เกาหลีใต้ชี้นิวเคลียร์เกาหลีเหนือ “ไม่ใช่เรื่องไกลตัว” ขออาเซียนร่วมมือ

Loading

  ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ เรียกร้องกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพิ่มพูนความร่วมมือกับรัฐบาลโซล เพื่อยับยั้งภัยคุกคามจากอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 5 ก.ย. ว่า หนังสือพิมพ์ คอมพาส ของอินโดนีเซีย เผยแพร่บทสัมภาษณ์ประธานาธิบดียุน ซอก-ยอล ผู้นำเกาหลีใต้ ว่าการยิงขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ “ยังคงเป็นภัยคุกคามภายนอกโดยตรง” ที่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเพียงเกาหลีใต้ แต่ยังรวมถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งถือเป็นพันธมิตรของรัฐบาลโซลด้วย   Yoon says N. Korea poses direct threats to ASEAN https://t.co/gVAYddAaB9 — Yonhap News Agency (@YonhapNews) September 5, 2023   ดังนั้น เกาหลีใต้และสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) “ต้องตอบสนองอย่างเด็ดขาด” และ “ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด” เพื่อนำไปสู่การปลดนิวเคลียร์บนคาบสมุทรเกาหลี อาเซียนและเกาหลีใต้ ต้องยกระดับความร่วมมือ เพื่อให้ระเบียบโลกที่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศ สามารถฝังรากได้อย่างลึกซึ้งและเข็งแกร่ง ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก…

สังคมโลก : การทูตเรือดำน้ำ

Loading

แนวคิดที่เรียกว่า “การทูตเครื่องบินทิ้งระเบิด” ซึ่งสหรัฐใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ บี-52 กับ บี-1 ร่วมกับเครื่องบินขับไล่ พร้อมกับส่งข้อความเชิงกลยุทธ์เกี่ยวกับการป้องปราม ไปยังจีนและเกาหลีเหนือ หรือรัสเซีย ยังคงเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับพันธมิตรของสหรัฐ   แม้การป้องปราม หรือการสร้างความมั่นใจ จะทำได้โดยใช้เครื่องบินทิ้งระเบิด แต่ดูเหมือนตอนนี้ เรือดำน้ำนิวเคลียร์ ซึ่งเป็นเรือดำน้ำติดตั้งขีปนาวุธนำวิถีพลังงานนิวเคลียร์ (เอสเอสบีเอ็น) กำลังเข้าสู่ภารกิจเดียวกัน หรืออาจเรียกได้ว่าเป็น “การทูตเรือดำน้ำ”   เมื่อเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา สหรัฐกับเกาหลีใต้ร่วมลงนามในเอกสารฉบับใหม่ที่เรียกว่า “ปฏิญญาวอชิงตัน” ซึ่งสหรัฐให้คำมั่นที่จะยกระดับการมองเห็นทรัพย์สินทางยุทธศาสตร์ในคาบสมุทรเกาหลีให้มากขึ้น ตลอดจนขยายและกระชับความร่วมมือระหว่างกองทัพของทั้งสองประเทศให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น   นอกเหนือจากการตัดสินใจก่อตั้งหน่วยงานใหม่ระหว่างสองประเทศตามปฏิญญาวอชิงตัน ซึ่งเรียกว่า “กลไกความร่วมมือที่ปรึกษานิวเคลียร์” (เอ็นซีจี) แนวคิดของการส่งเอสเอสบีเอ็นไปเทียบท่าในเกาหลีใต้ ถูกมองว่าเป็นมาตรการสร้างความมั่นใจใหม่ที่รัฐบาลโซลได้รับจากสหรัฐ โดยแลกกับการที่เกาหลีใต้ต้องยึดมั่นและปฏิบัติตามสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (เอ็นพีที)   อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ไม่ใช่แนวคิดใหม่เสียทีเดียว เนื่องจากมันเคยปรากฏในรายงาน การทบทวนสถานการณ์นิวเคลียร์ (เอ็นพีอาร์) เมื่อเดือน ต.ค. 2565 ว่าสหรัฐจะทำงานร่วมกับพันธมิตรและหุ้นส่วน เพื่อหาโอกาสในการเพิ่มการมองเห็นของทรัพย์สินทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐ ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก และเป็นการแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและความตั้งใจอันแน่วแน่ของสหรัฐ ไม่ว่าจะเป็น การเทียบท่าของเรือดำน้ำติดตั้งขีปนาวุธนำวิถี…

เกาหลีเหนือยัน ข้อตกลงสุดยอดผู้นำสหรัฐฯ-เกาหลีใต้ ‘ยกระดับความตึงเครียด’

