“ระบบจดจำใบหน้า” ความน่ากลัวกับการสูญเสียความเป็นส่วนตัว

Loading

  “ระบบจดจำใบหน้า” ความน่ากลัวกับการสูญเสียความเป็นส่วนตัว ระบบจดจำใบหน้าถูกนำไปใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลภาพจำนวนมหาศาลในหลายด้าน ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีด้านการมองเห็นของคอมพิวเตอร์ (Computer vision) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “เอไอ” ได้ก้าวหน้าไปอย่างมาก สามารถวิเคราะห์ภาพต่างๆ ได้มากมายดังเช่น แยกแยะสิ่งต่างๆ ในรูปได้ว่าคืออะไร รวมทั้งยังสามารถจดจำใบหน้าคนได้ดีกว่าคนอีกด้วย ทุกวันนี้เราสามารถใช้โปรแกรม Google len ในมือถือถ่ายภาพ แล้วค้นหาได้ว่ารูปนี้คืออะไร หรือแม้แต่ค้นหาแหล่งซื้อสินค้าและราคา ทำการแปลภาษาก็สามารถทำได้ ขณะเดียวกัน ผู้คนเริ่มคุ้นเคยกับเทคโนโลยีการจดจำใบหน้า (Facial recognition) โดยเฉพาะการใช้เพื่อระบุตัวตน เช่น การปลดล็อกโทรศัพท์มือถือ การเข้าสถานที่ทำงาน เข้าที่อยู่อาศัย รวมถึงการทำธุรกรรมทางการเงิน ความสามารถเทคโนโลยีในการมองเห็นทำงานได้ถูกต้องแม่นยำขึ้นมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะวิธีการในการคำนวณและประมวลผลที่ดีขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญมากสุดคือ ทุกวันนี้มีฐานข้อมูลรูปภาพจำนวนมหาศาล ทำให้ระบบการมองเห็นนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้เพื่อการค้นหาหรือแยกแยะรูปภาพต่างๆ ได้อย่างแม่นยำขึ้น ซึ่งในหลักการของเทคโนโลยีเอไอยิ่งมีข้อมูลมาก ความถูกต้องของการพยากรณ์ก็จะดียิ่งขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจหากเราค้นชื่อตัวเองใน Google แล้วสามารถแสดงรูปภาพที่อยู่ในอินเทอร์เน็ตออกมาได้ เพราะคิดว่า Google ไปค้นหาข้อมูลในอินเทอร์หรือโปรไฟล์ในโซเชียลมีเดียที่เปิดเป็นสาธารณะ แต่ในขณะเดียวกันเว็บไซต์ Yandex.com ก็สามารถค้นหาได้โดยใช้รูปภาพบุคคล เพื่อให้ได้รูปอื่นๆ ของคนนั้น รวมทั้งยังได้ชื่อของคนๆ…

ไหนบอกปลอดภัย?! แฉ Apple ยอมตามกฎหมายจีน ทำให้ข้อมูลผู้ใช้ตกอยู่ในความเสี่ยง!

Loading

  แม้ซีอีโอของ Apple อย่างทิม คุก (Tim Cook) ได้ประกาศว่า ข้อมูลของผู้บริโภคจะปลอดภัย แต่ศูนย์ข้อมูลของ Apple ที่กุ้ยหยางกลับต้องตกอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลจีน ทำให้ข้อมูลของผู้บริโภคชาวจีนจะไม่ปลอดภัยเหมือนที่ Apple เคยโฆษณาเอาไว้ New York Times ออกมาแฉว่า Apple ละทิ้งอุดมการณ์ของตัวเอง โดยยอมประนีประนอมให้กับกฎหมายในประเทศจีน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของความปลอดภัยของผู้ใช้งานให้อยู่ในความเสี่ยง โดยได้มีการเผยแพร่เอกสารข้อมูลจากการสัมภาษณ์พนักงาน Apple และผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยจำนวน 17 คน ที่ทำงานอยู่กับ Apple ทั้งในปัจจุบันและในอดีต เป็นหลักฐานถึงการยอมลดมาตรการความปลอดภัยของบริษัทเพื่อรัฐบาลจีน     แม้ทิม คุกจะออกมาพูดบ่อย ๆ เกี่ยวกับความมุ่งมั่นของ Apple ในเรื่องสิทธิเสรีภาพและความเป็นส่วนตัว แต่กลับพบว่า Apple ได้ทำให้ ข้อมูลส่วนตัวของผู้บริโภคชาวจีนตกอยู่ในความเสี่ยง อีกทั้งยังยินยอมทำตามรัฐบาลจีนในการคัดกรองบางแอปออกจาก App Store อีกด้วย ที่จริงแล้ว Apple ถึงขนาดยอมตัดประโยค “Designed by Apple in…

