สมเด็จพระราชินีแห่งมาเลเซีย ประณามการจับกุมผู้วิจารณ์พระองค์บนโลกออนไลน์

Loading

สมเด็จพระราชินีแห่งมาเลเซีย ทรงกลับมาใช้งานทวิตเตอร์อีกครั้งวานนี้ เพื่อแสดงความผิดหวังต่อการจับกุมผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์พระองค์บนโซเชียลมีเดีย สืบเนื่องจากการทรงฉายพระรูปพิธีฉลองวันชาติมาเลเซีย เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (13 ก.ย.) ตำรวจมาเลเซีย จับกุมนักกิจกรรมในเมืองกลัง (Klang) รัฐสลังงอร์ ซึ่งถูกกล่าวหาว่าโพสต์ข้อความหมิ่นประมาทสมเด็จพระราชินี สมเด็จพระราชินีตุนกู ฮายาห์ อซิซาห์ อมีนาห์ ไมมูนาห์ อิสกันดาริยาห์ รายา ประไหมสุหรี อากงแห่งมาเลเซีย ทรงตรัสว่าพระองค์และสมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่าน อับดุลละฮ์ เรียยาตุดดิน อัล-มุซตาฟา บิลละฮ์ ซะฮ์ อิบนี อัล-มาร์ฮุม สุลต่าน ฮาจี อะฮ์มัด ซะฮ์ อัล-มุซตาอิน บิลละฮ์ (สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซียพระองค์ที่ 16) ไม่ได้ทรงร้องขอให้ตำรวจดำเนินการจับกุม และพระองค์ทรงเสียพระราชหฤทัยต่อเหตุการณ์นี้ ก่อนหน้านี้ ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในมาเลเซียส่วนหนึ่งโพสต์วิจารณ์ สมเด็จพระราชินีตุนกู ฮายาห์ อซิซาห์ ว่าทรงวางตัวไม่เหมาะสม ในงานฉลองวันชาติมาเลเซียเมื่อวันที่ 31 ส.ค. จากการที่พระองค์ทรงฉายพระรูปพิธีเดินขบวนเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม สมเด็จพระราชินีทรงตรัสชี้แจงในเวลาต่อมาว่า สมเด็จพระราชาธิบดีทรงแนะให้พระองค์ฉายรูป สมเด็จพระราชินีทรงปิดการใช้งานบัญชีทวิตเตอร์เมื่อวันพุธที่ผ่านมา และทรงโพสต์ข้อความบนอินสตาแกรมว่า ทรงปิดทวิตเตอร์ด้วยเหตุผลส่วนพระองค์…

มิติใหม่ใช้โดรนถล่มเป้าหมายระดับโลก ราคาถูกลงแต่ได้ผลเกินคาด

Loading

การเป็นพันธมิตรระหว่างฮูษีกับอิหร่าน ยังเพิ่มความเป็นไปได้ที่จะมีการใช้แบ่งปันวิธีโจมตีด้วยโดรนไปให้แนวร่วมในอิหร่าน อิรัก ซีเรีย และเลบานอน วิม ซไวเนนบวร์ก นักวิจัยอาวุโสเกี่ยวกับโดรนที่ PAX องค์กรสันติภาพเนเธอร์แลนด์ กล่าวกับ NYT ว่า การโจมตีโรงกลั่นน้ำมันของซาอุดีอาระเบียไม่เพียงแต่เปิดเผยถึงช่องโหว่ของซาอุดิอาระเบียในการทำสงครามกับกบฎฮูษีเท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นว่าการโจมตีเป้าหมายระดับสูงเริ่มที่จะมีต้นทุนที่ต่ำลงมาก โดยอาจมีค่าใช้จ่าย 15,000 เหรียญสหรัฐหรือน้อยกว่าในการสร้างโดรน การโจมตีครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงการใช้กลยุทธ์แบบ “เดวิดและโกลิอัท” (หรือตัวเล็กล้มยักษ์) และใช้โดรนโดรนราคาถูก เพื่อทำให้สถานการณ์ในตะวันออกกลางยิ่งคาดเดาได้ยากขึ้น เพราะการโจมตีดังกล่าวไม่เพียงแต่จะสร้างความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญเท่านั้น แต่ยังสามารถเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านความปลอดภัย ทำให้ตลาดปั่นป่วน และทำให้ความหวาดกลัวขยายวงกว้าง แม้ว่า กบฎฮูษีจะไม่มีทุนทรัพย์ทางการเงินที่สำคัญ แต่โดรนกลับกลายเป็นทางออกต้นทุนต่ำให้เขาเพื่อใช้โจมตีศัตรูตัวฉกาจคือ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเป็นประเทศที่ใช้งบประมาณทางทหารที่สูงเป็นอันดับ 3 ของโลกในปี 2561 โดยมีงบประมาณถึ 67,600 ล้านเหรียญสหรัฐ ตอกย้ำว่า ประเทศที่มีงบประมาณทางทหารที่สูงมาก ก็อาจเพลี่ยงพล้ำต่อฝ่ายที่ไม่มียุทโธปกรณ์ชั้นเลิศเลย นอกจากนี้ การโจมตีล่าสุด ยังทะลวงลึกเข้าไปในดินแดนของซาอุดิอาระเบียมากกว่าการโจมตีครั้งก่อน ฟาเรีย อัลมุสลิมี ผู้ร่วมก่อตั้งของ Sanaa Center for Strategic Studies ซึ่งเน้นประเด็นเกี่ยวกับเยเมน กล่าวว่า สิ่งทีเกิดขึ้นเป็นความท้าทายต่อซาอุดีอาระเบีย…

