สู่ยุคใหม่แห่งการรักษาความปลอดภัย กล้องวงจรปิดอัจฉริยะจาก AI

Loading

  ปัญญาประดิษฐ์ถือเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามามีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเริ่มมีการพูดถึงระบบตรวจจับด้วยกล้องวงจรปิดอัจฉริยะจาก AI แม้นี่ไม่ใช่ของใหม่แกะกล่อง แต่หลายประเทศก็เริ่มตั้งคำถามในการนำมาใช้งานเช่นกัน   กล้องวงจรปิด หนึ่งในอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย ถูกใช้งานในฐานะอุปกรณ์บันทึกภาพเพื่อยืนยันสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงตรวจสอบข้อเท็จจริงต่าง ๆ สามารถพบเห็นได้ตามท้องถนน อาคารบ้านเรือน หรือแม้แต่รถยนต์ส่วนบุคคล เรียกว่าเป็นหนึ่งในระบบรักษาความปลอดภัยที่ขาดไม่ได้ในปัจจุบัน   สำหรับภาครัฐนี่ก็ถือเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยระบุตัวตนในพื้นที่สาธารณะเป็นอย่างดี ช่วยให้สามารถตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแบบเรียลไทม์ ใช้งานในการดูแลรักษาความสงบภายในประเทศ นำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีนี้ให้สามารถตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ   ล่าสุดจึงเริ่มมีการนำเอาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาปรับใช้ นำไปสู่การพัฒนา กล้องวงจรปิดอัจฉริยะ ในที่สุด     ขั้นกว่าในการรักษาความปลอดภัย กล้องวงจรปิดอัจฉริยะจาก AI   ความก้าวหน้าของ เอไอ หรือ ปัญญาประดิษฐ์ได้รับการพูดถึงอย่างกว้างขวาง การพัฒนาก้าวกระโดดสร้างแรงสั่นสะเทือนครั้งใหญ่ทางสังคม หลายภาคส่วนจึงเริ่มมองเห็นแนวทางการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ สู่การคิดค้นกล้องวงจรปิดอัจฉริยะ ที่เริ่มมีการใช้งานแพร่หลายทั่วทุกมุมโลก   ในสหราชอาณาจักรเริ่มมีการติดตั้งกล้องวงจรปิดอัจฉริยะ สามารถตรวจสอบการทิ้งขยะของคนขับและผู้โดยสารที่อยู่ภายในรถ จากนั้นจะทำการระบุป้ายทะเบียนและส่งข้อมูลนี้ไปถึงเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโดยอัตโนมัติ นำไปสู่การออกใบสั่งเสียค่าปรับซึ่งมีมูลค่าสูงสุดถึง 100 ปอนด์(ราว 4,400 บาท) เลยทีเดียว   ทางด้านสหรัฐฯได้มีการนำระบบ AI มาใช้ร่วมกับ ระบบอ่านป้ายทะเบียนอัตโนมัติ…

ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย สิ่งสำคัญของการใช้เทคโนโลยี

Loading

    ตอนนี้เทคโนโลยี อย่าง AI, Blockchain และ Cloud เข้ามามีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ ดังนั้น ความเป็นส่วนตัวและการป้องกันความปลอดภัย จึงเป็นสิ่งที่ตามมา ซึ่งเทคโนโลยีถ้าไม่มีการให้ความรู้กับผู้ใช้งาน ก็จะไร้ประโยชน์   ดร.ภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) กล่าวในงาน Digital Life Forum 2023 : นวัตกรรม เปลี่ยนชีวิต เปลี่ยนโลก จัดขึ้นโดย สปริงนิวส์ ว่า บทบาทของเราทำหน้าที่ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ผมอยากให้สิ่งที่ Drive คือความต้องการของคน เพราะเทคโนโลยีดียังไงแต่ไม่มีคนใช้ มันก็ไปไม่รอด เราพยายามผลักดัน SME ให้เทคโนโลยี ซึ่งจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีใช้เวลาน้อยลงในการเปลี่ยนวัฎจักร ซึ่งโควิดมาความต้องการเปลี่ยนก็ทำให้เทคโนโลยีเปลี่ยน ยกตัวอย่าง เวลาเราขึ้นตึกแล้วต้องแลกบัตรประชาชน เราก็กลัวข้อมูลรั่วไหล ก็ต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์ความต้องการ     ปัจจุบันเรื่องของ Data มีความสำคัญและมี Value มาก ดังนั้นจึงมีเทคโนโลยีเกี่ยวกับ…

