ชิลีจำใจถอนตัวเจ้าภาพประชุม APEC หลังเกิดเหตุประท้วงรุนแรงในประเทศ

Loading

ชิลี – ชิลีประกาศในวันพุธ (30 ต.ค.) ขอถอนตัวจากการเป็นเจ้าภาพการประชุมซัมมิตนานาชาติสำคัญ 2 รายการ ประกอบด้วยเอเปกและการประชุมกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในขณะที่พวกเขากำลังพยายามคืนความสงบเรียบร้อยแก่บ้านเมือง ท่ามกลางเหตุปะทะระหว่างพวกผู้ประท้วงกับกองกำลังด้านความมั่นคงที่คร่าชีวิตแล้วอย่างน้อย 20 ศพ เซบาสเตียน พิเนรา ประธานาธิบดีชิลีระบุว่ามันเป็นสามัญสำนึกที่ต้องตัดสินใจถอนตัวจากการเป็นเจ้าภาพประชุมซัมมิตความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) และการประชุมกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 25 (COP25) ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐฯบอกว่าเขามีแผนพบปะกับ สี จิ้นผิง ผู้นำจีน เพื่อหาทางลงเอยข้อตกลงการค้า “เฟส1” ระหว่างร่วมประชุมเอเปกในวันที่ 16-17 พฤศจิกายนนี้ ในขณะที่มันจะช่วยยุติสงครามการค้าระหว่างสองชาติเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่ที่สุดของโลกที่ยืดเยื้อมานานกว่า 18 เดือนลงบางส่วน อย่างไรก็ตามหลังการประท้วงบนท้องถนนที่ยืดเยื้อมา 10 วันและลุกลามบานปลายเข้าสู่ความรุนแรง พิเนรายอมรับว่าชิลีไม่อยู่ในฐานะที่จำเป็นเจ้าภาพได้ ทั้งการประชุมเอเปกและ COP25 ซึ่งกำหนดไว้ในวันที่ 2-13 ธันวาคม “มันเป็นการตัดสินใจที่ยากลำบากอย่างยิ่ง มันเป็นการตัดสินใจที่เจ็บปวดอย่างสาหัส เพราะเรารู้ว่าการประชุมเอเปกและ COP มีความสำคัญกับชิลีและกับโลกใบนี้มากแค่ไหน” เขากล่าว อย่างไรก็ตามพิเนราบอกว่ามันเป็นสามัญสำนึกที่เขาต้องตระหนักว่าเขามีเรื่องสำคัญอื่นๆให้ดำเนินการ “เมื่อพ่อของคุณมีปัญหา ประเด็นครอบครัวต้องมาก่อนทางเลือกอื่นๆเสมอ เช่นเดียวกับผู้เป็นประธานาธิบดี เขาต้องให้ความสำคัญกับเพื่อนร่วมชาติก่อนเสมอ ก่อนจะไปคำนึงถึงเรื่องอื่นๆ” เขากล่าว…

