รัฐบาลเม็กซิโกโดนแฮ็กครั้งใหญ่ ข้อมูลสุขภาพประธานาธิบดีหลุด

Loading

  รัฐบาลเม็กซิโก ถูกโจมตีไซเบอร์ครั้งใหญ่ ข้อมูลกองทัพหลุดรวมถึงรายละเอียดโรคหัวใจของประธานาธิบดีแอนเดรส มานูเอล โลเปซ โอบราดอร์ ที่ต้องเข้าโรงพยาบาลเมื่อเดือน ม.ค.   สำนักข่าวรอยเตอร์รายงาน ประธานาธิบดีเม็กซิโก แถลงข่าวประจำวันเมื่อวันศุกร์ (30 ก.ย.) ตามเวลาท้องถิ่น กล่าวว่า ข้อมูลที่สื่อท้องถิ่นรายงานเมื่อคืนที่ผ่านมาเรื่องการแฮกข้อมูลกระทรวงกลาโหมเป็นข่าวจริง พร้อมยืนยันข้อมูลสุขภาพของตนที่ถูกเปิดเผยเป็นของจริง แฮ็กเกอร์ใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงระบบไอทีของกองทัพ   ทั้งนี้ ตามรายงานข่าว การโจมตีข้อมูลครั้งนี้เข้าถึงข้อมูล 6 เทราไบต์จากกระทรวงกลาโหม ประกอบด้วยข้อมูลอาชญากร สำเนาการสื่อสาร และการจับตานายเคน เซลาซาร์ ทูตสหรัฐประจำเม็กซิโก ด้านสถานทูตสหรัฐยังไม่ให้ความเห็นกับรอยเตอร์   การโจมตีข้อมูลครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากมีการเปิดเผยข้อมูลของรัฐบาลเมื่อวันพฤหัสบดี (29 ก.ย.) ว่า เฮลิคอปเตอร์ทหารลำหนึ่งตกในเดือน ก.ค. มีผู้เสียชีวิต 14 คน สาเหตุมาจากน้ำมันหมด   นายฮาเวียร์ โอลิวา นักรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยอิสระแห่งชาติเม็กซิโก กล่าวว่า ข้อมูลหลุดชี้ให้เห็นความเสี่ยงอย่างร้ายแรง โดยเฉพาะในช่วงที่บทบาทของกองทัพกำลังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างร้อนแรง       ——————————————————————————————————————————- ที่มา…

ด่วน! ตร.จับ ‘ธนาพล อิ๋วสกุล’ บก.ฟ้าเดียวกัน ข้อหาเปิดเผยความลับกระทบความปลอดภัยประเทศ

Loading

  ตำรวจนำหมายจับ รวบตัว ‘ธนาพล อิ๋วสกุล’ บก.ฟ้าเดียวกัน ข้อหาเปิดเผยเอกสารสิ่งต่าง ๆ ที่ปกปิดไว้สำหรับความปลอดภัยประเทศ และคดี พ.ร.บ.คอมพ์ ก่อนพาตัวไป บก.ปอท.ภาค 3   เมื่อเวลา 16.15 น. วันที่ 29 มิถุนายน ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจ กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) เข้าแสดงหมายจับต่อ นายธนาพล อิ๋วสกุล บรรณาธิการบริหารสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ถึงที่ทำการสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน   ต่อมาเวลา 16.45 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำตัวนายธนาพลไปที่ บก.ปอท.ภาค 3 โดยไม่รอให้ทนายพบผู้ถูกจับกุม ซึ่งขณะนี้ได้ประสานทนายความให้ติดตามไปแล้ว   สำหรับหมายจับดังกล่าว มีรายละเอียดดังนี้   “ด้วย นายธนาพล อิ๋วสกุล ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐานการกระทำใด ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อความเอกสารหรือสิ่งใด ๆ อันปกปิดเป็นความลับสำหรับความปลอดภัยของประเทศ, การกระทำใด…

ศาลพม่าปฏิเสธล่ามให้ที่ปรึกษาชาวออสเตรเลียของซูจีระหว่างไต่สวนคดีความลับราชการ อ้างเหตุผลความปลอดภัย

