ศิลปินพบภาพส่วนบุคคลของตัวเองไปอยู่บนฐานข้อมูลของ AI

Loading

  Lapine ศิลปินปัญญาประดิษฐ์พบภาพทางการแพทย์ของเธอจากเมื่อเกือบ 10 ปีแล้วถูกนำไปใช้ในการฝึกปัญญาประดิษฐ์ที่ชื่อว่า LAION-5B หลังจากนำภาพใบหน้าของเธอไปค้นหาในเว็บไซต์ Have I Been Trained   ?My face is in the #LAION dataset. In 2013 a doctor photographed my face as part of clinical documentation. He died in 2018 and somehow that image ended up somewhere online and then ended up in the dataset- the image that I signed…

ความลับไม่มีในโลก(บล็อกเชน) จริงหรือ?

Loading

  โดยข้อมูลที่ถูกส่งไปเก็บใน Blockchain นั้นจะอยู่ในรูปแบบของ Transaction ซึ่ง Transaction ทั้งหมด ก่อนที่จะถูกบันทึกลงไปบน Blockchain จะต้องถูกยืนยันความถูกต้องด้วย Node ต่าง ๆ ที่เป็นหน่วยประมวลผลแบบกระจายศูนย์ที่ทำงานเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่าย แต่มันเป็นเรื่องที่เหมาะสมรึเปล่า ที่จะเอาข้อมูลต่างๆลงไปเก็บอยู่บน Blockchain ? ถ้าถามถึงการประยุกต์ใช้งาน Blockchain ในวงการต่าง ๆ เช่น ในวงการแพทย์ มักจะมีคนยกตัวอย่างเคส การใช้ Blockchain ในการเก็บข้อมูลประวัติการรักษาของคนไข้ โดยอ้างถึงข้อดีของ Blockchain ว่าข้อมูลประวัติการรักษาไม่มีการสูญหาย สามารถแชร์กันระหว่างโรงพยาบาลได้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินโดยที่ไม่ต้องส่งเรื่องไปขอข้อมูลที่โรงพยาบาลที่คนไข้ไปตรวจอยู่เป็นประจำ แต่ถ้าเหตุไม่ฉุกเฉินล่ะ ? คนไข้ของโรงพยาบาลแต่ละคนโอเคมั้ยกับการเก็บข้อมูลประวัติการรักษาบนระบบ Blockchain ที่ใคร ๆ ก็เข้าถึงได้โดยไม่ต้องขออนุญาต ข้อมูลในการรักษาบางอย่างควรจะถูกเก็บเป็นความลับ คงไม่มีใครอยากจะเปิดเผยว่าเป็นโรคอะไรอยู่บ้างกับสาธารณะถูกมั้ย ? ถ้าไม่โอเค เราจะมีวิธีการอย่างไรบ้างที่จะเก็บข้อมูลบน Blockchain โดยได้ทั้งความคงทนถาวรของข้อมูล และการไม่สูญเสียความเป็นส่วนตัวไป วันนี้ทาง Token X ในฐานะผู้ให้บริการเกี่ยวกับธุรกิจโทเคนดิจิทัลแบบครบวงจร และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี Blockchain ได้รวบรวมวิธีต่าง…

ข้อพิจารณาจากบางส่วนข้อมูลของหนังสือ “The room where it happened : A white house memoir” กับกฎหมายและระเบียบราชการไทย

Loading

  เนื้อหาของหนังสือ “The room where it happened : A white house memoir” เขียนโดยนายจอห์น โบลตัน อดีตที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ซึ่งคาดว่า จะส่งผลด้านวิกฤตศรัทธาต่อตัวประธานาธิบดีทรัมป์ไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะต่อการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายน 2563 และก่อนหน้าที่หนังสือเล่มนี้จะวางจำหน่ายเมื่อ 23 มิถุนายน 2563 ประธานาธิบดีทรัมป์แสดงออกถึงความไม่พอใจและพยายามขัดขวาง ทั้งให้สภาความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว (The White House National Security Council, NSC) ทำการตรวจสอบเนื้อหาที่อาจเปิดเผยหรือเชื่อมโยงถึงสิ่งที่เป็นความลับในครอบครองของราชการ เพราะนายโบลตันผู้เขียน เคยได้รับความไว้วางใจให้เข้าถึงสิ่งที่เป็นความลับทุกระดับชั้นของทางราชการในฐานะที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคง พร้อมกันนั้นยังมีการร้องขอต่อศาลรัฐบาลกลาง (Federal Government of United States) เพื่อออกคำสั่งให้นายโบลตันระงับการจัดพิมพ์และวางจำหน่าย ด้วยเหตุผลที่ว่าการดำเนินการตรวจสอบของฝ่ายรัฐยังไม่แล้วเสร็จ อย่างไรก็ดี ศาลรัฐบาลกลางปฎิเสธคำร้องของฝ่ายรัฐดังกล่าว     เนื้อหาสาระ“The room where it happened…