ดิจิทัลและความเป็นส่วนตัว

Loading

  วิถีชีวิตของคนยุคปัจจุบันล้วนพึ่งพาอาศัยระบบดิจิทัลมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหรือใช้ชีวิตส่วนตัวเราล้วนอาศัยบริการดิจิทัลช่วยให้ชีวิตเราสะดวกสบายมากขึ้น แต่ในอีกมุมหนึ่งก็ต้องยอมรับความเสี่ยงที่ข้อมูลส่วนบุคคลรวมถึงข้อมูลองค์กรอาจหลุดรั่วออกไปได้มากขึ้นเช่นกัน   ในยุคที่ข้อมูลเป็นสินทรัพย์สำคัญที่สุด รวมถึงการถือกำเนิดของเงินสกุลดิจิทัล เราจึงคุ้นเคยกับคำว่าสินทรัพย์ดิจิทัลมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่สิ่งที่ยังพัฒนาตามมาไม่ทันคือแนวคิดแบบดิจิทัล ที่ต้องตระหนักในเรื่องความปลอดภัยและใส่ใจต่อข้อมูลส่วนบุคคลมากกว่านี้   เริ่มจากประการแรกคือต้องเข้าใจว่า “ของฟรีไม่มีในโลก” แม้ว่าบริการดิจิทัลที่เปิดใช้อยู่ในปัจจุบันหลายแพลตฟอร์มจะไม่เสียค่าใช่จ่ายใด ๆ แต่เราต้องเข้าใจว่าบริการเหล่านี้ล้วนได้ “ข้อมูลส่วนบุคคล” ของผู้ใช้เป็นเครื่องแลกเปลี่ยน ไม่ได้ใจดีเปิดให้ใช้ฟรีอย่างที่หลาย ๆ คนคิด   ข้อมูลเหล่านี้มีทั้งข้อมูลพื้นฐานของผู้ใช้ รวมไปถึงข้อมูลจากการวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานว่าเข้ามาดูข้อมูลหรือค้นหาสินค้าชนิดใดเป็นพิเศษ ซึ่งระบบเอไอก็จะช่วยวิเคราะห์ได้ว่าตัวตนของเรานั้นเป็นอย่างไร เหมาะกับสินค้าและบริการแบบไหน เราจึงได้เห็นโฆษณาสินค้าที่เรากำลังมีความสนใจอยู่บ่อย ๆ   ซึ่งนี่เป็นเรื่องพื้นฐานเท่านั้น เพราะในปัจจุบันแพลตฟอร์มต่าง ๆ เริ่มพยากรณ์ความต้องการของผู้ใช้ได้แม่นยำมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเก็บข้อมูลจากผู้ใช้ได้ละเอียดมากขึ้นเช่นกัน   ประเด็นที่สองที่ต้องขบคิดให้ดีก่อนจะสมัครใจใช้แพลตฟอร์มใด ๆ ก็คือความน่าเชื่อถือของแต่ละแพลตฟอร์ม เพราะทุกวันนี้มีบริการดิจิทัลใหม่ ๆ เปิดตัวมากมายแทบจะทุกนาทีซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่ทุกแฟลตฟอร์มจะถูกตรอจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วนอย่างที่ควรจะเป็น   ในโลกแห่งความเป็นจริงเราจึงเห็นแอปพลิเคชันบางตัว ขอสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้มากเกินไป รวมไปถึงบางแอปพลิเคชันที่ตั้งใจทำขึ้นมาเพื่อเอาข้อมูลจากผู้ใช้ และที่หนักที่สุดคือแอปพลิเคชันที่มิจฉาชีพหลอกให้ผู้ใช้โหลดโดยตรงเพื่อนำเงินออกจากธนาคารตามที่เป็นข่าวครึกโครมในรอบ 1-2 ปีที่ผ่านมา   ก่อนจะใช้บริการจากแพลตฟอร์มใด ๆ เราจึงต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนว่าแอปพลิเคชันเหล่านั้นมีความจำเป็นต้องเข้าถึงข้อมูลของเรามากเพียงใด…