ครั้งแรกของโลก ยุโรปเสนอกฎกำกับดูแล AI สร้างขอบเขตการใช้งานให้ไม่กระทบสิทธิพลเมือง

Loading

  สหภาพยุโรป เสนอร่างข้อกำหนดควบคุมการใช้ AI โดยจะเป็นนโยบายแรกของโลกในการกำกับดูแลและกำหนดขอบเขตของบริษัทว่าสามารถใช้ AI ได้ถึงระดับไหน เนื่องจาก AI ยังมีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง ทั้งการคุกคามความเป็นส่วนตัว และความโน้มเอียง   ตัวร่างข้อกำหนดความยาว 108 หน้า แบ่งความเสี่ยง AI เป็น 4 ขั้น ความเสี่ยงระดับที่ยอมรับไม่ได้ เช่น AI ที่รัฐบาลใช้กำหนดคะแนนความประพฤติของประชาชน เป็นต้น ซึ่งยุโรปจะแบนการใช้อัลกอริทึมพวกนี้ทั้งหมด ความเสี่ยงสูง เช่น AI ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายและการระบุตัวตนทางชีวภาพ ทางคณะกรรมาธิการยุโรประบุว่า เทคโนโลยีในกลุ่มนี้ต้องอยู่ภายใต้การกำกับตั้งแต่ขั้นฝึกระบบเลย AI ที่มีความเสี่ยงจำกัด เช่น แชทบอท ตัวร่างระบุให้บริษัทเปิดเผยใช้ชัดว่าผู้ใช้กำลังคุยกับ AI เพื่อให้ผู้ใช้ตัดสินใจเองว่าอยากคุยต่อหรืออยากคุยกับคนมากกว่า AI ความเสี่ยงต่ำ เช่น ระบบกรองสแปม ในเอกสารไม่ได้ระบุวิธีการกำกับดูแล No Description วัตถุประสงค์ของร่างข้อกำหนดคือ ให้แน่ใจว่า AI ที่ใช้ในตลาดมีความปลอดภัย และเคารพหลักสิทธิขั้นพื้นฐาน และให้มีกฎหมายที่แน่นอน เพื่ออำนวยความสะดวกในการลงทุนพัฒนา AI…

สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐฯเสนอกฎหมาย ห้ามหน่วยงานรัฐ ซื้อข้อมูลใบหน้าจากบริษัทภายนอก

Loading

    ที่สหรัฐฯ กำลังมีประเด็นเรื่องความเป็นส่วนตัวโดยเฉพาะข้อมูลใบหน้าจากระบบจดจำใบหน้า เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา Buzzfeed News รายงานว่า มีหน่วยงานรัฐ ตำรวจ สถาบันการศึกษา ใช้ข้อมูลจากระบบจดจำใบหน้าของ Clearview AI อย่างแพร่หลายโดยไม่มีการกำกับดูแลที่เหมาะสม นอกจากนี้ ยังมีบุคลากรในหน่วยงานถึง 1,803 แห่งใช้แพลตฟอร์มจดจำใบหน้า โดยไม่ได้รับการอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา ล่าสุด สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐฯ เสนอกฎหมาย Fourth Amendment is Not For Sale Act หน่วยงานจะไม่สามารถซื้อข้อมูลประชากรจากนายหน้าหรือหรือจากบริษัทภายนอกได้ หากข้อมูลนั้นได้มาจากบัญชีหรืออุปกรณ์ของผู้ใช้ หรือผ่านการหลอกลวง การละเมิดสัญญานโยบายความเป็นส่วนตัว หากกฎหมายนี้ผ่าน บริษัท Clearview AI จะไม่สามารถขายข้อมูลให้กับหน่วยงานรัฐบาลของสหรัฐอเมริกาได้อีกต่อไป มีรายงานด้วยว่า Clearview AI ใช้วิธีการหลากหลายเพื่อให้ได้ข้อมูลมา เช่น ดูดข้อมูลใบหน้าจาก Google, Facebook, Twitter และ Venmo ซึ่งบริษัทพยายามปกป้องตัวเองด้วยการบอกว่า Clearview AI รวบรวมเฉพาะภาพถ่ายที่เปิดเผยต่อสาธารณะจากอินเทอร์เน็ต Hoan…

