Auto Blocker สำคัญยังไง บล็อกสแปมจากมิจฉาชีพได้จริงไหม? เช็คมือถือ/แท็บเล็ต Samsung Galaxy ได้อัปเดต One UI 6 ใช้ได้ทุกรุ่น

Loading

  หลังจากที่เริ่มทยอยให้ใช้กันสักพัก ล่าสุด Samsung จัดงานเพื่อตอกย้ำถึงการยกระดับความปลอดภัยจากการโจรกรรมทางไซเบอร์ ได้จัดงานแนะนำฟีเจอร์ Auto Blocker (ตัวบล็อกอัตโนมัติ) กับการช่วยป้องกันสแปม มัลแวร์ต่างๆ ผ่านมือถือซัมซุงกาแล็กซี่ ที่รองรับ One UI 6 โดยได้เชิญตำรวจไซเบอร์และสำนักงานตำรวจแห่งชาติมาร่วมให้ข้อมูลภัยไซเบอร์อีกด้วย     โดย พลตำรวจตรี ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้เผยสถิติแจ้งความออนไลน์ 9 เดือน ช่วงปี 2566 ว่าคิดเป็นมูลค่าความเสียหายรวมที่เกิดขึ้นสูงถึง 2 หมื่นล้านบาท จาก 185,814 คดี และมีจำนวนเคสเฉลี่ยต่อวันประมาณ 700 – 800 เคส   14 ประเภทคดีออนไลน์ที่คนไทยโดนหลอกมากสุด 17 มี.ค. – 31 ธ.ค. 2566 1. หลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการไม่เป็นขบวนการ 82,902 คดี 2. หลอกให้โอนเงินเพื่อทำงานฯ…

เทคนิคลดความเสี่ยง จาก ‘รอยเท้าดิจิทัล’

Loading

  ก่อนสิ้นปีที่ผ่านมาผมได้รับข้อความจากค่ายเพลง Spotify ที่เป็นสมาชิก เพื่อสรุปรายละเอียดการใช้ Spotify ของผมในรอบปีที่ผ่านมา บทสรุปมีรายละเอียดมากมายซึ่งคือ “รอยเท้าดิจิทัล” (Digital Footprint) ที่เกิดจากการใช้บริการบนโลกออนไลน์ของผม   ก่อนสิ้นปีที่ผ่านมาผมได้รับข้อความจากค่ายเพลง Spotify ที่เป็นสมาชิก เพื่อสรุปรายละเอียดการใช้ Spotify ของผมในรอบปีที่ผ่านมาว่า ฟังเพลงไปกี่นาที เพลงหรือศิลปินคนไหนบ้างที่ผมฟังมากที่สุด และใช้เวลาไปกี่นาที บทสรุปมีรายละเอียดมากมายซึ่งคือ “รอยเท้าดิจิทัล” (Digital Footprint) ที่เกิดจากการใช้บริการบนโลกออนไลน์ของผม   รอยเท้าดิจิทัล ที่ผมใช้บริการมีอยู่มากมายที่แอปต่าง ๆ เปิดให้ผมดูได้ ตั้งแต่การสั่งอาหาร หรือเรียกใช้บริการรถสาธารณะออนไลน์ ที่สามารถดูได้ว่าสั่งร้านใดไปเมื่อไร เดินทางไปไหน หรือ แม้แต่ว่าสั่งรายการอะไร มีข้อมูลบัตรทางด่วนที่เห็นรายละเอียดได้ว่าไปจ่ายที่ด่านไหน วันเวลาอะไร รวมถึงการทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ เช่น การใช้พร้อมเพย์ โมบายแบงกิ้ง หรือการจ่ายเงินผ่านดิจิทัลวอลเล็ตอย่าง True Money ที่จะเห็นรายละเอียดต่างๆ   นอกจากนี้หากไปดูข้อมูลในโซเชียลมีเดียต่างๆ ที่ผมใช้บริการจะมีรอยเท้าดิจิทัลของผมอีกว่า ผมโพสต์ข้อมูลใดบ้าง เมื่อไร ผมไปกดไลค์ข้อความไหน ใครเป็นเพื่อนผมบ้าง…

ชวนคิด เมื่อ AI กำลังส่งผลกับพฤติกรรมและความคิดของเรา โดยไม่รู้ตัว จริงไหม ?