เช็คฟีเจอร์ใหม่ของความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย Apple เพิ่ม Check In, NameDrop, Family Password , คำเตือนเนื้อหาที่ละเอียดอ่อน

Loading

    เช็คฟีเจอร์ใหม่ของความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย Apple หลังเผยในช่วงงาน WWDC 2023 ซึ่งจะมาอยู่บนระบบปฏิบัติการใหม่ทั้ง iOS17 , iPadOS17 , watchOS10 และอีกมากมาย สิ่งที่ Apple ให้ความสำคัญมากอยู่คือ ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของผู้ใช้ โดยได้เปิดฟีเจอร์ใหม่เพียบใน WWDC 2023 ครั้งนี้   Craig Federighi รองประธานอาวุโสฝ่ายวิศวกรรมซอฟต์แวร์ของ Apple กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์และคุณสมบัติใหม่ๆ ทั้งหมดของ Apple ล้วนได้รับการออกแบบโดยคำนึงถึงความเป็นส่วนตัวตั้งแต่แรกเริ่ม เมื่อเป็นเรื่องของข้อมูล เราเน้นให้ผู้ใช้เป็นผู้ควบคุมเองทั้งหมดโดยการเดินหน้าพัฒนาคุณสมบัติด้านความเป็นส่วนตัวชั้นแนวหน้าของอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง รวมถึงความปลอดภัยของข้อมูลที่ดีที่สุดในโลก และแนวทางนี้ก็ปรากฏเด่นชัดในหลายคุณสมบัติบนแพลตฟอร์มของเรา อย่างการอัปเดตครั้งใหญ่สำหรับการท่องเว็บแบบส่วนตัวใน Safari รวมถึงการขยายขอบเขตของโหมดล็อคดาวน์   เช็คฟีเจอร์ใหม่ของความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย Apple มีอะไรบ้าง   อัปเดตครั้งใหญ่สำหรับการท่องเว็บแบบส่วนตัวใน Safari     ทั้งจากการถูกติดตามขณะท่องเว็บ และจากผู้ที่อาจเข้าถึงอุปกรณ์ของผู้ใช้ได้ อย่างคุณสมบัติอันล้ำสมัยที่ปกป้องผู้ใช้จากการถูกติดตามและสะกดรอยนั้นก็ได้รับการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นไปอีกเพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เว็บไซต์ใช้เทคนิคล่าสุดในการติดตามหรือระบุอุปกรณ์ของผู้ใช้ นอกจากนี้ยังมีการล็อคหน้าต่างการเลือกชมเว็บแบบส่วนตัวเมื่อไม่ใช้งาน ผู้ใช้จึงสามารถเปิดแถบเว็บไซต์ทิ้งไว้ได้แม้จะต้องลุกไปทำอย่างอื่น   ปรับปรุงการขออนุญาตเพื่อความเป็นส่วนตัวสำหรับรูปภาพ…

ฝรั่งเศส ร่างกฎหมายห้ามพ่อ-แม่ โพสต์รูปลูกบนโซเชียลมีเดีย หากเด็กไม่ยินยอม เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัว

