บังกลาเทศสั่งให้หยุดขาย “ซิมการ์ด” ในค่ายผู้ลี้ภัยโรฮิงญา อ้างความปลอดภัย

Loading

เอเอฟพี – บริษัทค่ายมือถือบังกลาเทศได้รับคำสั่งจากธากาให้หยุดจำหน่ายซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือให้กับผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา เจ้าหน้าที่กล่าวในวันจันทร์ (9 ก.ย) อีกหนึ่งสัญญาณแสดงให้เห็นถึงธากาเริ่มไม่มีความอดทนหลังล้มเหลวส่งชาวโรฮิงญาเหล่านี้กลับพม่า เอเอฟพีรายงานวันนี้ (9 ก.ย) ว่า บังกลาเทศต้องแบกรับผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาร่วม 1 ล้านคนนับตั้งแต่รัฐบาลทหารพม่าได้เข้าปราบปรามอย่างหนักในรัฐยะไข่เมื่อสิงหาคม ปี 2017 จนทำให้ชาวมุสลิมโรฮิงญาจำนวนมากหนีออกนอกประเทศและเข้าสู่บังกลาเทศที่มีพรมแดนติดกัน ในความพยายามการส่งตัวมุสลิมโรฮิงญากลับประเทศเมื่อปลายเดือนสิงหาคมล่าสุดล้มเหลวไม่เป็นท่า จากการที่ผู้ลี้ภัยเหล่านี้ปฎิเสธที่จะเดินทางกลับเข้าพม่าหากไม่ได้รับหลักประกันความปลอดภัยและความเป็นพลเมืองอย่างถูกต้องในพม่า และยิ่งเพิ่มความปวดหัวให้กับธากามากขึ้นเมื่อมีการประท้วงโดยชาวโรฮิงญาจำนวนราว 200,000 คนแสดงถึงการครบรอบ 2 ปี ตั้งแต่ที่พวกเขาเดินทางมาถึง ผู้กำกับด้านการสื่อสารบังกลาเทศออกคำสั่งในวันที่ 3 ก.ย ให้บรรดาบริษัทผู้ให้บริการมือถือตัดสัญญาณโทรศัพท์บริเวณค่ายผู้ลี้ภัยโรฮิงญาที่มีหลายสิบแห่ง โดยอ้างเหตุผลด้านความปลอดภัยเป็นหลัก และบริษัทผู้ให้บริการทั้ง 4 บริษัทได้รับคำสั่งว่าภายใน 7 วันให้ส่งรายงานการปฎิบัติที่ทางบริษัทเหล่านี้ได้ตัดสัญญาการเชื่อมต่อข้อมูล และได้รับคำสั่งจากทางการธากาให้หยุดจำหน่ายซิมการ์ดสำหรับโทรศัพท์มือถือภายในพื้นที่ค่ายผู้ลี้ภัย ด้านเอส.เอ็ม. ฟาร์ฮัด (S.M. Farhad) เลขาธิการใหญ่ของสมาพันธ์ผู้ประกอบการให้บริการโทรศัพท์มือถือบังกลาเทศ AMTOB (Association of Mobile Telecom Operators of Bangladesh) ซึ่งเป็นตัวแทนผู้ให้บริการทุกค่ายให้สัมภาษณ์กับเอเอฟพีวันจันทร์ (9) ฟาร์ฮัดกล่าวต่อว่า นอกจากนี้อินเตอร์เนตความเร็วสูงระบบ 3G และ…