Loading

  ชวนคิด เมื่อปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังส่งผลกับพฤติกรรมและความคิดของเรา พร้อมกับการใช้ Data Science โดยไม่รู้ตัว จริงไหม ?   ดร.เจษฎา กาญจนะ นักวิจัยกลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ เนคเทค สวทช. ชวนคิดย้อนเวลาไปประมาณกว่า 10 ปีที่ผ่านมา เมื่อหนึ่งสัปดาห์ของเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 ตั้งแต่วันที่ 11 ถึงวันที่ 18 ผู้ใช้งาน Facebook จำนวน 689,003 คน (หรือประมาณ 1 ใน 2,500 คนของผู้ใช้งานขณะนั้น) ถูกสุ่มให้ใช้อัลกอริทึมที่ถูกปรับเปลี่ยนสำหรับคัดเลือกให้เห็น News Feed หรือข้อความของเพื่อนแค่บางแบบเท่านั้น   ผู้ใช้กลุ่มหนึ่งเห็นข่าวดี หรือข้อความบวกเยอะกว่าข้อความเชิงลบ ในขณะที่ผู้ใช้อีกกลุ่ม เห็นข่าวร้ายหรือข้อความลบเยอะกว่า จุดประสงค์ของการทดลองคือ การศึกษาการแพร่กระจายทางอารมณ์ (emotional contagion) ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ Facebook และทีมวิจัยต้องการดูว่า อารมณ์สามารถส่งต่อระหว่างคนเมื่อเห็นเฉพาะข้อความตามตัวอักษร โดยไม่มีปฏิสัมพันธ์ทางกายภาพได้หรือไม่…

“ไมโครซอฟท์” ห้ามพนักงานใช้ “ChatGPT” ชั่วคราว อ้างวิตกด้านความปลอดภัย

Loading

มโครซอฟท์ คอร์ป ซึ่งเป็นบริษัทซอฟต์แวร์จากสหรัฐ ได้ทุ่มเม็ดเงินลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐในบริษัทโอเพนเอไอ (OpenAI) ซึ่งเป็นสตาร์ตอัปผู้พัฒนาแชตจีพีที (ChatGPT) แชตบอตเอไอยอดนิยม แต่ในช่วงเวลาสั้น ๆ ในวันพฤหัสบดี (9 พ.ย.) ไมโครซอฟท์ได้สั่งห้ามไม่ให้พนักงานใช้งาน ChatGPT

EU จ่อใช้กฎหมายตลาดดิจิทัล กระทบยักษ์ใหญ่เทคโนโลยี 6 แห่ง

Loading

คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ระบุเมื่อวันพุธ (6 ก.ย.) ว่า EC ได้กำหนดให้บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ 6 แห่งเป็น “ผู้เฝ้าประตู” (gatekeepers) ภายใต้กฎหมายตลาดดิจิทัล (Digital Markets Act – DMA) ซึ่งเป็นกฎหมายกำกับดูแลด้านการแข่งขันฉบับใหม่ที่อาจพลิกโฉมรูปแบบธุรกิจของแพลตฟอร์มดิจิทัลขนาดใหญ่

ตำรวจยุคใหม่ ใช้โดรนส่องหลังคาบ้าน ท้าทายความเป็นส่วนตัว

Loading

  ในระหว่างที่ชาวนิวยอร์ก กำลังใช้วันหยุดไปกับการจัดปาร์ตี้บาร์บีคิวที่สวนหลังบ้าน ช่วงนั้นเองก็มีโดรนติดกล้องจากทางเจ้าหน้าที่ บินมาร่วมแจมด้วย…   กรมตำรวจนครนิวยอร์กประกาศใช้แผนส่งโดรนสำรวจบนท้องฟ้าในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์นี้ โดยเลือกติดตามบ้านที่มีการงานปาร์ตี้กลางแจ้ง เพื่อตรวจสอบความเรียบร้อย หากได้รับการโทรแจ้งเข้ามาเป็นจำนวนมาก   อย่างไรก็ตาม แผนการดังกล่าวก็ถูกตั้งคำถามถึงความเป็นส่วนตัว รวมถึงการละเมิดกฎหมายควบคุมการสอดแนมในพื้นที่ด้วยหรือไม่ และการบินสองปาร์ตี้หลังบ้านในเมือง ดูเป็นเรื่องเร่งด่วนจริง ๆ หรือ   ทางด้านกรรมการบริหารของ Surveillance Technology Oversight Project (STOP) ในสหรัฐฯ ก็ออกมาแสดงความคิดเห็นคล้าย ๆ กัน โดยมองด้วยว่าตัวโดรนของเจ้าหน้าที่ อาจบินไปดูส่วนที่เป็นห้องนอนโดยมิชอบ   มีข้อมูลเผยว่า ที่ผ่านมาทางตำรวจนิวยอร์คได้ใช้โดรนบินเพิ่มขึ้นอย่างมากในปีนี้ แต่มีการใช้โดรนเพื่อความปลอดภัยในที่สาธารณะหรือเหตุฉุกเฉินเพียงสี่ครั้ง ในขณะที่ตัวเลขขึ้นบินมีมากถึง 124 ครั้ง และจะเพิ่มมากขึ้นในวันหยุดช่วงสุดสัปดาห์นี้   แนวคิดการเฝ้าระวังบนท้องฟ้าด้วยโดรน นับว่าเป็นเรื่องดีที่จะช่วยให้เจ้าหน้าที่สองส่องดูแลได้ทั่วถึงขึ้น แต่การไปสอดส่องบริเวณที่อยู่อาศัย ที่ที่เป็นพื้นที่ส่วนตัวของชาวเมือง จึงไม่แปลกที่จะเกิดเสียงต่อต้าน วันดีคืนดีอาจมีโดรนตำรวจถูกสอยเข้าสักวันเป็นแน่     ที่มา : Techspot       —————————————————————————————————————————————————…