Elizabeth Warren ซื้อโฆษณาแพร่ข้อมูลปลอมในเฟซบุ๊ก เพื่อทดสอบว่าเฟซบุ๊กจะลบมันออกไหม

Loading

Elizabeth Warren ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีจากพรรคเดโมแครต ผู้มีโยบายลดอิทธิพลบริษัทไอทีขนาดใหญ่ ทดสอบเฟซบุ๊กด้วยการซื้อโฆษณาที่มีเนื้อหาว่า เฟซบุ๊ก สนับสนุนการกลับมาลงเลือกตั้งอีกครั้งของโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในตอนนี้ และยังแนบภาพที่ทรัมป์ และ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก จับมือพบปะกันที่ทำเนียบขาวด้วย เนื้อหาดังกล่าวไม่เป็นความจริง ซึ่ง Warren ก็รู้ในจุดนี้ แต่เธอกำลังทดสอบว่า เฟซบุ๊กจะมีท่าทีอย่างไรกับโฆษณาการเมืองที่มีข้อมูลปลอม ผลปรากฏว่าตอนแรก เฟซบุ๊กก็ดึงโฆษณาออก แต่ก็ดึงกลับมาใหม่อีกครั้ง โดยเฟซบุ๊กให้เหตุผลว่า หน้าที่ของเฟซบุ๊กคือ พยายามป้องกันการแทรกแซงการเลือกตั้งจากภายนอก แต่ไม่มีสิทธิ์ไปแทรกแซงสิ่งที่นักการเมืองพูดหรือแถลงไว้ และคำพูดของนักการเมืองจะไม่ไปถึงมือผู้ตรวจสอบข้อมูลภายนอก แต่ถ้าคำพูดนั้นเป็นการทำอันตรายให้คนอื่นก็ยังคงถือว่าผิดกฎแพลตฟอร์ม แต่ก็ไม่มีสิทธิ์ไปเซนเซอร์คำพูดของนักการเมือง ผู้อ่านสามารถดูโฆษณาดังกล่าวได้ ที่นี่ ———————————————— ที่มา : Blognone / 15 ตุลาคม 2562 Link : https://www.blognone.com/node/112527

เผยผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตกว่า 40% ใน เอเชีย-แปซิฟิก มี Cyber risk สูง

Loading

ความจริงที่น่าตกตะลึง!! ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตใน เอเชีย-แปซิฟิก มีพฤติกรรมทางไซเบอร์เสี่ยงสูง (Cyber risk) ผลสำรวจพบว่า 40% เต็มใจเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว… ผลสำรวจชี้ชัด Cyber risk ใน APAC สูง  เมื่อไม่นานมานี้ได้มีเปิดเผยผลสำรวจ Global Privacy Report 2018 ที่ทาง แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ได้สำรวจผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific หรือ APAC) พบว่า 39.2% เต็มใจที่จะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวเพื่อให้ได้ความปลอดภัยเพิ่มเติม เช่น การตรวจสอบ หรือสอดส่องความปลอดภัยออนไลน์ แต่ยังมีกว่า 40% ที่ยอมเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว โดยกว่า 22% สารภาพว่าแชร์ข้อมูลโซเชียลมีเดียเพื่อเล่นควิซต่างๆ ขณะที่ 18.9% ยอมรับว่ายอมสละความเป็นส่วนตัวเพื่อรับสินค้า และบริการฟรี เช่น ซอฟต์แวร์หรือของขวัญอื่น ๆ นอกจากนี้ในรายงานฉบับดังกล่าวยังเปิดเผยอีกว่า 55.5% ของผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอยู่ในช่วงอายุ 16-24 ปี และ 25-34 ปี และมีความคิดว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะมีความเป็นส่วนตัวครบถ้วนสมบูรณ์ในโลกดิจิทัลสมัยใหม่ และเชื่อว่าข้อมูลส่วนตัว เช่น ที่อยู่ วันเกิด…