กลุ่มรัฐอิสลามจะทำอย่างไรต่อไป หลังขาดผู้นำ

Loading

ภายใต้การนำของอาบู บาการ์ อัล-บักห์ดาดี กลุ่มรัฐอิสลาม (Islamic State–IS) ที่นิยมใช้ความรุนแรงแบบสุดโต่ง ได้พัฒนาจากกลุ่มก่อความไม่สงบ กลายเป็นกลุ่มติดอาวุธที่น่าหวาดกลัวและยากที่จะกำราบมากที่สุดในโลก ไอเอส ได้ขยายอิทธิพลข้ามทวีปจากแอฟริกาไปจนถึงออสเตรเลีย แต่หลังจากการเสียชีวิตของหัวหน้ากลุ่ม ไอเอส จะเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ อย่างไร รีบหาผู้สืบทอดตำแหน่ง ผู้นำไอเอสคนอื่น ๆ คงคิดไว้นานแล้วว่า วันนี้จะมาถึง ทางกลุ่มคงต้องการแสดงให้เห็นถึงพลังของตัวเอง และส่งสัญญาณต่อบรรดาสาวกว่า “ไอเอสยังอยู่” แม้ว่า เสียศูนย์ไปบ้างจากการสูญเสียผู้นำคนสำคัญ คณะกรรมการชูรา ซึ่งประกอบด้วยผู้นำอาวุโสที่เป็นผู้ชายทั้งหมด คงพิจารณาบุคคลที่เหมาะสมจำนวนหนึ่งไว้แล้ว คุณสมบัติแรกที่ผู้นำกลุ่มไอเอสจะต้องมีก็คือ การภักดีต่อไอเอสอย่างไร้ข้อสงสัย มีความสามารถในการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ที่ผ่านการพิสูจน์แล้ว มีประวัติทางด้านศาสนาที่สมบูรณ์แบบ มีประสบการณ์ในการสู้รบมาบ้าง และบางทีอาจจะเป็นที่เลื่องลือในการสั่งลงโทษที่โหดเหี้ยมด้วย ไอเอสเกิดจากการรวมตัวกันที่แปลกประหลาดระหว่างนักรบญิฮาดที่สุดโต่ง กับอดีตสมาชิกกองทัพและหน่วยข่าวกรองที่รู้จักกันในชื่อ บาทิสต์ส (Baathists) ของนายซัดดัม ฮุสเซน อดีตผู้นำอิรัก บาทิสต์สรับผิดชอบเรื่องการจัดหาอาวุธ วัตถุระเบิด สนับสนุนงานด้านข่าวกรองและการวางแผน เพราะไม่มีใครรู้จักอิรักดีไปกว่าพวกเขา ขณะที่บรรดานักรบญิฮาดจะก่อเหตุที่บ้าคลั่งและจัดหาอาสาสมัครมือระเบิดฆ่าตัวตาย ผู้ที่สืบทอดตำแหน่งต่อจากบักห์ดาดี น่าจะเป็นคนที่มีสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับทั้งสองข้างของสมการนี้ ไอเอสน่าจะรู้สึกเจ็บปวดกับการสูญเสียบักห์ดาดีไปสักพักหนึ่ง ตอนที่นักรบญิฮาดทั่วโลกประกาศสวามิภักดิ์ต่อไอเอส ก็ถือว่าพวกเขาสวามิภักดิ์ต่อบักห์ดาดีด้วย และเรียกเขาว่า “กาหลิบอิบราฮิม” (Caliph Ibrahim)…