Loading

    เกาหลีเหนือออกโรงวิพากษ์วิจารณ์ข้อตกลงระหว่างสหรัฐฯ และเกาหลีใต้ที่จะเปิดทางให้กรุงวอชิงตันส่งเจ้าหน้าที่และยุทโธปกรณ์เข้ามาในคาบสมุทรเกาหลี ว่าเป็นชนวนที่ทำให้ความตึงเครียดในภูมิภาคนี้ยกระดับขึ้นจน “เข้าใกล้การเกิดสงครามนิวเคลียร์” แล้ว ตามรายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์ที่อ้างข้อมูลจากสื่อ KCNA ของกรุงเปียงยางในวันจันทร์   ระหว่างที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน และประธานาธิบดียูน ซุก ยอล ร่วมประชุมสุดยอดผู้นำ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วที่กรุงวอชิงตัน ผู้นำสหรัฐฯ ได้ให้สัญญาว่า จะเปิดทางให้กรุงโซลได้รับข้อมูลเกี่ยวกับแผนการด้านนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ความขัดแย้งกับเกาหลีเหนือ ขณะที่ หลายฝ่ายมีความวิตกกังวลมากขึ้นต่อการเผชิญหน้าระหว่างโครงการพัฒนาอาวุธของกรุงเปียงยางและศักยภาพด้านนิวเคลียร์ของอเมริกา   ทั้งนี้ สองผู้นำได้ตกลงที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับความสามารถด้านกลาโหมของเกาหลีใต้และสหรัฐฯ จะนำส่งปัจจัยทางยุทธศาสตร์ของตนมาให้อย่างสม่ำเสมอ โดยภายใต้คำสัญญานี้ กองทัพเรือสหรัฐฯ จะส่งเรือดำน้ำพลังนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธวิถีโค้งมายังเกาหลีใต้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1980 ด้วย   สื่อ KCNA รายงานโดยอ้างอิงความเห็นของ เช จู ฮยอน นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงระหว่างประเทศว่า ข้อตกลงระหว่างสหรัฐฯ และเกาหลีใต้แสดงให้เห็นถึงความสมัครใจของพันธมิตรทั้งสองที่จะ “ดำเนินการอุกอาจและเป็นปฏิปักษ์อย่างที่สุด” ต่อเกาหลีเหนือ   รายงานข่าวนี้ยังระบุด้วยว่า การที่สหรัฐฯ จะส่งปัจจัยทางยุทธศาสตร์ของตนมาในแถบคาบสมุทรเกาหลีเป็นเหมือน “ปลักหล่มของการไม่มีเสถียรภาพ” ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้าง “กลุ่มก้อนทางทหารพิเศษจำเพาะเชิงรุก” ในภูมิภาคนี้   นอกจากนั้น…

เปิดคลังขีปนาวุธเกาหลีเหนือ มีอะไรบ้าง น่ากลัวแค่ไหน

Loading

  คาบสมุทรเกาหลีร้อนระอุอีกครั้ง หลังจากที่เกาหลีเหนือรัวยิงขีปนาวุธไม่หยุดในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา เพื่อตอบโต้ปฏิบัติการซ้อมรบร่วมระหว่างเกาหลีใต้และสหรัฐฯ จนทำให้ประเทศเพื่อนบ้านอย่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ต้องประกาศเตือนภัยพลเมืองของตน   ขณะเดียวกันทั่วโลกเองก็กำลังเฝ้าจับตาสถานการณ์อย่างใกล้ชิดว่าสถานการณ์จะบานปลายกลายมาเป็นอันตรายและภัยคุกคามครั้งใหม่ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการเดินหน้าพัฒนาขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ ซึ่งดูเหมือนจะรุดหน้าไปมากภายใต้การนำของ คิม จอง อึน ผู้เคยออกมาประกาศชัดเจนก่อนหน้านี้ว่า พร้อมจะเผชิญหน้ากับภัยคุกคามใดๆ ที่มาจากศัตรู   ตอนนี้เกาหลีเหนือมีอะไรอยู่ในมือ workpointTODAY จะพาไปส่องขีปนาวุธบางส่วนในคลังของเกาหลีเหนือ และอานุภาพของขีปนาวุธเหล่านั้น หากมีการยิงออกมาจะกระทบที่ไหนบ้าง     KN-23 เป็นขีปนาวุธพิสัยใกล้ (Short-Range Ballistic Missile-SRBM) ที่ได้รับการพัฒนามาจากขีปนาวุธรุ่นเดิม ซึ่งเกาหลีเหนือนำออกมาเปิดตัวเป็นครั้งแรกในเดือน ก.พ. 2561 และทำการทดสอบครั้งแรกในเดือน พ.ค. 2562 คาดว่ามีระยะยิงเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 500 กิโลเมตร โดยผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ว่า KN-23 ถือเป็นขีปนาวุธที่น่ากลัวชนิดหนึ่ง เนื่องจากได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนสามารถตรวจจับได้ยากขึ้น เพราะคุณสมบัติที่สามารถเปลี่ยนวิถีการบินเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกตรวจจับหรือบินสกัดได้ KN-23 เป็นขีปนาวุธที่เกาหลีเหนือมักจะนำออกมาทดสอบยิงตกในน่านน้ำบริเวณคาบสมุทรเกาหลี   PUKGUKSONG-2 เป็นขีปนาวุธพิสัยกลาง (Medium-range ballistic missile – MRBM) ที่พัฒนามาจากขีปนาวุธติดเรือดำน้ำ…