การยืนยันตัวตนด้วยลายนิ้วมือโดนแฮกได้ไหม ป้องกันอย่างไร

Loading

การยืนยันตัวตนด้วยลายนิ้วมือนั้น ถือเป็นการยืนยันตนที่ได้รับความนิยมอีกประเภทหนึ่ง ไม่ว่าจะใช้เพื่อยืนยันตนในการเข้าทำงาน การ Login เข้ามือถือ รวมไปถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้านิรภัยบางประเภท ต่างก็มีฟังก์ชันนี้ เพราะมีความสะดวกและรวดเร็ว ประกอบปัจจุบันเริ่มมีการยอมรับเทคโนโลยี Biometrics มากขึ้น ทำให้กลายเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ใช้นิยมเพื่อรักษาความปลอดภัยนั่นเอง แต่เมื่อมีเทคโนโลยีที่อำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้น ย่อมมีกลวิธีการแฮกข้อมูลเพิ่มขึ้นเช่นกัน จนลืมนึกไปว่าข้อมูลลายนิ้วมือก็อาจถูกแฮกได้ แม้ว่ารหัสผ่านเมื่อโดนแฮก ยังสามารถที่จะเปลี่ยนรหัสผ่านได้ แต่ข้อมูลลายนิ้วมือหากโดนแฮก เราไม่สามารถเปลี่ยนลายนิ้วมือได้ ผู้ที่เลือกใช้การยืนยันตนด้วยวิธีนี้จึงควรรู้เท่าทันว่าแฮกเกอร์มีวิธีต่าง ๆ อย่างไรที่สามารถเจาะอุปกรณ์ที่ใช้การสแกนลายนิ้วมือนี้ได้ และมาดูกันว่า แฮกเกอร์สามารถสวมรอยนิ้วมือได้อย่างไร จนไปถึงวิธีป้องกันเพื่อรักษาความปลอดภัยของข้อมูลของเรา 1. การโจมตีโดยใช้ Masterprints การใช้ Masterprints ก็เหมือนกับการใช้กุญแจ Master ที่สามารถไขได้ทุกห้องในบ้าน โดยถูกสร้างมาจากข้อมูลพื้นฐานของลายนิ้วมือมนุษย์ทั่วไป ซึ่งปกติเครื่องสแกนลายนิ้วมือที่มีเสปกสูง ๆ จะเน้นความแม่นยำและ จะบล็อกการพยายามเข้าสู่ระบบด้วย Masterprints แต่อุปกรณ์ที่มีระบบสแกนลายนิ้วมือที่ไม่ซับซ้อนอย่าง อุปกรณ์มือถือทั่วไป ฯลฯ อาจเสี่ยงต่อการถูกโจมตีผ่าน Masterprints ได้ วิธีป้องกัน – หากเป็นไปได้ ควรเลือกใช้เครื่องสแกนลายนิ้วมือที่มีสเปกความแม่นยำสูง ๆ แนะนำให้ศึกษาสเปกชีทของเครื่อง ฯ ให้ดี โดยดูที่…

ดาบสองคมของเทคโนโลยีจดจำใบหน้า

Loading

จิตรทัศน์ ฝักเจริญผล เรื่อง ภาพิมล หล่อตระกูล ภาพประกอบ โลกอัตโนมัติในฝันกับโลกจริงอันโหดร้ายอาจใกล้กันอย่างคาดไม่ถึง นึกถึงร้านค้าที่เราสามารถเดินเข้าไปเลือกสินค้าและหยิบของที่ต้องการออกไปได้โดยไม่ต้องคอยชำระเงิน แต่ราคาสินค้าทั้งหมดจะถูกหักจากบัญชีโดยอัตโนมัติ  นอกจากนี้ เมื่อเดินเข้าร้าน ข้อมูลสินค้าแนะนำที่เราชื่นชอบก็จะแสดงขึ้นมาโดยทันที สำหรับลูกค้าขาประจำเมื่อเดินเข้าร้านก็จะพบกับสินค้าที่ร้านคาดว่าน่าจะซื้อใส่ตะกร้าเตรียมให้เรียบร้อย ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าเมื่อวันก่อนเราได้เปรยกับเพื่อนในเครือข่ายสังคมว่าอยากซื้อแปรงสีฟันและน้ำยาบ้วนปากใหม่ ของทั้งสองชิ้นที่เคยปรากฏบนโฆษณาที่ได้กดไลก์เอาไว้ก็ถูกรวมอยู่ในตะกร้าแล้วเช่นกัน การเชื่อมโยงข้อมูลจากหลากหลายแหล่งเพื่อนำมาใช้ทำนายพฤติกรรมในด้านต่างๆ เป็นสวรรค์ของนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล รายได้ส่วนใหญ่ของบริษัทยักษ์ใหญ่ออนไลน์ เช่น Google หรือ Facebook ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในด้านนี้ นั่นคือความสามารถที่จะขุด ‘เพชร’ ล้ำค่าที่อยู่ในข้อมูลต่างๆ ที่เก็บจากผู้ใช้นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่บริษัทมีนั้นก็เป็นแค่เสี้ยวหนึ่งของชีวิตผู้ใช้เท่านั้น ชีวิตออนไลน์ไม่ว่าจะทิ้งร่องรอยไว้สำหรับขุดค้นมากเพียงใด ในปัจจุบันก็ยังมีช่องว่างระหว่างชีวิตออนไลน์กับชีวิตในโลกความจริงอยู่ กุญแจสำคัญในการเชื่อมต่อโลกของข้อมูลเข้ากับโลกความจริงที่ผู้ใช้กำลังเลือกหยิบสินค้า ก็คือเทคโนโลยีที่จะติดตามผู้ใช้ไปทุกแห่ง ทั้งบนโลกออนไลน์และบนโลกแห่งความจริงนั่นเอง เมื่อลองนึกถึงโอกาสทางธุรกิจก้อนโตในการเสนอสินค้าและบริการ (โฆษณา) ในจุดที่เรากำลังเลือกหยิบสินค้า หรือเรียนรู้พฤติกรรมของผู้ใช้ระหว่างวัน ใครๆ ก็ย่อมพยายามมองหาวิธีพัฒนาเทคโนโลยีที่จะปิดช่องว่างระหว่างโลกออนไลน์และโลกออฟไลน์นี้ เมื่อ Google ได้เริ่มปล่อยฝูงรถยนต์เก็บภาพข้างถนนและนำภาพเหล่านั้นมาแสดงประกอบบน Google Maps ผ่านทางบริการ Street View ในปี 2007 หลายคนรีบเข้าไปดูความมหัศจรรย์ของข้อมูลเหล่านี้ ก่อนจะพบภาพตนเองขณะแอบยืนสูบบุหรี่อยู่ที่ร้านขายของใกล้บ้าน ไม่นานนัก Google…