Loading

    ฝ่ายนิติบัญญัติของฝรั่งเศส อนุมัติกฎหมายใหม่เพื่อช่วยปกป้องความเป็นส่วนตัวของเด็กบนอินเทอร์เน็ต ตามกฎหมายแล้ว และผู้ปกครองในประเทศจะถูกห้ามไม่ให้โพสต์หรือแชร์ภาพถ่ายของลูก ๆ โดยไม่ได้รับอนุญาต   ร่างกฎหมายดังกล่าวถูกเสนอโดย บรูโน สตูเดอร์ (Bruno Studer) นำสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร (MP) และผ่านความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์จากสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศส   เนื้อความในกฎหมาย ระบุว่า ทั้งพ่อและแม่ต้องรับผิดชอบต่อสิทธิในรูปภาพของเด็ก หากมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่เห็นด้วยกับการโพสต์รูป ศาลครอบครัวมีสิทธิ์เป็นผู้ตัดสินหรือสั่งห้ามโพสต์ทั้งคู่ หากภาพดังกล่าว “ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อศักดิ์ศรีหรือศีลธรรมอันดีของเด็ก” โดยการตัดสินใจว่าจะโพสต์ภาพลูกลงในสื่อออนไลน์หรือไม่ จะต้องให้เด็กมีส่วนร่วมด้วย โดยพิจารณาจากอายุและระดับวุฒิภาวะของเด็กคนนั้น ๆ   และหากผู้ปกครอง ยังฝ่าฝืนโพสต์รูปที่อาจเป็นปัญหาต่อจิตใจของเด็กอย่างร้ายแรงในอนาคต ศาลสามารถเพิกถอนอำนาจและสิทธิของพ่อแม่ได้ทันที   สภาสมาคมเพื่อสิทธิเด็กแห่งฝรั่งเศส อ้างถึงการแจ้งเตือนจากยูโรโพล (Europol) และอินเตอร์โพล (Interpo)l เกี่ยวกับการแพร่กระจายของเนื้อหาการล่วงละเมิดทางเพศเด็กทางออนไลน์ และการแพร่หลายของเนื้อหาที่ผลิตขึ้นเองโดยเยาวชนเองหรือคนรอบข้าง   อันจา สตีวิต (Anja Stevic) นักวิจัยด้านการสื่อสารแห่งมหาวิทยาลัยเวียนนา เชื่อว่าจำเป็นต้องปกป้องเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะและยังไม่มีเสียงพูดต่อต้านภาพที่พ่อแม่แชร์ทางออนไลน์   โดยร่างกฎหมายนี้ถือเป็นครั้งแรกของโลกและได้รับความเห็นชอบจากนักจิตวิทยาเด็กและผู้เชี่ยวชาญด้านโซเชียลมีเดียด้วย          …

WhatsApp จะไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมายสหราชอาณาจักรที่จะลดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้

Loading

  ผู้บริหาร WhatsApp ไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายด้านความปลอดภัยของสหราชอาณาจักรที่บริษัทมองว่าจะกระทบความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน   ร่างกฎหมายความปลอดภัยออนไลน์ (Online Safety Bill) มีเนื้อหาที่ระบุว่าเจ้าของแพลตฟอร์มการสนทนาจะต้องสามารถเข้าดูเพื่อกรองเนื้อหาการสนทนาของผู้ใช้บนแพลตฟอร์มได้ ผู้ใช้ก็จะเสียความเป็นส่วนตัวไป   ซึ่งหาก WhatsApp ยอมปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้ หมายความว่าต้องมีการนำวิธีการเข้ารหัสแบบ 2 ฝั่ง (E2EE) ที่เป็นเครื่องมือปกป้องความเป็นส่วนตัวระหว่างผู้สนทนาออกไป   วิล แคตคาร์ต (Will Cathcart) ผู้บริหาร WhatsApp ชี้ว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการลดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้สำหรับเพียงประเทศใดประเทศหนึ่ง ที่จะกระทบผู้ใช้ส่วนอื่นของโลกด้วย   แคตคาร์ตอยู่ระหว่างการเดินทางเยือนสหราชอาณาจักร เพื่อเสนอการแก้เนื้อหาของร่างกฎหมายดังกล่าวกับฝ่ายนิติบัญญัติ   แคตคาร์ตชี้ว่าบางประเทศแก้ปัญหาด้วยการปิดกั้นไม่ให้ใช้งานแพลตฟอร์มที่ไม่ยอมทำตามกฎหมายในลักษณะนี้ ตัวยกตัวอย่างอิหร่าน   “เราไม่เคยเห็นว่ามีประเทศประชาธิปไตยเสรีนิยมที่ทำแบบนั้น” แคตคาร์ตระบุ     ที่มา Silicon Republic       ————————————————————————————————————————- ที่มา :             …