อิหร่านทลายเครือข่ายทรยศชาติ สมคบCIAแทรกซึมในประเทศ

Loading

สำนักข่าว AFP รายงานว่า อิหร่านได้ทำการจับกุมผู้ต้องสงสัย 17 คนและตัดสินประหารชีวิตคนเหล่านี้ไปบางส่วน หลังจากประสบความสำเร็จในการทลายเครือข่ายสายลับ CIA ข่าวนี้ได้รับการเปิดเผยในช่วงเวลาที่เกิดความตึงเครียดระหว่างอิหร่านกับสหรัฐซึ่งเป็นศัตรูหมายเลขหนึ่งของอิหร่าน รวมถึงการเผชิญหน้าระหว่างอิหร่านกับอังกฤษ หลังจากอังกฤษยึดเรืออิหร่านที่ช่องแคบยิบรอลต้า ทำให้อิหร่านยึดเรือของอังกฤษที่ช่องแคบฮอร์มุซเป็นการตอบโต้ หน่วยงานความมั่นคงของอิหร่านประกาศว่า ประสบความสำเร็จในการทลายเครือข่ายสายลับ CIA ระหว่างเดือนมีนาคม 2018 – มีนาคม 2019 โดยหัวหน้าหน่วยต่อต้านข่าวกรองของกระทรวงสืบราชการลับอิหร่านยังประกาศว่า “คนที่ทรยศต่อประเทศอย่างจงใจ ถูกส่งตัวไปรับการพิจารณาคดีแล้ว … บางคนถูกตัดสินประหารชีวิตและรับโทษจำคุกหลายปี” หัวหน้าหน่วยต่อต้านข่าวกรองของอิหร่านเผยว่า จากการติดตามเบาะแสเกี่ยวกับหน่วยข่าวกรองอเมริกันเมื่อเร็วๆ นี้พบว่า มีสมาชิกใหม่ที่สหรัฐทำการว่าจ้างเพื่อทำจารกรรมอิหร่าน จึงทำการทำลายเครือข่ายนี้โดยได้ดำเนินการร่วมกับ “พันธมิตรต่างประเทศ” แต่ไม่ได้เปิดเผยว่าเป็นประเทศใด ทั้งนี้ ผู้ต้องหาทั้งหมดเป็นชาวอิหร่านและทำงานเป็นอิสระจากกัน โดยแฝงตัวอยู่ในหน่วยงานที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงและระดับประเทศหน่วยงานต่างๆ รวมถึงภาคเอกชนที่ทำงานเกี่ยวข้องกัน บางคนถูกว่าจ้างให้ทำงานให้สหรัฐ โดยใช้วีซ่าเข้าสหรัฐมาล่อ โดยบางคนถูกทาบทามเมื่อยื่นขอวีซ่าในขณะที่บางคนเคยมีวีซ่ามาก่อน แต่ถูกกดดันจาก CIA ให้ร่วมมือด้วย เพื่อที่จะต่ออายุวีซ่าได้ ภารกิจของจารชนเหล่านี้ คือการรวบรวมข้อมูลที่เป็นความลับและปฏิบัติการด้านเทคนิคและงานข่าวกรองที่หน่วยงานสำคัญของอิหร่านซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับความมั่นคงซึ่งใช้อุปกรณ์ทันสมัย โดยสมาชิกเครือข่ายทั้งหมด 17 คนได้รับการฝึกการติดต่อสื่อสารเป็นการลับโดยเจ้าหน้าที่ของ CIA และสั่งให้จารชนเหล่านี้ทำลายเอกสารทั้งหมดหากถูกเปิดเผยความลับ และให้เดินทางไปยัง “ทางออกฉุกเฉิน” ตามเมืองชายแดนของอิหร่าน หากรู้สึกไม่ปลอดภัย ————————————————–…