บังกลาเทศสั่งให้หยุดขาย “ซิมการ์ด” ในค่ายผู้ลี้ภัยโรฮิงญา อ้างความปลอดภัย

Loading

เอเอฟพี – บริษัทค่ายมือถือบังกลาเทศได้รับคำสั่งจากธากาให้หยุดจำหน่ายซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือให้กับผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา เจ้าหน้าที่กล่าวในวันจันทร์ (9 ก.ย) อีกหนึ่งสัญญาณแสดงให้เห็นถึงธากาเริ่มไม่มีความอดทนหลังล้มเหลวส่งชาวโรฮิงญาเหล่านี้กลับพม่า เอเอฟพีรายงานวันนี้ (9 ก.ย) ว่า บังกลาเทศต้องแบกรับผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาร่วม 1 ล้านคนนับตั้งแต่รัฐบาลทหารพม่าได้เข้าปราบปรามอย่างหนักในรัฐยะไข่เมื่อสิงหาคม ปี 2017 จนทำให้ชาวมุสลิมโรฮิงญาจำนวนมากหนีออกนอกประเทศและเข้าสู่บังกลาเทศที่มีพรมแดนติดกัน ในความพยายามการส่งตัวมุสลิมโรฮิงญากลับประเทศเมื่อปลายเดือนสิงหาคมล่าสุดล้มเหลวไม่เป็นท่า จากการที่ผู้ลี้ภัยเหล่านี้ปฎิเสธที่จะเดินทางกลับเข้าพม่าหากไม่ได้รับหลักประกันความปลอดภัยและความเป็นพลเมืองอย่างถูกต้องในพม่า และยิ่งเพิ่มความปวดหัวให้กับธากามากขึ้นเมื่อมีการประท้วงโดยชาวโรฮิงญาจำนวนราว 200,000 คนแสดงถึงการครบรอบ 2 ปี ตั้งแต่ที่พวกเขาเดินทางมาถึง ผู้กำกับด้านการสื่อสารบังกลาเทศออกคำสั่งในวันที่ 3 ก.ย ให้บรรดาบริษัทผู้ให้บริการมือถือตัดสัญญาณโทรศัพท์บริเวณค่ายผู้ลี้ภัยโรฮิงญาที่มีหลายสิบแห่ง โดยอ้างเหตุผลด้านความปลอดภัยเป็นหลัก และบริษัทผู้ให้บริการทั้ง 4 บริษัทได้รับคำสั่งว่าภายใน 7 วันให้ส่งรายงานการปฎิบัติที่ทางบริษัทเหล่านี้ได้ตัดสัญญาการเชื่อมต่อข้อมูล และได้รับคำสั่งจากทางการธากาให้หยุดจำหน่ายซิมการ์ดสำหรับโทรศัพท์มือถือภายในพื้นที่ค่ายผู้ลี้ภัย ด้านเอส.เอ็ม. ฟาร์ฮัด (S.M. Farhad) เลขาธิการใหญ่ของสมาพันธ์ผู้ประกอบการให้บริการโทรศัพท์มือถือบังกลาเทศ AMTOB (Association of Mobile Telecom Operators of Bangladesh) ซึ่งเป็นตัวแทนผู้ให้บริการทุกค่ายให้สัมภาษณ์กับเอเอฟพีวันจันทร์ (9) ฟาร์ฮัดกล่าวต่อว่า นอกจากนี้อินเตอร์เนตความเร็วสูงระบบ 3G และ…