Loading

  เอพี – ศาลพม่ามีคำตัดสินไม่อนุญาตให้ล่ามแปลภาษาพม่า-อังกฤษเข้าร่วมในการพิจารณาคดีที่กำลังจะมีขึ้นกับ ฌอน เทอร์เนลล์ นักเศรษฐศาสตร์ชาวออสเตรเลีย ที่ถูกตั้งข้อหาภายใต้กฎหมายความลับราชการ เทอร์เนลล์กำลังถูกไต่สวนร่วมกับอองซานซูจี ผู้นำที่ถูกปลดจากตำแหน่ง และอดีตสมาชิกคณะรัฐมนตรีอีก 3 คน ที่ถูกตั้งข้อหาคดีเดียวกัน เทอร์เนลล์ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของซูจีและถูกจับกุมพร้อมกับจำเลยร่วมของเขาหลังรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของซูจีถูกกองทัพขับไล่ในเดือน ก.พ. การละเมิดกฎหมายความลับราชการมีโทษจำคุกสูงสุด 14 ปี กฎหมายยุคอาณานิคมที่ทำให้การครอบครอง รวบรวม บันทึก เผยแพร่ หรือแบ่งปันข้อมูลของรัฐที่เป็นประโยชน์ต่อศัตรูทางตรงหรือทางอ้อมเป็นความผิดอาญา การประกาศคำตัดสินที่ห้ามล่ามแปลภาษาเข้าร่วมการพิจารณาคดีมีขึ้นก่อนการไต่สวนคดีที่ศาลพิเศษในกรุงเนปีดอ เย ลิน อ่อง ทนายความของเทอร์เนลล์ กล่าว โดยจำเลยทั้ง 5 คน อยู่ร่วมฟังการไต่สวนที่ไม่เปิดเผยต่อสาธารณะและสื่อ เย ลิน อ่อง กล่าวว่า อัยการได้ขอให้ศาลไม่อนุญาตล่ามเข้าร่วมในกระบวนการ และผู้พิพากษาเห็นพ้องกับคำร้องดังกล่าว โดยอ้างถึงเหตุผลด้านความปลอดภัย และรายละเอียดที่แน่นอนของความผิดที่เทอร์เนลล์ถูกกล่าวหาก็ไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณะ แต่สถานีโทรทัศน์พม่าอ้างคำแถลงรัฐบาลที่ระบุว่า นักวิชาการชาวออสเตรเลียได้เข้าถึงข้อมูลทางการเงินของรัฐที่เป็นความลับ และพยายามหลบหนีออกนอกประเทศ “เป็นเรื่องยากสำหรับเราที่ไม่มีล่ามแปลให้กับเขา (เทอร์เนลล์) ที่ศาล เรากำลังหารือกับเจ้าหน้าที่จากสถานทูตออสเตรเลีย” เย ลิน อ่อง กล่าว คดีนี้เป็นหนึ่งในหลายข้อหาที่ซูจีถูกฟ้อง ซึ่งถูกมองอย่างกว้างขวางว่าเป็นความพยายามที่จะทำให้เธอเสียชื่อเสียงเพื่อขัดขวางเธอจากการกลับลงเล่นการเมือง.…

การครอบครองข้อมูลส่วนบุคคลของหน่วยงานรัฐ กับ ระเบียบและกฎหมายข้อมูลข่าวสารกับสิ่งที่เป็นความลับของราชการ

Loading

               จากหลายกรณีการเผยแพร่สำเนาเอกสารราชการที่กำหนดชั้นความลับ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารหรือพฤติการณ์ส่วนบุคคล เช่น กรณีนายเนติวิทย์ ภัทร์ไพศาลดำรง เปิดเผยผ่านสื่อออนไลน์ เมื่อ 21 มิถุนายน 2561 เกี่ยวกับสำเนาหนังสือตอบจากกองบัญชาการตำรวจสันติบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติถึงอธิบดีกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับประวัติของนายเนติวิทย์ฯ ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อสนับสนุนการพิจารณาของกรมการปกครองในฐานะนายทะเบียนมูลนิธิ สมาคม ตามสั่งการของที่ประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนและเครือข่ายภาคประชาสังคม ครั้งที่ 2/2561 ที่ให้กองบัญชาการตำรวจสันติบาลร่วมกับประชาคมข่าวกรอง รวบรวมพฤติกรรม ความเคลื่อนไหวของนายเนติวิทย์ฯ ซึ่งได้รับการเสนอชื่อจากสมาคมแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการสมาคม ประเภทเยาวชน สาระสำคัญของสำเนาหนังสือนั้นเป็นรายงานตามสั่งการของที่ประชุมข้างต้น พร้อมกับแจ้งการตรวจสอบว่า พฤติการณ์ของนายเนติวิทย์ฯ ไม่เหมาะสมหรือขัดต่อคุณสมบัติที่ดีที่จะเป็นกรรมการสมาคมฯ ข้อมูลของนายเนติวิทย์ฯ ดังกล่าวจัดประเภทเป็นข้อมูลส่วนบุคคลในครอบครองของหน่วยงานรัฐ ที่ทำเพื่อการใช้งานราชการ ฉะนั้น วิธีดำเนินการต่อข้อมูลเหล่านี้จึงเกี่ยวข้องกับระเบียบราชการว่าด้วยสิ่งที่เป็นความลับของราชการ พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 รวมถึงพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล พ.ศ.2562 เมื่อมีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์ เป็นต้น ด้วยเหตุที่เคยเกิดขึ้นจึงสมควรนำมาพิจารณาเกี่ยวกับการรองรับหรือสอดคล้องต่อกันระหว่างกฏหมาย ระเบียบกับวิธีปฏิบัติของหน่วยงานรัฐ          …