แอปฯ แอนดรอยด์แอบเก็บข้อมูล แม้ผู้ใช้ไม่อนุญาต

Loading

รายงานล่าสุดระบุว่า แอปพลิเคชันในแอนดรอยด์แอบเก็บข้อมูลส่วนตัว แม้ผู้ใช้จะไม่อนุญาตให้เก็บข้อมูลก็ตาม โดยมีการประเมินว่ามีผู้ใช้ได้รับผลกระทบหลายร้อยล้านคน ผลการศึกษาล่าสุดระบุว่า แอปพลิเคชันยอดนิยมหลายแอปฯ บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ที่ผู้ใช้โหลดจากกูเกิลเพลย์สโตร์แอบเก็บข้อมูลส่วนตัวจากโทรศัพท์ของผู้ใช้ แม้ผู้ใช้จะปฏิเสธไม่ให้แอปเก็บข้อมูลแล้วก็ตาม โดยแอปฯ เหล่านี้ใช้ “ช่องทางข้างเคียง” หรือ “เปลี่ยนช่องทาง” ในการเก็บข้อมูล เช่น เก็บข้อมูลจากแอปฯ อื่นๆ ที่ได้รับอนุญาตจากผู้ใช้ การศึกษานี้จัดทำขึ้นโดยสถาบันวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ระหว่างประเทศ ศูนย์วิจัยไม่แสวงหาผลกำไร ร่วมกับมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเบิร์คลีย์ โดยได้รับการสนับสนุนจากหลายองค์กร รวมถึงโครงการวิทยาศาสตร์ความมั่นคงของหน่วยงานความมั่นคงแห่งชาติ กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของสหรัฐฯ และมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐฯ ทีมวิจัยครั้งนี้ได้ติดตั้งแอปฯ ยอดนิยมในแต่ละหมวดบนกูเกิลเพลย์สโตร์ รวมทั้งหมด 88,000 แอปฯ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ การศึกษาพบว่า มีแอปฯ ในแอนดรอยด์ประมาณ 60 แอปฯ ที่ใช้วิธีนี้ในการเก็บข้อมูลแล้ว และมีอีกหลายแอปฯ ที่เขียนโค้ดให้ใช้วิธีดังกล่าวในการเก็บข้อมูล โดยนักวิจัยประเมินว่า น่าจะมีผู้ใช้แอนดรอยด์ได้รับผลกระทบหลายร้อยล้านคน ในบางกรณี แอปฯ ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลตำแหน่งของอุปกรณ์จะเก็บข้อมูลไว้ใน SD card ของโทรศัพท์ ซึ่งทำให้แอปฯ ที่ไม่ได้รับอนุญาตสามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้จาก SD card อีกทีหนึ่ง ส่วนอีกหลายกรณี ผู้ใช้อาจอนุญาตให้แอปฯ เข้าถึงข้อมูลโดยไม่เข้าใจอย่างชัดเจนว่าตัวเองยอมรับเงื่อนไขอะไรไปบ้าง…