PDPA BEGINS : เพื่อความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย

Loading

  ความเป็นส่วนตัว (Privacy) ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์มาอย่างยาวนาน ในอดีตการเรียกร้องความเป็นส่วนตัวจะมุ่งเน้นไปที่ความเป็นส่วนตัวทางกายภาพ (Physical Privacy) หมายถึงสิทธิอันชอบธรรมในการอยู่อย่างสันโดดและปลอดภัยจากการรบกวนจากบุคคลภายนอก เช่น บุคคลอื่น องค์กร หรือแม้กระทั่งหน่วยงานจากภาครัฐ แต่เมื่อเข้าสู่ยุคแห่งการสื่อสารข้อมูลระหว่างกันผ่านทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ข้อมูลส่วนบุคคลจึงหลั่งไหลเข้าไปอยู่บนระบบมากขึ้น ทำให้เกิดความต้องการความส่วนตัวด้านสารสนเทศ (Information Privacy) และรวมไปถึงความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Privacy) เจ้าของข้อมูล (Data Subject) จะต้องมีสิทธิและเสรีภาพอย่างเต็มที่ต่อข้อมูลของตนที่จะให้บุคคลอื่นหรือองค์กรต่าง ๆ นำข้อมูลไปใช้ตามความยินยอม (Consent) ที่อนุญาตเท่านั้น เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัว ผลประโยชน์ และปกป้องความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับตนเอง ซึ่ง พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Act – PDPA) ที่จะมีผลบังคับใช้ในกลางปี 2564 นี้ จะเป็นเครื่องมือที่จะทำให้ปัจเจกบุคคลมั่นใจได้ว่า ข้อมูลของตนที่อนุญาตให้องค์กรนำไปใช้มีการบริหารจัดการอย่างเหมาะสมและมีระบบการป้องกันข้อมูลที่น่าเชื่อถือและปลอดภัย การที่องค์กรจัดเก็บและนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้โดยไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิของเจ้าของข้อมูล และองค์กรจะกลายเป็นผู้กระทำความผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญาตามบทลงโทษของกฎหมาย ดังนั้นก่อนที่ พ.ร.บ. จะมีผลบังคับใช้อย่างจริงจัง องค์กรต่าง ๆ…

ญี่ปุ่นสั่งตรวจสอบ Line หลังสื่อชี้ยอมให้วิศวกรจีนเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้งาน

Loading

  รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยในวันนี้ว่า จะดำเนินการสอบสวนแอปพลิเคชันไลน์ (Line) ของซี โฮลดิ้งส์ คอร์ปซึ่งอยู่ในเครือของซอฟต์แบงก์ คอร์ปของญี่ปุ่น หลังจากสื่อญี่ปุ่นรายงานว่า Line ได้ปล่อยให้วิศวกรชาวจีนที่เซี่ยงไฮ้เข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้งานชาวญี่ปุ่นโดยไม่ได้แจ้งให้ผู้ใช้ทราบ สถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเคและสื่อญี่ปุ่นรายอื่นๆ รายงานก่อนหน้านี้ว่า ภายใต้กฎหมายความเป็นส่วนตัวของญี่ปุ่นนั้น บริษัทต่างๆ ต้องแจ้งให้ผู้ใช้ทราบเมื่อข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ถูกส่งไปยังต่างประเทศ “ตอนนี้เรายังบอกไม่ได้ว่า Line ละเมิดกฎระเบียบหรือไม่ และเราจะทำการสอบสวนเพื่อหาความจริง” เจ้าหน้าที่รัฐบาลผู้รับผิดชอบกฎหมายความเป็นส่วนตัวกล่าวให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวรอยเตอร์ พร้อมเสริมว่า ถ้าหากพบว่า Line กระทำผิดจริง ทางสำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นสามารถสั่งให้ทางบริษัทดำเนินการแก้ไขปรับปรุง ด้านโฆษกของ Line ระบุว่า “ไม่มีเหตุการณ์ใดที่เป็นการละเมิดกฎหมายหรือกฎระเบียบต่างๆ เราจะยังคงปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบในทุกประเทศ รวมถึงในญี่ปุ่นด้วย” แถลงการณ์ทางเว็บไซต์ของ Line ในเวลาต่อมามีใจความว่า ทางบริษัทขออภัยที่ทำให้เกิดความกังวล และไม่ได้อธิบายอย่างเพียงพอเพื่อให้ผู้ใช้ทราบถึงนโยบายเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลของบริษัท และระบุเพิ่มเติมว่า ยังไม่มีการเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้งานอย่างไม่เหมาะสมเกิดขึ้นแต่อย่างใด   ———————————————————————————————————————————————————– ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์   / วันที่เผยแพร่  17 มี.ค.2564 Link : https://www.infoquest.co.th/2021/71886