูกทางการกล่าวหาว่าเผยแพร่เนื้อหาต่อต้านรัฐ และมีแนวคิดที่เป็นศัตรูต่อรัฐ โดยเขาถูกตัดสินจำคุก 11 ปี และภาคทัณฑ์อีก 5 ปี และในวันเดียวกันนี้ มีรายงานว่าสตรีนักเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลชาวเวียดนามผู้หนึ่งได้หายตัวไปจากสนามบินฮานอย ขณะเดินทางกลับมาจากประเทศไทย ดินห์ เทา อาศัยอยู่กับสามีในต่างประเทศ และทำงานให้กับองค์กรทางสัมคมแห่งหนึ่งของเวียดนาม สามีของเธอบอกกับ AFP ว่าเธอเดินทางกลับไปเวียดนามเพื่อช่วยเหลือนักรณรงค์อีกผู้หนึ่ง แต่เธอหายตัวไปจากสนามบินหลังจากเดินทางมาถึง โดยข้อความสุดท้ายที่เธอส่งไปให้เขาจากสนามบินฮานอย ระบุว่ามีตำรวจอยู่ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองที่สนามบินแห่งนั้นหลายคน รัฐบาลเวียดนามถูกกล่าวหาว่าพยายามปราบปรามคนที่เห็นต่างกับรัฐบาล ตั้งแต่ผู้นำชุดใหม่ที่มีแนวคิดอนุรักษ์นิยมขึ้นปกครองประเทศเมื่อ 3 ปีก่อน และเมื่อปีที่แล้ว รัฐสภาเวียดนามได้ผ่านกฎหมายความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ตฉบับใหม่ ซึ่งกำหนดให้สื่ออนไลน์ เช่น Facebook และ YouTube ต้องลบเนื้อหาบางอย่างหากรัฐบาลเห็นว่าไม่เหมาะสม และต้องจัดเก็บข้อมูลของผู้ใช้ไว้ในเซิร์ฟเวอร์ที่เวียดนามด้วย องค์กรนิรโทษกรรมสากลระบุว่า เวลานี้มีนักโทษการเมืองอย่างน้อย…

รายงานเผย เจ้าหน้าที่ระดับสูงรัสเซียติดต่อกับกบฏยูเครนที่เป็นผู้ต้องสงสัยยิงเที่ยวบิน MH17 ตก

Loading

ทีมสืบสวนร่วมนานาชาติ (JIT) นำโดยเนเธอร์แลนด์ แถลงวานนี้ (14 พฤศจิกายน) ถึงความคืบหน้าในการสืบสวนสาเหตุการตกของเที่ยวบิน MH17 ของสายการบิน Malaysia Airlines ที่ประสบเหตุตกในพื้นที่ขัดแย้งทางตะวันออกของยูเครน เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2014 จนส่งผลให้ผู้โดยสารและลูกเรือ 298 คน เสียชีวิตทั้งหมด จากการตรวจสอบหลักฐานใหม่ที่ได้จากการดักฟังโทรศัพท์โดยหน่วยข่าวกรอง SBU ของยูเครน พบการติดต่อระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัสเซียกับผู้นำหลายคนของกลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดนสาธารณรัฐประชาชนโดเนตสค์ (DPR) ซึ่งในจำนวนนี้อย่างน้อย 2 คนตกเป็นผู้ต้องสงสัยที่ก่อเหตุโจมตีเที่ยวบิน MH17 และถูกตั้งข้อหาฆาตกรรมผู้โดยสารและลูกเรือของเที่ยวบิน นอกจากนี้ยังพบว่าเจ้าหน้าที่ของรัสเซียทราบว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นในพื้นที่ และยังมีอิทธิพลต่อกลุ่มกบฏ DPR ทั้งในเรื่องการบริหารจัดการ การเงิน และการทหาร ขณะที่พบว่าการติดต่อระหว่างรัสเซียและผู้นำกลุ่มกบฏมีความถี่ขึ้นในช่วงหลังเดือนกรกฎาคม 2014 ซึ่งหลักฐานทั้งหมดชี้ให้เห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับกลุ่มกบฏนั้นมีความใกล้ชิดกว่าที่มีการคาดการณ์ไว้ “มีการโทรศัพท์ติดต่อระหว่างผู้นำกลุ่มกบฏ DPR และเจ้าหน้าที่รัสเซียเกือบทุกวัน พวกเขาพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ในมอสโก ใกล้ชายแดนยูเครนและในสาธารณรัฐไครเมีย การสื่อสารส่วนใหญ่เกิดขึ้นผ่านโทรศัพท์ที่มีระบบป้องกัน ซึ่งได้จากหน่วยงานความมั่นคงของรัสเซีย” ทีมสืบสวนกล่าว เมื่อปีที่ผ่านมา ทีมสืบสวนเคยเปิดเผยหลักฐานบ่งชี้ว่าเที่ยวบิน MH17 อาจถูกโจมตีจากระบบขีปนาวุธ BUK-TELAR และพบว่ากลุ่มกบฏ DPR ได้ระบบขีปนาวุธดังกล่าวมาจากหน่วยขีปนาวุธต่อต้านอากาศยานที่ 53 ของรัสเซีย…