2024 : ปีแห่งความเสี่ยงที่ไม่อาจมองข้าม จากเทคโนโลยี ‘เอไอ’ ที่ไม่ถูกควบคุม

Loading

  สัปดาห์นี้มีรายงานเรื่อง ความเสี่ยงของโลกในปี 2024 ที่ระบุว่า ปีนี้จะเป็นปีที่มีความเสี่ยงสูงในหลายด้าน ทั้งเรื่องการเมืองที่จะมีการเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกา ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และที่น่าสนใจ คือ ปัญหาเทคโนโลยีเอไอ   สัปดาห์นี้มีรายงานเรื่อง ความเสี่ยงของโลกในปี 2024 ออกมาจากสองค่าย รายงานแรกเป็นของ Eurasia ที่ระบุว่า ปีนี้จะเป็นปีที่มีความเสี่ยงสูงในหลายด้าน ทั้งเรื่องการเมืองที่จะมีการเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกา ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และที่น่าสนใจ คือ ปัญหาเทคโนโลยีเอไอที่กำลังพัฒนาเร็วกว่าความสามารถในการกำกับและควบคุมดูแล   ส่วนอีกรายงานที่ออกมาเป็นของ World Economic Forum (WEF) ที่ระบุความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ทั้งภูมิรัฐศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี ทั้งในระยะสั้นในสองปีข้างหน้า และระยะยาวในอีกสิบปี ที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือ การบิดเบือนข้อมูลด้วยเทคโนโลยีเอไอ (Misinformation and Disinformation) กลายเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญที่สุดในปีนี้ และขึ้นเป็นอันดับหนึ่งในความเสี่ยงระยะสั้น   WEF ระบุว่า เนื่องด้วยเอไอกลายเป็นเทคโนโลยีที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้น ทำให้ผู้คนสามารถสร้างข้อมูลปลอม รวมถึงการใช้เทคโนโลยีอย่าง…

ความเสี่ยง ‘ภูมิศาสตร์การเมืองดิจิทัล’ สร้างโอกาส ‘ซีไอโอ’ บริบทใหม่

Loading

  การ์ทเนอร์ เผย ผลกระทบของการกำกับดูแลทางเทคโนโลยีที่เกิดจากการเมืองระหว่างประเทศ นำไปสู่ยุคภูมิศาสตร์การเมืองทางดิจิทัล (Digital Geopolitics) อย่างรวดเร็ว และกลายเป็นประเด็นสำคัญที่ผู้บริหารไอที (ซีไอโอ) ในบริษัทข้ามชาติต้องแสดงบทบาทผู้นำ   จากการสำรวจของ “การ์ทเนอร์” ระบุว่าคณะกรรมการบริหารขององค์กรต่างๆ 41% มองประเด็นการเปลี่ยนแปลงอำนาจและความวุ่นวายทางภูมิศาสตร์การเมืองเป็นหนึ่งในความเสี่ยงใหญ่ที่สุดต่อการดำเนินธุรกิจ   โดยการ์ทเนอร์ยังคาดด้วยว่าภายในปี 2569 องค์กรข้ามชาติถึง 70% จะปรับทิศทางการดำเนินงานในประเทศต่างๆ โดยมุ่งเน้นการป้องกันความเสี่ยงเพื่อลดการเปิดเผยข้อมูลทางภูมิศาสตร์การเมือง     ปกป้องอธิปไตยดิจิทัล   ไบรอัน เพลนติส รองประธานฝ่ายวิจัย การ์ทเนอร์ กล่าวว่า ภูมิศาสตร์การเมืองดิจิทัล (Digital Geopolitics) เป็นหนึ่งในแนวโน้มที่สร้างความปั่นป่วนที่สุดที่ผู้บริหารไอทีต้องรับมือ   โดยเวลานี้มีผู้บริหารจำนวนมากกำลังจัดการกับข้อพิพาททางการค้า หรือกฎหมายของประเทศใดประเทศหนึ่งที่กระทบต่อการดำเนินงานไปทั่วโลก รวมถึงข้อจำกัดในการจัดหาและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่รัฐบาลเป็นผู้กำหนด ซึ่งผู้บริหารไอทีจำเป็นต้องทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นนี้และเตรียมพร้อมรับมือกับผลกระทบ   “เนื่องจากความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นในแต่ละพื้นที่ ภูมิศาสตร์การเมืองดิจิทัล จึงเกิดขึ้นและมีผลกระทบอย่างโดดเด่นชัดเจน”   ผู้บริหารไอทีต้องแสดงบทบาทสำคัญเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อองค์กร พร้อมจัดระบบโครงสร้างสถาปัตยกรรมดิจิทัลขึ้นใหม่ถ้าจำเป็น โดยพวกเขาจะต้องจัดการหรือใช้ประโยชน์จากภูมิศาสตร์การเมืองดิจิทัล 4 ด้านเด่น ดังนี้   ปกป้องอธิปไตยดิจิทัล…

‘ปรัชญา’ ฉายภาพ ‘ความเสี่ยงภัยไซเบอร์’ ชี้กำลังประเมินความเสี่ยง เพื่อวางระบบป้องกันภัยคุกคาม

Loading

  ‘ปรัชญา’ ฉายภาพ ‘ความเสี่ยงภัยไซเบอร์’ ชี้กำลังประเมินความเสี่ยงเพื่อวางระบบป้องกันภัยคุกคาม เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 30 มีนาคม พลเอก ดร.ปรัชญา เฉลิมวัฒน์ เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (ลธ.กมช.) บรรยายพิเศษ เรื่อง ความพร้อมประเทศไทยกับความปลอดภัยไซเบอร์ ในงานสัมมนาเรื่อง ไทยกับความปลอดภัยไซเบอร์ 2022 ผ่านรูปแบบไลฟ์สตรีมมิ่งผ่านเฟซบุ๊ก เครือมติชน ไลน์ออฟฟิเชียลมติชน และยูทูบมติชนทีวี ที่อาคารสํานักงาน บริษัท มติชน จํากัด (มหาชน) ว่า ประวัติการเริ่ม ไซเบอร์สเปซ หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ มีวิวัฒนาการมาข้างค่อนนาน จากที่หลายคนทราบว่า มีการใช้งานอินเตอร์เน็ตเพียงไม่กี่ปี แต่ที่จริงแล้วอินเตอร์เน็ตถูกออกแบบขึ้นมาตั้งแต่ 60 ปีก่อน และเริ่มมีการใช้งานอย่างแพร่หลาย ประมาณ 30 ปี ดังนั้น ระบบอินเตอร์เน็ตจึงค่อนข้างเก่า และมีความไม่ปลอดภัยต่อการใช้งานในบางมุม เนื่องจากการใช้งานในระยะเริ่มแรกต้องการประสิทธิภาพในการส่งข้อมูลให้มีความรวดเร็ว มากขึ้น และเมื่ออินเตอร์เน็ตได้ออกสู่สาธารณะให้ทุกคนทั่วโลกสามารถใช้งานในการเชื่อมต่อ โดยอาศัยโปรโตคอลของอินเตอร์เน็ตได้ จึงเริ่มมีการพัฒนาการบริการ แพลตฟอร์มต่างๆ จนวิวัฒนาการมาเป็นโซเชียลมีเดีย…