ทำไมประชาคมข่าวกรองสหรัฐฯจึงคัดค้าน ‘จีน’ และ ‘หัวเว่ย’ ถึงขนาดนี้

Loading

By Spengler  การที่ประชาคมข่าวกรองของสหรัฐฯ มีความระวังตื่นภัยจากเรื่องที่บริษัทหัวเว่ยของจีนก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านระบบสื่อสารไร้สาย 5 จี เบื้องลึกลงไปก็เพราะมันหมายถึงการแอบดักจับสัญญาณการสื่อสารเพื่อสอดแนมสืบความลับของอเมริกา จะทำไม่ได้อีกต่อไป และพวกสปายสายลับมีหวังจะต้องตกงาน  การที่ประชาคมข่าวครองสหรัฐฯเกิดความระวังตื่นภัยจากเรื่องที่จีนก้าวขึ้นเป็นผู้นำในด้านบรอดแบนด์เคลื่อนที่ 5 จี (5G mobile broadband) นั้น มีสาเหตุมาจากภัยคุกคามที่จีนอาจแอบดักจับสัญญาณการสื่อสารเพื่อสอดแนมสืบความลับ น้อยเสียยิ่งกว่าความเป็นไปได้ที่การแอบดักจับสัญญาณการสื่อสารเพื่อสอดแนมสืบความลับกำลังจะกลายเป็นสิ่งที่แทบเป็นไม่ได้อีกต่อไปแล้ว ทั้งนี้ต้องขอบคุณวิทยาการเข้ารหัสลับด้วยเทคโนโลยีควอนคัม (quantum cryptography) ผมได้สนทนาว่าด้วยหัวข้อนี้อยู่หลายครั้งหลายครากับบรรดาแหล่งข่าวทั้งของสหรัฐฯและของจีน แต่อันที่จริงข้อสรุปเช่นนี้มีปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนในพวกแหล่งข้อมูลข่าวสารสาธารณะอยู่แล้ว ประชาคมข่าวกรองของอเมริกา ใช้จ่ายงบประมาณปีละเกือบๆ 80,000 ล้านดอลลาร์ [1] โดยยอดนี้ครอบคลุมทั้งจำนวนราว 57,000 ล้านดอลลาร์สำหรับโครงการข่าวกรองแห่งชาติ (National Intelligence Program) และ 20,000 ล้านดอลลาร์สำหรับโครงการข่าวกรองทหาร (Military Intelligence Program) ทั้งนี้การข่าวกรองด้านสัญญาณการสื่อสาร (Signals intelligence ใช้อักษรย่อว่า SIGINT) ซึ่งงานหลักคือการสืบความลับด้วยการแอบดักจับสัญญาณการสื่อสารนั้น เป็นด้านซึ่งได้รับงบประมาณส่วนใหญ่ไป โดยที่สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Agency) [2] นอกเหนือจากปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ แล้ว งานสำคัญคือการบันทึกรายการพูดคุยโทรศัพท์และการรับส่งข้อความเป็นตัวอักษรของคนอเมริกัน…

ฝรั่งเศสประกาศจัดตั้งหน่วยบัญชาการป้องกันอวกาศ

Loading

ประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส ประกาศเตรียมจัดตั้งหน่วยบัญชาการป้องกันอวกาศภายในเดือน ก.ย.นี้ ตามรอยสหรัฐฯ จีน และรัสเซีย วานนี้ ( 13 ก.ค.) นายมาครง ใช้โอกาสในวันก่อนหน้าวันชาติฝรั่งเศส หรือ บาสตีย์ เดย์ (Bastille Day) แถลงประกาศข่าวนี้ โดยระบุว่า หน่วยบัญชาการดังกล่าว ซึ่งจะจัดตั้งขึ้นภายในเดือน ก.ย. จะอยู่ใต้สังกัดกองทัพอากาศฝรั่งเศส โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อช่วยปกป้องดูแล และรักษาความปลอดภัยดาวเทียมสัญชาติฝรั่งเศสที่ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ ผู้เชี่ยวชาญมองว่า ท่าทีดังกล่าวของนายมาครง เป็นแผนการที่ดำเนินการตามรอยรัฐบาลสหรัฐฯ จีน และรัสเซีย เพราะฝรั่งเศสเองก็ต้องการจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำด้านอวกาศเช่นกัน โดยเมื่อปีที่แล้ว ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ สั่งการให้จัดตั้งกองทัพอวกาศ เป็นเหล่าทัพที่ 6 ของสหรัฐฯ ให้ได้ภายในปีหน้า ขณะที่ในปีนี้ องค์การองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือ นาโต (NATO) ออกมาส่งสัญญาณว่า การแข่งขันด้านอวกาศมีบทบาทสำคัญต่อการทำสงครามยุคใหม่ ท่ามกลางความกังวลของหลายฝ่ายว่า ภารกิจพิชิตอวกาศของมหาอำนาจแต่ละประเทศ อาจพัฒนาเป็นการรุกรานกัน มากกว่าจะเป็นไปในเชิงป้องกันตนเอง…