“ชัยวุฒิ” หารือ กสทช.ศึกษาแนวทางแก้ ก.ม.กำกับดูแลบริการโอทีที

Loading

  รมว.ดีอีเอส พบ กรรมการ กสทช.หยิบยก เรื่องกำกับดูแล “โอทีที” หารือ ชี้ เทคโนโลยีเปลี่ยน ก.ม.เดิม อาจไม่มีประสิทธิภาพดูแลได้ 100% ศึกษาแนวทางแก้ ก.ม. และประสานการทำงานร่วมกันให้มากยิ่งขึ้น   วันนี้ (3 ม.ค.) นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส เปิดเผยว่า วันนี้ได้หารือกับทาง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ถึงการกำกับดูแลบริการการให้บริการเนื้อหา ภาพยนต์ รายการโทรทัศน์ ผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต หรือ โอทีที ที่ปัจจุบันได้รับความนิยมมากขึ้น โดยทางดีอีเอส มีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง คือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่ใช้ดูแลแพลตฟอร์ม และ คอนเทนต์ต่าง ๆ ส่วนทาง กสทช.ก็จะกำกับดูแลผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต และผู้ให้บริการมือถือ ซึ่งต้องมีการประสานการทำงานร่วมกันในเรื่องกำกับดูแลในเรื่องนี้   “ที่ผ่านมาก็มีการตั้งคณะทำงานร่วมกันอยู่แล้ว แต่ปัจจุบันคนดูทีวีภาคพื้นดิน หรือ ทีวีดิจิทัลน้อยลง…

EU บังคับบริษัทเทคโนฯยักษ์ใหญ่จัดการคอนเทนต์ผิดกม.-ฝ่าฝืนเจอโทษปรับ

Loading

  สหภาพยุโรป (EU) เห็นชอบในวันนี้ (23 เม.ย.) เกี่ยวกับการออกกฎหมายใหม่ ซึ่งจะบังคับให้บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ ๆ อาทิ กูเกิล และเมตา จัดการกับคอนเทนต์ที่ผิดกฎหมายในแพลตฟอร์มต่าง ๆ อย่างจริงจังมากขึ้น มิฉะนั้นจะเสี่ยงกับการถูกปรับเป็นเงินหลายพันล้านดอลลาร์   สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า รัฐสภายุโรปและประเทศสมาชิก EU ได้บรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับกฎหมายการให้บริการดิจิทัล (Digital Services Act – DSA) ซึ่งเป็นกฎหมายหลักที่มีเป้าหมายเพื่อจัดการกับคอนเทนต์ที่ผิดกฎหมายและเป็นอันตราย ด้วยการสั่งให้แพลตฟอร์มดำเนินการลบคอนเทนต์เหล่านั้นออกไปอย่างรวดเร็ว   ส่วนสำคัญของกฎหมายนี้จะจำกัดวิธีที่บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านดิจิทัลทำการกำหนดเป้าหมายผู้ใช้งานสำหรับการโฆษณาออนไลน์ โดย DSA จะขัดขวางแพลตฟอร์มต่าง ๆ จากการกำหนดเป้าหมายผู้ใช้งานด้วยอัลกอริทึมโดยใช้ข้อมูลเพศ เชื้อชาติหรือศาสนา และจะห้ามไม่ให้กำหนดเป้าหมายด้านการโฆษณากับผู้ใช้งานที่เป็นเด็ก   นอกจากนี้ DSA จะห้ามการใช้กลวิธีหลอกลวงที่ออกแบบมาเพื่อผลักดันให้ผู้ใช้งานเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการบางอย่างด้วย   บริษัทเทคโนโลยีจะต้องใช้ขั้นตอนใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อกำจัดเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย เช่น คำพูดที่สร้างความเกลียดชัง การยั่วยุให้ก่อการร้าย และการล่วงละเมิดทางเพศเด็ก โดยตลาดอี-คอมเมิร์ซ เช่น แอมะซอนจะต้องห้ามการขายสินค้าผิดกฎหมายภายใต้กฎใหม่ดังกล่าว   ทั้งนี้ บริษัทที่ไม่ปฏิบัติตามกฎใหม่ดังกล่าวอาจต้องเสียค่าปรับสูงถึง 6% ของรายได้ประจำปีทั่วโลก…