ชะตากรรม ‘กลุ่มไอซิส’ หลังการเสียชีวิตของผู้นำสูงสุด

Loading

สหรัฐฯ ยืนยันว่าจะไม่มีการฟื้นกำลังของกลุ่มรัฐอิสลาม หรือ ISIS ขึ้นมาอีก หลังการเสียชีวิตของนายอาบู อัคร์ อัล-แบกห์ดาดี เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์หลายคนเตือนว่า กลุ่มไอซิสถูกสร้างขึ้นมาโดยไม่ต้องพึ่งพาบุคคลระดับผู้นำเพียงไม่กี่คน นายอาบู อัคร์ อัล-แบกห์ดาดี เริ่มบทบาทในฐานะผู้นำสาขาย่อยของกลุ่มอัล-ไคยด้า ในอิรัก เมื่อปี ค.ศ.2010 ก่อนที่จะปรับเปลี่ยนสถานะของกลุ่มก่อการร้ายนี้ให้กลายเป็นกลุ่มรัฐอิสลาม หรือ ไอซิส ที่อยู่เบื้องหลังการโจมตีในหลายเมืองทั่วโลกในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปลายปี 2015 ในช่วงที่กลุ่มไอซิสกำลังมีอำนาจมากที่สุด กองกำลังพันธมิตรนำโดยสหรัฐฯ พยายามที่จะสกัดกั้นการขยายพื้นที่การครอบครองของไอซิส โดยใช้การโจมตีทางอากาศสังหารนักรบระดับนำของกลุ่มไอซิสเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก โดยเฉลี่ยสองวันต่อหนึ่งคน ในเวลานั้น เจ้าหน้าที่อเมริกันระบุว่ายุทธวิธีการโจมตีทางอากาศของสหรัฐฯ ได้สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อกลุ่มรัฐอิสลาม แต่ปฏิบัติการของกลุ่มไอซิสก็ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องอีกหลายปี เนื่องจากกลุ่มไอซิสถูกสร้างขึ้นมาโดยไม่มีผู้นำคนใดคนหนึ่งเป็นศูนย์กลาง ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มอัล-ไคยด้า ในยุคของอุสซาม่า บิน ลาเดน สำหรับในครั้งนี้ เจมส์ แคลปเปอร์ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ กล่าวกับวีโอเอว่า แม้การเสียชีวิตของนายแบกห์ดาดี ถือเป็นความสูญเสียครั้งใหญ่ของกลุ่มรัฐอิสลาม เนื่องจากเขาคือสัญลักษณ์สำคัญของไอซิส แต่ตนเชื่อว่านั่นยังไม่เพียงพอจะทำให้กลุ่มไอซิสล่มสลาย เพราะบรรดาผู้นำของกลุ่มนี้ถูกฝึกมาเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่มีผู้นำสูงสุดอยู่แล้ว ด้านคุณไมเคิล โฮโรวิทซ์ นักวิเคราะห์ด้านการก่อการร้ายขององค์กรที่ปรึกษา Le Beck ชี้ว่า ปกติแล้วการเสียชีวิตของผู้นำสูงสุดของกลุ่มก่อการร้ายกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง…

เพนตากอนมอบสัญญารับเหมาระบบคลาวน์หมื่นล้านให้ ‘ไมโครซอฟท์’

Loading

Microsoft’s corporate headquarters in Redmond, Washington. (Photo: Diaa Bekheet) กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ หรือ เพนตากอน มอบสัญญารับเหมาติดตั้งระบบคลาวน์คอมพิวเตอร์ มูลค่าหนึ่งหมื่นล้านดอลลาร์ ให้แก่บริษัทไมโครซอฟท์ (Microsoft) ซึ่งถือว่าพลิกความคาดหมาย เพราะก่อนหน้านี้คาดกันว่าบริษัทแอมะซอน (Amazon) จะได้สัญญาฉบับนี้ สัญญาโครงการ Joint Enterprise Defense Infrastructure, or JEDI ถือเป็นสัญญาที่มีมูลค่ามหาศาล และทำให้เกิดการแข่งขันของบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของสหรัฐฯ หลายบริษัท ได้แก่ ไมโครซอฟท์ แอมะซอน ออราเคิล และไอบีเอ็ม มีข่าวว่าแอมะซอนจะเป็นผู้ชนะโครงการนี้ตั้งแต่ปีที่แล้ว ซึ่งบริษัทออราเคิลได้ยื่นคำร้องต่อศาล แต่ถูกปัดตกไป แต่เมื่อเดือนกรกฎาคม ประธานาธิบดีทรัมป์ออกมากล่าวว่า รัฐบาลจะพิจารณากระบวนการคัดเลือกผู้รับเหมาโครงการนี้อีกครั้งหลังจากมีการร้องเรียน ซึ่งที่ผ่านมา ปธน.ทรัมป์ มักวิจารณ์บริษัทแอมะซอน และ เจฟฟ์ เบโซส ซึ่งเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ วอชิงตัน โพสต์ อยู่เสมอ ระบบ JEDI จะจัดเก็บข้อมูลลับปริมาณมหาศาลของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เอาไว้ในเครือข่ายคลาวน์คอมพิวเตอร์…

สงครามโดรน : สงครามเก่ากำลังจากไป สงครามใหม่มาถึงแล้ว!