ออสเตรเลียตั้งคณะทำงานปกป้อง “มหาวิทยาลัย” ไม่ให้ถูกต่างชาติแทรกแซง

Loading

เอเอฟพี – ออสเตรเลียพยายามตอบโต้การแทรกแซงจากต่างชาติในมหาวิทยาลัยในประเทศวันนี้ (28) โดยได้ก่อตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจเพื่อช่วยปกป้องการวิจัยที่อ่อนไหว ความปลอดภัยทางไซเบอร์ และเสรีภาพในการพูด ด้วยความกังวลเกี่ยวกับอิทธิพลของจีนเหนือสถาบันศึกษาต่างๆ ในแดนจิงโจ้ รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ แดน เตฮาน ประกาศการปรึกษาหารือเพิ่มเติมระหว่างสถาบันศึกษาและเจ้าหน้าที่รัฐ รวมถึงหน่วยงานข่าวกรองต่างๆ  กลุ่มๆ นี้จะให้ความสำคัญกับการเพิ่มความปลอดภัยทางไซเบอร์ การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และการทำให้แน่ใจว่าการร่วมงานกับบุคคลหรือองค์กรต่างชาติจะไม่ทำลายผลประโยชน์แห่งชาติของออสเตรเลีย  เตฮานเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องสร้างความสมดุลระหว่าง “ผลประโยชน์แห่งชาติและเสรีภาพของมหาวิทยาลัยในการทำวิจัยและการร่วมมือที่ขยายขอบเขตความรู้ของเราและนำไปนวัตกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต” ความสมดุลดังกล่าวถูกตั้งข้อสงสัยเนื่องจากการแฮก การบริจาคอันเป็นที่ถกเถียง และกรณีการข่มขู่สถาบันศึกษาที่เกี่ยวข้องกับปักกิ่ง การรั่วไหลของข้อมูลที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียเมื่อปีที่แล้วทำให้ข้อมูลอ่อนไหวของพนักงานและนักศึกษาย้อนกลับไป 20 ปีถูกเปิดโปง มหาวิทยาลัยออสเตรเลียหลายแห่งได้รับเงินหลายสิบล้านดอลลาร์จากปักกิ่งเพื่อก่อตั้ง “สถาบันขงจื้อ” ที่หลบเลี่ยงประเด็นต่างๆ ที่สร้างความเสียหายต่อพรรครัฐบาลคอมมิวนิสต์ของจีน มหาวิทยาลัยเหล่านี้คัดค้านเสียงเรียกร้องให้ขึ้นทะเบียนสถาบันขงจื้อภายใต้กฎหมายการแทรกแซงจากต่างชาติฉบับใหม่ ความไม่สงบในฮ่องกงก็ถูกสะท้อนให้เห็นในสถาบันศึกษาหลายแห่งทั่วออสเตรเลีย มีนักศึกษาโปรประชาธิปไตยหลายคนถูกกลุ่มนักศึกษาจีนโปรปักกิ่งข่มขู่ และถูกปล่อยข้อมูลส่วนตัวบนอินเตอร์เน็ต “การทดสอบข้อผูกมัดของเราต่อเสรีภาพในการพูดคือเราจะมีความตั้งใจอดทนต่อการพูดของผู้อื่นหรือไม่ โดยเฉพาะจากกลุ่มคนที่เราไม่เห้นด้วยอย่างที่สุด” เตฮาน กล่าว ——————————————————— ที่มา : MGR Online / 28 สิงหาคม 2562 Link : https://mgronline.com/around/detail/9620000082509

เดนมาร์กเพิ่มการควบคุมชายแดนติดต่อสวีเดน หลังมือระเบิดข้ามแดนเข้ามาก่อเหตุที่เมืองหลวง

Loading

นายกรัฐมนตรีเมตเต เฟรเดอริกเซน แห่งเดนมาร์ก ประกาศให้เพิ่มมาตรการควบคุมชายแดน หลังจากที่เกิดเหตุระเบิด 2 ครั้งในกรุงโคเปนเฮเกน และตำรวจจับกุมผู้ต้องสงสัย 2 คนซึ่งเป็นชาวสวีเดน อายุ 22 และ 23 ปี นายกรัฐมนตรีเฟรเดอริกเซน กล่าวว่า การปกป้องชายแดนต้องมีความรัดกุมมากกว่าเดิม และจะเน้นไปที่การตรวจสอบผู้มีประวัติอาชญากรรม เพราะชาวเดนมาร์กไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ท่ามกลางสถานการณ์ที่คนร้ายสามารถเดินทางจากสวีเดนมายังเดนมาร์กแล้วลอบวางระเบิดไดนาไมต์ในพื้นที่เป้าหมายกลางเมืองหลวง สำหรับเหตุระเบิดที่กรุงโคเปนเฮเกนเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน เหตุการณ์แรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคมที่ด้านหน้าของสำนักงานสรรพากร จากนั้นอีก 3 วันก็เป็นเหตุระเบิดที่ด้านหน้าสถานีตำรวจ สวีเดนและเดนมาร์กเชื่อมต่อกันด้วยสะพานเออเรซุนด์ที่มีระยะทาง 16 กิโลเมตร ซึ่งจากการที่ทั้ง 2 ประเทศเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปและเขตการเดินทางเชงเก้น ทำให้พลเมืองเดินทางข้ามแดนได้โดยที่ไม่ต้องใช้หนังสือเดินทางของเชงเก้น แต่จากวิกฤติผู้อพยพลี้ภัยในปี 2559 สวีเดนออกมาตรการควบคุมชายแดนด้วยการกำหนดให้ตรวจสอบหมายเลขประจำตัวตามบัตรประชาชนก่อน ขณะที่เดนมาร์กมีการใช้มาตรการเดียวกันทางฝั่งพรมแดนที่ติดต่อกับเยอรมนี —————————————————- ที่มา : จส.100 / 15 สิงหาคม 2562 Link : https://www.js100.com/en/site/news/view/76055