เตือน! ชาวเน็ตงดเเชร์ภาพ-ขุดประวัติ เจ้าหน้าที่หน่วยซีล

Loading

  จากกรณีที่นักฟุตบอลเยาวชนและผู้ฝึกสอน รวม 13 คน หายเข้าไปเที่ยวในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ในวนอุทยานขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย เมื่อช่วงเย็นวันที่ 23 มิ.ย. ที่ผ่านมา ก่อนพบรถจักรยานและรองเท้าบริเวณทางเข้าถ้ำ จึงทำการค้นหา จนต้องเรียกหน่วยซีลเข้าช่วย ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น ล่าสุด (25 มิ.ย. 61) หลายๆ เพจได้ออกมาเตือนให้หยุดเรื่องการขุดประวัติของเจ้าหน้าที่หน่วยซีลและนำออกมาเผยแพร่ในโลกสังคมออนไลน์ เเต่เนื่องจากทางด้านเป็นหน่วยที่ต้องรักษาความลับในการปฎิบัติงาน จะไม่เผยหน้าตาให้ใครรู้ว่าเขาคือหน่วยซีล เพราะอาจมีผลกระทบกับความปลอดภัยของครอบครัวเเละคนที่รักได้ จึงขอความร่วมมือทุกท่านช่วยกันลบภาพที่เห็นหน้าของหน่วยซีล   ————————————————————————————————————————————————————— ที่มา : MThai    / วันที่ 25 มิ.ย. 61 ลิงก์ : https://news.mthai.com/social-news/652538.html?utm_source=line&utm_medium=feed&utm_campaign=news

ย้อนรอยความเชื่อมโยง “คุกลับ” ในไทยกับว่าที่ ผอ. ซีไอเอคนใหม่

Loading

  หลังจากนางจีนา แฮสเปล ได้รับเสนอชื่อให้เป็น ผอ. ซีไอเอ คนใหม่เมื่อเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา เรื่องราวที่ยังไม่กระจ่างเกี่ยวกับศูนย์กักตัวและซ้อมทรมานผู้ต้องสงสัยของสหรัฐฯ กลับมาเป็นที่ถกเถียงอีกครั้ง และความสนใจก็พุ่งไปยังประเทศไทย ที่เป็นที่ตั้ง “คุกลับ” ที่แฮสเปลเคยกำกับดูแล บีบีซีไทยเสนอรายงานของนายโจนาธาน เฮด ผู้สื่อข่าวบีบีซีประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าด้วยความเกี่ยวข้องระหว่างว่าที่ ผอ. ซีไอเอคนใหม่และ “คุกลับ” ในประเทศไทย เมื่อเดือน เม.ย. 2002 เครื่องบินลำหนึ่งบินออกจากสนามบินในปากีสถานมุ่งสู่ประเทศไทย หนึ่งในผู้โดยสารบนเครื่องบินลำนั้นคือ นายอาบู ซูเบย์ดาห์ ก่อนหน้านั้นไม่กี่วัน เขาถูกจับตัวได้ในปฏิบัติการร่วมระหว่างสหรัฐฯ และปากีสถาน ที่นำกำลังบุกทลายเซฟเฮาส์ของเครือข่ายอัลกออิดะห์ที่เมืองไฟซาลาบัดในปากีสถาน นายซูเบย์ดาห์ วัย 31 ปี เป็นชาวปาเลสไตน์ที่เกิดในซาอุดิอาระเบีย และเชื่อกันว่าเขาเป็นหนึ่งสมาชิกระดับสูง ในเครือข่ายผู้ก่อการร้ายของนายโอซามา บินลาดิน เขาอยู่ในการควบคุมของเจ้าหน้าที่ซีไอเอ ซึ่งได้ตัดสินใจให้นายซูเบย์ดาห์เป็นผู้ต้องขัง “มูลค่าสูง” คนแรกที่สามารถถูก “สอบสวนด้วยเทคนิคพิเศษ” ซึ่งกลุ่มรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชนกล่าวว่ามันคือการซ้อมทรมาน     ในเดือน ธ.ค. 2014 คณะกรรมาธิการวิสามัญด้านข่าวกรองของวุฒิสภาสหรัฐฯ (SSCI) ได้ตีพิมพ์รายงานลับจำนวน…