Loading

“ผู้ควบคุม [โดรน] สามารถระบุเป้าหมาย เฝ้ามอง และทันใดนั้นโจมตีจากระยะหลายพันไมล์ที่ห่างไกลออกไป โดยไม่จำเป็นต้องเอาทหารเข้าไปในพื้นที่อันตรายแต่อย่างใด” Lawrence Freedman (2017) คอลัมน์ ยุทธบทความ ผู้เขียน สุรชาติ บำรุงสุข   เมื่อศตวรรษที่ 21 เริ่มต้นขึ้นนั้น โลกได้เห็นอุปกรณ์ทางทหารชุดหนึ่งที่นักการทหารหลายคนได้ให้ความสนใจอย่างมาก คือการปรากฏตัวของ “อากาศยานไร้คนขับ” หรือเรียกว่า “อากาศยานไร้นักบิน” (Unmanned Aerial Vehicles หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า UAVs) ซึ่งปัจจุบันถูกเรียกว่า “โดรน” (Drones) และอุปกรณ์ทางทหารนี้กำลังกลายเป็นอาวุธสำคัญของศตวรรษปัจจุบัน และอาจจะเป็นอาวุธที่จะมีส่วนต่อการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าสงครามในอนาคต พัฒนาการ โดรนอาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่ และมีการใช้โดรนมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 แล้ว แต่เป็นเพียงการใช้เพื่อการเป็นเป้าซ้อมยิงของนักบิน และด้วยเงื่อนไขทางเทคโนโลยี โดรนจึงยังไม่สามารถพัฒนาให้มีขีดความสามารถในการรบได้ แต่แนวคิดที่จะสร้างโดรนให้ทำการรบได้ (combat drone) เกิดขึ้นในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ด้วยข้อจำกัดของการพัฒนาทางเทคโนโลยี แนวคิดนี้จึงปรากฏอยู่ในบทความของประดิษฐกรรมทางวิทยาศาสตร์ สำหรับโดรนทางทหารสมัยใหม่เป็นผลมาจากการคิดของฟอสเตอร์ (John S. Foster) ที่เป็นวิศวกรนิวเคลียร์ฟิสิกส์ชาวอเมริกันในช่วงต้นทศวรรษที่ 1970 ที่เชื่อว่าเครื่องบินจำลองน่าจะนำมาใช้ประโยชน์ในทางทหารได้…

‘ไบโอเมตริก’ ตรวจจับต่างชาติติดแบล็คลิสต์แอบลักลอบเข้าประเทศ

Loading

“ไบโอเมตริก” ตรวจจับต่างชาติติดแบล็คลิสต์แอบลักลอบเข้าประเทศ หลังเปลี่ยนชื่อ-เปลี่ยนพาสปอร์ต หวังตบตาเจ้าหน้าที่ เมื่อวันที่ 7 ต.ค.62 พล.ต.ท.สมพงษ์ ชิงดวง ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ผบช.สตม.) พร้อมด้วย พล.ต.ต.สุรพงษ์ ชัยจันทร์ รอง ผบช.สตม., พล.ต.ต.ณฐพล แสวงกิจ รอง ผบช.สตม. ร่วมกันแถลงจับกุมชาวต่างชาติติดแบล็คลิสท์ แอบลักลอบเข้าประเทศ หลังทำการเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนพาสปอร์ต หวังตบตาเจ้าหน้าที่ แต่ถูกตรวจสอบด้วยระบบไบโอเมตริก (Biometrics) หลังขอต่อวีซ่า เพื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกครั้ง โดยตำรวจตรวจคนเข้าเมืองสามารถจับกุมบุคคลต่างด้าวที่มีรายชื่อติดแบ็ลลิสท์แอบลักลอบเข้าประเทศ จำนวน 13 คน เป็นบุคคลต่างด้าวสัญชาติเกาหลีใต้ 1 คน สัญชาติจีน 4 คน สัญชาติเบลเยี่ยม 1 คน สัญชาติอียิปต์ 2 คน สัญชาติอุซเบก 2 คน สัญชาติเมียนม่า 1 สัญชาติอินเดีย 1 คน และสัญชาติซีเรีย อีก…